有觉性 以安住且中立的心 照见身心的实相
D24.65《要小心因禅定而引发的邪见》- 隆波帕默尊者-2024年8月4日:修订间差异
(标记此版本进行翻译) |
|||
(未显示同一用户的5个中间版本) | |||
第1行: | 第1行: | ||
<languages/> | |||
<translate> | |||
</translate> | |||
{{页面横幅}} | {{页面横幅}} | ||
<translate> | |||
[[文件:D24. | <!--T:1--> | ||
[[文件:D24.65《要小心因禅定而引发的邪见》- 隆波帕默尊者-2024年8月4日.mp3|center]] | |||
[[文件:D24. | <!--T:2--> | ||
[[文件:D24.65《要小心因禅定而引发的邪见》- 隆波帕默尊者-2024年8月4日.mp4|center]] | |||
<!--T:3--> | |||
สติปัฏฐาน | |||
ภาวนาต้องฝึกจนได้สติอัตโนมัติ ให้มีสมาธิอัตโนมัติเกิดปัญญาอัตโนมัติขึ้นมา ถ้ายังไม่อัตโนมัติยังจงใจอยู่ ถ้าจงใจอยู่ก็ดีเหมือนกัน แต่ว่ามันจะตึงเครียดเกินไป แต่ก่อนที่มันจะอัตโนมัติได้มันก็ไม่อัตโนมัติหรอก ก็ต้องจงใจไปก่อน | |||
<!--T:4--> | |||
เบื้องต้นหัดภาวนา หาเครื่องอยู่ให้จิตอยู่ไว้ จิตต้องมีเครื่องอยู่ จะเป็นรูปธรรมนามธรรมก็ได้ อย่างเรารู้ใช้ลมหายใจเข้าออกอย่างนี้ เราคอยรู้ร่างกายหายใจออก รู้สึก ร่างกายหายใจเข้า รู้สึก จิตต้องมีเครื่องอยู่ อย่างหลวงพ่อ ตอนหัดหลวงพ่อก็ใช้หายใจเข้าพุธ หายใจออกโธ เป็นเครื่องอยู่ไว้ ครูบาอาจารย์บางองค์ ท่านก็ใช้พุทโธอย่างเดียว พุทโธ ถ้าพุทโธไม่เป็น ก็คิดแต่คําว่าพุทโธ ถ้าพุทโธเป็น ก็พุทโธแล้วก็คอยรู้ทันจิตตัวเอง ก็คือการใช้จิตเป็นเครื่องอยู่ ก็ไปอยู่ในจิตตานุปัสสนา แต่ถ้าเอาคำบริกรรมมาเป็นเครื่องอยู่ สงบได้เฉยๆ มันต่อขึ้นเจริญปัญญาไม่ได้ | |||
<!--T:5--> | |||
ถ้าไม่ได้เห็นไตรลักษณ์ ยังไม่เป็นวิปัสสนา | |||
เพราะการเจริญปัญญาทำวิปัสสนา มันต้องรู้รูปรู้นาม รู้กายรู้ใจ ถ้าไปรู้เรื่องราวที่คิด มันยังไม่ขึ้นวิปัสสนาจริง อย่างเราใช้ลมหายใจ เบื้องต้นน้อมจิตอยู่กับลมหายใจให้จิตสงบ เราได้สมถะ แล้วต่อมาเราพัฒนาขึ้นไปอีกเข้าสู่ขั้นเดินปัญญา เราก็เห็นร่างกายหายใจ หรือเห็นว่าร่างกายที่หายใจอยู่ถูกรู้ถูกดู จิตเป็นคนรู้คนดู นี่เราเริ่มเดินปัญญาแล้ว ถ้ารู้ลมหายใจเฉยๆ จิตสงบอยู่กับลมเป็นสมถะ ถ้าเราเห็นว่าร่างกายที่หายใจอยู่ก็เป็นอันหนึ่ง จิตเป็นคนรู้ร่างกายที่หายใจ นี่เป็นอีกอันหนึ่ง เรียกว่าเราแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราๆ ออกมาเป็น 2 ส่วน คือร่างกายกับจิตใจ การแยกรูปแยกนามได้เป็นจุดตั้งต้นของการเจริญปัญญา | |||
<!--T:6--> | |||
หรือถ้าเราจะใช้อิริยาบถ 4 ร่างกายนั่งอยู่ รู้สึก ร่างกายเดิน รู้สึกอะไรอย่างนี้ ถ้าเรานั่งอยู่แล้วเราก็รู้สึกว่าร่างกายมันนั่ง ไม่วอกแวกไปไหน ได้สมถะ แต่ถ้าเห็นร่างกายที่นั่งอยู่ เป็นของถูกรู้ถูกดู จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู นี่เราแยกรูปนาม แยกกายแยกใจออกจากกันได้ ก็เป็นการเริ่มต้นเจริญปัญญา การเจริญปัญญานั้น จุดแรกของการเจริญปัญญาคือการแยกรูปนามให้ได้ อย่างร่างกายหายใจ ร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน ร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหยุดนิ่ง อันนี้เป็นตัวรูป นามเป็นตัวรู้ จิตใจเป็นคนรู้ร่างกาย ถ้าแยกออกมาอย่างนี้ได้ ก็เรียกว่าเราเริ่มเดินปัญญาเป็นแล้ว | |||
<!--T:7--> | |||
ครูบาอาจารย์หลวงตามหาบัว ท่านก็เคยสอน ท่านจะไม่ได้ใช้คําว่าแยกรูปแยกนาม ท่านใช้คําว่า “ถ้าแยกธาตุแยกขันธ์ไม่เป็น อย่ามาบอกเรานะว่าเจริญปัญญา” ฉะนั้นเจริญปัญญาต้องแยกธาตุแยกขันธ์ คือแยกรูปนามนั่นเอง | |||
<!--T:8--> | |||
ถ้าเราใช้กายเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่ของจิต ต้องการความสงบ เราก็สนใจลงไป ใส่ใจลงไปที่ร่างกาย จะร่างกายทั้งตัวก็ได้ ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งก็ได้ แล้วนิ่งอยู่อย่างนั้น สงบอยู่กับร่างกายอันเดียวได้สมถะ ถ้าเห็นว่าร่างกายมันเป็นอันหนึ่ง จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูร่างกายเป็นอีกอันหนึ่ง อันนี้เราเริ่มเจริญปัญญาแล้ว ถ้าจะขึ้นวิปัสสนา ก็สูงขึ้นไปอีกเราก็เห็นร่างกายที่มันหายใจออกหายใจเข้า ที่มันยืน ที่มันเดิน นั่ง นอน ที่มันเคลื่อนไหว ที่มันหยุดนิ่ง เป็นของไม่เที่ยงๆ ร่ายกายหายใจออกก็ไม่เที่ยง ร่างกายหายใจเข้าก็ไม่เที่ยง ร่างกายยืนก็ไม่เที่ยง เดิน นั่ง นอนก็ไม่เที่ยง ร่างกายเคลื่อนไหวก็ไม่เที่ยง ร่างกายหยุดนิ่งก็ไม่เที่ยง | |||
<!--T:9--> | |||
ถ้าเรายังคิดอยู่ ยังไม่ขึ้นวิปัสสนาจริง แต่เป็นการคิดถึงความเป็นไตรลักษณ์ของร่างกาย อันนี้เป็นอีกสเต็ปหนึ่ง ไม่ใช่แค่รู้ว่าร่างกายกับจิตเป็นคนละอันกัน แต่ค่อยคิดลงไปว่า ร่างกายมันไม่เที่ยง หรือมันเป็นทุกข์แล้วมันเป็นอนัตตาอะไรอย่างนี้ อันนี้ยังเจือการคิด ก็เป็นปัญญาที่สูงขึ้นไปอีกนิดหนึ่ง ไม่ได้รู้กายกับใจที่แยกกันออกมาเฉยๆ แล้วตรงที่จะขึ้นวิปัสสนาจริงๆ เราไม่ได้จงใจ เราเห็นร่างกายมันไม่เที่ยง มันหายใจออกแล้วมันก็หายใจเข้า มันหายใจเข้าแล้วมันก็หายใจออก เรารู้ลงไปที่ความไม่เที่ยงของมัน ไม่ได้คิด ตรงที่รู้ ไม่ได้คิด ตรงนั้นล่ะ ขึ้นวิปัสสนาจริงๆ แล้ว เห็นความไม่เที่ยงของร่างกาย ก็ขึ้นวิปัสสนาได้ | |||
<!--T:10--> | |||
วิปัสสนาแปลว่าการเห็น เห็นแจ้ง เห็นจริง เห็นถูกต้อง ฉะนั้นถ้าเราเห็นร่างกายจิตใจสงบอยู่กับร่างกาย อันนั้นเป็นสมถะ ยังไม่ได้เห็นแจ้งเห็นจริงว่ามันเป็นไตรลักษณ์ ถ้าเราคิดว่าร่างกายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อันนี้ยังคิด ยังไม่ใช่เห็นก็เป็นปัญญาอีกระดับหนึ่ง แต่ถ้าเห็นก็คือเรารู้สึกเลย ร่างกายที่หายใจออกไม่เที่ยง ร่างกายหายใจเข้าไม่เที่ยง เรารู้ เราเห็น เห็นความไม่เที่ยง เพราะฉะนั้นถ้าเราจะทำสมถะ หรือเดินปัญญาขั้นต้น เราเห็นตัวรูปตัวนาม ถ้าจิตเราจดจ่ออยู่กับรูปนามอันใดหนึ่งอย่างเดียว มันก็เป็นสมถะ ถ้าจิตมันเห็นตัวรูปตัวนามแยกออกจากกันก็เป็นการเดินปัญญาขั้นต้น ถ้าเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม อันนั้นถึงจะเป็นวิปัสสนา ถ้าไม่ได้เห็นไตรลักษณ์ ยังไม่เป็นวิปัสสนา | |||
<!--T:11--> | |||
อย่างเราเห็นร่างกายเป็นปฏิกูลเป็นอสุภะ อันนี้ทําไปพิจารณาร่างกายเป็นปฏิกูลอสุภะไป จิตจะข่มราคะได้ อันนี้เป็นสมถะ จิตมีราคะเราก็แก้ด้วยการพิจารณาปฏิกูลอสุภะของร่างกาย ดีไหม ดี แต่ดีในระดับของสมถะ แต่ถ้าเราเห็นร่างกายนี้ เห็นๆ ด้วยความรู้สึกของเรา มันไม่เที่ยง มันเป็นความรู้ชัด ตระหนักชัดถึงความไม่เที่ยงของมัน หรือร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน เปลี่ยนอิริยาบถไปเรื่อยๆ เราตระหนักชัด เรารู้ชัดถึงความเปลี่ยนแปลงของมัน อันนี้เป็นวิปัสสนา ฉะนั้นวิปัสสนา ต้องดูรูปดูนาม แล้วดูจนเห็นไตรลักษณ์ | |||
<!--T:12--> | |||
ทีนี้บางคนไม่ชอบที่จะดูกาย เราก็ดูเวทนา หรือบางคนดูกายแล้วก็อัพเกรดขึ้นไปเห็นเวทนา ก็ทําได้ อยู่ๆ จะเริ่มดูที่เวทนาเลยก็ได้ หรือจะดูมาทางกายก่อนก็ได้แล้วก็ยกระดับขึ้นมาดูเวทนา อย่างถ้าเราจะไล่ไปตามลําดับ อย่างเราเห็นร่างกายหายใจ ร่างกายยืน เดิน นั่ง นอนอย่างนี้ แล้วจะพบว่าในร่างกายเรานี่ เดี๋ยวมันก็ปวดตรงนั้น เดี๋ยวมันก็เจ็บตรงนี้ เดี๋ยวมันก็คันที่นั่นที่นี่ นั่งไปนานๆ อ้าว ปวดฉี่เสียแล้วอะไรอย่างนี้ เราเห็นเวทนามันเบียดเบียนอยู่ในร่างกาย เราก็ใช้เวทนาเป็นเครื่องอยู่ของจิตก็ได้ เราเห็นเวทนาทางกาย แล้วก็เห็นว่าความสุขความทุกข์ในร่างกายเป็นของถูกรู้ถูกดู | |||
<!--T:13--> | |||
อย่างทีแรกเราดูร่างกายใช่ไหม เราก็เห็นร่างกายเป็นของถูกรู้ถูกดู แล้วก็ต่อไปก็จะเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของร่างกาย อันนี้ถ้าเรามองทะลุกายเข้ามาเราเห็นเวทนาในกาย เราก็เห็นว่าเวทนาในร่างกายเป็นของถูกรู้ถูกดู หลักเดียวกันนั่นล่ะ แล้วถัดจากนั้นเราก็จะเห็น เวทนาในร่างกายไม่เที่ยง อยู่ดีๆ ทีแรกก็ดีๆ สบายดี อ้าว เจ็บขึ้นมาแล้ว ปวดขึ้นมาแล้ว เคล็ดขึ้นมาแล้ว เวทนาในกายไม่เที่ยง ทีแรกไม่มีก็มี ทีแรกไม่มีความเจ็บแล้วก็เกิดความเจ็บอะไรอย่างนี้ ทีแรกสบาย อ้าว ตอนนี้ไม่สบาย มันสะท้อนถึงความไม่เที่ยง ดูอย่างนี้ก็ได้ | |||
<!--T:14--> | |||
หรือดูลงไปให้เห็นความเป็นอนัตตาของเวทนาทางกาย เรากะจะนั่งให้สบายกลายเป็นเมื่อยไปแล้ว เวทนาทางกาย เราไม่ได้เลือก เราไม่ได้สั่ง ว่าความเมื่อยจงมาอะไรอย่างนี้ มันไม่ได้เรียกอย่างนั้นมันมาเอง มันมาแล้ว เราไล่มันก็ไม่ไปๆ สั่งว่าจงหายเมื่อย ไม่หาย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับ แต่เวลาเรานั่งสมาธิจริงๆ แล้วมันเจ็บมันปวด มันก็มีวิธีหลายวิธี มีวิธีอันหนึ่งก็คือนั่งต่อไป มันเจ็บ มันปวด มันเมื่อยสุดขีด มันแปลก มันหายเอง ถ้าเราดูเวทนาทางกาย เราต้องอดทน เพราะฉะนั้นถ้าจิตไม่มีสมาธิพอ ดูเวทนาทางกายไม่ได้ เดี๋ยวสติแตก มันเจ็บ ถ้าสติสมาธิของเราเข้มแข็ง เราก็ดูเวทนาทางกายได้ ถ้าสมาธิไม่พอ ดูไม่ไหว เวลาเรานั่งสมาธิแล้วมันเจ็บมันปวด ไม่ต้องลุกหนีก็ได้ อดทนไว้ นั่งดูมันไปเรื่อยๆ แล้วมันหายเอง | |||
<!--T:15--> | |||
อย่างบางทีเรานั่งแล้วมันเป็นเหน็บชาขึ้นมา แข้งขาชาแข็งไม่มีความรู้สึกเลย ทนนั่งดูไปเรื่อยๆ ดูสิ เวทนาจะเที่ยงหรือไม่เที่ยง ผ่านไปนานๆ อ้าว มันหายชาแล้ว เลือดลมเดินปกติแล้ว เราก็เห็น เออ ไม่ได้ทําอะไรสักหน่อย เวทนานี้มันเป็นอนัตตา บทจะมามันก็มา บทจะไปมันก็ไป สั่งมันก็ไม่ได้ อย่างนี้เราเดินปัญญาแล้ว เราเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นอนัตตาของเวทนา | |||
<!--T:16--> | |||
ถ้าดูกาย เราก็ดูได้ทั้งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเลย โดยเฉพาะตัวทุกขังกับอนัตตา ถ้าดูกายแล้วจะเห็นตัวนี้ง่าย แต่ถ้าดูนามธรรม เราจะเห็นอนิจจัง อนัตตาง่าย แต่ดูให้เห็นทุกขังของนามธรรมได้ไหม ได้เหมือนกัน จิตต้องทรงสมาธิจริงๆ แล้วนึกจะให้จิตมีความสุขแล้วทําสมาธิ ถ้าจิตมีความสุข เราก็ดูไป มันก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน เดี๋ยวความสุขก็ดับกลายเป็นอุเบกขาอะไรอย่างนี้ ถ้าจิตไม่ได้ทรงสมาธิ มีความสุขอยู่ ไปรู้มันปุ๊บ สมมติความสุขในจิตใจ ไปดูมัน มันหาย มันก็กลายเป็นอุเบกขาเหมือนกัน มันไม่เที่ยงแล้วมันก็บังคับไม่ได้ สั่งไม่ได้ | |||
<!--T:17--> | |||
แต่ถ้าเราชํานาญในเรื่องของจิต เราทําเหตุให้จิตมีความสุข จิตมันก็มีความสุข เพราะเราทําเหตุ ไม่ใช่เราความสุขให้เกิดขึ้น เราทำความสุขให้เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะเวทนาก็เป็นอนัตตา ถ้าเราน้อมจิตอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์ที่สบายเหมาะกับตัวเรา แล้วเรารู้อารมณ์นั้นด้วยใจปกติ ใจธรรมดาๆ แป๊บเดียว จิตก็มีความสุขแล้ว แต่ถ้าเราไม่ชํานาญแล้วไปสั่งว่าจิตจงมีความสุข มันไม่มี แต่สมมติถึงเราชํานาญ เราทําสมาธิปุ๊บจิตมีความสุข สุดท้ายมันก็ไม่เที่ยง มันก็ต้องถอยออกมาจากสมาธิ มันก็เสื่อมอีก | |||
<!--T:18--> | |||
ต้องเห็นว่าสภาวะทั้งหลายเป็นของถูกรู้ถูกดู | |||
ถึงจะเกิดปัญญา | |||
เวลาเราเดินปัญญา เราดูกาย ดูเวทนาไป เราก็เห็นไตรลักษณ์ ถ้าเวลามีความเจ็บปวดเกิดขึ้น แล้วเราทุ่มเทความใส่ใจลงไปที่ความเจ็บตรงนั้น สมมติว่าปวดที่เข่า เราจ้องอยู่ที่เข่า ใจนิ่งๆ อยู่ที่เข่า อันนี้เป็นสมถะ แต่ถ้าเราเห็นว่าความเจ็บปวดเป็นของถูกรู้ถูกดู อันนี้เราขึ้นเดินปัญญาแล้ว ต่อไปเราเห็นว่าความเจ็บหัวเข่าของเราไม่เที่ยงหรอก เดี๋ยวเจ็บมาก เดี๋ยวเจ็บน้อย เดี๋ยวก็หายไป หรือเห็นว่ามันมาเองไปเอง เห็นเอา ไม่ได้คิดเอา อันนี้เราขึ้นวิปัสสนาแล้ว | |||
<!--T:19--> | |||
บางคนไม่ชอบดูกาย ไม่ชอบดูเวทนา เราก็ดูจิต จิตเดี๋ยวก็เป็นกุศล เดี๋ยวก็เป็นอกุศล ถ้าจิตโกรธเกิดขึ้นแล้วเราเพ่งไว้ที่จิตโกรธ มันเป็นสมถะ เพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว ใจขุ่นมัว ใจอึดอัดอย่างนี้ ก็จ้องเพ่งลงไปที่ความรู้สึกอึดอัด มันไม่ได้เกิดปัญญา ถ้าเราเพ่งอารมณ์อันเดียว สุดท้ายมันก็สงบลงไป เกิดความสุขความสงบขึ้นมา เป็นสมถะ แต่ถ้าเราเห็นว่าความทุกข์ ความทุกข์ในใจ หรืออย่างเราก็ดูหัวเข่า ความทุกข์ในหัวเข่า | |||
<!--T:20--> | |||
หรือเห็นกุศลอกุศล อย่างความโกรธ ความโลภ ความหลง เห็นแบบเดียวกันนั่นล่ะ หรือเห็นร่างกายก็เห็นอย่างเดียวกันล่ะ เห็นว่ามันเป็นของถูกรู้ถูกดู อย่างเราเห็นความโกรธเป็นของถูกรู้ถูกดู เราเริ่มเดินปัญญาแล้ว แต่ถ้าเราไปเพ่งใส่ความโกรธ ไปเพ่งใส่ความอึดอัดในใจ คับข้องในใจ อันนั้นเป็นสมถะ หรือใจเรามีความสุข ใจมันว่าง สว่าง เราเพ่งลงไปในความว่าง ความสว่าง อันนั้นเป็นสมถะ แต่ถ้าเราเห็นความว่างเป็นของถูกรู้ เราเริ่มเดินปัญญาแล้ว | |||
<!--T:21--> | |||
จิตเป็นคนรู้ มี 2 อันแล้ว มีจิตที่เป็นคนรู้กับมีสิ่งที่ถูกรู้ที่เป็นรูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย แล้วถ้าเราเห็นไตรลักษณ์ของสิ่งเหล่านั้น นั่นเราขึ้นวิปัสสนา อย่างเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น แล้วความโกรธตั้งอยู่แล้วความโกรธก็ดับไปโดยที่เราไม่ได้ต้องทําอะไร อันนั้นเราทําวิปัสสนาอยู่ แต่ถ้าความโกรธเกิดขึ้น เรารีบแผ่เมตตาแก้ไข แล้วความโกรธหายไป อันนั้นเราทําสมถะ เราเข้าไปแทรกแซง เราไม่ได้รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของมัน แต่เราเข้าไปจัดการ | |||
<!--T:22--> | |||
พวกทำสมถะเก่งๆ ดีไม่ดีกลายเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ คิดว่าเราทําได้ จิตเป็นอัตตา สั่งได้ ความโกรธเกิดขึ้น เพ่งทีเดียวหายเลย ความง่วงเกิดขึ้นเพ่งทีเดียวก็หายเลย ความรู้สึกอะไรเกิดขึ้น เพ่งแล้วควบคุมอยู่เลย อยากให้จิตมีความสุข กําหนดทีเดียวก็มีความสุข อยากให้เป็นอุเบกขา กําหนดก็เป็นอุเบกขา เป็นเรื่องของสมาธิ | |||
<!--T:23--> | |||
เรื่องสมาธิก็เป็นอจินไตยตัวหนึ่ง คนไม่มีสมาธิประเมินไม่ถูกหรอก แต่คนเล่นสมาธิ บางทีเล่นไปเล่นมาเลยกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีหลายจําพวกที่กลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ อย่างบางพวกนั่งสมาธิไปแล้วจิตรวมปุ๊บลงไปแล้วจิตหาย หรือเดินจงกรม เดินทรมานตัวเองนานๆ ทรมานเคี่ยวเข็ญจิตใจ เครียดสุดขีดเลย พอจิตมันเครียดสุดขีด จิตมันดับปั๊บลงไป ไม่มีจิต นั่งตัวแข็งทื่อ หรือเดินก็เดินแล้วก็หยุด ไม่ได้เดินแล้ว ตัวแข็งทื่ออยู่ ไม่มีความรู้สึก อันนั้นจิตมันเข้าไปเป็นพรหมลูกฟัก | |||
<!--T:24--> | |||
พอจิตออกจากสมาธิชนิดนี้ มันจะเกิดมิจฉาทิฏฐิได้ คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันเกิดขึ้นมาเอง ไม่มีอะไรเป็นเหตุ อยู่ๆ มันก็ผุดขึ้นมา ทีแรกไม่มีอะไรเลย ตรงที่เข้าไป พอมันไม่มีจิตมันก็ไม่รู้สึก ไม่รู้สึกว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง รู้สึกว่าไม่มีอะไรเลยจากความไม่มีอะไรเลย อยู่ๆ ก็ผุดมีกายมีใจขึ้นมา ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ คิดว่ามันไม่มีเหตุหรอก อยู่ๆ มันก็เกิดขึ้นได้เอง หรือทําสมาธิไป จิตสงบรวมลงไป แล้วก็เกิดมิจฉาทิฏฐิขึ้นว่าเราบังคับจิตได้ | |||
<!--T:25--> | |||
หรือบางพวกทําฌานได้ดี แต่มนุษย์เราทําไม่ได้ พวกพรหมเขาทําฌานทีหนึ่ง นานเป็นกัปๆ เลย พวกนี้คิดว่าจิตเป็นอัตตา จิตเป็นของบังคับได้ เห็นไหมมิจฉาทิฏฐิจํานวนมากเลยที่มันเกิดมาจากการทําสมาธิ เพราะฉะนั้นการทําสมาธิมีทั้งคุณมีทั้งโทษ ต้องระมัดระวัง อาศัยการได้ยินได้ฟังคําสอนของพระพุทธเจ้า เราจําแนกได้ อะไรเป็นสัมมาทิฏฐิ อะไรเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าอยากเรียนเรื่องมิจฉาทิฏฐิ ลองไปอ่านพระสูตร สูตรที่หนึ่งเลย ชื่อพรหมชาลสูตร ในนั้นเต็มไปด้วยมิจฉาทิฏฐิ 62 อย่าง มีเยอะเลย ส่วนมากมันก็เกิดจากการทําสมาธิแล้วไม่มีสติไม่มีปัญญากํากับ ก็เกิดหลงผิดขึ้นมา | |||
<!--T:26--> | |||
คราวนี้เราจะทําให้เกิดปัญญา เราต้องเห็นว่าสภาวะทั้งหลายเป็นของถูกรู้ถูกดู จิตเป็นคนรู้คนดู ต้องแยกตรงนี้ให้ออก อย่างมีปีติเกิดขึ้น เราเห็นปีติเป็นของถูกรู้ถูกดู มีความสุขเกิดขึ้นเราเห็นความสุขเป็นของถูกรู้ถูกดู มีอุเบกขาเกิดขึ้น เราเห็นอุเบกขาเป็นของถูกรู้ถูกดู มีผู้รู้กับมีสิ่งที่ถูกรู้ ถ้ามีผู้รู้คือจิตกับมีสิ่งที่ถูกรู้ เราเริ่มเดินปัญญาแล้ว แล้วคราวนี้เราเห็นสิ่งที่ถูกรู้ทั้งหลาย ทั้งรูปธรรมทั้งนามธรรม เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ถ้าเห็นอย่างนี้ เราขึ้นวิปัสสนา หรือเราสามารถเห็นได้ว่าจิตผู้รู้เองเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไปเช่นเดียวกับสิ่งที่ถูกรู้ทั้งหลายนั่นล่ะ อย่างนี้เราก็ขึ้นวิปัสสนา | |||
<!--T:27--> | |||
สุดท้ายปัญญามันแก่รอบ มันจะรู้ว่าทุกสิ่งที่เกิดดับทั้งสิ้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดดับเป็นธรรมดา ทําไมใช้คําว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ได้บอกว่าลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ท้องพองท้องยุบ สุขทุกข์ดีชั่วอะไรอย่างนี้ ไม่ได้พูดอย่างนั้นแล้ว แต่เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดล้วนแต่ดับทั้งสิ้น ถ้าจิตมันสรุปรวบยอดตัวนี้ได้ อันนี้เป็นปัญญาของพระโสดาบัน พระโสดาบันไม่ได้รู้อะไรพิสดารหรอก ไม่ได้รู้หวย ไม่ได้รู้อะไรอย่างนั้นหรอก อาจจะไม่ได้เห็นผีเห็นเทวดาเลยสักนิดเดียว ไม่มีหูทิพย์ ไม่มีตาทิพย์ ไม่มีอะไรหรอก พระโสดาบันอาจจะรู้แค่ว่าสิ่งใดเกิดแล้วสิ่งนั้นก็ดับ ไม่มีอะไรที่เป็นตัวตนถาวร ตัวนี้ต่างหากที่สําคัญที่สุด | |||
<!--T:28--> | |||
ตัวที่จะแตกหักกับกิเลสก็คือการเห็นความจริงว่าตัวเราไม่มี | |||
มีแต่ของที่เกิดแล้วดับทั้งสิ้น | |||
เพราะฉะนั้นการรู้ข้างนอก บางท่านก็รู้ บางท่านก็ไม่รู้ ไม่ใช่เรื่องสําคัญ แต่ตัวที่จะแตกหักกับกิเลสก็คือการเห็นความจริงว่าตัวเราไม่มีหรอก มีแต่ของที่เกิดแล้วดับทั้งสิ้น ถ้าเข้าใจตัวนี้ เราก็จะเข้าใจธรรมะ เหมือนที่อุปติสสะๆ ตอนหลังก็ได้ฉายาว่าสารีบุตร อุปติสสะได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิ พระอัสสชิสอนสั้นๆ “ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น และแสดงความดับไปแห่งธรรมนั้น พระตถาคตเจ้ามีปกติกล่าวอย่างนี้” ท่านฟังอย่างนี้ท่านก็รู้ สิ่งใดเกิดแต่เหตุ สิ่งนั้น ถ้าเหตุดับสิ่งนั้นก็ดับ ท่านเข้าใจตรงนี้ ท่านเลยฟังแค่นี้ท่านเป็นพระโสดาบันแล้ว | |||
<!--T:29--> | |||
ที่จริงพระอัสสชิท่านเก่ง 4 วรรคเมื่อกี้ครอบคลุมอริยสัจ 4 ได้ สิ่งใดเกิดแต่เหตุ อะไรที่เกิดแต่เหตุ ทุกข์เกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น พระพุทธเจ้าก็สอนถึงสมุทัย คือตัณหา แล้วแสดงความดับไปแห่งธรรมนั้น ความดับของตัณหาก็คือนิโรธ พระพุทธเจ้ามีปกติกล่าวอย่างนี้ สอนอย่างนี้ ท่านสอนให้เรารู้ทุกข์ ละสมุทัย จนกระทั่งแจ้งนิโรธ อันนั้นคือการเจริญมรรค นี่ปัญญาระดับพระสารีบุตร ฟังแล้วปิ๊ง เข้าใจตัวนี้เลย ได้พระโสดาบัน รู้ว่าตัวเราไม่มีจริง มีแต่รูปธรรมนามธรรมมาประกอบกันเป็นร่างกายอย่างนี้ มีสัญญาเข้าไปหมาย มีใจยังครอบครองอยู่ | |||
<!--T:30--> | |||
ฉะนั้นในตําราจะชอบพูดถึงว่ามีสัญญาและใจครองอยู่ ถ้าตายแล้วก็เป็นท่อนไม้ท่อนฟืน ไม่มีสัญญาและใจครอง การที่มีสัญญาและใจครอง ก็มีสัญญา 2 ชนิด สัญญาวิปลาส อย่างที่ปุถุชนเป็นกับสัญญาที่ถูกต้อง สัญญาวิปลาส อย่างพวกเรา ธาตุ 4 มาประชุมกัน มีจิตวิญญาณอยู่ เราก็มีความหมายรู้ผิดว่านี่คือตัวเรา | |||
<!--T:31--> | |||
พระอริยเจ้าทั้งหลาย กรรมเก่าส่งผลมายังไม่หมด มีวิบากส่งผลมา ก็ได้ธาตุได้ขันธ์ ได้ร่างกายนี้มา มีจิตใจยังครองร่างกายนี้อยู่ แต่ไม่ได้ยึดถือกาย สักแต่ว่าอาศัยอยู่ในกายเท่านั้นเอง แล้วก็มีสัญญาที่ถูกต้อง กายนี้ไม่ใช่ตัวเราของเราอะไรหรอก เป็นสมบัติของโลก มีสัญญาที่ถูกต้อง ไม่ใช่เรา เป็นแต่ของไม่เที่ยง เป็นแต่ของเป็นทุกข์ มีแต่ของสกปรกโสมมในกายนี้ ถ้าเป็นพระอริยบุคคล ท่านก็จะเห็นอย่างนั้น แต่อริยบุคคลชั้นต้นๆ ยังไม่เห็นขนาดนี้ ต้องสูงขึ้นไปแล้วถึงจะเห็นกายนี้น่ารังเกียจ ระดับอนาคามีแล้วล่ะ วางกายได้ หมดความยึดถือ | |||
<!--T:32--> | |||
ฉะนั้นหัดภาวนา เบื้องต้นให้หาอารมณ์กรรมฐานอะไรสักอย่างหนึ่ง จะเป็นกายก็ได้เวทนาก็ได้ เป็นจิตก็ได้ ธัมมานุปัสสนายาก เอาไว้ทีหลัง เรียนกาย เรียนเวทนา เรียนจิต จุดเริ่มต้นจะเรียนอันใดอันหนึ่งก่อนก็ได้ แล้วแต่ความถนัด หรืออยากเรียนเต็มยศ ก็เรียนทั้งกาย เวทนา จิต ธรรม เรียงมาเป็นลำดับเลยก็ได้ | |||
<!--T:33--> | |||
อย่างที่ทําอานาปานสติมันครอบคลุมสติปัฏฐาน 4 ได้หมดเลยถึงบอกว่าอานาปานสติเป็นสุดยอดกรรมฐานจริงๆ อย่างเราเห็นร่างกายหายใจออกหายใจเข้าเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หายใจไปแล้วเห็นร่างกาย เห็นจิตใจ หายใจแล้วมันมีความสุขมีความสงบอะไรเกิดขึ้น จิตเริ่มเข้าฌานไป ก็ไปเห็นตัวความสุขเป็นอุเบกขาเกิดดับ อันนี้ขึ้นไปเจริญปัญญาในเวทนานุปัสสนาแล้ว หรือสูงขึ้นไปอีกมันก็เห็นเวลาความสุขเกิด เราก็เกิดความยินดีพอใจ เวลาความทุกข์เกิดแล้วเกิดยินร้าย มีโทสะ หายใจไปแล้วก็เห็นจิตมันเกิดราคะก็รู้ จิตมันเกิดโทสะก็รู้ นี่ขึ้นจิตตานุปัสสนาแล้ว หายใจไปแล้วก็เห็นแต่ความเป็นไตรลักษณ์ของรูปธรรมนามธรรม ทั้งขันธ์ 5 อันนั้นขึ้นธัมมานุปัสสนาไป เพราะฉะนั้นอย่างอานาปานสติมันครอบคลุมสติปัฏฐาน 4 ได้ ไม่ธรรมดา เป็นสุดยอดกรรมฐานเลย | |||
<!--T:34--> | |||
ฉะนั้นคนที่เล่นอานาปานสติได้สมบูรณ์แบบที่สุดนั้นก็คือพระพุทธเจ้านั่นเอง พระพุทธเจ้าทําอานาปานสติได้เต็มขั้น 16 ขั้น ของเราแค่ขั้นที่สี่ก็ไม่ผ่านแล้ว ขั้นที่สี่ ลมหายใจระงับ พอลมหายใจแผ่วๆ ก็ตกใจแล้ว โอ๊ย เดี๋ยวจะตายแล้ว ไม่ทันระงับหรอก ที่จริงลมระงับไม่ใช่แปลว่าไม่หายใจ แต่ร่างกายมันเผาผลาญน้อย มันใช้พลังงานน้อย มันก็ต้องการออกซิเจนน้อย ไม่ใช่ร่างกายไม่มีออกซิเจน แล้วการหายใจนั้นมันเบามันแผ่วมาก อย่างเวลาเราเกิดกิเลสรุนแรง ลมหายใจมันจะแรง อย่างเราโมโหคนอะไรอย่างนี้ ลมหายใจมันจะแรง เราเกิดกามราคะ ลมหายใจมันก็จะแรงขึ้น แต่ถ้าใจมันประณีตมันสงบ ลมมันก็เบา เรื่องปกติ | |||
<!--T:35--> | |||
ของเราส่วนใหญ่ที่ทําๆ จนขั้นลมระงับ มันก็ไม่ค่อยระงับหรอก มันก็ยาก ก็เลยมีวิธีการอันหนึ่ง ทําอานาปานสติไปให้ได้จิตผู้รู้ขึ้นมา เห็นลมหายใจถูกรู้ แล้วพอมีจิตผู้รู้แล้วทําไปเรื่อยๆ จิตจะมีแรงขึ้นมา คราวนี้ก็ดูไตรลักษณ์ของธาตุของขันธ์ ของกายของใจได้ ไม่จําเป็นต้องใช้กรรมฐาน ใช้สมถกรรมฐาน ระดับฌานหรอก เราทำฌานไม่ไหว ก็ไม่ต้องถึงขนาดนั้นหรอก เอาเท่าที่เราได้ ใช้แค่ขณิกสมาธิ อาศัยสติรู้ทันสภาวะแต่ละคราวๆ ก็จะได้สมาธิขึ้นชั่วขณะหนึ่ง เป็นขณะๆ ไป ทําบ่อยๆ สมาธิก็มีกําลังแก่กล้าขึ้น | |||
<!--T:36--> | |||
อย่างที่พวกเราทำ เมื่อเช้าก็มีมาคนหนึ่งบอกว่าหลวงพ่อให้ไปดูอะไรไม่รู้จําไม่ได้แล้ว แล้วก็ตอนนี้จิตมันตั้งมั่นมีกำลังขึ้นมา นั่นล่ะบอกทํากรรมฐานไว้สักอย่างหนึ่ง แล้วก็มีสติไว้ เดี๋ยวจิตมันก็ตั้งมั่นเองล่ะ มีกําลัง พอจิตมันตั้งมั่น จิตมันมีกําลัง ก็เดินปัญญาได้แล้ว ถ้าจิตไม่มีแรงไม่ต้องรีบเดินฟุ้งซ่าน | |||
<!--T:37--> | |||
ยากไปไหมที่เทศน์ให้ฟัง สรุปก็คือให้เรามีวิหารธรรม เครื่องอยู่ของจิตอันใดอันหนึ่ง จะเป็นร่างกายก็ได้ เป็นเวทนาก็ได้ เป็นจิตก็ได้ หรือเป็นรูปธรรมนามธรรม ขันธ์ 5 อายตนะ 6 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อันนั้นให้พวกที่เล่นธัมมานุปัสสนาเขาไปเล่น ปฏิจจสมุปบาท พวกนั้นเอาไว้ทีหลัง ทีหลังมันเป็นเองล่ะ | |||
<!--T:38--> | |||
แก่นของพุทโธ | |||
ทีนี้บางคนบอกว่าพุทโธใช้ไม่ได้ เพราะพุทธโธเป็นความคิด ไม่มีสภาวะ อันนี้เขาไม่รู้จักพุทโธแบบครูบาอาจารย์วัดป่า พุทโธของครูบาอาจารย์วัดป่า แต่เดิมท่านสอนกันชัดเจน อะไรที่เรียกว่าพุทโธ ก็คือจิตเรานั่นเอง ที่ท่านท่องพุทโธๆ เพื่อเตือนตัวเองให้คอยรู้สึกจิตไว้ แล้วพอตัวพุทโธหายไป ก็เข้ามาที่จิตได้ | |||
<!--T:39--> | |||
บางองค์ท่านสอนชัดเจน ตรงไปตรงมา ครูบาอาจารย์องค์หนึ่งของหลวงพ่อ คือหลวงปู่บุญจันทร์ หลวงปู่บุญจันทร์เป็นลูกศิษย์องค์ต้นของหลวงปู่ชอบ มีฤทธิ์มากองค์นี้ อนาคตังสญาณอะไรนี่ชัดเจนมากเลย น่าทึ่ง ญาณรู้ของท่านน่าทึ่งจริงๆ ท่านสอนพุทโธ ไม่ได้ให้เราท่องพุทโธเฉยๆ ท่านให้ท่องว่า พุทโธใจรู้ พุทโธรู้ใจ พุทโธใจรู้ พุทโธรู้ใจ พุทโธเป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้า พุทโธแล้วก็รู้ทันใจตัวเองไว้ พุทโธแล้วใจฟุ้งซ่าน รู้ว่าใจฟุ้งซ่าน พุทโธแล้วใจสงบ รู้ว่าใจสงบ ถ้าเราทําพุทโธแบบนี้มันคือจิตตานุปัสสนาที่เป็นวิปัสสนาได้ | |||
<!--T:40--> | |||
ฉะนั้นที่บอกว่าพุทโธเป็นสมถะ เพราะยังไม่เข้าใจแก่นของพุทโธ ถ้าพุทโธเป็น ทำวิปัสสนาได้ ก็คือพุทโธไปแล้วเราก็รู้ทันจิตใจของตัวเองไป พุทโธใจรู้ พุทโธรู้ใจ รู้ใจใคร รู้ใจตัวเอง อย่าไปรู้ใจคนอื่น ให้รู้ใจตัวเอง ถ้าไปรู้ใจถึงคนอื่นแล้วมันจะกลับเข้าบ้านยาก อย่าว่าแต่อย่างพวกเราเลย พวกเราบางคนภาวนาเก่งแล้ว หลวงพ่อให้ไปช่วยสอนอะไรนี่ แล้วบางทีเผลอตัว ชอบไปดูจิตคนที่มาเรียนด้วย ดูคนโน้นดูคนนี้เรื่อยๆ แล้วละทิ้งการทําสมถะ จิตไม่เข้าฐานตัวเอง ไม่เข้าฐาน อันนี้ไปดูคนอื่นแล้วจิตออกนอกเลย ไม่เข้าบ้านแล้ว อันนี้ใช้ไม่ได้ ต้องกลับมาทําสมถะ แล้วจิตก็เข้าฐาน | |||
<!--T:41--> | |||
สรุปก็คือถ้าเราจะทําวิปัสสนา ต้องรู้รูปธรรมนามธรรม อย่างพุทโธให้คอยรู้จิตตัวเองไว้ พุทโธเป็นเหยื่อล่อ จิตเป็นตัวปลา พุทโธเป็นเหยื่อตกปลา เราไม่ได้กินเหยื่อ เราจะกินปลา ฉะนั้นเราจะคอยพุทโธไป เพื่อจะรู้ทันจิตตัวเองให้ได้ อย่างนี้เราทำวิปัสสนาได้ เพราะเราเห็นจิตแสดงไตรลักษณ์ได้ ฉะนั้นมีเครื่องอยู่ที่เราถนัด ไม่ต้องเลียนแบบคนอื่น ไปดูตัวเอง ถนัดรู้กาย เราก็รู้กาย ถนัดรู้เวทนา ก็รู้เวทนา ถนัดดูจิตที่เป็นกุศลอกุศล เราก็รู้จิตไป รู้ไปเรื่อยๆ แล้วต่อมาเราก็จะเห็นทุกอย่างที่เรารู้มันเป็นของถูกรู้ถูกดู ร่างกายก็ถูกรู้ เวทนาก็ถูกรู้ จิตที่เป็นกุศลอกุศลก็ถูกรู้ เราเริ่มเดินปัญญาแล้ว แล้วต่อมาเราเห็นความเป็นไตรลักษณ์ ร่ายกายก็อยู่ใต้ไตรลักษณ์ เวทนาก็อยู่ใต้ไตรลักษณ์ จิตก็อยู่ใต้ไตรลักษณ์ อันนี้เราขึ้นวิปัสสนาแล้ว | |||
<!--T:42--> | |||
เราเดินไปในเส้นทางอันนี้ เส้นทางของสติปัฏฐาน เรียกว่าเอกายนมรรค คําว่าเอกายนมรรค หรือทางเอก แปลได้หลายอย่าง แปลว่าทางของท่านผู้เป็นเอก คือเป็นทางดําเนินของพระพุทธเจ้าก็ได้ ทางเอกนี้หมายถึงไปครั้งเดียวแล้วไม่ต้องไปครั้งที่สอง ครั้งเดียว ถ้าเดินจบสายแล้วก็จบเลย ไม่ต้องย้อนกลับมา นี่คําว่าทางเอก อีกอันหนึ่งก็คือเป็นทางสายเดียว เป็นวิธีปฏิบัติสายเดียวเพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น เพราะฉะนั้นคําว่าทางเอก เอกายนมรรค แปลความหมายได้หลายอย่างมากเลย แต่รวมใจความก็อย่างที่ว่านี่ล่ะ ฉะนั้นเราจะพูดว่าสติปัฏฐาน เป็นทางสายเอก เป็นทางสายเดียวเพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น พูดอย่างนี้ก็ได้ | |||
<!--T:43--> | |||
แล้วเวลาไปสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้น ถ้าบริสุทธิ์หลุดพ้นแล้ว ก็ไม่ต้องกลับมาทําอย่างนี้อีก ฉะนั้นเวลาพระอรหันต์ตรัสรู้แล้ว ท่านบรรลุพระอรหันต์แล้ว ท่านจะบอกว่ากิจที่ควรทําทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีกแล้ว กิจที่ควรทําทําเสร็จแล้ว ก็คือได้เจริญสติปัฏฐานสมบูรณ์เต็มที่แล้ว แล้วไม่ต้องกลับมาทําอีกแล้ว จบ จบแล้วจบเลย | |||
<!--T:44--> | |||
เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องเล่นๆ พวกเราศึกษาทําสติปัฏฐานให้ได้ มีสติรู้กาย มีสติรู้ใจ รู้อย่างที่มันเป็น ไม่ใช่รู้แล้วแทรกแซงมัน หลวงพ่อถึงสรุปออกมาเป็นคําพูดสั้นๆ ถ้าหลุดออกจากหลักนี้ เราก็พลาดแล้ว คือสอนบอกว่า “ให้มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง” จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางคือจิตที่ทรงสัมมาสมาธินั่นเอง ตั้งมั่น แล้วก็เป็นกลางด้วย ตั้งมั่นแล้วบางทีเผลอไปหน่อยเดียว ไม่เป็นกลางแล้ว ถ้าไม่เป็นกลางให้รู้ทันมันก็จะกลับมาเป็นกลาง เราก็รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ความเป็นจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ฉะนั้นก็คือให้มีสติรู้กายรู้ใจ รู้ให้เห็นไตรลักษณ์ เราจะเห็นไตรลักษณ์ได้ เราต้องมีจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง | |||
<!--T:45--> | |||
ถ้าพลาดจากหลักนี้ก็คือไม่ใช่แล้วล่ะ ธรรมะที่มากมาย วิธีปฏิบัติที่มากมาย หลวงพ่อย่อลงเหลือในประโยคเดียวนี้ล่ะ เราตีความตัวนี้แตก เราก็เดินได้สบายๆ ไม่พลาดหรอก วันนี้เทศน์ให้ฟังเท่านี้ ว่าจะเทศน์ให้ง่าย ไม่ง่ายสักที อยากเก่ง คนเก่งๆ มานั่ง ธรรมะมันก็ยากขึ้นๆ | |||
<!--T:46--> | |||
หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช | |||
วัดสวนสันติธรรม | |||
4 สิงหาคม 2567 | |||
</translate> | |||
{{课程导航}} | {{课程导航}} | ||
<translate> | |||
<!--T:47--> | |||
[[Category:隆波帕默尊者|D]] | [[Category:隆波帕默尊者|D]] | ||
</translate> |
2024年9月17日 (二) 19:51的最新版本
สติปัฏฐาน
ภาวนาต้องฝึกจนได้สติอัตโนมัติ ให้มีสมาธิอัตโนมัติเกิดปัญญาอัตโนมัติขึ้นมา ถ้ายังไม่อัตโนมัติยังจงใจอยู่ ถ้าจงใจอยู่ก็ดีเหมือนกัน แต่ว่ามันจะตึงเครียดเกินไป แต่ก่อนที่มันจะอัตโนมัติได้มันก็ไม่อัตโนมัติหรอก ก็ต้องจงใจไปก่อน
เบื้องต้นหัดภาวนา หาเครื่องอยู่ให้จิตอยู่ไว้ จิตต้องมีเครื่องอยู่ จะเป็นรูปธรรมนามธรรมก็ได้ อย่างเรารู้ใช้ลมหายใจเข้าออกอย่างนี้ เราคอยรู้ร่างกายหายใจออก รู้สึก ร่างกายหายใจเข้า รู้สึก จิตต้องมีเครื่องอยู่ อย่างหลวงพ่อ ตอนหัดหลวงพ่อก็ใช้หายใจเข้าพุธ หายใจออกโธ เป็นเครื่องอยู่ไว้ ครูบาอาจารย์บางองค์ ท่านก็ใช้พุทโธอย่างเดียว พุทโธ ถ้าพุทโธไม่เป็น ก็คิดแต่คําว่าพุทโธ ถ้าพุทโธเป็น ก็พุทโธแล้วก็คอยรู้ทันจิตตัวเอง ก็คือการใช้จิตเป็นเครื่องอยู่ ก็ไปอยู่ในจิตตานุปัสสนา แต่ถ้าเอาคำบริกรรมมาเป็นเครื่องอยู่ สงบได้เฉยๆ มันต่อขึ้นเจริญปัญญาไม่ได้
ถ้าไม่ได้เห็นไตรลักษณ์ ยังไม่เป็นวิปัสสนา เพราะการเจริญปัญญาทำวิปัสสนา มันต้องรู้รูปรู้นาม รู้กายรู้ใจ ถ้าไปรู้เรื่องราวที่คิด มันยังไม่ขึ้นวิปัสสนาจริง อย่างเราใช้ลมหายใจ เบื้องต้นน้อมจิตอยู่กับลมหายใจให้จิตสงบ เราได้สมถะ แล้วต่อมาเราพัฒนาขึ้นไปอีกเข้าสู่ขั้นเดินปัญญา เราก็เห็นร่างกายหายใจ หรือเห็นว่าร่างกายที่หายใจอยู่ถูกรู้ถูกดู จิตเป็นคนรู้คนดู นี่เราเริ่มเดินปัญญาแล้ว ถ้ารู้ลมหายใจเฉยๆ จิตสงบอยู่กับลมเป็นสมถะ ถ้าเราเห็นว่าร่างกายที่หายใจอยู่ก็เป็นอันหนึ่ง จิตเป็นคนรู้ร่างกายที่หายใจ นี่เป็นอีกอันหนึ่ง เรียกว่าเราแยกสิ่งที่เรียกว่าตัวเราๆ ออกมาเป็น 2 ส่วน คือร่างกายกับจิตใจ การแยกรูปแยกนามได้เป็นจุดตั้งต้นของการเจริญปัญญา
หรือถ้าเราจะใช้อิริยาบถ 4 ร่างกายนั่งอยู่ รู้สึก ร่างกายเดิน รู้สึกอะไรอย่างนี้ ถ้าเรานั่งอยู่แล้วเราก็รู้สึกว่าร่างกายมันนั่ง ไม่วอกแวกไปไหน ได้สมถะ แต่ถ้าเห็นร่างกายที่นั่งอยู่ เป็นของถูกรู้ถูกดู จิตเป็นผู้รู้ผู้ดู นี่เราแยกรูปนาม แยกกายแยกใจออกจากกันได้ ก็เป็นการเริ่มต้นเจริญปัญญา การเจริญปัญญานั้น จุดแรกของการเจริญปัญญาคือการแยกรูปนามให้ได้ อย่างร่างกายหายใจ ร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน ร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหยุดนิ่ง อันนี้เป็นตัวรูป นามเป็นตัวรู้ จิตใจเป็นคนรู้ร่างกาย ถ้าแยกออกมาอย่างนี้ได้ ก็เรียกว่าเราเริ่มเดินปัญญาเป็นแล้ว
ครูบาอาจารย์หลวงตามหาบัว ท่านก็เคยสอน ท่านจะไม่ได้ใช้คําว่าแยกรูปแยกนาม ท่านใช้คําว่า “ถ้าแยกธาตุแยกขันธ์ไม่เป็น อย่ามาบอกเรานะว่าเจริญปัญญา” ฉะนั้นเจริญปัญญาต้องแยกธาตุแยกขันธ์ คือแยกรูปนามนั่นเอง
ถ้าเราใช้กายเป็นวิหารธรรม เป็นเครื่องอยู่ของจิต ต้องการความสงบ เราก็สนใจลงไป ใส่ใจลงไปที่ร่างกาย จะร่างกายทั้งตัวก็ได้ ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งก็ได้ แล้วนิ่งอยู่อย่างนั้น สงบอยู่กับร่างกายอันเดียวได้สมถะ ถ้าเห็นว่าร่างกายมันเป็นอันหนึ่ง จิตเป็นผู้รู้ผู้ดูร่างกายเป็นอีกอันหนึ่ง อันนี้เราเริ่มเจริญปัญญาแล้ว ถ้าจะขึ้นวิปัสสนา ก็สูงขึ้นไปอีกเราก็เห็นร่างกายที่มันหายใจออกหายใจเข้า ที่มันยืน ที่มันเดิน นั่ง นอน ที่มันเคลื่อนไหว ที่มันหยุดนิ่ง เป็นของไม่เที่ยงๆ ร่ายกายหายใจออกก็ไม่เที่ยง ร่างกายหายใจเข้าก็ไม่เที่ยง ร่างกายยืนก็ไม่เที่ยง เดิน นั่ง นอนก็ไม่เที่ยง ร่างกายเคลื่อนไหวก็ไม่เที่ยง ร่างกายหยุดนิ่งก็ไม่เที่ยง
ถ้าเรายังคิดอยู่ ยังไม่ขึ้นวิปัสสนาจริง แต่เป็นการคิดถึงความเป็นไตรลักษณ์ของร่างกาย อันนี้เป็นอีกสเต็ปหนึ่ง ไม่ใช่แค่รู้ว่าร่างกายกับจิตเป็นคนละอันกัน แต่ค่อยคิดลงไปว่า ร่างกายมันไม่เที่ยง หรือมันเป็นทุกข์แล้วมันเป็นอนัตตาอะไรอย่างนี้ อันนี้ยังเจือการคิด ก็เป็นปัญญาที่สูงขึ้นไปอีกนิดหนึ่ง ไม่ได้รู้กายกับใจที่แยกกันออกมาเฉยๆ แล้วตรงที่จะขึ้นวิปัสสนาจริงๆ เราไม่ได้จงใจ เราเห็นร่างกายมันไม่เที่ยง มันหายใจออกแล้วมันก็หายใจเข้า มันหายใจเข้าแล้วมันก็หายใจออก เรารู้ลงไปที่ความไม่เที่ยงของมัน ไม่ได้คิด ตรงที่รู้ ไม่ได้คิด ตรงนั้นล่ะ ขึ้นวิปัสสนาจริงๆ แล้ว เห็นความไม่เที่ยงของร่างกาย ก็ขึ้นวิปัสสนาได้
วิปัสสนาแปลว่าการเห็น เห็นแจ้ง เห็นจริง เห็นถูกต้อง ฉะนั้นถ้าเราเห็นร่างกายจิตใจสงบอยู่กับร่างกาย อันนั้นเป็นสมถะ ยังไม่ได้เห็นแจ้งเห็นจริงว่ามันเป็นไตรลักษณ์ ถ้าเราคิดว่าร่างกายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อันนี้ยังคิด ยังไม่ใช่เห็นก็เป็นปัญญาอีกระดับหนึ่ง แต่ถ้าเห็นก็คือเรารู้สึกเลย ร่างกายที่หายใจออกไม่เที่ยง ร่างกายหายใจเข้าไม่เที่ยง เรารู้ เราเห็น เห็นความไม่เที่ยง เพราะฉะนั้นถ้าเราจะทำสมถะ หรือเดินปัญญาขั้นต้น เราเห็นตัวรูปตัวนาม ถ้าจิตเราจดจ่ออยู่กับรูปนามอันใดหนึ่งอย่างเดียว มันก็เป็นสมถะ ถ้าจิตมันเห็นตัวรูปตัวนามแยกออกจากกันก็เป็นการเดินปัญญาขั้นต้น ถ้าเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของรูปนาม อันนั้นถึงจะเป็นวิปัสสนา ถ้าไม่ได้เห็นไตรลักษณ์ ยังไม่เป็นวิปัสสนา
อย่างเราเห็นร่างกายเป็นปฏิกูลเป็นอสุภะ อันนี้ทําไปพิจารณาร่างกายเป็นปฏิกูลอสุภะไป จิตจะข่มราคะได้ อันนี้เป็นสมถะ จิตมีราคะเราก็แก้ด้วยการพิจารณาปฏิกูลอสุภะของร่างกาย ดีไหม ดี แต่ดีในระดับของสมถะ แต่ถ้าเราเห็นร่างกายนี้ เห็นๆ ด้วยความรู้สึกของเรา มันไม่เที่ยง มันเป็นความรู้ชัด ตระหนักชัดถึงความไม่เที่ยงของมัน หรือร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน เปลี่ยนอิริยาบถไปเรื่อยๆ เราตระหนักชัด เรารู้ชัดถึงความเปลี่ยนแปลงของมัน อันนี้เป็นวิปัสสนา ฉะนั้นวิปัสสนา ต้องดูรูปดูนาม แล้วดูจนเห็นไตรลักษณ์
ทีนี้บางคนไม่ชอบที่จะดูกาย เราก็ดูเวทนา หรือบางคนดูกายแล้วก็อัพเกรดขึ้นไปเห็นเวทนา ก็ทําได้ อยู่ๆ จะเริ่มดูที่เวทนาเลยก็ได้ หรือจะดูมาทางกายก่อนก็ได้แล้วก็ยกระดับขึ้นมาดูเวทนา อย่างถ้าเราจะไล่ไปตามลําดับ อย่างเราเห็นร่างกายหายใจ ร่างกายยืน เดิน นั่ง นอนอย่างนี้ แล้วจะพบว่าในร่างกายเรานี่ เดี๋ยวมันก็ปวดตรงนั้น เดี๋ยวมันก็เจ็บตรงนี้ เดี๋ยวมันก็คันที่นั่นที่นี่ นั่งไปนานๆ อ้าว ปวดฉี่เสียแล้วอะไรอย่างนี้ เราเห็นเวทนามันเบียดเบียนอยู่ในร่างกาย เราก็ใช้เวทนาเป็นเครื่องอยู่ของจิตก็ได้ เราเห็นเวทนาทางกาย แล้วก็เห็นว่าความสุขความทุกข์ในร่างกายเป็นของถูกรู้ถูกดู
อย่างทีแรกเราดูร่างกายใช่ไหม เราก็เห็นร่างกายเป็นของถูกรู้ถูกดู แล้วก็ต่อไปก็จะเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของร่างกาย อันนี้ถ้าเรามองทะลุกายเข้ามาเราเห็นเวทนาในกาย เราก็เห็นว่าเวทนาในร่างกายเป็นของถูกรู้ถูกดู หลักเดียวกันนั่นล่ะ แล้วถัดจากนั้นเราก็จะเห็น เวทนาในร่างกายไม่เที่ยง อยู่ดีๆ ทีแรกก็ดีๆ สบายดี อ้าว เจ็บขึ้นมาแล้ว ปวดขึ้นมาแล้ว เคล็ดขึ้นมาแล้ว เวทนาในกายไม่เที่ยง ทีแรกไม่มีก็มี ทีแรกไม่มีความเจ็บแล้วก็เกิดความเจ็บอะไรอย่างนี้ ทีแรกสบาย อ้าว ตอนนี้ไม่สบาย มันสะท้อนถึงความไม่เที่ยง ดูอย่างนี้ก็ได้
หรือดูลงไปให้เห็นความเป็นอนัตตาของเวทนาทางกาย เรากะจะนั่งให้สบายกลายเป็นเมื่อยไปแล้ว เวทนาทางกาย เราไม่ได้เลือก เราไม่ได้สั่ง ว่าความเมื่อยจงมาอะไรอย่างนี้ มันไม่ได้เรียกอย่างนั้นมันมาเอง มันมาแล้ว เราไล่มันก็ไม่ไปๆ สั่งว่าจงหายเมื่อย ไม่หาย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับ แต่เวลาเรานั่งสมาธิจริงๆ แล้วมันเจ็บมันปวด มันก็มีวิธีหลายวิธี มีวิธีอันหนึ่งก็คือนั่งต่อไป มันเจ็บ มันปวด มันเมื่อยสุดขีด มันแปลก มันหายเอง ถ้าเราดูเวทนาทางกาย เราต้องอดทน เพราะฉะนั้นถ้าจิตไม่มีสมาธิพอ ดูเวทนาทางกายไม่ได้ เดี๋ยวสติแตก มันเจ็บ ถ้าสติสมาธิของเราเข้มแข็ง เราก็ดูเวทนาทางกายได้ ถ้าสมาธิไม่พอ ดูไม่ไหว เวลาเรานั่งสมาธิแล้วมันเจ็บมันปวด ไม่ต้องลุกหนีก็ได้ อดทนไว้ นั่งดูมันไปเรื่อยๆ แล้วมันหายเอง
อย่างบางทีเรานั่งแล้วมันเป็นเหน็บชาขึ้นมา แข้งขาชาแข็งไม่มีความรู้สึกเลย ทนนั่งดูไปเรื่อยๆ ดูสิ เวทนาจะเที่ยงหรือไม่เที่ยง ผ่านไปนานๆ อ้าว มันหายชาแล้ว เลือดลมเดินปกติแล้ว เราก็เห็น เออ ไม่ได้ทําอะไรสักหน่อย เวทนานี้มันเป็นอนัตตา บทจะมามันก็มา บทจะไปมันก็ไป สั่งมันก็ไม่ได้ อย่างนี้เราเดินปัญญาแล้ว เราเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นอนัตตาของเวทนา
ถ้าดูกาย เราก็ดูได้ทั้งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาเลย โดยเฉพาะตัวทุกขังกับอนัตตา ถ้าดูกายแล้วจะเห็นตัวนี้ง่าย แต่ถ้าดูนามธรรม เราจะเห็นอนิจจัง อนัตตาง่าย แต่ดูให้เห็นทุกขังของนามธรรมได้ไหม ได้เหมือนกัน จิตต้องทรงสมาธิจริงๆ แล้วนึกจะให้จิตมีความสุขแล้วทําสมาธิ ถ้าจิตมีความสุข เราก็ดูไป มันก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน เดี๋ยวความสุขก็ดับกลายเป็นอุเบกขาอะไรอย่างนี้ ถ้าจิตไม่ได้ทรงสมาธิ มีความสุขอยู่ ไปรู้มันปุ๊บ สมมติความสุขในจิตใจ ไปดูมัน มันหาย มันก็กลายเป็นอุเบกขาเหมือนกัน มันไม่เที่ยงแล้วมันก็บังคับไม่ได้ สั่งไม่ได้
แต่ถ้าเราชํานาญในเรื่องของจิต เราทําเหตุให้จิตมีความสุข จิตมันก็มีความสุข เพราะเราทําเหตุ ไม่ใช่เราความสุขให้เกิดขึ้น เราทำความสุขให้เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะเวทนาก็เป็นอนัตตา ถ้าเราน้อมจิตอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข อารมณ์ที่สบายเหมาะกับตัวเรา แล้วเรารู้อารมณ์นั้นด้วยใจปกติ ใจธรรมดาๆ แป๊บเดียว จิตก็มีความสุขแล้ว แต่ถ้าเราไม่ชํานาญแล้วไปสั่งว่าจิตจงมีความสุข มันไม่มี แต่สมมติถึงเราชํานาญ เราทําสมาธิปุ๊บจิตมีความสุข สุดท้ายมันก็ไม่เที่ยง มันก็ต้องถอยออกมาจากสมาธิ มันก็เสื่อมอีก
ต้องเห็นว่าสภาวะทั้งหลายเป็นของถูกรู้ถูกดู ถึงจะเกิดปัญญา เวลาเราเดินปัญญา เราดูกาย ดูเวทนาไป เราก็เห็นไตรลักษณ์ ถ้าเวลามีความเจ็บปวดเกิดขึ้น แล้วเราทุ่มเทความใส่ใจลงไปที่ความเจ็บตรงนั้น สมมติว่าปวดที่เข่า เราจ้องอยู่ที่เข่า ใจนิ่งๆ อยู่ที่เข่า อันนี้เป็นสมถะ แต่ถ้าเราเห็นว่าความเจ็บปวดเป็นของถูกรู้ถูกดู อันนี้เราขึ้นเดินปัญญาแล้ว ต่อไปเราเห็นว่าความเจ็บหัวเข่าของเราไม่เที่ยงหรอก เดี๋ยวเจ็บมาก เดี๋ยวเจ็บน้อย เดี๋ยวก็หายไป หรือเห็นว่ามันมาเองไปเอง เห็นเอา ไม่ได้คิดเอา อันนี้เราขึ้นวิปัสสนาแล้ว
บางคนไม่ชอบดูกาย ไม่ชอบดูเวทนา เราก็ดูจิต จิตเดี๋ยวก็เป็นกุศล เดี๋ยวก็เป็นอกุศล ถ้าจิตโกรธเกิดขึ้นแล้วเราเพ่งไว้ที่จิตโกรธ มันเป็นสมถะ เพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว ใจขุ่นมัว ใจอึดอัดอย่างนี้ ก็จ้องเพ่งลงไปที่ความรู้สึกอึดอัด มันไม่ได้เกิดปัญญา ถ้าเราเพ่งอารมณ์อันเดียว สุดท้ายมันก็สงบลงไป เกิดความสุขความสงบขึ้นมา เป็นสมถะ แต่ถ้าเราเห็นว่าความทุกข์ ความทุกข์ในใจ หรืออย่างเราก็ดูหัวเข่า ความทุกข์ในหัวเข่า
หรือเห็นกุศลอกุศล อย่างความโกรธ ความโลภ ความหลง เห็นแบบเดียวกันนั่นล่ะ หรือเห็นร่างกายก็เห็นอย่างเดียวกันล่ะ เห็นว่ามันเป็นของถูกรู้ถูกดู อย่างเราเห็นความโกรธเป็นของถูกรู้ถูกดู เราเริ่มเดินปัญญาแล้ว แต่ถ้าเราไปเพ่งใส่ความโกรธ ไปเพ่งใส่ความอึดอัดในใจ คับข้องในใจ อันนั้นเป็นสมถะ หรือใจเรามีความสุข ใจมันว่าง สว่าง เราเพ่งลงไปในความว่าง ความสว่าง อันนั้นเป็นสมถะ แต่ถ้าเราเห็นความว่างเป็นของถูกรู้ เราเริ่มเดินปัญญาแล้ว
จิตเป็นคนรู้ มี 2 อันแล้ว มีจิตที่เป็นคนรู้กับมีสิ่งที่ถูกรู้ที่เป็นรูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย แล้วถ้าเราเห็นไตรลักษณ์ของสิ่งเหล่านั้น นั่นเราขึ้นวิปัสสนา อย่างเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น แล้วความโกรธตั้งอยู่แล้วความโกรธก็ดับไปโดยที่เราไม่ได้ต้องทําอะไร อันนั้นเราทําวิปัสสนาอยู่ แต่ถ้าความโกรธเกิดขึ้น เรารีบแผ่เมตตาแก้ไข แล้วความโกรธหายไป อันนั้นเราทําสมถะ เราเข้าไปแทรกแซง เราไม่ได้รู้ความเป็นไตรลักษณ์ของมัน แต่เราเข้าไปจัดการ
พวกทำสมถะเก่งๆ ดีไม่ดีกลายเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ คิดว่าเราทําได้ จิตเป็นอัตตา สั่งได้ ความโกรธเกิดขึ้น เพ่งทีเดียวหายเลย ความง่วงเกิดขึ้นเพ่งทีเดียวก็หายเลย ความรู้สึกอะไรเกิดขึ้น เพ่งแล้วควบคุมอยู่เลย อยากให้จิตมีความสุข กําหนดทีเดียวก็มีความสุข อยากให้เป็นอุเบกขา กําหนดก็เป็นอุเบกขา เป็นเรื่องของสมาธิ
เรื่องสมาธิก็เป็นอจินไตยตัวหนึ่ง คนไม่มีสมาธิประเมินไม่ถูกหรอก แต่คนเล่นสมาธิ บางทีเล่นไปเล่นมาเลยกลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีหลายจําพวกที่กลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ อย่างบางพวกนั่งสมาธิไปแล้วจิตรวมปุ๊บลงไปแล้วจิตหาย หรือเดินจงกรม เดินทรมานตัวเองนานๆ ทรมานเคี่ยวเข็ญจิตใจ เครียดสุดขีดเลย พอจิตมันเครียดสุดขีด จิตมันดับปั๊บลงไป ไม่มีจิต นั่งตัวแข็งทื่อ หรือเดินก็เดินแล้วก็หยุด ไม่ได้เดินแล้ว ตัวแข็งทื่ออยู่ ไม่มีความรู้สึก อันนั้นจิตมันเข้าไปเป็นพรหมลูกฟัก
พอจิตออกจากสมาธิชนิดนี้ มันจะเกิดมิจฉาทิฏฐิได้ คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันเกิดขึ้นมาเอง ไม่มีอะไรเป็นเหตุ อยู่ๆ มันก็ผุดขึ้นมา ทีแรกไม่มีอะไรเลย ตรงที่เข้าไป พอมันไม่มีจิตมันก็ไม่รู้สึก ไม่รู้สึกว่ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง รู้สึกว่าไม่มีอะไรเลยจากความไม่มีอะไรเลย อยู่ๆ ก็ผุดมีกายมีใจขึ้นมา ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ คิดว่ามันไม่มีเหตุหรอก อยู่ๆ มันก็เกิดขึ้นได้เอง หรือทําสมาธิไป จิตสงบรวมลงไป แล้วก็เกิดมิจฉาทิฏฐิขึ้นว่าเราบังคับจิตได้
หรือบางพวกทําฌานได้ดี แต่มนุษย์เราทําไม่ได้ พวกพรหมเขาทําฌานทีหนึ่ง นานเป็นกัปๆ เลย พวกนี้คิดว่าจิตเป็นอัตตา จิตเป็นของบังคับได้ เห็นไหมมิจฉาทิฏฐิจํานวนมากเลยที่มันเกิดมาจากการทําสมาธิ เพราะฉะนั้นการทําสมาธิมีทั้งคุณมีทั้งโทษ ต้องระมัดระวัง อาศัยการได้ยินได้ฟังคําสอนของพระพุทธเจ้า เราจําแนกได้ อะไรเป็นสัมมาทิฏฐิ อะไรเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าอยากเรียนเรื่องมิจฉาทิฏฐิ ลองไปอ่านพระสูตร สูตรที่หนึ่งเลย ชื่อพรหมชาลสูตร ในนั้นเต็มไปด้วยมิจฉาทิฏฐิ 62 อย่าง มีเยอะเลย ส่วนมากมันก็เกิดจากการทําสมาธิแล้วไม่มีสติไม่มีปัญญากํากับ ก็เกิดหลงผิดขึ้นมา
คราวนี้เราจะทําให้เกิดปัญญา เราต้องเห็นว่าสภาวะทั้งหลายเป็นของถูกรู้ถูกดู จิตเป็นคนรู้คนดู ต้องแยกตรงนี้ให้ออก อย่างมีปีติเกิดขึ้น เราเห็นปีติเป็นของถูกรู้ถูกดู มีความสุขเกิดขึ้นเราเห็นความสุขเป็นของถูกรู้ถูกดู มีอุเบกขาเกิดขึ้น เราเห็นอุเบกขาเป็นของถูกรู้ถูกดู มีผู้รู้กับมีสิ่งที่ถูกรู้ ถ้ามีผู้รู้คือจิตกับมีสิ่งที่ถูกรู้ เราเริ่มเดินปัญญาแล้ว แล้วคราวนี้เราเห็นสิ่งที่ถูกรู้ทั้งหลาย ทั้งรูปธรรมทั้งนามธรรม เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ถ้าเห็นอย่างนี้ เราขึ้นวิปัสสนา หรือเราสามารถเห็นได้ว่าจิตผู้รู้เองเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไปเช่นเดียวกับสิ่งที่ถูกรู้ทั้งหลายนั่นล่ะ อย่างนี้เราก็ขึ้นวิปัสสนา
สุดท้ายปัญญามันแก่รอบ มันจะรู้ว่าทุกสิ่งที่เกิดดับทั้งสิ้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดดับเป็นธรรมดา ทําไมใช้คําว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ได้บอกว่าลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ท้องพองท้องยุบ สุขทุกข์ดีชั่วอะไรอย่างนี้ ไม่ได้พูดอย่างนั้นแล้ว แต่เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดล้วนแต่ดับทั้งสิ้น ถ้าจิตมันสรุปรวบยอดตัวนี้ได้ อันนี้เป็นปัญญาของพระโสดาบัน พระโสดาบันไม่ได้รู้อะไรพิสดารหรอก ไม่ได้รู้หวย ไม่ได้รู้อะไรอย่างนั้นหรอก อาจจะไม่ได้เห็นผีเห็นเทวดาเลยสักนิดเดียว ไม่มีหูทิพย์ ไม่มีตาทิพย์ ไม่มีอะไรหรอก พระโสดาบันอาจจะรู้แค่ว่าสิ่งใดเกิดแล้วสิ่งนั้นก็ดับ ไม่มีอะไรที่เป็นตัวตนถาวร ตัวนี้ต่างหากที่สําคัญที่สุด
ตัวที่จะแตกหักกับกิเลสก็คือการเห็นความจริงว่าตัวเราไม่มี มีแต่ของที่เกิดแล้วดับทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นการรู้ข้างนอก บางท่านก็รู้ บางท่านก็ไม่รู้ ไม่ใช่เรื่องสําคัญ แต่ตัวที่จะแตกหักกับกิเลสก็คือการเห็นความจริงว่าตัวเราไม่มีหรอก มีแต่ของที่เกิดแล้วดับทั้งสิ้น ถ้าเข้าใจตัวนี้ เราก็จะเข้าใจธรรมะ เหมือนที่อุปติสสะๆ ตอนหลังก็ได้ฉายาว่าสารีบุตร อุปติสสะได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิ พระอัสสชิสอนสั้นๆ “ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น และแสดงความดับไปแห่งธรรมนั้น พระตถาคตเจ้ามีปกติกล่าวอย่างนี้” ท่านฟังอย่างนี้ท่านก็รู้ สิ่งใดเกิดแต่เหตุ สิ่งนั้น ถ้าเหตุดับสิ่งนั้นก็ดับ ท่านเข้าใจตรงนี้ ท่านเลยฟังแค่นี้ท่านเป็นพระโสดาบันแล้ว
ที่จริงพระอัสสชิท่านเก่ง 4 วรรคเมื่อกี้ครอบคลุมอริยสัจ 4 ได้ สิ่งใดเกิดแต่เหตุ อะไรที่เกิดแต่เหตุ ทุกข์เกิดแต่เหตุ พระตถาคตเจ้าแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น พระพุทธเจ้าก็สอนถึงสมุทัย คือตัณหา แล้วแสดงความดับไปแห่งธรรมนั้น ความดับของตัณหาก็คือนิโรธ พระพุทธเจ้ามีปกติกล่าวอย่างนี้ สอนอย่างนี้ ท่านสอนให้เรารู้ทุกข์ ละสมุทัย จนกระทั่งแจ้งนิโรธ อันนั้นคือการเจริญมรรค นี่ปัญญาระดับพระสารีบุตร ฟังแล้วปิ๊ง เข้าใจตัวนี้เลย ได้พระโสดาบัน รู้ว่าตัวเราไม่มีจริง มีแต่รูปธรรมนามธรรมมาประกอบกันเป็นร่างกายอย่างนี้ มีสัญญาเข้าไปหมาย มีใจยังครอบครองอยู่
ฉะนั้นในตําราจะชอบพูดถึงว่ามีสัญญาและใจครองอยู่ ถ้าตายแล้วก็เป็นท่อนไม้ท่อนฟืน ไม่มีสัญญาและใจครอง การที่มีสัญญาและใจครอง ก็มีสัญญา 2 ชนิด สัญญาวิปลาส อย่างที่ปุถุชนเป็นกับสัญญาที่ถูกต้อง สัญญาวิปลาส อย่างพวกเรา ธาตุ 4 มาประชุมกัน มีจิตวิญญาณอยู่ เราก็มีความหมายรู้ผิดว่านี่คือตัวเรา
พระอริยเจ้าทั้งหลาย กรรมเก่าส่งผลมายังไม่หมด มีวิบากส่งผลมา ก็ได้ธาตุได้ขันธ์ ได้ร่างกายนี้มา มีจิตใจยังครองร่างกายนี้อยู่ แต่ไม่ได้ยึดถือกาย สักแต่ว่าอาศัยอยู่ในกายเท่านั้นเอง แล้วก็มีสัญญาที่ถูกต้อง กายนี้ไม่ใช่ตัวเราของเราอะไรหรอก เป็นสมบัติของโลก มีสัญญาที่ถูกต้อง ไม่ใช่เรา เป็นแต่ของไม่เที่ยง เป็นแต่ของเป็นทุกข์ มีแต่ของสกปรกโสมมในกายนี้ ถ้าเป็นพระอริยบุคคล ท่านก็จะเห็นอย่างนั้น แต่อริยบุคคลชั้นต้นๆ ยังไม่เห็นขนาดนี้ ต้องสูงขึ้นไปแล้วถึงจะเห็นกายนี้น่ารังเกียจ ระดับอนาคามีแล้วล่ะ วางกายได้ หมดความยึดถือ
ฉะนั้นหัดภาวนา เบื้องต้นให้หาอารมณ์กรรมฐานอะไรสักอย่างหนึ่ง จะเป็นกายก็ได้เวทนาก็ได้ เป็นจิตก็ได้ ธัมมานุปัสสนายาก เอาไว้ทีหลัง เรียนกาย เรียนเวทนา เรียนจิต จุดเริ่มต้นจะเรียนอันใดอันหนึ่งก่อนก็ได้ แล้วแต่ความถนัด หรืออยากเรียนเต็มยศ ก็เรียนทั้งกาย เวทนา จิต ธรรม เรียงมาเป็นลำดับเลยก็ได้
อย่างที่ทําอานาปานสติมันครอบคลุมสติปัฏฐาน 4 ได้หมดเลยถึงบอกว่าอานาปานสติเป็นสุดยอดกรรมฐานจริงๆ อย่างเราเห็นร่างกายหายใจออกหายใจเข้าเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หายใจไปแล้วเห็นร่างกาย เห็นจิตใจ หายใจแล้วมันมีความสุขมีความสงบอะไรเกิดขึ้น จิตเริ่มเข้าฌานไป ก็ไปเห็นตัวความสุขเป็นอุเบกขาเกิดดับ อันนี้ขึ้นไปเจริญปัญญาในเวทนานุปัสสนาแล้ว หรือสูงขึ้นไปอีกมันก็เห็นเวลาความสุขเกิด เราก็เกิดความยินดีพอใจ เวลาความทุกข์เกิดแล้วเกิดยินร้าย มีโทสะ หายใจไปแล้วก็เห็นจิตมันเกิดราคะก็รู้ จิตมันเกิดโทสะก็รู้ นี่ขึ้นจิตตานุปัสสนาแล้ว หายใจไปแล้วก็เห็นแต่ความเป็นไตรลักษณ์ของรูปธรรมนามธรรม ทั้งขันธ์ 5 อันนั้นขึ้นธัมมานุปัสสนาไป เพราะฉะนั้นอย่างอานาปานสติมันครอบคลุมสติปัฏฐาน 4 ได้ ไม่ธรรมดา เป็นสุดยอดกรรมฐานเลย
ฉะนั้นคนที่เล่นอานาปานสติได้สมบูรณ์แบบที่สุดนั้นก็คือพระพุทธเจ้านั่นเอง พระพุทธเจ้าทําอานาปานสติได้เต็มขั้น 16 ขั้น ของเราแค่ขั้นที่สี่ก็ไม่ผ่านแล้ว ขั้นที่สี่ ลมหายใจระงับ พอลมหายใจแผ่วๆ ก็ตกใจแล้ว โอ๊ย เดี๋ยวจะตายแล้ว ไม่ทันระงับหรอก ที่จริงลมระงับไม่ใช่แปลว่าไม่หายใจ แต่ร่างกายมันเผาผลาญน้อย มันใช้พลังงานน้อย มันก็ต้องการออกซิเจนน้อย ไม่ใช่ร่างกายไม่มีออกซิเจน แล้วการหายใจนั้นมันเบามันแผ่วมาก อย่างเวลาเราเกิดกิเลสรุนแรง ลมหายใจมันจะแรง อย่างเราโมโหคนอะไรอย่างนี้ ลมหายใจมันจะแรง เราเกิดกามราคะ ลมหายใจมันก็จะแรงขึ้น แต่ถ้าใจมันประณีตมันสงบ ลมมันก็เบา เรื่องปกติ
ของเราส่วนใหญ่ที่ทําๆ จนขั้นลมระงับ มันก็ไม่ค่อยระงับหรอก มันก็ยาก ก็เลยมีวิธีการอันหนึ่ง ทําอานาปานสติไปให้ได้จิตผู้รู้ขึ้นมา เห็นลมหายใจถูกรู้ แล้วพอมีจิตผู้รู้แล้วทําไปเรื่อยๆ จิตจะมีแรงขึ้นมา คราวนี้ก็ดูไตรลักษณ์ของธาตุของขันธ์ ของกายของใจได้ ไม่จําเป็นต้องใช้กรรมฐาน ใช้สมถกรรมฐาน ระดับฌานหรอก เราทำฌานไม่ไหว ก็ไม่ต้องถึงขนาดนั้นหรอก เอาเท่าที่เราได้ ใช้แค่ขณิกสมาธิ อาศัยสติรู้ทันสภาวะแต่ละคราวๆ ก็จะได้สมาธิขึ้นชั่วขณะหนึ่ง เป็นขณะๆ ไป ทําบ่อยๆ สมาธิก็มีกําลังแก่กล้าขึ้น
อย่างที่พวกเราทำ เมื่อเช้าก็มีมาคนหนึ่งบอกว่าหลวงพ่อให้ไปดูอะไรไม่รู้จําไม่ได้แล้ว แล้วก็ตอนนี้จิตมันตั้งมั่นมีกำลังขึ้นมา นั่นล่ะบอกทํากรรมฐานไว้สักอย่างหนึ่ง แล้วก็มีสติไว้ เดี๋ยวจิตมันก็ตั้งมั่นเองล่ะ มีกําลัง พอจิตมันตั้งมั่น จิตมันมีกําลัง ก็เดินปัญญาได้แล้ว ถ้าจิตไม่มีแรงไม่ต้องรีบเดินฟุ้งซ่าน
ยากไปไหมที่เทศน์ให้ฟัง สรุปก็คือให้เรามีวิหารธรรม เครื่องอยู่ของจิตอันใดอันหนึ่ง จะเป็นร่างกายก็ได้ เป็นเวทนาก็ได้ เป็นจิตก็ได้ หรือเป็นรูปธรรมนามธรรม ขันธ์ 5 อายตนะ 6 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อันนั้นให้พวกที่เล่นธัมมานุปัสสนาเขาไปเล่น ปฏิจจสมุปบาท พวกนั้นเอาไว้ทีหลัง ทีหลังมันเป็นเองล่ะ
แก่นของพุทโธ ทีนี้บางคนบอกว่าพุทโธใช้ไม่ได้ เพราะพุทธโธเป็นความคิด ไม่มีสภาวะ อันนี้เขาไม่รู้จักพุทโธแบบครูบาอาจารย์วัดป่า พุทโธของครูบาอาจารย์วัดป่า แต่เดิมท่านสอนกันชัดเจน อะไรที่เรียกว่าพุทโธ ก็คือจิตเรานั่นเอง ที่ท่านท่องพุทโธๆ เพื่อเตือนตัวเองให้คอยรู้สึกจิตไว้ แล้วพอตัวพุทโธหายไป ก็เข้ามาที่จิตได้
บางองค์ท่านสอนชัดเจน ตรงไปตรงมา ครูบาอาจารย์องค์หนึ่งของหลวงพ่อ คือหลวงปู่บุญจันทร์ หลวงปู่บุญจันทร์เป็นลูกศิษย์องค์ต้นของหลวงปู่ชอบ มีฤทธิ์มากองค์นี้ อนาคตังสญาณอะไรนี่ชัดเจนมากเลย น่าทึ่ง ญาณรู้ของท่านน่าทึ่งจริงๆ ท่านสอนพุทโธ ไม่ได้ให้เราท่องพุทโธเฉยๆ ท่านให้ท่องว่า พุทโธใจรู้ พุทโธรู้ใจ พุทโธใจรู้ พุทโธรู้ใจ พุทโธเป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้า พุทโธแล้วก็รู้ทันใจตัวเองไว้ พุทโธแล้วใจฟุ้งซ่าน รู้ว่าใจฟุ้งซ่าน พุทโธแล้วใจสงบ รู้ว่าใจสงบ ถ้าเราทําพุทโธแบบนี้มันคือจิตตานุปัสสนาที่เป็นวิปัสสนาได้
ฉะนั้นที่บอกว่าพุทโธเป็นสมถะ เพราะยังไม่เข้าใจแก่นของพุทโธ ถ้าพุทโธเป็น ทำวิปัสสนาได้ ก็คือพุทโธไปแล้วเราก็รู้ทันจิตใจของตัวเองไป พุทโธใจรู้ พุทโธรู้ใจ รู้ใจใคร รู้ใจตัวเอง อย่าไปรู้ใจคนอื่น ให้รู้ใจตัวเอง ถ้าไปรู้ใจถึงคนอื่นแล้วมันจะกลับเข้าบ้านยาก อย่าว่าแต่อย่างพวกเราเลย พวกเราบางคนภาวนาเก่งแล้ว หลวงพ่อให้ไปช่วยสอนอะไรนี่ แล้วบางทีเผลอตัว ชอบไปดูจิตคนที่มาเรียนด้วย ดูคนโน้นดูคนนี้เรื่อยๆ แล้วละทิ้งการทําสมถะ จิตไม่เข้าฐานตัวเอง ไม่เข้าฐาน อันนี้ไปดูคนอื่นแล้วจิตออกนอกเลย ไม่เข้าบ้านแล้ว อันนี้ใช้ไม่ได้ ต้องกลับมาทําสมถะ แล้วจิตก็เข้าฐาน
สรุปก็คือถ้าเราจะทําวิปัสสนา ต้องรู้รูปธรรมนามธรรม อย่างพุทโธให้คอยรู้จิตตัวเองไว้ พุทโธเป็นเหยื่อล่อ จิตเป็นตัวปลา พุทโธเป็นเหยื่อตกปลา เราไม่ได้กินเหยื่อ เราจะกินปลา ฉะนั้นเราจะคอยพุทโธไป เพื่อจะรู้ทันจิตตัวเองให้ได้ อย่างนี้เราทำวิปัสสนาได้ เพราะเราเห็นจิตแสดงไตรลักษณ์ได้ ฉะนั้นมีเครื่องอยู่ที่เราถนัด ไม่ต้องเลียนแบบคนอื่น ไปดูตัวเอง ถนัดรู้กาย เราก็รู้กาย ถนัดรู้เวทนา ก็รู้เวทนา ถนัดดูจิตที่เป็นกุศลอกุศล เราก็รู้จิตไป รู้ไปเรื่อยๆ แล้วต่อมาเราก็จะเห็นทุกอย่างที่เรารู้มันเป็นของถูกรู้ถูกดู ร่างกายก็ถูกรู้ เวทนาก็ถูกรู้ จิตที่เป็นกุศลอกุศลก็ถูกรู้ เราเริ่มเดินปัญญาแล้ว แล้วต่อมาเราเห็นความเป็นไตรลักษณ์ ร่ายกายก็อยู่ใต้ไตรลักษณ์ เวทนาก็อยู่ใต้ไตรลักษณ์ จิตก็อยู่ใต้ไตรลักษณ์ อันนี้เราขึ้นวิปัสสนาแล้ว
เราเดินไปในเส้นทางอันนี้ เส้นทางของสติปัฏฐาน เรียกว่าเอกายนมรรค คําว่าเอกายนมรรค หรือทางเอก แปลได้หลายอย่าง แปลว่าทางของท่านผู้เป็นเอก คือเป็นทางดําเนินของพระพุทธเจ้าก็ได้ ทางเอกนี้หมายถึงไปครั้งเดียวแล้วไม่ต้องไปครั้งที่สอง ครั้งเดียว ถ้าเดินจบสายแล้วก็จบเลย ไม่ต้องย้อนกลับมา นี่คําว่าทางเอก อีกอันหนึ่งก็คือเป็นทางสายเดียว เป็นวิธีปฏิบัติสายเดียวเพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น เพราะฉะนั้นคําว่าทางเอก เอกายนมรรค แปลความหมายได้หลายอย่างมากเลย แต่รวมใจความก็อย่างที่ว่านี่ล่ะ ฉะนั้นเราจะพูดว่าสติปัฏฐาน เป็นทางสายเอก เป็นทางสายเดียวเพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น พูดอย่างนี้ก็ได้
แล้วเวลาไปสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้น ถ้าบริสุทธิ์หลุดพ้นแล้ว ก็ไม่ต้องกลับมาทําอย่างนี้อีก ฉะนั้นเวลาพระอรหันต์ตรัสรู้แล้ว ท่านบรรลุพระอรหันต์แล้ว ท่านจะบอกว่ากิจที่ควรทําทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีกแล้ว กิจที่ควรทําทําเสร็จแล้ว ก็คือได้เจริญสติปัฏฐานสมบูรณ์เต็มที่แล้ว แล้วไม่ต้องกลับมาทําอีกแล้ว จบ จบแล้วจบเลย
เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องเล่นๆ พวกเราศึกษาทําสติปัฏฐานให้ได้ มีสติรู้กาย มีสติรู้ใจ รู้อย่างที่มันเป็น ไม่ใช่รู้แล้วแทรกแซงมัน หลวงพ่อถึงสรุปออกมาเป็นคําพูดสั้นๆ ถ้าหลุดออกจากหลักนี้ เราก็พลาดแล้ว คือสอนบอกว่า “ให้มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง” จิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางคือจิตที่ทรงสัมมาสมาธินั่นเอง ตั้งมั่น แล้วก็เป็นกลางด้วย ตั้งมั่นแล้วบางทีเผลอไปหน่อยเดียว ไม่เป็นกลางแล้ว ถ้าไม่เป็นกลางให้รู้ทันมันก็จะกลับมาเป็นกลาง เราก็รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ความเป็นจริงของกายของใจคือไตรลักษณ์ ฉะนั้นก็คือให้มีสติรู้กายรู้ใจ รู้ให้เห็นไตรลักษณ์ เราจะเห็นไตรลักษณ์ได้ เราต้องมีจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง
ถ้าพลาดจากหลักนี้ก็คือไม่ใช่แล้วล่ะ ธรรมะที่มากมาย วิธีปฏิบัติที่มากมาย หลวงพ่อย่อลงเหลือในประโยคเดียวนี้ล่ะ เราตีความตัวนี้แตก เราก็เดินได้สบายๆ ไม่พลาดหรอก วันนี้เทศน์ให้ฟังเท่านี้ ว่าจะเทศน์ให้ง่าย ไม่ง่ายสักที อยากเก่ง คนเก่งๆ มานั่ง ธรรมะมันก็ยากขึ้นๆ
หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 4 สิงหาคม 2567
主题: 中文书籍 · 阿紫翻译 · 中文字幕 · 法谈摘录 · 法译文集 | |||
---|---|---|---|
法语微言 · 学篇 · 戒学篇 · 心学篇 · 心念处篇 · 身念处篇 · 慧学篇 · 五蕴篇 · 奢摩他篇 · 毗钵舍那篇 · 觉性篇 · 四圣谛篇 · 八支圣道篇 · 解脱篇 |
首页 · 历届中文 · ไทย · EN课程总览 | |
---|---|
中国 | C:1 · 2 · 3 |
泰国 | T:1 · 2 · 3 · 4 · 5 · 6 · 7 · 8 · 9 · 10 · 11 · 12 · ☆第13届泰国四念处课程实录 |
大马 | M:1 · 2 |
远程 | E:1 · 2 · 3 · 4 · 5 · 6 · 7 · 8 · 9 |
日常 | D:2013 · 2014 · 2015 · 2016 · 2017 · 2018 · 2019 · 2020 · 2021 · 2022 · 2023 · ☆2024年度最新视频回放 · 本年网盘 |
注:C-国内 · T-泰国 · M-大马 · E-远程 · D-日常 · 帮助文档 |
媒体平台 |
---|
法堂直播·简版 · 法藏资源 · 法宝云盘 · 法讯互助 | 禅窗 · 甘露雨 · 指月录 · 当下就启程吧 · 温柔的法音 · Go Sati |
全球: 解脱园 · 甘露雨 · 甘露雨APP · 千聊 · 四念处 | Podcast-中 · Podcast-EN · Podcast-ไทย · 四念處學會| 海外: YT·Audio-中 · YT-中· YT-ไทย · YT-EN · FB-中 · FB-ไทย · FB-EN · 靜慮林 |