有觉性 以安住且中立的心 照见身心的实相
D24.74《隆波帕默尊者开示》-2024年9月1日-Thai:修订间差异
(创建页面,内容为“พ้นทุกข์เพราะรู้ความจริง ธรรมะเป็นของดีของวิเศษมาก สามารถเปลี่ยนคน จากคนมืดบอด ให้มีหูมีตาสว่างไสวขึ้น รู้ความจริงของชีวิตได้เยอะขึ้น บางคนมืด มาภาวนาแล้วมันก็…”) |
小无编辑摘要 |
||
(未显示同一用户的2个中间版本) | |||
第1行: | 第1行: | ||
{{页面横幅}} | |||
[[文件:2024.09.01 隆布帕默长老直播-网络版.mp3|center]] | |||
[[文件:2024.09.01 隆布帕默长老直播-网络版.mp4|center]] | |||
[[File:พ้นทุกข์เพราะรู้ความจริง หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช 1 ก.ย. 2567.mp3|800px|center]] | |||
<center>[[D24.74《隆波帕默尊者开示》-2024年9月1日-Thai|泰语开示]]</center> | |||
พ้นทุกข์เพราะรู้ความจริง | พ้นทุกข์เพราะรู้ความจริง | ||
ธรรมะเป็นของดีของวิเศษมาก สามารถเปลี่ยนคน จากคนมืดบอด ให้มีหูมีตาสว่างไสวขึ้น รู้ความจริงของชีวิตได้เยอะขึ้น บางคนมืด มาภาวนาแล้วมันก็สว่างขึ้น บางคนสกปรกก็สะอาดขึ้น เสียดาย คนในโลกละเลยที่จะเรียนรู้ธรรมะ | ธรรมะเป็นของดีของวิเศษมาก สามารถเปลี่ยนคน จากคนมืดบอด ให้มีหูมีตาสว่างไสวขึ้น รู้ความจริงของชีวิตได้เยอะขึ้น บางคนมืด มาภาวนาแล้วมันก็สว่างขึ้น บางคนสกปรกก็สะอาดขึ้น เสียดาย คนในโลกละเลยที่จะเรียนรู้ธรรมะ | ||
第122行: | 第133行: | ||
วัดสวนสันติธรรม | วัดสวนสันติธรรม | ||
1 กันยายน 2567 | 1 กันยายน 2567 | ||
{{法谈泰文全篇}} | |||
{{课程导航}} | |||
[[Category:隆波帕默尊者|D]] |
2024年9月19日 (四) 13:40的最新版本
พ้นทุกข์เพราะรู้ความจริง ธรรมะเป็นของดีของวิเศษมาก สามารถเปลี่ยนคน จากคนมืดบอด ให้มีหูมีตาสว่างไสวขึ้น รู้ความจริงของชีวิตได้เยอะขึ้น บางคนมืด มาภาวนาแล้วมันก็สว่างขึ้น บางคนสกปรกก็สะอาดขึ้น เสียดาย คนในโลกละเลยที่จะเรียนรู้ธรรมะ
ในโลกเต็มไปด้วยปัญหา ปัญหาเป็นของคู่กับชีวิต ไม่มีชีวิตช่วงไหนที่ไม่มีปัญหา อย่างตอนเราเด็กๆ เล็กๆ อย่างนี้ ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องอาศัยผู้ใหญ่ อาศัยพ่อแม่ เด็กบางคนไม่มีพ่อแม่ ไม่มีผู้ใหญ่ดูแล เอาไปทิ้ง ช่วยตัวเองไม่ได้ ถ้าไม่มีคนไปช่วยก็ตาย โตขึ้นมามีปัญหาต้องไปเรียนหนังสือ ยิ่งยุคนี้เรียนกันจนไม่รู้จะเรียนอย่างไรแล้ว จนไม่มีเวลาให้เด็กไปวิ่งเล่นแล้ว เรียนที่โรงเรียนแล้ว ตกเย็นต้องไปเรียนพิเศษ ครูก็ครูคนเดิมบางที ก็เรียนเยอะขึ้น ฉลาดขึ้นหรือเปล่าไม่รู้แต่เรียนมากขึ้นหนักขึ้น มีความสุขไหม คนชอบเรียนมันก็มีความสุข คนไม่ชอบเรียนก็ทุกข์
เป็นวัยรุ่นก็มีปัญหา ต้องการค้นพบอัตลักษณ์ของตัวเอง หาตัวเอง พยายามไปรวมกลุ่มเพื่อน จะได้มีตัวมีตนขึ้นมา ถ้าไม่มีเพื่อนฝูงเลย ก็รู้สึกเหมือนคนไม่มีตัวตน ไปทางไหนคนก็มองไม่เห็น ต้องไปอาศัยเพื่อนฝูง เจอเพื่อนดีก็ดีไป รวมกลุ่มพวกแย่ก็แย่ไป โตขึ้นมาอีกหน่อยก็มีปัญหาหาแฟน ต่อมาก็มีปัญหาต้องทำมาหากินด้วยตัวเอง บางคนก็ประสบความสำเร็จ บางคนก็ล้มเหลว พวกประสบความสำเร็จก็เมา ก็ต้องรักษาสิ่งที่ได้มา ต้องพยายามหาให้มากขึ้นเพื่อความมั่นคง พวกล้มเหลวชีวิตก็อับเฉาไป
พออายุกลางคนก็มีปัญหาความมั่นคงของชีวิต หาได้หรือยัง ถ้าช่วงกลางคนยังตั้งตัวไม่ได้ ตั้งหลักไม่ได้ ตอนแก่ลำบากแน่นอนเลย ก็เครียด จะหาอยู่หากินอย่างไร ภาระเยอะแยะ ส่งลูกเรียนหนังสืออะไรอย่างนี้ อายุเยอะกว่านั้น ก็มีปัญหาสุขภาพอีกแล้ว มีปัญหาความพลัดพราก คนที่เคยรู้จัก คนที่รักอะไรอย่างนี้ เริ่มล้มหายตายจากไป อย่างคนแก่มาเจอกัน จะมาคุยกัน เพื่อนคนไหนตายไปบ้างแล้ว เหมือนกันหมด คนแก่มาเจอกันจะมาคุยกันเรื่องคนไหนตายแล้ว สุดท้ายมันตายทุกคน
บางคนก็เป็นผู้ป่วยติดเตียง เหมือนเด็กทารกอีกแล้ว เด็กทารกนอนอยู่ ไม่มีคนป้อนข้าวป้อนน้ำ ไม่มีคนอาบน้ำเช็ดตัวให้ ฉะนั้นอยู่ไม่ได้ แก่มากๆ เข้า ต้องมีคนมาช่วยดูแลมากมาย ถ้าเราสังเกตชีวิตเราที่ผ่านมา ช่วงไหนที่มันจะมีความสุขจริง มันไม่มีสักช่วงเลย ตั้งแต่เกิดจนตาย นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ยิ่งคนที่ไม่ได้ศึกษาปฏิบัติธรรม น่าสงสาร มันเหมือนคนตาบอด ไม่ได้แกล้งว่าเขา แต่มันเหมือนจริงๆ มันก็คลำๆ ไป ไม่รู้เหนือรู้ใต้
เราปฏิบัติธรรม เรามุ่งไปสู่ความพ้นทุกข์ ภาษาโบราณ ไม่รู้เหนือรู้ใต้ คือไม่รู้จะไปทางไหนดี ชีวิตไม่มีทิศทางที่ชัดเจน แต่พวกเราปฏิบัติธรรม เรามีทิศทางที่ชัดเจน เรามุ่งไปสู่ความดับทุกข์ มุ่งไปสู่ความพ้นทุกข์ แล้วเราไม่ต้องรอว่าตายแล้วถึงจะพ้นทุกข์ หลายคนคิดว่าเราทําความดีไว้ภาวนาไว้ พอตายแล้วไปเกิดที่ดี นี่พ้นทุกข์ หรือเราภาวนาเราคิดเอาเองว่า ถ้าเราได้มรรคผลนิพพานแล้ว พอตายแล้วเราพ้นทุกข์
ถ้าคิดอย่างนั้นยังดูถูกศาสนาพุทธมากไปหน่อย ศาสนาพุทธไม่ต้องรอให้ตายแล้วถึงจะพ้นทุกข์หรอก เราสามารถพ้นทุกข์ตั้งแต่ยังไม่ตาย ภาวนาให้ได้ก็แล้วกัน ตั้งอกตั้งใจศึกษา แล้วก็ปฏิบัติ ศึกษาอะไร ศึกษาวิธีปฏิบัติ พอรู้วิธีปฏิบัติที่ชัดเจนแล้วก็ลงมือปฏิบัติ ปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม ให้จิตมันรู้แจ้งเห็นจริง นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป
ถ้าจิตมันเห็นอย่างนี้ จิตมันจะเบื่อหน่าย คลายความยึดถือในสิ่งทั้งหลายทั้งปวง จิตที่ไม่มีความอยาก จิตที่ไม่มีความยึด จิตก็ไม่มีความดิ้นรน ไม่มีความปรุงแต่ง เมื่อจิตไม่มีความดิ้นรนปรุงแต่ง จิตก็ไม่ทุกข์ ที่จิตเราทุกข์เพราะจิตเรามีความอยาก มีความยึดมีความดิ้นรนปรุงแต่ง แล้วจิตก็เลยทุกข์ขึ้นมา ถ้าเราละความอยากได้ จิตเราก็หมดความปรุงแต่ง การละความปรุงแต่งนั้นไม่ใช่ละด้วยความปรุงแต่ง
บางคนพยายามละความปรุงแต่งของจิตด้วยการเข้าสมาธิ เข้าอรูปฌานไป นิ่ง แทบไม่มีความรู้สึกตัวเลย แล้วบอกว่าไม่ได้ปรุงแต่งแล้ว ตรงนั้นมีความสุขไหม ถ้าสติปัญญายังไม่พอ ก็รู้สึกมีความสุขมาก ซึ่งในโลกไม่มี ในโลกมันวุ่นวาย อย่างถ้าเราทำความสงบ เข้าสมาธิลึกลงไปจนกระทั่งร่างกายหายไป โลกหายไป ความคิดหายไป เหลือความรู้สึกอยู่นิดเดียว แล้วก็คิดว่านี่ไม่ปรุงแต่งแล้ว ที่จริงอันนี้ก็ยังเป็นความปรุงแต่งอยู่ ปรุงแต่งอรูปฌาน ปรุงแต่งอเนญชาภิสังขาร อเนญชาภิสังขารปรุงเหมือนกับไม่ปรุงเลย สุดท้ายพอออกจากสมาธิมา มันก็ปรุงต่ออีก ตราบใดที่จิตยังดิ้นรนปรุงแต่ง จิตก็ไม่พ้นจากความทุกข์
ความดิ้นรน บางทีก็เรียกว่าสังขาร เคยมีพระองค์หนึ่งท่านอยู่ป่าช้า ไปดูเขาเผาศพแล้วท่านบรรลุพระอรหันต์ ท่านก็อุทานธรรมะมาบทหนึ่ง “อนิจจา วะตะ สังขารา อุปปาทะวะยะธัมมิโน อุปัชชิตวานิรุชฌันติ เต สังวู ปะสะโม สุโข” ประโยคสุดท้ายบอก สังขารทั้งหลายสงบเสียได้เป็นสุข สังขารคือถ้าไม่ได้ภาวนา ก็คิดว่าท่านไปดูคนตาย แล้วบอกว่า เออ สังขารร่างกายมันแตกดับไปแล้วมีความสุข ท่านไม่ได้อุทานให้คนอื่น ท่านอุทานที่จิตของท่านเอง อะไรเป็นความปรุงแต่งที่ว่าสงบเสียได้เป็นสุข ความปรุงแต่งในจิตของท่านนั่นล่ะ ท่านเห็นโลกตามความเป็นจริง โอ ทุกอย่างเกิดแล้วดับ คนเราเกิดมาแล้วก็ตายจะสวยงามแค่ไหนสุดท้ายก็ตาย นี่เป็นความจริงของโลก
พอท่านเห็นตามความเป็นจริง ท่านก็เบื่อหน่าย ท่านคลายความยึดถือ พอท่านเบื่อหน่าย คลายความยึดถือ ก็ไม่มีความอยาก ไม่มีความยึด ก็ไม่มีความปรุงแต่ง จิตท่านพ้นจากความปรุงแต่ง แล้วท่านก็บอกว่าสังขารทั้งหลายสงบเสียได้เป็นสุข จิตที่พ้นความปรุงแต่งมีความสุข ถามว่าจิตพระอรหันต์มีความปรุงแต่งไหม ยังมีความคิดนึกอะไรไหม มี แต่ความปรุงแต่งย้อมจิตไม่ได้ เข้ามาไม่ถึงจิต มันสักว่าปรุงแต่งไปอย่างนั้นเอง ตามหน้าที่
อย่างครูบาอาจารย์ท่านเทศน์หรือพระพุทธเจ้าท่านเทศน์ ขันธ์ท่านก็ทำงานไปตามหน้าที่ แต่จิตท่านไม่ได้เข้าไปเกาะเกี่ยวยึดถืออะไรเลย เพราะฉะนั้นจิตของท่านสงบ สันติ ไม่ถูกอะไรปรุงแต่งทั้งสิ้น อยู่ท่ามกลางความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวง แต่จิตไม่เข้าไปเกาะเกี่ยวยึดถือ จิตก็พ้นจากความปรุงแต่ง จิตก็เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง คือพระนิพพาน นิพพานไม่ใช่โลกๆ หนึ่ง ถ้านิพพานยังเป็นโลกๆ หนึ่ง อันนั้นนิพพานปลอม เป็นนิพพานพรหมอะไรพวกนี้ มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไป เช่นเดียวกับโลกอย่างอื่นนั่นล่ะ
ฉะนั้นนิพพานจริงๆ เป็นสภาวะที่สิ้นความปรุงแต่ง เรียกวิสังขาร เราจะเข้าถึงตรงนี้ได้ บอกแล้ว ต้องละความอยาก ละความยึด ละความดิ้นรนปรุงแต่งได้ จะละความดิ้นรนปรุงแต่งได้ ก็ต้องอยู่ที่ละความอยากความยึดได้ แล้วทำอย่างไรจะละความอยากได้ ตัวนี้จะตอบโจทย์การปฏิบัติที่สำคัญของเรา
ทำอย่างไรจะละความอยากได้ หลายคนก็หาทางละความอยาก มีมาก่อนพระพุทธเจ้า พวกที่พยายามละความอยาก ละตัณหา รู้ว่าตัณหาเกิดทีไร ความทุกข์ก็เกิดทุกที บางลัทธิเขาก็รู้ตรงนี้ รู้จักสมุทัย แต่เขาไม่รู้จักอริยสัจ รู้ไม่พอ เขาพยายามละตัณหาด้วยการฝืน จิตอยากอันนี้ ก็ทำสิ่งที่ตรงข้าม ไม่ตามใจจิต หิวข้าว จิตอยากหาข้าวมากิน ก็ไม่กินมัน มันอยากสบาย มันอยากนอน ไม่นอนมัน มันร้อน มันอยากอาบน้ำ ไม่อาบน้ำ ไปนั่งตากแดดเล่น คิดว่าวิธีอย่างนี้ช่วยละตัณหาได้ มันก็คือวิธีของอัตตกิลมถานุโยค
พระพุทธเจ้าท่านค้นพบว่าเหนื่อยเปล่า ไม่มีประโยชน์อะไร ไม่สามารถละตัณหาได้ ท่านก็มาภาวนาของท่านต่อ ดูของท่านไปเรื่อยๆ อะไรเป็นต้นเหตุของตัณหา ตัวเวทนาเป็นต้นเหตุของตัณหา เวลาเรามีความสุข เห็นไหม เราก็อยากให้มันอยู่นานๆ พอความสุขหายไป เราจำได้ว่าความสุขมันเป็นอย่างนี้ มันดีอย่างนี้ มันหายไปแล้ว เราก็อยากให้มันกลับมา อยากได้ ได้มาเราก็อยากรักษาไว้ เวลาความทุกข์เกิดขึ้น เราก็อยากให้หมดไปสิ้นไป พอมีความอยาก จิตก็จะยึดถือ จิตยึดถือ จิตก็ดิ้นรน จิตดิ้นรน จิตก็ทุกข์
ทำอย่างไรจะไม่อยาก เราห้ามได้ไหมว่าอย่ามีความสุข อย่ามีความทุกข์ อย่ามีความไม่สุขไม่ทุกข์ เราห้ามเวทนาไม่ได้ เวทนานี้เป็นองค์ธรรมที่เกิดร่วมกับจิตทุกดวง จิตพระอรหันต์มีเวทนาไหม มี ฉะนั้นเวทนาเป็นของที่เกิดร่วมกับจิตทุกดวง สัญญาเป็นของที่เกิดร่วมกับจิตทุกๆ ดวง สังขารบางอย่างเกิดร่วมกับจิตทุกดวง
ฉะนั้นเราจะไปห้ามว่าอย่ามีเวทนา พยายามละเวทนา อันนี้ฝืนธรรมชาติ เวทนามาจากผัสสะ การกระทบอารมณ์ เรากระทบอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะมีเวทนาเกิดขึ้น ห้ามการกระทบได้ไหม ห้ามไม่ได้ มีตา มันก็เห็นรูป มีหู มันก็ได้ยินเสียง มีจมูก มันก็ได้กลิ่น มีลิ้น มันก็รู้รส มีกาย มันก็กระทบสัมผัส ความเย็น ความร้อน ความอ่อน ความแข็ง ความตึง ความไหว กระทบร่างกาย มีใจมันก็คิด นึก ปรุงแต่ง รู้อารมณ์โน้นอารมณ์นี้ไปเรื่อยๆ ฉะนั้นเราห้ามผัสสะ ก็ห้ามไม่ได้ ห้ามเวทนาก็ห้ามไม่ได้
แล้วทำอย่างไรตัณหาจะไม่เกิด พิจารณาต่อไปเรื่อยๆ ท่านก็จะพบว่าลึกลงไปถึงที่สุด ตัณหามันเกิดจากความไม่รู้ความจริงของกายของใจ นี่เป็นรากเป็นเหง้าที่ทำให้เกิดตัณหา การไม่รู้ความจริงของรูปนาม กายใจ เรียกว่าอวิชชา เราไม่รู้ว่ารูปนาม กายใจของเรานี่คือตัวทุกข์ ไม่ต้องหาทางละ ทุกข์ให้รู้ๆ ฉะนั้นเราคอยรู้กายคอยรู้ใจ สิ่งที่ละคือสมุทัย แล้วทําอย่างไรจะละสมุทัยได้ รู้ทุกข์เมื่อไร ละสมุทัยเมื่อนั้น
นี่ความอัศจรรย์ที่มหาอัศจรรย์ อัศจรรย์อย่างยิ่งเลย รู้ทุกข์เมื่อไรก็ละสมุทัยเมื่อนั้น ละสมุทัยได้เมื่อไรก็จะแจ้งนิโรธ สัมผัสพระนิพพานเมื่อนั้น สัมผัสพระนิพพานเมื่อไร อันนั้นล่ะอริยมรรคเกิดขึ้น ฉะนั้นการรู้ทุกข์ ละสมุทัย จนกระทั่งแจ้งนิโรธ เจริญอริยมรรคขึ้นมา สำเร็จในขณะจิตเดียว งาน 4 งาน คืองานรู้ทุกข์ งานละสมุทัย งานแจ้งนิโรธ งานเจริญมรรค สำเร็จในขณะเดียวเท่านั้นเอง แป๊บเดียว รู้ทุกข์เมื่อไรก็ละสมุทัยได้เมื่อนั้น ละสมุทัยเมื่อไรก็แจ้งนิโรธเมื่อนั้น ขณะนั้นมรรคก็เกิดขึ้นแล้ว
การรู้ทุกข์ ถ้าเรารู้ทุกข์ได้แจ่มแจ้ง สมุทัยคือตัณหา มันถูกละได้อย่างไร อย่างถ้าเรารู้ความจริง ร่างกายนี้ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย นี่คือความจริง ความอยากที่จะให้ร่างกายไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เราอยากให้ร่างกายไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย เป็นความไร้เดียงสาของเรา เพราะเราไม่รู้จักชีวิตที่แท้จริง ไม่รู้จักทุกข์ เราเลยไปอยากในสิ่งซึ่งเป็นไปไม่ได้ อยากไม่แก่ อยากไม่เจ็บ อยากไม่ตาย เป็นไปไม่ได้
เด็กเกิดมา 1 ชั่วโมงมันก็แก่ไป 1 ชั่วโมงแล้ว มันไม่สบาย มันก็เจ็บ บางทีเกิดมาแป๊บเดียวก็ตายแล้ว มันก็เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่ต้องรออายุ 60 แล้วเรียกว่าแก่ เกิด 1 วันก็คือแก่ 1 วัน เกิด 2 วันก็แก่ 2 วัน ถ้าจิตมารู้ความจริงของร่างกายว่าร่างกายนี้ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เป็นธรรมดา ความอยากที่จะให้ร่างกายไม่แก่ ไม่เจ็บไม่ตาย ก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะความอยากอันนี้เป็นเรื่อง Innocent เรื่องไม่มีสาระแก่นสารอะไร มันเป็นไปไม่ได้ ถ้าเกิดแล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย
เพราะฉะนั้นการที่เรามีสติระลึกรู้ความจริงของร่างกายไปเรื่อยๆ เห็นแต่ร่างกายนี้เต็มไปด้วยอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอะไรอย่างนี้ ก็แจ่มแจ้งขึ้นมา ร่างกายนี้มีธรรมดาต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ก็จะไม่เกิดตัณหา ไม่มีสมุทัย คือไม่มีความอยากจะไม่แก่อยากจะไม่เจ็บ อยากจะไม่ตาย พอไม่มีความอยากเกิดขึ้น ความดิ้นรนของจิตก็จะไม่เกิดขึ้น
อยากไม่แก่นี่ดิ้นรนไหม เห็นไหมหลวงพ่อนั่งรถเข้ากรุงเทพฯ เห็นโฆษณาคัทเอาท์อันใหญ่ๆ ฉีดอะไรต่ออะไร ให้ไปฉีดจะได้ดูไม่แก่ มันแค่ดูไม่แก่ แต่จริงๆ มันแก่ มันแค่หลอกตาเท่านั้นเอง อย่างไปฉีดหน้าเหี่ยวหน้าย่น มีรอยยับย่น จะไปฉีดให้มันตึงอะไรอย่างนี้ ถามว่าจริงๆ มันแก่ไหม มันแก่ พอยอมรับไม่ได้ เห็นไหมมีภาระมากเลย จะไปผ่าตัดที่ไหนดี จะไปฉีดอะไรที่ไหนดี เขาเรียกฉีดอะไร จำไม่ได้เห็นแวบๆ เห็นมีฉีดตั้งหลายอย่าง
ถ้าอยากตกลงใจจะไปทำแล้ว จะเอาเงินที่ไหนล่ะ เห็นไหมปรุงต่อแล้ว วุ่นวายแล้ว จะไปทำที่ไหนดี มีเงินมากจะบินไปทำที่ใกล้ๆ ประเทศจีนนั่นหรือเปล่า ไม่เอ่ยชื่อ เดี๋ยวเป็นการโฆษณา ไม่ได้สปอนเซอร์ในโฆษณา หรือถ้าเงินน้อยหน่อยจะทำเมืองไทยจะทำที่ไหน เห็นไหมปรุงแต่งทั้งนั้นเลย ฟุ้งทั้งนั้นเลย บางทีแค่คิดว่าจะไปเสริมสวยที่ไหน นอนไม่หลับ จะเอาเงินที่ไหน จะไปทำที่ไหน จะไปทำเมื่อไร ทำแล้วจะดีไหม บางคนทำแล้วแย่กว่าเก่าอีก
ความทุกข์เกิดเพราะไม่เห็นความจริง ถ้าใจมันยอมรับได้ เกิดเราแก่ แก่เราก็ไม่ทุกข์ ไม่กลุ้ม เพราะยอมรับความจริงได้ ถ้ายอมรับความจริงได้ว่าเราต้องเจ็บ เจ็บไข้ได้ป่วยเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต ยอมรับได้เวลาเราเจ็บป่วยขึ้นมา เราก็เห็นว่ามันธรรมดา ยอมรับได้ว่าความตายเป็นเรื่องธรรมดา คนที่เรารักจะตายก็เป็นเรื่องธรรมดา ตัวเราเองจะตายก็เป็นเรื่องธรรมดา
กลัวตาย ไม่อยากตาย แต่ก็อยากเกิด ทั้งๆ ที่เกิดทีไรก็ต้องตายทุกที นี่ใจที่มันไม่เห็นความจริงไม่รู้ความจริงของร่างกาย ยอมรับไม่ได้ว่ากายต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย จิตใจก็เกิดความอยาก เกิดความยึดถือ เกิดความดิ้นรนปรุงแต่ง เกิดภาระเครื่องพะรุงพะรังขึ้นในใจ นี่ล่ะความทุกข์มันเกิด เพราะไม่เห็นความจริงของร่างกาย
ทีนี้เราไม่ได้มีแต่ร่างกาย เรามีส่วนของนามธรรมด้วย ถ้าเราเจริญสติเจริญปัญญา เรียนรู้นามธรรมทั้งหลาย เราก็จะเห็นความจริงความสุขก็ไม่เที่ยง ความทุกข์ก็ไม่เที่ยง กุศลก็ไม่เที่ยง อกุศลก็ไม่เที่ยง ความสุขก็ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมบังคับ ความทุกข์ก็ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมบังคับ กุศลหรืออกุศลก็ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมบังคับ นี่คือความจริงของนามธรรมทั้งหลาย ถ้าเรายอมรับความจริงไม่ได้ จิตก็จะดิ้นรนปรุงแต่ง
ยกตัวอย่าง อย่างเรามีความสุขๆ อยู่ เราก็อยากให้ความสุขนี้อยู่นิรันดร บางคนมีเงิน รู้สึกสบาย มีความสุข อยากได้อะไรก็ได้ แต่ก็กลัวว่าวันหนึ่งไม่มีเงินแล้ว จะหาความสุขนี่ไม่ได้ หรือมีความสุขจากการดูหนังฟังเพลง ถ้าไม่ได้ดูหนังไม่ได้ฟังเพลง ชีวิตจะต้องไม่มีความสุข มีความสุขจากการได้ร้องคาราโอเกะ วันไหนไม่ได้ร้อง หงุดหงิดอะไรอย่างนี้ มันติด มันเป็นเรื่องของความติดอกติดใจ รักใคร่พัวพันเรียกว่ามันมีกามุปาทาน มันยึดในความสุข
แล้วมันไม่เคยปฏิบัติ มันก็ไม่เห็นความสุขเป็นของไม่เที่ยง มันก็อยากให้มันเที่ยง มีไหมความสุขที่เที่ยง ไม่มี ลองนึกทบทวนดู ในชีวิตเราผ่านสิ่งที่เรียกว่าความสุขมามากน้อยแค่ไหน แล้วเที่ยงไหม ไม่เคยเที่ยงเลย ไม่เคยเที่ยง แค่กินของอร่อยก็มีความสุขได้ สมมติว่าเราชอบกินไข่เจียว กินข้าวกับไข่เจียว มีความสุข อร่อย กินไปทุกวันๆ กินไม่เลิก แล้วมันจะมีความสุขไหม มันก็เบื่อ มันไม่ยั่งยืนของเหล่านี้
ถ้าเราภาวนาเราก็จะเห็นความสุขเป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ควบคุมบังคับไม่ได้ ความทุกข์ก็เหมือนกัน ในชีวิตเราผ่านความทุกข์มาตั้งเท่าไร ถ้าความทุกข์มันเที่ยง แล้วทุกวันมีความทุกข์ใหม่ๆ เกิดขึ้น ความทุกข์ก็ท่วมเราตายคาที่เลยในเวลาไม่นาน แต่ความทุกข์ทั้งหลายมันอยู่ชั่วคราว เดี๋ยวมันก็ดับแล้วมันก็เกิดความทุกข์อันใหม่ขึ้นมา เราก็ทนมันไปเรื่อยๆ เพราะเราไม่มีทางออก แต่ถ้าเราเจริญสติเจริญปัญญา เราจะเห็น เวลาความทุกข์เกิดขึ้นในใจเราหรือในร่างกาย มีสติปัญญารู้ว่ามันเป็นของไม่เที่ยง จิตใจมันก็สงบสุข ไม่ดิ้นรนปรุงแต่ง
หลายคนเวลามีความทุกข์เกิดขึ้น จิตมันดิ้นรนปรุงแต่งมาก ไปผูกคอตาย กลุ้มใจมาก ไปผูกคอตาย ฆ่าตัวตาย คิดว่าหนีทุกข์ นี่เพราะจิตมันหลงความปรุงแต่ง อย่าคิดว่าฆ่าตัวตายแล้วพ้น เคยมีคนๆ หนึ่งบ้านเขาเป็นทาวน์เฮาส์ วันหนึ่งเขานอนอยู่ในบ้าน แล้วตอนเช้ามืดสักตี 4 ตี 5 อะไร ได้ยินเสียงผู้หญิงคนหนึ่งร้องไห้ เดินผ่านหน้าบ้านไป
คนนี้ชอบทําสมาธิ ก็มีหูมีตา สงสัยว่าอะไรมาร้องไห้อยู่ พอส่งจิตออกไปดู ก็เห็นผู้หญิงคนหนึ่งเดินร้องไห้ผ่านหน้าบ้านไป เท้าไม่ติดพื้น ลอยไปสูงคืบหนึ่ง ลอยไป ร้องไปเรื่อยๆ ตอนเช้าขึ้นมา ชาวบ้านเอะอะโวยวายว่าผู้หญิงคนนี้ผูกคอตายในบ้าน คนเขาเห็นผิดสังเกต เขาไปแอบดู ผูกคอตาย มีความทุกข์ ภาวนาไม่เป็น ก็คิดว่าชีวิตนี้จะต้องทุกข์ตลอดกาล ถ้ามีชีวิตอยู่แล้วทุกข์ ก็อย่ามีเลยชีวิตนี้ ไปฆ่าตัวตาย คิดว่าฆ่าตัวตายแล้วไม่ทุกข์
เป็นคนมันจะทุกข์สักกี่ปี เป็นคนมันทุกข์ไม่นานหรอก แต่พอไปฆ่าตัวตาย บาปหนักหนาสาหัส มันตกนรก แล้วนรกไม่จำเป็นต้องมีใครมาคุมขังมันหรอก มันก็ทุกข์ทรมานอยู่ มันเป็นแค่มิติที่ทับซ้อนกันอยู่เท่านั้นเอง แล้วชีวิตของสัตว์นรกพวกนี้ยาวนานมาก ไม่รู้กี่ร้อยกี่พันปี เพราะฉะนั้นถ้าเป็นคน ทุกข์อย่างมากก็ 5 ปีอะไรอย่างนี้ 10 ปี 10 ปียังไม่เคยเห็นเลย ทุกข์ 10 ปี ทุกปี 2 ปีอะไรอย่างนี้ก็หนักแล้ว แต่พอไปฆ่าตัวตาย อันนั้นทุกข์เป็นศตวรรษ นับเป็นศตวรรษแล้วคราวนี้ ไม่ได้นับเป็นปีแล้ว
เพราะฉะนั้นไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นอย่าฆ่าตัวตาย แล้วก็อย่าไปฆ่าคนอื่นด้วย มันไม่ใช่ทางแก้ทุกข์หรอก เวลาทุกข์เกิดขึ้นจริงๆ มีสติรู้ลงไป ขณะนี้จิตใจมีความทุกข์ ไม่ใช่ดูเพื่อให้หาย ทุกข์เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าบอกทุกข์ให้รู้ ไม่ใช่ให้ละ ถ้าเราอยากละทุกข์ จิตจะยิ่งดิ้นรนมากขึ้น แล้วจิตจะยิ่งทุกข์มากขึ้น แต่ถ้าทุกข์ให้รู้ ดูสิ เธอจะทุกข์นานสักแค่ไหน บางคนดู โอ๊ย ทำไมมันทุกข์ยาวนาน นี่ดูยังไม่เป็น
ความทุกข์เกิดขึ้น ให้รู้ ไม่ใช่ให้พยายามละ เวลาความทุกข์เกิดขึ้น ให้ย้อนเข้ามาให้เห็นจิตตัวเองให้ได้ เวลาความทุกข์เกิดขึ้น จิตไม่ชอบ รู้ว่าไม่ชอบ เมื่อจิตไม่ชอบ รู้ว่าไม่ชอบ จิตอยากให้ทุกข์หายไป รู้ว่าจิตอยาก เห็นไหม จิตมีความชอบ มีความไม่ชอบ มีความอยาก มีความไม่อยากอะไรเกิดขึ้น ความดิ้นรนของจิตก็เกิดขึ้น ทันทีที่ความดิ้นรนของจิตเกิดขึ้น ความทุกข์ก็เกิดขึ้น มันไม่ใช่ทุกข์เพราะเรื่องเดิมแล้ว อันนี้ทุกข์เพราะทำตัวเองแล้ว เป็นทุกข์ซ้อนทุกข์ไปเรื่อยๆ ตราบใดที่ใจยังไม่สิ้นอยาก ความทุกข์ก็เกิดไปเรื่อยๆ เป็นทุกข์ตัวใหม่ ไม่ใช่ทุกข์ตัวเก่า
อย่างกระทบอารมณ์ที่ไม่ดี อกหักอย่างนี้ เวลาเราคิดถึงคนที่เรารัก แหม หนีไปรักคนอื่น หรือหนีเราไปแล้ว หรือตายจากไปแล้ว เราเสียใจ เราทุกข์ เราอยากให้เขากลับมา อยากให้เขาไม่ตายอะไรอย่างนี้ ความอยากเกิด แล้วมันไร้เดียงสา เพราะความจริงทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกคนที่พบกันล้วนแต่ต้องพลัดพรากในที่สุด นี่เป็นธรรมชาติธรรมดา ถ้าเราไม่เห็นความจริงอันนี้ เราก็อยาก มันเป็นความอยากที่ไร้เดียงสา
ถ้าเราภาวนาเรื่อยๆ เราก็จะเห็น เอ๊ะ มีความทุกข์เกิดขึ้น เราอยากหายทุกข์ อยากให้สถานการณ์ดี มีความอยากนานาชนิดเกิดขึ้น เช่น เราจีบผู้หญิงอยู่ เขาไปเดินกับคนอื่น เราอยากให้เขามาเดินกับเราคนเดียว มีความอยาก เป็นความอยากลมๆ แล้งๆ ก็เขาไปเดินกับคนอื่น มายุ่งอะไรกับเขา หรืออยากให้เขารักเราอะไรอย่างนี้ สั่งได้ที่ไหน เพราะฉะนั้นความอยากทั้งหลายเป็นเรื่องไร้เดียงสา แล้วอยากทีไรทุกข์ทุกที
เพราะฉะนั้นเวลามีความทุกข์เกิดขึ้น ให้รู้ ไม่ใช่ให้อยากละ ถ้าพยายามละเมื่อไร มันจะเกิดทุกข์ซ้อนทุกข์ไปเรื่อยๆ ไม่รู้จักจบจักสิ้น เพราะฉะนั้นเวลาที่ความทุกข์เกิดขึ้นในใจเรา ช็อตที่หนึ่ง รู้ว่ามีความทุกข์ ช็อตที่สอง รู้ว่าไม่ชอบ อยากให้ความทุกข์หมดไปสิ้นไป ถ้าเรารู้ถึงตัวนี้ได้ จิตเราจะเข้าสู่ความเป็นกลาง ทันทีที่จิตเราเป็นกลาง เรียกว่าจิตเราทรงสมาธิแล้ว จิตเราตั้งมั่น เป็นกลาง สัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ความทุกข์มันจะถูกปัญญา กิเลสทั้งหลายจะถูกปัญญาตัดทําลายทันที
ความทุกข์มันจะเกิดร่วมกับโทสะเสมอ ความทุกข์ในใจเราจะเกิดร่วมกับโทสะเสมอ ถ้าเรามีปัญญา เราเห็นเราเกลียดมัน ตราบใดที่ยังเกลียดอยู่ โทสะก็ยังมีอยู่ ทีนี้เราเห็นจิตใจตัวเองไม่ชอบๆๆ ความทุกข์ โทสะดับ จิตตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา ความทุกข์ที่วิเศษวิโส ใหญ่โตน่ากลัว กระเด็นหายทันทีเลย ดับทันทีเลย อันนี้ความทุกข์ทางใจ ถ้าความทุกข์ทางร่างกาย รู้อยู่ มันก็ยังทุกข์อยู่ มันคนละเรื่องกัน อย่างร่างกายเราไม่สบาย รู้ว่ามันทุกข์ รู้ว่ามันเจ็บ มันหายไหม มันไม่หายหรอก คนละเรื่องกัน
มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ในวงกรรมฐานก็เชื่อว่าท่านเป็นพระอรหันต์ หลวงพ่อก็เชื่อ แต่ว่าไม่มีพระพุทธเจ้ามารับรอง เราก็เลยบอกว่าเราเชื่อว่าท่านเป็นพระอรหันต์ แต่เป็นหรือไม่เป็น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง คือหลวงปู่แหวนๆ เราเชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ แล้วภาวนาก็เก่งสมาธิก็เก่งอะไรอย่างนี้ คราวหนึ่งท่านเป็นฝี ช่วงสงครามโลก ไม่มียาไม่มีอะไรทั้งสิ้น เป็นฝีอักเสบขึ้นมา ทรมานมาก ก็มีพวกทหารเสนารักษ์ไปเจอท่าน ก็อาสาผ่าให้ท่าน ผ่าฝีให้ท่าน แต่บอกท่าน บอกไม่มียาชา ไม่มีอะไรเลย ทั้งเนื้อทั้งตัวมีมีดอยู่เล่มเดียวเอง ท่านก็ให้ผ่าเพราะว่ามันทรมาน เขาก็ผ่าฝีให้ท่าน
ท่านก็บอกเดี๋ยวขอท่านทําสมาธินิดหนึ่งก่อน รวมจิตเข้าสมาธิ พยักหน้าผ่าได้แล้ว ตอนผ่าท่านก็เงียบอยู่อย่างนั้น เขาก็ผ่าจนเสร็จ พอผ่าเสร็จ ท่านก็ถอยออกมา แล้วท่านก็บอกว่า ถ้าจะต้องผ่าอีก ก็มือเบากว่านี้หน่อย มันเจ็บ ไม่ใช่ไม่เจ็บ แต่ใจท่านไม่หวั่นไหว เห็นไหม เวทนาทางกาย ไม่ใช่ว่าภาวนาดี เป็นพระอรหันต์แล้วไม่มีเวทนาทางกาย ไม่ใช่ แต่ทุกขเวทนาทางใจไม่มีๆ เพราะไม่มีโทสะ
ถ้าเราภาวนาเรื่อยๆ เราเห็นความจริง ความทุกข์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เวลาความทุกข์ในใจเราเกิดขึ้น ให้รู้ว่ามีความทุกข์ ช็อตที่หนึ่ง รู้ว่าทุกข์ ช็อตที่สอง ไม่ชอบ อยากให้หายไป อยากให้สิ้นไป รู้ทันตัวนี้ ตัวนี้สำคัญ อย่างนี้ถึงเรียกว่าเราดูจิตเป็น ลำพังรู้ว่าตอนนี้กลุ้มใจเรื่องเพลนๆ ใครๆ ก็รู้ว่าตอนนี้กลุ้มใจ แต่จะจัดการกับความกลุ้มใจนี้ได้อย่างไร อาศัยปัญญาตรัสรู้ เราย้อนมาสังเกตใจที่มีความอยาก ตราบใดที่ใจยังมีความอยาก ใจก็ยังมีความยึดถือ มีความดิ้นรนปรุงแต่ง แล้วใจก็ทุกข์ ยิ่งทุกข์ซ้อนทุกข์ไปเรื่อยๆ
ฉะนั้นเราหัดดูสภาวะความสุขหรือความทุกข์เกิดขึ้น ถ้าความสุขเกิดขึ้น ใจเรายินดี ให้รู้ว่ายินดี ถ้าไม่รู้ว่ายินดี เราก็จะไปอยากไปยึด อยากให้ความสุขอยู่นานๆ อะไรอย่างนี้ อยากให้ความทุกข์หมดเร็วๆ ความอยากเกิดทีไรความดิ้นรนของจิตก็เกิดที่นั้น ความดิ้นรนของจิตเกิดทีไร ความทุกข์ก็เกิดที่นั้น เพราะฉะนั้นมีความสุขมีความทุกข์เกิดขึ้นในใจ รู้ทัน ช็อตที่สอง ยินดี รู้ทัน ยินร้าย รู้ทัน ดูอย่างนี้ พอจิตสิ้นความยินดียินร้ายจิตจะเป็นกลาง ตั้งมั่นแล้วก็เป็นกลาง พอจิตตั้งมั่นและเป็นกลาง ก็คือจิตที่ทรงสัมมาสมาธิ เมื่อจิตเกิดสัมมาสมาธิ ปัญญาก็จะเกิดขึ้น
สัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา เห็นไหมปัญญาไม่ได้เกิดจากการคิดเอา ปัญญาในขั้นนี้เกิดจากการที่จิตเรามีสัมมาสมาธิ สติระลึกรู้ลงไปในเวทนา ในความสุข จิตก็ตัดความรักใคร่ยึดถือในความสุข จิตก็เป็นอิสระจากความสุข เวลามีความทุกข์ในใจเกิดขึ้น มีจิตตั้งมั่นขึ้นมา จิตก็ตัดความรักใคร่ผูกพันความเกลียดชัง ทั้งสุขทั้งทุกข์ทั้งหลาย เมื่อจิตมัน ไม่เข้าไปเกาะเกี่ยว ไม่เข้าไปยึดถือ ไม่เข้าไปปรุงแต่ง จิตมันก็เข้าถึงความสงบสุข นี่สมาธิ
ฉะนั้นสมาธินี่ไม่ใช่นั่งหลับหูหลับตา เพ่งให้จิตนิ่งๆ นั่นเป็นสมาธิพื้นๆ หรอก สมาธิที่สำคัญคือภาวะที่เป็นสัมมาสมาธิ คือสภาวะที่จิตตั้งมั่นและเป็นกลาง ก็ต้องฝึกเอา ทำอย่างไรจะได้จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นก็คือจิตที่มันไหลไปหลงไป รู้ทัน มันก็จะไม่ไหล มันจะตั้งมั่น ถ้าจิตยินดียินร้ายให้รู้ทัน จิตก็จะเป็นกลาง
บรมสุขที่แท้จริงคือสันติสุข พอจิตตั้งมั่นและเป็นกลาง ก็จะเกิดปัญญาเห็นความจริงของร่างกายของจิตใจ เมื่อเห็นความจริงของร่างกายของจิตใจอย่างถ่องแท้แล้ว จะรู้เลยขันธ์ 5 มันไม่มีอะไรหรอกขันธ์ 5 ก็มีแต่ทุกข์นั่นล่ะ รูปนาม กายใจนี่มีแต่ทุกข์นั่นล่ะ พอใจมันยอมรับความจริงได้ ความอยากก็ไม่เกิด เมื่อความอยากไม่เกิด ความยึดถือ ความดิ้นรนปรุงแต่งของจิตก็ไม่เกิด ความทุกข์ทางใจก็ไม่เกิด จิตใจมันเป็นอิสระขึ้นมา พ้นทุกข์เพราะพ้นจากความปรุงแต่ง
ฉะนั้นเราจะเจอความสุข บรมสุขที่แท้จริงคือสันติสุข ทำไมมันสันติ เพราะมันไม่ถูกปรุงแต่งอีกต่อไปแล้ว ถ้ายังปรุงแต่งอยู่ก็ไม่สันติหรอก แกว่งไปแกว่งมา นิพพานคือสันติ นิพพานมีสันติลักษณะ เป็นสภาวะที่พ้นจากความปรุงแต่ง พ้นจากความอยาก พ้นจากความยึดถือ พ้นจากความดิ้นรนทั้งหลาย พ้นมาได้เพราะอะไร เพราะล้างอวิชชาได้ เรียนรู้ความจริงของรูปนามกายใจจนถ่องแท้ ร่างกายนี้ไม่มีอะไร มีแต่ทุกข์ ทุกข์มากกับทุกข์น้อย จิตใจนี้ก็ไม่มีอะไร มีแต่ทุกข์ เพียงแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย พอเห็นอย่างนี้มันวาง
วางได้ก็ว่าง สบาย สงบสุข ส่วนร่างกายก็แก่ ก็เจ็บ ก็ตายไปตามธรรมชาติธรรมดา ไม่น่าเสียดายอะไร เวลาพวกเราหรือคนทั่วไปจะตายจะทุรนทุราย ยอมรับไม่ได้ เวลาพระอรหันต์จะตาย จิตท่านเบิกบานห้าวหาญ ทำไมเบิกบานห้าวหาญ ก็เห็นอยู่แล้วว่าตัวทุกข์มันกำลังจะแตก ก็ตัวทุกข์มันจะแตก มันเบิกบานไหม หรือเศร้าหมอง ของเราไม่เห็นว่าร่างกายเป็นตัวทุกข์ เราเห็นว่าเป็นของดีของเรา เวลาจะแตกดับ จะทุรนทุรายเสียดาย
ในขณะที่พระอรหันต์ พอธาตุขันธ์จะแตกจะดับ เบิกบานไม่ได้ดีใจ แต่จิตมัน โอ้ พ้นภาระเสียที หมดภาระเสียที ขันธ์ต้องแบกต้องหาม เป็นภาระที่ต้องคอยดูแล ดูแลไปเพื่ออะไร ไม่ใช่เพื่อของตัวเองแล้ว เพื่อทําประโยชน์ไปเท่าที่ยังมีกําลังอยู่เท่านั้นเอง ได้แค่ไหนแค่นั้น เพราะงานของท่านเสร็จแล้ว ก็ช่วยสงเคราะห์โลกไป พอหมดกําลังที่จะสงเคราะห์ก็วางๆ ก็สบาย
ฉะนั้นวันที่พระอรหันต์ท่านจะนิพพาน ท่านจะเบิกบานจะผ่องใสมาก อย่างพระอานนท์ท่านเคยบอกพระพุทธเจ้า ทูลพระพุทธเจ้า วันนี้ทำไมพระองค์ผ่องใสอย่างนี้ ผ่องใสเป็นพิเศษเลย พระพุทธเจ้าบอกว่าท่านผ่องใสพิเศษในบางวาระ วันที่ตรัสรู้ท่านผ่องใสเป็นพิเศษ คล้ายๆ ท่านฆ่ากิเลสตายแล้ว ท่านนิพพานกิเลสไปแล้ว คือสามารถล้างกิเลสได้เด็ดขาด เรียกว่าสอุปาทิเสสนิพพาน
แล้ววันที่ร่างกายจะแตกดับ ขันธ์จะแตกนี่ ท่านวางทําลาย ขันธ์มันจะแตก เขาเรียกอนุปาทิเสสนิพพาน ฉะนั้นท่านจะเบิกบานสดใส พวกเราภาวนา เทศน์ให้ฟังนี่เทศน์เผื่อล่วงหน้า ถ้าเราภาวนาไปเรื่อยๆ วันข้างหน้าเราก็จะเจอในสิ่งที่หลวงพ่อบอก ถ้าเราไม่ทิ้งการปฏิบัติ จิตเราพัฒนาไปเรื่อยๆ อย่าหลงออกนอกทางไปก็แล้วกัน พวกเราวันหนึ่งก็จะเจอสิ่งที่หลวงพ่อเล่าให้ฟังนี่ล่ะ
หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 1 กันยายน 2567
主题: 中文书籍 · 阿紫翻译 · 中文字幕 · 法谈摘录 · 法译文集 | |||
---|---|---|---|
法语微言 · 学篇 · 戒学篇 · 心学篇 · 心念处篇 · 身念处篇 · 慧学篇 · 五蕴篇 · 奢摩他篇 · 毗钵舍那篇 · 觉性篇 · 四圣谛篇 · 八支圣道篇 · 解脱篇 |
首页 · 历届中文 · ไทย · EN课程总览 | |
---|---|
中国 | C:1 · 2 · 3 |
泰国 | T:1 · 2 · 3 · 4 · 5 · 6 · 7 · 8 · 9 · 10 · 11 · 12 · ☆第13届泰国四念处课程实录 |
大马 | M:1 · 2 |
远程 | E:1 · 2 · 3 · 4 · 5 · 6 · 7 · 8 · 9 |
日常 | D:2013 · 2014 · 2015 · 2016 · 2017 · 2018 · 2019 · 2020 · 2021 · 2022 · 2023 · ☆2024年度最新视频回放 · 本年网盘 |
注:C-国内 · T-泰国 · M-大马 · E-远程 · D-日常 · 帮助文档 |
媒体平台 |
---|
法堂直播·简版 · 法藏资源 · 法宝云盘 · 法讯互助 | 禅窗 · 甘露雨 · 指月录 · 当下就启程吧 · 温柔的法音 · Go Sati |
全球: 解脱园 · 甘露雨 · 甘露雨APP · 千聊 · 四念处 | Podcast-中 · Podcast-EN · Podcast-ไทย · 四念處學會| 海外: YT·Audio-中 · YT-中· YT-ไทย · YT-EN · FB-中 · FB-ไทย · FB-EN · 靜慮林 |