有觉性 以安住且中立的心 照见身心的实相

D24.76《隆波帕默尊者开示》-2024年9月7日/zh

来自法藏
法藏讨论 | 贡献2024年9月16日 (一) 17:50的版本 (创建页面,内容为“没有借口,今天太冷了,想先睡一会儿;今天太热了,没法修行;借口一大堆。太饿了,先休息一下,等不饿了再修行。如果有人有这样的习惯,就应该改掉,这是不吉祥的习惯,这样是无法修行的。如果我们想修行,就必须具备忍耐,不管多么困难都要坚持修行,绝不能向烦恼屈服。还要有调伏之心,能够克制自己。如果软弱就会失败,失败后会怎…”)
其他语言:
Luangpor Pramote Pamojjo


闻 · 法


ทำสมถะเพื่อให้จิตมีแรงและตั้งมั่น

许多居士的修行进步了,修行是需要时间的。当我们积累烦恼时,花了很长时间;要清除这些烦恼,也同样需要时间。不是一禅修就马上见效。泰国人心急,想要快速得到结果,不太有耐心。老年人眼中的年轻一代,觉得令人担忧,因为他们不太有耐心,做事浮躁。许多企业主也在抱怨,雇佣泰国人工作,不久就辞职了,想休息哪天就休息,工作出现问题也不负责。

所以,很多企业主只好雇佣外国劳工工作。有些人认为这些外国劳工抢了泰国人的工作,但实际上并没有抢,因为泰国人自己不太愿意做这些工作,过于追求安逸。其实,泰国男人,依照师父的看法,每个男人都应该去当兵,至少要接受训练,这样才能变得坚强,有点耐心。不能一看到壁虎就惊叫,那敌人会嘲笑我们的。而作为佛教徒,到了合适的时间应该出家,但出家也要选择真正修行的寺庙。


出家修行的生活并不舒适,需要极大的忍耐与克制。如果我们曾经历过困苦,就不会害怕困难;但如果从小父母娇惯,害怕吃苦,内心不够坚定,那么在世俗中会感到难以生存,在修行的道路上也难以有发展机会。而如果想真正开始修行,软弱的人是做不到的。与烦恼作斗争不是闹着玩的事情,也不是兼职工作,不能随便空闲时才去做。烦恼就像杂草,总是不断生长。如果我们没有足够的智慧和觉性去与之斗争,时断时续地修行,烦恼就会重新占据心灵。

有很多僧人是师父认识的,以前来这里学习,专心修行,居士们也很尊敬他们,生病时还一起照顾,花费了很多钱为他们治疗。然而,他们修行一阵子又停下来,修行一阵子又停下来。到了某个时候,他们失去了动力,觉得无法继续修行,于是就放弃了,荒废了一生。修行需要忍耐和坚强,如果不能克制自己,就会被烦恼打败。克制自己就是"调伏"(ทมะ),要懂得克制自己,不轻易放弃,还需要"忍辱"(ขันติ),忍耐一切艰难困苦。

没有借口,今天太冷了,想先睡一会儿;今天太热了,没法修行;借口一大堆。太饿了,先休息一下,等不饿了再修行。如果有人有这样的习惯,就应该改掉,这是不吉祥的习惯,这样是无法修行的。如果我们想修行,就必须具备忍耐,不管多么困难都要坚持修行,绝不能向烦恼屈服。还要有调伏之心,能够克制自己。如果软弱就会失败,失败后会怎样呢?失败后就会继续受苦,而心中原本想要奋斗的力量也会逐渐消退。

บางคนภาวนาเจริญแล้วเสื่อม อดทนภาวนาต่อไม่เลิก มันก็เจริญขึ้นมา เจริญไปช่วงหนึ่ง มันเสื่อมอีก ก็อดทนอีก ไม่เลิก ภาวนาทำแล้วทำอีก ล้มลุกคลุกคลานก็ไม่ยอมแพ้ เดี๋ยววันหนึ่งมันก็ชนะ เหมือนสมัยโบราณ ในอินเดียก็มี ในเมืองจีนก็มี พวกรบจะชิงเมืองหลวง ชิงราชสมบัติกัน บางคนมันก็แพ้แล้วแพ้อีก มันก็ไม่ยอมจำนน แพ้แล้วก็ไปรวมกำลังขึ้นมา มาสู้อีก จีนก็มี อย่างต้นราชวงศ์ฮั่น หลิวปัง รบแพ้อยู่นั่น ชนะครั้งเดียว ปกครองประเทศจีน สืบราชวงศ์ฮั่นมาได้ 400 กว่าปี

ฉะนั้นพวกเราภาวนา ต้องสู้จริงๆ ให้มันเด็ดเดี่ยวลงไป เจริญก็ปฏิบัติ ไม่ใช่เจริญแล้วทอดทิ้ง เสื่อมก็ปฏิบัติ ไม่ใช่เสื่อมแล้วท้อแท้ใจ แล้วเลิกปฏิบัติ ให้มันห้าวหาญ ให้มันเข้มแข็งบ้าง ต้องรู้จักอดทน รู้จักรอจังหวะ จะทำสงคราม ไม่ใช่มีแรงก็บุกเข้าตีอย่างเดียว จังหวะรุก จังหวะถอย บางช่วงก็ต้องถอยหลบหนี เหมือนเหมาเจ๋อตุงสู้กับเจียงไคเช็ค สู้ไม่ไหว สู้กับญี่ปุ่น สู้ไม่ไหว ก็เดินทัพทางไกลเป็นหมื่นลี้ หนีไปเรื่อยๆ แต่ไม่แพ้ ไม่แพ้ ถึงเวลาก็รวบรวมกำลังเข้ามาตีอีก

ตอนหลวงพ่อเด็กๆ ผู้ใหญ่เขาก็ฝึกให้อดทน กระทั่งเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ให้เราอดทน รู้จักข่มใจตัวเอง รู้จักรอ เคยเล่าให้ฟัง เมื่อก่อนมันมีคนจีน หาบของเล่นมาขายหน้าบ้าน มันเป็นของเล่นพลาสติกอันละบาทเท่านั้น มันมีรถไฟ มีหัวรถจักรอันหนึ่ง แล้วมีตู้โดยสารตู้หนึ่ง อยากได้ บอกพ่อให้ซื้อให้ เขาบอกว่าเดี๋ยวพรุ่งนี้ถึงจะซื้อให้ ให้รอ หัดรอบ้าง เราก็รอ ตกบ่ายก็ไปดักหน้าบ้าน กลัวคนขายมาแล้วไม่เห็น พอมันมาแกก็บอก นี่มันมี 2 คัน จะซื้อให้คันหนึ่งก่อน เอาคันหลัง หัวรถจักรยังไม่ซื้อ ไว้ซื้อพรุ่งนี้ รู้จักรอเสียบ้าง

เรา เฮ้อ ทำไมเอาคันเดียว มันน่าจะเอาหัวมัน ข้างหลังมันไม่เห็นมีอะไรเลย หัวมันดูน่าดู เขาบอกให้รอ อดทน วันรุ่งขึ้นไปดักรอคนขาย ปรากฎมันขายไปแล้ว ขายไปแล้ว โอ้ เสียใจ เสียใจ เสียใจก็ยังเอาคันที่เรามีเป็นตู้รถไฟ ผูกเชือกลากไป เล่นหน้าบ้าน ริมถนน เด็กข้างบ้านมันก็ลากหัวรถจักรมา มาสวนกัน ต่างคนต่างมองหน้ากัน แล้วก็แยกย้าย ต่างคนลากกลับบ้าน ตอนนั้นรู้สึกผู้ใหญ่แกล้งเรา แต่เขาบอกเลย เขาบอกเลยเขาจะให้เราอดทน ให้รู้จักรอ

ความอดทน การรู้จักรอ ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เลย อย่างถ้าเราจะภาวนา เราใจร้อน ใจร้อนไม่ได้เรื่องหรอก เวลาใจร้อน สติ สมาธิอะไรเสียหมด ตอนนี้ยังไม่ใช่เวลาที่เราจะรู้แจ้ง ได้มรรค ได้ผล รอไปก่อน แต่ไม่ได้รอแบบงอมืองอเท้า ก็ภาวนา อยากได้ผล อยากได้เป็นโสดาบัน ใครๆ มันก็อยากทุกคนที่ปฏิบัติ แต่ความเป็นพระโสดาบัน มันไม่ได้มาด้วยความอยาก มันได้มาด้วยการเจริญสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยปัญญาอันยิ่ง


สมถะจำเป็น ทำให้เรามีแรง ทำให้จิตตั้งมั่น ฉะนั้นเราก็ต้องทำสมถกรรมฐาน ทำวิปัสสนากรรมฐาน แล้วมีปัญญาอย่างไร เราก็ต้องรู้สมถกรรมฐานทำเพื่ออะไร ทำเพื่อให้จิตสงบมีเรี่ยวมีแรงอันหนึ่ง ทำเพื่อให้จิตมีความพร้อมที่จะเจริญปัญญาอีกอันหนึ่ง มีแรงอย่างเดียวก็ยังไปเจริญปัญญาไม่ได้ เหมือนเราจะฝึกวิทยายุทธ์ ฝึกให้ร่างกายแข็งแรงอย่างเดียว ออกไปรบก็ตายเปล่า มันก็ต้องรู้จักวิธีรบด้วย จิตที่เราจะต้องฝึก อันแรกเลยฝึกให้จิตสงบเพื่อให้จิตมีกำลัง ถัดจากนั้นฝึกให้จิตมันตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานขึ้นมา

จิตตั้งมั่นเราเอาไว้เดินปัญญาจริงๆ แต่ถ้าไม่มีกำลัง มันก็เดินปัญญาไม่ได้ อย่างถ้าเรามีจิตตั้งมั่น ขันธ์แยกได้ เราเห็นไตรลักษณ์ของรูปนาม ดูเรื่อยๆ ไป แล้วกำลังของจิตหมด วิปัสสนูปกิเลสมีโอกาสแทรกเข้ามา หลอกเราแล้ว ภาวนาแล้วโดนหลอก ส่วนใหญ่หลอกว่าบรรลุมรรคผลแล้ว จริงๆ ไม่บรรลุอะไรเลย บรรลุโมหะส่วนใหญ่ พอจิตไม่มีกำลัง แล้วไปฝืนทำวิปัสสนาจะเกิดวิปัสสนูปกิเลส

ทำอย่างไรจะแก้วิปัสสนูปกิเลส กลับมาทำสมถะให้จิตสงบ ให้จิตตั้งมั่นถึงฐาน ให้สงบลงมา ไม่ต้องไปสนใจ อย่างสมมติภาวนาไปเกิดวิปัสสนูปกิเลส เกิดโอภาส แสงสว่างครอบโลกเลย มองไปที่ไหนก็สว่างไปหมดเลย กลางวันกลางคืนเหมือนกัน ใจมันเห็นอย่างนั้น คนเขลาคิดว่าบรรลุมรรคผลแล้ว คนที่เคยได้ยินได้ฟังครูบาอาจารย์สอน บอก เฮ้ย นี่วิปัสสนูปกิเลส การแก้วิปัสสนูปกิเลส ทำความสงบเข้ามา อย่ามัวแต่มองไปที่แสงสว่าง อันนั้นจิตออกนอก ให้น้อมจิตมาอยู่ในอารมณ์อันเดียว ที่มีความสุขอย่างต่อเนื่อง พอจิตรวมลงไป วิปัสสนูปกิเลสจะหาย ถ้าจิตไม่รวม ไม่มีกำลังพอ

เราก็ต้องรู้ จะทำสมถะทำเพื่ออะไรก็ต้องรู้ ทำเพื่อให้จิตมีแรง ทำเพื่อให้จิตตั้งมั่น จิตที่มีกำลัง คือจิตที่มันพักอยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง เรียกว่าอารัมมณูปนิชฌาน จิตที่ตั้งมั่น คือจิตที่พร้อมที่จะดูความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนามนามธรรม มันสงบอยู่เรียกว่าลักขณูปนิชฌาน 2 อันนี้ไม่เหมือนกัน แต่มีประโยชน์ทั้งคู่ เป็นสัมมาสมาธิทั้งคู่ แต่ถ้าทำสมาธิแล้วไม่มีสติ ถูกโมหะครอบ อันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ ใช้ไม่ได้ มิจฉาสมาธิ ทำแล้วกิเลสยิ่งงอกงาม

ฉะนั้นเราก็ต้องรู้ว่า เราจะทำสมาธิเพื่ออะไร ทำสมถะเพื่ออะไร เพื่อให้มีแรง เพื่อให้จิตตั้งมั่น ตอนไหนจิตไม่มีแรง น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่อง ให้ความสำคัญที่ตัวอารมณ์ จิตก็จะมีกำลัง เพราะจิตไม่ได้วิ่งวอกแวก ไปที่อารมณ์โน้นทีอารมณ์นี้ที เพราะจิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตก็ได้พักผ่อน จิตก็เลยมีแรง

วิธีทำให้จิตตั้งมั่นก็คือ อาศัยสติรู้เท่าทันพฤติกรรมของจิต อย่างเราหายใจเข้าพุท หายใจออกโธ แล้วจิตมันหนีไปคิด รู้ทันว่าจิตหนีไปคิด ไม่ได้น้อมจิตไปหาลมหายใจ ไม่ได้น้อมจิตไปที่พุทโธ แต่รู้ทันจิต ฉะนั้นสมาธิ 2 อันนี้ไม่เหมือนกัน อย่างแรกที่ทำเพื่อความสงบนั้น ตัวอารมณ์เป็นพระเอก อย่างที่จะฝึกให้จิตตั้งมั่นนั้น ตัวจิตเป็นพระเอก 2 อันนี้จะแตกต่างกัน ผลที่ได้ก็ต่างกัน เพราะฉะนั้นเราคอยรู้เท่าจิตของตัวเอง ทำกรรมฐานไป อะไรก็ได้ที่เราถนัด แล้วคอยรู้ทันจิตตนเอง

อย่างบางคนใช้จิตตานุปัสสนาก็ทำได้ อย่างเวลาหลวงพ่อเจอหลวงปู่ดูลย์แล้ว หลวงพ่อใช้จิตตานุปัสสนา ก็เห็นจิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง เกิดแล้วก็ดับ จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ เกิดแล้วก็ดับ ดูไปเรื่อยๆ ก็เดินปัญญา แต่พอจิตหมดแรงทำอย่างไร ต้องกลับมาอยู่ที่ลมหายใจ ที่พุทโธไหม ไม่จำเป็น ถ้าเราชำนิชำนาญในกรรมฐาน แล้วก็แทนที่จะพลิกไปสนใจอยู่ที่ตัวจิต ว่าจิตหนีไป จิตไปเพ่ง เปลี่ยน ไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว

ถ้าเราดูจิต มันมีจิตอยู่ 2 ดวง ที่ใช้ทำสมถะได้ง่าย ในตำราชอบบอกว่าจิต 2 ดวงนี้ใช้ทำสมถะ ที่จริงถ้าทำเป็นทำวิปัสสนาก็ได้ ดวงหนึ่งก็คือจิตที่มันว่าง จิตมีโอภาส สว่าง ว่าง จิตอยู่ในอรูปที่หนึ่ง อยู่ในช่องว่าง จิตอยู่ในช่องว่าง ช่องว่างกับความว่างไม่เหมือนกัน เคยเห็นท่อน้ำไหม ท่อน้ำ ท่อน้ำประปา ท่อกลมๆ มีรูอยู่ รูมันว่าง แต่มันยังมีขอบ มีเปลือก อันนี้คือช่องว่าง เวลาเราทำสมาธิ เราดูลงไปในว่าง มันจะมีขอบมีเขต อันนี้ถ้าเราน้อมจิตอยู่ในว่างตัวนี้ จิตก็ได้พักผ่อน

จิตอีกดวงหนึ่งที่ใช้พักผ่อนได้ง่าย คือจิตในอากิญจัญญายตนะ ไม่ยึดรูป ไม่ยึดนาม แต่ตัวนี้ทำยากนิดหนึ่ง ของเราถ้าไม่ยึดรูปก็ยึดนาม ไม่เพ่งรูปก็เพ่งนาม อันนี้เพ่งความไม่มีอะไรเลย ทิ้งทั้งรูป ทิ้งทั้งนาม ลงไปว่างๆๆ ว่างจนเรานึกว่านิพพานเลยทีแรก ฉะนั้นอย่างเราดูจิตเกิดดับไปเรื่อยๆๆๆ เห็นราคะเกิดดับ เห็นโทสะเกิดดับ พอจิตมันเหนื่อย มันน้อมเข้าไปว่างๆ อยู่ อย่างนี้ก็ได้ แต่ถ้าทำไม่ได้ หรือจิตมันไม่ใส่ใจที่จะทำ ก็บังคับมัน ย้อนกลับมาทำกรรมฐานพื้นฐาน ที่เราคุ้นเคย

อย่างหลวงพ่อตอนภาวนา ดูจิตจนชำนิชำนาญ สติเร็วมากเลย สมาธิก็ตั้งมั่นอยู่อย่างนั้น ดูเกิดดับๆ ของจิตไปเรื่อยๆ แล้วสุดท้ายจิตหมดแรง พอจิตหมดแรง แทนที่จะทำความสงบ ไปอยู่ในความว่างนิ่งๆ พักผ่อน ไม่หรอก ก็พยายามดูเกิดดับ เรียกว่าตะบี้ตะบันดูไปเรื่อยๆ หรือแทนที่จะกลับมาหายใจตามที่เราถนัด ก็ไม่ทำ รู้สึกเสียเวลา เดินปัญญา โอ๊ย มันมากเลย สนุกสนาน ของไม่เคยรู้ได้รู้ ของไม่เคยเห็นได้เห็น ของไม่เคยเข้าใจได้เข้าใจ แล้วสนุก เลยเมา เมาการทำวิปัสสนา ทิ้งการทำสมถะ ใช้ไม่ได้ สุดท้ายมันก็เกิดวิปัสสนูปกิเลสขึ้นมา

ฉะนั้นเราก็ต้องรู้ สมถะจำเป็น อันแรกเลย ทำให้เรามีแรง อันที่ 2 ทำให้จิตตั้งมั่น เวลาไหนควรทำให้จิตมีแรง ก็ตอนที่จิตมันแรงตกแล้ว ก็รีบทำ ไม่ต้องรอให้มันเหลือ 0 คล้ายๆ แบตเตอรี่มือถือไม่ต้องรอให้ถึง 0 ก่อน เหลือ 10 เราก็เอาไปชาร์จได้แล้ว รอให้ถึง 0 เดี๋ยวแบตเตอรี่พัง เดี๋ยวสติแตกเสียก่อน แล้วจิตตั้งมั่นจะทำตอนไหน ตอนที่จิตมีกำลังแล้ว มีกำลังอยู่เฉยๆ เอาไปทำงานไม่เป็น สงบอยู่เฉยๆ ก็ต้องฝึกให้จิตตั้งมั่น พอจิตตั้งมั่นแล้ว ต่อไปมันจะไปทำงานได้


พอจิตตั้งมั่นแล้ว ต่อไปมันจะไปทำงานได้ งานแรกที่มันทำก็คือ การแยกรูปนาม แยกขันธ์ คนที่เรียนปริยัติ เขาก็รู้จักทั้งนั้น นามรูปปริจเฉทญาณ มีปัญญาแยกรูปนาม พูดได้ แต่แยกได้อย่างไร แยกโดยการคิดเอาว่านี่รูปนี่นาม อันนั้นไม่ได้มีคุณภาพของการแยกเลย เราต้องฝึกจิตจนตั้งมั่น พอจิตตั้งมั่นแล้ว สติระลึกรู้รูป มันจะเห็นรูปกับจิตคนละอันกัน สติระลึกรู้เวทนา ก็จะเห็นเวทนากับรูปคนละอัน เวทนากับจิตก็คนละอัน สติระลึกรู้สังขารที่เป็นกุศลอกุศลทั้งหลาย ก็จะเห็นกุศลอกุศลไม่ใช่รูป แล้วก็ไม่ใช่เวทนา แล้วก็ไม่ใช่จิต เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า มันแยกออกไปเรื่อยๆ แล้วพอแยกเข้ามาถึงชำนิชำนาญ เราจะเห็น จิต เวลาจิตเกิด ไม่ได้เกิดดวงเดียว เกิดดวงเดียวแต่ว่าไม่ใช่เกิดคนเดียว มันเกิดร่วมกับเจตสิกจำนวนมาก

จิตทุกดวงมีเวทนา จิตทุกดวงมีสัญญา แล้วก็มีสังขารบางอย่าง แล้วสังขารที่แตกต่างกันนั้น ก็ทำให้จิตวิจิตรพิศดารแตกต่างกันไป เป็นจิตดี จิตชั่ว จิตดีก็มีหลายระดับ จิตชั่วก็มีเยอะแยะเลย มีมากมาย มันจะค่อยๆ สามารถแยกได้ ถ้าจิตเราตั้งมั่น ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น มันก็แยกด้วยปาก แยกไม่ได้จริงหรอก เกือบร้อยละร้อยของคนภาวนาไม่มีจิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ฉะนั้นภาวนาเหน็ดเหนื่อยมากเลย สุดท้ายก็ท้อแท้ใจ ก็เลิกไป

การทำวิปัสสนา เราก็ต้องรู้ ทำเพื่ออะไร ทำเพื่อให้เห็นความจริงของรูปนามกายใจ เห็นไปทำไม ถ้าเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายคลายความยึดถือ แล้วก็ปล่อยวางรูปนามได้ หลุดพ้น มีวัตถุประสงค์ของมัน เราจะทำวิปัสสนาตอนไหน ตอนที่จิตเราตั้งมั่นแล้ว ถ้าจิตเราไม่ตั้งมั่น ไม่ต้องรีบทำวิปัสสนา มันเป็นวิปัสสนึกหมด คิดๆ เอาทั้งนั้น วิปัสสนะ ก็ต้องเห็นเอา ไม่ใช่คิดเอา มันจะเห็นได้ มันก็ต้องมีผู้เห็น คือจิตที่เป็นผู้เห็นได้ จิตที่เป็นผู้รู้

ฉะนั้นในสายตาหลวงพ่อ ในทัศนะหลวงพ่อ ถ้าเราไม่มีจิตผู้รู้ เราภาวนาไม่ได้จริงหรอก ภาวนาไม่ได้จริง พูดคำว่า “จิตผู้รู้” พวกที่เรียนอภิธรรมเรียนอะไร หรือเรียนสายปริยัติ เขาก็จะไม่เข้าใจ ก็จิตทุกดวงเป็นผู้รู้อยู่แล้ว คำว่า “เป็นผู้รู้” นี้เป็น Technical term ของครูบาอาจารย์วัดป่า จิตทุกดวงเป็นผู้รู้อยู่แล้ว อันนี้ไปทางปริยัติ เพราะจิตทำหน้าที่รู้ แต่จิตผู้รู้ มันเป็นจิตที่ถอนตัวออกจากปรากฎการณ์ คล้ายๆ อยู่เหนือปรากฎการณ์ของรูปธรรมนามธรรม

ไม่ใช่ถอดจิตไปอยู่บนหลังคา มันแยกในความรู้สึก มันเห็นกายก็อันหนึ่ง จิตก็อันหนึ่ง อย่างเดินจงกรม เห็นกายมันเดิน จิตเป็นคนดู รู้อิริยาบถ 4 เห็นอิริยาบถ 4 เห็นร่างกายเคลื่อนไหวไปในอิริยาบถ 4 จิตเป็นคนดู ทำอานาปานสติ ก็ไม่ใช่เอาแต่หายใจให้จิตสงบ ก็จะเห็นว่าร่างกายที่หายใจก็อันหนึ่ง จิตที่รู้ว่าร่างกายหายใจเป็นอีกอันหนึ่ง

ค่อยๆ ฝึก แล้วเราจะรู้เลยว่า การปฏิบัติธรรมจริงๆ ไม่ได้ยากเกินไป ธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอน เป็นธรรมะที่พอดี สำหรับมนุษย์ธรรมดาๆ คนหนึ่ง อย่างพวกเราจะทำได้ ขอให้รู้วิธีเท่านั้น พระพุทธเจ้าไม่เอาอภิธรรมมาสอนมนุษย์เลย ไม่ได้สอนเท่าไรหรอก มีบ้างแบบปนๆ มา อย่างสอนเรื่องขันธ์ 5 อายตนะ 6 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 ปฏิจจสมุปบาท พวกนี้เป็นอภิธรรมทั้งนั้น เราจะได้ยินคำว่า “อภิธรรม” ก็อย่าเพิ่งตกใจ อภิธรรม ที่เราภาวนาแล้ว เราเห็นสภาวะทั้งหลาย เรากำลังเรียนอภิธรรมอยู่

อย่างเราเห็นรูป ร่างกายที่มันเคลื่อนไหว มันรูป จิตมันเป็นคนดู เราเรียนอภิธรรม อภิธรรมเรียนเรื่องอะไร จิต เจตสิก รูป นิพพาน เรียนสิ่งเหล่านี้ ที่เราเรียนก็เรียนอย่างนี้ ที่เราหัดภาวนา เราก็เรียนรู้ ความเป็นไตรลักษณ์ของจิต เจตสิก รูปนั่นล่ะ พอเรียนถ่องแท้แล้ว จิตปล่อยวาง จิต เจตสิก รูปได้ ก็สัมผัสพระนิพพาน เห็น เข้าถึง เข้าถึงพระนิพพาน


การทำสมถะก็ต้องมีปัญญา เพราะฉะนั้นเราต้องรู้ การทำสมถะก็ต้องมีปัญญา ปัญญาอย่างแรก รู้วิธีปฏิบัติ แล้วสมถะมี 2 อัน แต่ละอันทำไม่เหมือนกัน อันหนึ่งน้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ที่มีความสุขอย่างต่อเนื่องจะได้สมถะ ได้สมาธิชนิดสงบ อีกอันหนึ่งก็ทำกรรมฐานอย่างเดิม แต่เปลี่ยนความสนใจมาจากอารมณ์ มารู้ทันจิตตนเอง อย่างถ้าเราใช้จิตตานุปัสสนา จิตโกรธเรารู้ว่าโกรธ ทันทีที่รู้ว่าโกรธ ความโกรธดับ จิตจะตั้งมั่นขึ้นอัตโนมัติ

เรามีราคะ เรามีสติรู้ว่ามีราคะ ทันทีที่เกิดสติ จิตที่มีราคะดับไปเรียบร้อยแล้ว จิตที่มีสติเกิดขึ้นแทนที่แล้ว พอจิตที่มีสติที่เกิดขึ้นแทนที่นั้น มีสัมมาสมาธิประกอบอยู่ด้วยเรียบร้อยเสมอ อันนี้แบบใช้จิตตานุปัสสนา มันจะได้ทั้งสติ ได้ทั้งสมาธิ แล้วสุดท้ายก็มีปัญญา ถ้าใช้กายก็แบบเดียวกันนั่นล่ะ มีสติรู้สึกร่างกายไป

ต่อไปนี้หายใจออกรู้สึกตัว หายใจเข้ารู้สึกตัว เห็นไหมรู้สึกได้นิดเดียว แอบไปคิดเรื่องอื่นแล้ว หายใจไปแล้วแอบไปคิดเรื่องอื่น ทำอย่างไร รู้ว่าหนีไปคิดแล้ว หลงไปคิดแล้ว หลงไปคิดแล้วทำอย่างไร ไม่ต้องทำอย่างไร ขณะที่รู้ว่าหลงคิด จิตที่หลงคิดเป็นอดีตไปหมดแล้ว จิตดวงนี้ตั้งมั่นแล้ว แต่มันสั้นนิดเดียว มันดูยาก ทำบ่อยๆ แล้วมันจะดูได้

สอนกรรมฐานแล้วนึกถึงนิยาย เรื่องฤๅษีเลี้ยงลิง ลิงมันซน พวกเราก็มีลิงอยู่ในตัวเอง กระโดดโลดเต้น เดี๋ยวกระโดดไปทางตา เดี๋ยวกระโดดไปทางหู เดี๋ยวกระโดดไปทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ถ้ารู้ทันลิงตัวนี้ได้ก็โอเคแล้ว หรือเหมือนดูละครก็ได้ เวลาเราอยู่ในโลกนี้ ถ้าเรามีสติอยู่ เรารู้สึกเลย เรากำลังเล่นละครอยู่

การที่เรายิ้ม หัวเราะ หน้าบึ้ง ทางร่างกายเราก็เล่นละครอยู่ เราดูเหมือนดูละคร ในจิตใจก็เหมือนกัน เดี๋ยวตัวดีก็มา เดี๋ยวตัวร้ายก็มา เราก็ตามรู้ตามเห็นอย่างที่มันเป็น เหมือนเรากำลังดูละครอยู่ ละครโรงนี้ชื่อรูปนาม ชื่อกายชื่อใจ เรียนรู้มันไป ดูมันเหมือนดูละคร ดูละครก็คือไม่ต้องจริงจังมาก ดูคนอื่นเขาแสดง แสดงดีไม่ดี ดูไปแล้วโมโห ดูแล้วหมั่นไส้

อย่างดูละคร หลวงพ่อไม่ได้ดูมานานนักหนา ละครไทยหลังข่าวอะไรอย่างนี้ ไม่ชอบดูละครมาแต่ไหนแต่ไร ก็เห็นบ้างอะไรบ้างแบบไม่เจตนา สังเกตนางเอก ยุคนี้ไม่รู้เป็นอย่างไร นางเอกยุคก่อนเรียบร้อย สุภาพ งี่เง่า โดนเขารังแกก็ทำอะไรไม่ได้ ได้แต่ร้องไห้ พระเอกก็เข้าข้างแต่นางผู้ร้าย นางอิจฉา ตอนจบนางเอกชนะ เราดูไปเรื่อยๆ ทีแรกเราก็สงสารนางเอก แต่นางเอกมันโง่ตลอดกาล เราชักโมโหแล้ว

ใครเคยดูละครแล้วโมโหนางเอกไหม ทำไมมันสู้เขาไม่ได้สักที ตบมันเลย ก็เราไม่ใช่ผู้กำกับ เราสั่งให้นางเอกไปตบไม่ได้ เราเป็นแค่คนดู เราตามรู้ตามดู พระเอกก็เหมือนกัน เก่งสารพัดเลย เป็นนักเรียนนอก เป็นทายาทเศรษฐีใหญ่ แต่ถูกนางอิจฉาหลอก พล็อตเรื่องก็ซ้ำๆ อยู่แค่นี้ ไม่ค่อยมีอะไร หลังๆ ก็มีพล็อตเรื่องข้ามภพข้ามชาติ ข้ามมิติ ก็ลอกๆ กันไปทั่วโลก คนเรามันก็คิดได้แค่นี้ คิดในกรอบที่คุ้นเคย

เพราะฉะนั้นธรรมะคิดเอาไม่ได้ ธรรมะเป็นของที่เราไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น ฉะนั้นธรรมะคิดเอาไม่ได้ ปฏิบัติเอา ถ้าต้องการความสงบทำอย่างไร น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ที่มีความสุขอย่างต่อเนื่อง ถ้าต้องการให้จิตตั้งมั่นทำอย่างไร รู้ทันพฤติกรรมของจิต จิตไหลไปทางตาก็รู้ ไหลไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ไหลไปทางใจคือไปคิดก็รู้ จิตก็จะไม่ไหล จิตที่ไม่ไหลไปคือจิตที่ตั้งมั่น

จิตที่ไหลไปหลวงปู่ดูลย์เรียกว่า “จิตออกนอก” จิตที่ออกนอก ไหลไปแล้วเป็นอะไร เป็นสมุทัย เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ พอไหลออกไปมันก็หลงโลก มันก็สร้างความทุกข์ขึ้นมาให้ตัวเอง ท่านบอกว่า “ธรรมชาติของจิตย่อมส่งออกนอก” ฉะนั้นจิตไหลไม่ห้าม ห้ามไม่ได้ ไม่มีใครห้ามได้ จิตเป็นอนัตตา มีธรรมชาติที่จะออกรู้อารมณ์ เพียงแต่ว่าเมื่อมันออกรู้อารมณ์แล้ว ให้เรามีสติรู้ทันเท่านี้เอง จิตหลงไปดู มีสติรู้ จิตหลงไปฟัง มีสติรู้ จิตหลงไปฟัง มีสติรู้ จิตหลงไปคิด มีสติรู้ ไม่ได้แปลว่าห้ามดู ห้ามฟัง ห้ามคิด

ไปเห็นรูปสวย ถ้าเราเห็นได้เร็ว เราก็จะเห็นว่า ตอนนี้จิตหลงไปดู วงจรแห่งความปรุงแต่ง ก็ดับตรงนั้นเลย มีผัสสะปุ๊บ สติรู้ทัน ว่านี่กำลังดูรูปอยู่ นี่ก็แค่รูป ไม่ใช่ผู้หญิงสวย แต่เป็นรูปรูปหนึ่ง เห็นอย่างนี้ปุ๊บ ไม่ปรุงต่อแล้ว ถ้าตัวนี้ยังไม่ทัน ตาเห็นรูปแล้ว เกิดความรู้สึกสุขขึ้นมา รูปนี้สวยถูกอกถูกใจ มีความสุข เห็นคนนี้เกิดขึ้น มันมาให้เราเห็น ศัตรู ใจเราทุกข์ แล้วเดือดเร่าๆๆๆ แล้ว มีสติรู้ คอยรู้เวทนาที่เกิดขึ้น รู้สังขารที่เกิดขึ้นในใจเรา อันนี้ก็ยังดี ใช้ได้ แต่ถ้ามันครอบงำไปแล้ว อย่างไรก็ทุกข์ ใจเราต้องเป็นทุกข์แน่นอน

จับหลักได้ไหม ต้องการความสงบทำอย่างไร น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ที่มีความสุขอย่างต่อเนื่อง แต่วงเล็บไว้นิดหนึ่ง (อารมณ์นั้นต้องไม่กระตุ้นกิเลส) ถ้าต้องการให้จิตตั้งมั่น ก็คือเมื่อมีการกระทบอารมณ์ ให้รู้ทันจิตตัวเอง รู้ทันจิต จิตมันก็กลับมาตั้งมั่นอัตโนมัติ แล้วถ้าจะทำวิปัสสนาทำอย่างไร เจริญปัญญา มีสติรู้รูปนามกายใจอย่างที่มันเป็น แต่เราต้องรู้ด้วยจิตที่ตั้งมั่น พอจิตเราตั้งมั่น เราจะเห็นรูปมันทำงาน เหมือนเราดูละครแล้ว เห็นนามธรรมมันทำงาน เหมือนเราดูละครแล้ว เป็นแค่คนดู


จิตตั้งมั่นเป็นแค่คนดู แล้วเราถึงจะเห็นความจริงของรูปของนามได้ การที่เราไม่ใช่ผู้แสดง แต่เราเป็นผู้ดู เราดูได้ชัดกว่าผู้แสดง ใครเคยดูมวยไหม ดูในทีวีก็ได้ สังเกตไหมว่าโคชเยอะมากเลย เห็นไหมตะโกนโหวกเหวกๆ ต่อยเลย เตะเลย เอ้า เตะขวา เตะน่อง เตะโน่น สอนกันเยอะแยะเลย ทำไมคนดูมันสอนเก่ง เพราะมันเป็นคนวงนอก มันรู้นักมวยคนนี้มีจุดอ่อนตรงไหน มันดูจากคนวงนอก ส่วนคนที่ไปชกจริง มันเมาหมัด มันดูไม่ออก

กรรมฐานก็เหมือนกัน ต้องดูแบบคนวงนอก จิตตั้งมั่นเป็นแค่คนดู แล้วเราถึงจะเห็นอะไรชัด เห็นความจริงของรูปของนามได้ ถ้าจิตเราไหลเข้าไปคลุกวงใน ดูอะไรไม่รู้เรื่องหรอก ตัวนี้เป็นตัวแตกหักเลย ที่ว่าภาวนากันแล้ว ทำไมเข้าไม่ถึงมรรคผลกันเสียที เพราะจิตมันไม่ตั้งมั่น พอจิตตั้งมั่น ไปเห็นรูปเห็นนามกระทบอารมณ์แล้ว บางทีมันไม่สักว่ากระทบหรอก มันแถมด้วยความยินดียินร้ายเข้ามาด้วย

เห็นผู้หญิงสวย จิตมีราคะขึ้นมา ชอบ พอเราชอบผู้หญิงคนนั้น ราคะนี้เราปล่อยทิ้งแล้ว มีก็ไม่เป็นไร ไม่สนใจมันแล้ว ก็ให้รู้ทันตัวเอง ไปชอบเขาแล้วก็ให้รู้ หรือเวลาความสุขเกิดขึ้น เรารู้ว่ามีความสุข แล้วเราชอบความสุขที่เกิดขึ้น อันนี้ก็ให้รู้ว่าชอบ จิตไม่เป็นกลาง เพราะฉะนั้นจิตตั้งมั่นแล้วเห็นสภาวะ ก็ยังมีปัญหาอีก มันอาจจะไม่เป็นกลางกับสภาวะขึ้นมาอีก ถ้ามันเกิดไม่เป็นกลางกับสภาวะ ให้รู้ทันลงไปอีกชั้นหนึ่ง จิตยินดีให้รู้ทัน จิตยินร้ายให้รู้ทัน

อย่างเวลาเราเห็นคนหนึ่ง เราไม่ชอบ พอเห็นปุ๊บความโกรธเกิด เรามีสติรู้ความโกรธ ถ้าเห็นจิตมันจะตั้งมั่นขึ้นมา แต่ว่าพอเห็นแล้ว มันไปเกิดความเกลียดคนนี้ แล้วมันไปเกิดความเกลียดความโกรธของตัวเอง ใครเคยโมโหตัวเองไหม ลองยกมือหน่อย มีไหม ใครเคยโกรธตัวเองบ้าง เห็นไหมเป็นทุกคนล่ะ เพราะฉะนั้นเวลาเรากระทบอารมณ์อันหนึ่งแล้ว จิตมันยังมีปฏิกิริยาต่อเนื่อง มีปฏิกิริยาลูกโซ่ เป็นความยินดียินร้าย ให้รู้ทันตัวนี้เข้าไป ตัวนี้เป็นปัจจุบัน ส่วนความรู้สึกอันแรกจบไปแล้ว แล้วเกิดความยินดียินร้ายขึ้นมาแทนที่ ยินดียินร้ายเลยเป็นปัจจุบัน

เพราะฉะนั้นถ้าเราดู ดูความโกรธ แล้วทำไมมันไม่หายสักที เราดูไม่เป็นหรอก อย่างเวลาเราเห็นจิตโกรธ เราไม่ชอบ ความโกรธ สมมติว่าโกรธนายคนนี้ โกรธครูบา เอ๊ะ ทำไมไม่หายสักที มองหน้าครูบาไปแล้ว เมื่อไรจะหายโกรธ ก็เอาเชื้อเพลิงใส่เข้าไปเรื่อยๆ แล้วตรงที่อยากหายโกรธนั้น จิตมันไม่ชอบความโกรธ เคยเห็นไหม ตัวนี้สำคัญ มันละเอียดมากขึ้น มากกว่าที่จะรู้ว่าตอนนี้โลภ โกรธ หลงอะไร คือรู้ว่าตอนนี้กำลังยินดีกับอารมณ์อันนี้ กำลังยินร้ายกับอารมณ์อันนี้

รู้ทันตัวนี้เข้าไป ตัวนี้ละเอียดมากกว่าการรู้โลภ โกรธ หลง เสียอีก มากกว่ารู้กุศล มากกว่ารู้สุขรู้ทุกข์ ความสุขเกิดขึ้น รู้ว่ามีความสุข เออ เก่ง ยินดีในความสุขเห็นไหม ถ้าไม่เห็นก็จะติดสุข ความทุกข์เกิดขึ้น รู้ว่ามีความทุกข์ ก็เก่งระดับหนึ่ง รู้ไหมว่ากำลังเกลียดความทุกข์ ถ้ารู้นี้เก่งจริง ถ้าไม่รู้ว่ากำลังเกลียดความทุกข์อยู่ ไม่เก่งจริง อย่างเวลาเรามีความทุกข์ เราดูจิต เราก็เมื่อไรมันจะหาย เมื่อไรมันจะหาย อันนี้ดูด้วยความเกลียดความทุกข์ ความเกลียดอยู่ในตระกูลอะไร ตระกูลโทสะ

เพราะฉะนั้นความทุกข์นั้นไม่หายหรอก เราเอาโทสะมาใส่เข้าไปอีก เรายิ่งทุกข์หนักกว่าเก่าอีก ฉะนั้นเวลาที่เราเดินปัญญา รู้สภาวะที่กำลังมีกำลังเป็น แล้วก็จิตใจเราเกิดปฏิกิริยาอย่างไร ยินดีให้รู้ทัน ยินร้ายให้รู้ทัน จิตก็จะไม่ใช่แค่ตั้งมั่น แต่ว่าจะตั้งมั่นแล้วก็เป็นกลางด้วย คือจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางนี้ล่ะ คือจิตที่เดินปัญญาได้อย่างแท้จริง ทำวิปัสสนาได้อย่างแท้จริง ลำพังจิตตั้งมั่น แต่ว่ายังไม่เป็นกลางง่ายๆ ตั้งมั่นแล้วเดี๋ยวก็ไหลอีกแล้ว ยินดีบ้าง ยินร้ายบ้าง

เห็นกิเลสก็เกลียด เห็นกุศลก็ชอบ อันนี้ไม่เป็นกลาง ไม่เป็นกลางจิตก็ดิ้นรนมากต่อไปอีก ปรุงแต่งต่อไปอีก ก็ยังใช้ไม่ได้ ค่อยๆ ฝึกไป เพราะฉะนั้นทีแรกรู้สภาวะที่มีที่เป็น รู้ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นที่ใจ แล้วปฏิกิริยาชั้นลึกลงไป ก็คือยินดียินร้าย รู้ลงไป ไม่ต้องพยายามดู ดูเท่าที่ดูได้ ไม่ใช่มานั่งอยู่ตอนนี้ ไหนตอนนี้ยินดีหรือยินร้าย นี่คิดเอาแล้ว ฟุ้งซ่านแล้ว ต้องดูเอา


หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 7 กันยายน 2567


Qrcode for iDhamma.png
主题: 中文书籍 · 阿紫翻译 · 中文字幕 · 法谈摘录 · 法译文集
法语微言 · 学篇 · 戒学篇 · 心学篇 · 心念处篇 · 身念处篇 · 慧学篇 · 五蕴篇 · 奢摩他篇 · 毗钵舍那篇 · 觉性篇 · 四圣谛篇 · 八支圣道篇 · 解脱篇
首页 · 历届中文 · ไทย · EN课程总览
中国 C:1 · 2 · 3
泰国 T:1 · 2 · 3 · 4 · 5 · 6 · 7 · 8 · 9 · 10 · 11 · 12 · ☆第13届泰国四念处课程实录
大马 M:1 · 2
远程 E:1 · 2 · 3 · 4 · 5 · 6 · 7 · 8 · 9
日常 D:2013 · 2014 · 2015 · 2016 · 2017 · 2018 · 2019 · 2020 · 2021 · 2022 · 2023 · ☆2024年度最新视频回放 · 本年网盘
注:C-国内 · T-泰国 · M-大马 · E-远程 · D-日常 · 帮助文档


媒体平台
法堂直播·简版 · 法藏资源 · 法宝云盘 · 法讯互助禅窗 · 甘露雨 · 指月录 · 当下就启程吧 · 温柔的法音 · Go Sati
全球: 解脱园 · 甘露雨 · 甘露雨APP · 千聊 · 四念处Podcast-中 · Podcast-EN · Podcast-ไทย · 四念处学会| 海外: YT·Audio-中 · YT-中· YT-ไทย · YT-EN · FB-中 · FB-ไทย · FB-EN · 静虑林