有觉性 以安住且中立的心 照见身心的实相

优秀佛教徒应具备的素质

来自法藏
法藏讨论 | 贡献2024年7月24日 (三) 21:27的版本 (创建页面,内容为“隆波在修行之前,先读了三藏经典,读三藏经典是因为不知道该怎么修行。只是一味地修习奢摩他,烦恼习气跟原来一模一样,苦跟原来一样多,根本没有任何地减少,所以就会努力地在三藏经典里面找,读了又读、读了又读,读了好几遍。那时候没有学巴利文,但也努力地把巴利文的三藏经典跟泰文的三藏经典去对照,努力地去找修行的方法,真的…”)
其他语言:

优秀佛教徒应具备的素质

修行啊,别心急。有人不停地来向隆波请教,为什么它没有什么进步。你想进步到哪里?不需要进步到哪里,就活在当下。只是想要去,要去哪里?要能活在当下。这样就没有所谓的太快、太慢之类的话,太慢是因为没有像我们想的那个样子。太快也是一样的。

有的人修行,想得很多,害怕很快就证悟道果了,这样奇奇怪怪的也有。有的人害怕万一修行了之后,证悟到三果阿那含,就无法品尝五欲了。哎呀,你别害怕,那些用心修行的人都还抵达不了,你害怕什么?又去不了!

有一种人又太想要了,想快一点见法,想涅槃。涅槃并没有因为想要而获得,得到是因为想要止息了。想要止息了,是因为有智慧,全都是有因有果的。如果我们有智慧,看到名色、身心的实相,欲望才能够止息。别的智慧是依然无法止息欲望的。


因此,我们的主要工作是来学习、了解自己的身心,这是佛教徒的职责。佛教徒是学生,学生学习什么?学习我们自己,认识、了解自己的身心。一旦彻底地了解了这个身、这颗心是无常、苦、无我的,根本没有什么,根本没有一个实体,不是人、不是我、不是众生、不是他,这个称之为心已经契入法流了。心契入法流,就会是“恒常”的了,就一定会离苦了,有一天必然证悟阿罗汉。

因此,我们要先了解:心要想能够契入法流,初果圣者非常重要的一个特质是必须要学!自己找资料去读吧。现在,网络上有很多经典,以前不太有,想学什么东西,想了解什么东西,要翻书翻到死,现在容易了。

如果我们想快一点证悟初果,就别去想要,而是去执行自己的职责:自行学习,彻底地认识、了解自己。去观察自己的心,自己的心对于三宝的信仰是否很坚定、很稳固呢?我们的心有很漂亮的戒吗?如果还不够漂亮,那就努力地去好好地持戒。

初果圣者的一个特质就是很稳固地信奉三宝。我们依然还有起伏吗?真正信仰三宝的人并不多,大部分人信奉的都是利益。比如,去礼佛是希望自己发财、幸运吉祥,那个并没有在供奉三宝,即便是礼佛也并不是在供奉三宝、礼敬三宝。去亲近、顶礼高僧大德,让他去浇甘露水求幸运吉祥,那并不能够称之为信奉三宝。信奉三宝作为自己的靠山,是为了自己真的可以离苦。

我们要看,佛陀已经不在了,他的化身就是戒与法,我们真的尊重、恭敬戒与法吗?比如,法让我们别去干坏事,我们依然还在做吗?如果我们依然还在面无惭色地干坏事,说明我们不恭敬戒与法,那个称之为我们不恭敬三宝。

找出家人就只是去供奉那些很有名的开光大师,不停地结缘佛牌。开光的圣物,是为了接引那些根器很钝的人。但如果根器很利的人,他也会教法,包括森林派的阿姜曼尊者,他也有做一些,但是他的主要的工作还是弘法,只是偶尔做一做而已。

因此,我们要观察我们自己对于三宝的信仰稳固到什么程度,还是认为三宝是我们的摇钱树,可以给我们带来利益。非常多的人利用佛教来赚钱。如果是在隆波寺庙的附近,隆波就把他赶走,因为佛陀的法是非常高尚的,不是用来赚钱的。

因此,我们自己是真的恭敬三宝吗?恭敬三宝必须要学法,必须要学习,法与戒是佛陀的化身、代表。

还有另外一条,就是我们的戒很好吗?要去观察自己,如果戒依然还有缺失,我们就还不是好的佛教徒,还不是佛陀的好孩子。我们不尊重佛陀,他教我们持戒,我们不持守,这样并不是真正的佛教徒。如果我们破戒的时候依然面无惭色,就别抱怨自己的修行没有进步。怎么可能进步呢?没有下到地狱就已经很好了。

还有另外一条,就是我们相信业果法则吗?还是有时候相信,有时候不相信呢?或者有些天根本不相信?要去观察自己。比如,相信业果法则的人就会相信:我们必须要透过自己的精进而离苦,我们做合适的业,就会获得合适的果。

如果我们正确地去布施、持戒、修行,并且累积足够,我们就会获得道果。因此,一切取决于我们的所作所为。比如,如果我们干坏事,我们去求赐福,求所有的出家师父、佛、菩萨、天神来帮忙,没有谁可以帮得了我们。


因此,真正好的佛教徒,比如初果的圣者就不会相信谣传,就不会听说这个好、那个好,就很兴奋、很高兴。

隆波以前也经常看到,有些事情,根本不是,但却炒得很热,很流行。比如,有些出家人,信仰、信奉的人很多,只是听说这位出家人很好、信仰的人很多,就认为他肯定很好。在出家人安排活动托钵的时候,有成千上万的人去给他供钵,很多人会相信这种谣传。

或者是以前,相信印度有隐士、有神通,这么厉害、那么厉害。或者相信在尼泊尔有佛陀重新来出生了,这些人都是相信谣传的,根本没有因,没有果。

我们骨子里面趋向这些东西的原因,是因为我们内心的脆弱,我们并没有想要靠自己。我们并没有想要靠自己去培养美德,而是想着要靠别人,靠别的事物。唉,以为这棵树很殊胜,然后去顶礼、去膜拜……

各种各样的情况,各种各样的现象。在泰国充满了各种各样杜撰的故事,然后因为这个故事又会产生很多的产品,我们就不停地一代一代地去追逐。这一段时间流行这个,那一段时间流行那个,最后生命跟原先一样的苦,没有任何的起色。

因此我们不能愚昧,一定不能愚昧!愚昧并不是佛教徒的特质。初果的圣者不愚昧,比如说我们想证悟初果,那就不要愚昧、不要迷信,我们必须要相信业果法则——有业和业的果报。这些必须要慢慢地去训练自己。还有另外一点,一旦知道我们必须要靠自己,我们就在身口意方面去正确地行持。

有的人很容易因为听说这位很好、那位很好就去做功德。有钱,有时候上百万地去供养,希望自己可以获得突破。

以前也有,穿着出家人的袈裟,谁想修行很好,必须要付钱,然后把他带到山顶上去修行,他就很法喜,有机会跟有名的人在一起就觉得很好。那个并不是做功德,那并不是属于佛教里面的做功德。即便是把钱供养给出家人、供养给寺庙,他的目的是不正确的,并不是为了要护持佛教,而是为了让自己变成很亲近的弟子,那个称之为是佛教之外的功德了。

我们看到别的宗教有困难了,我们去护持、去帮助他们,比如说他们没有饭吃,我们给他们饭吃,这属于佛教里面的功德。对非佛教徒做功德,做是为了别人的利益,为了减少自己的烦恼习气。这些我们必须要去落实,

必须要恭敬戒与法,要不停地去提升自己。

不着急,并不是带着想要去修行,并不是想要快一点进步。想要是生起苦的因,想要并不是离苦的因,因此,别带着欲望去修行。要有这样的观念:我们修行是作为供佛的工具,我们修行是为了供佛,并不是为了让自己得到什么。我们是来供奉、供养、感恩他的美德。他有非常多的美德,他找到法是很困难的,教法也是很困难的。

教法并不是件容易的事情。以前有一位高僧大德,他说教法啊,就像把牛推到山顶,把牛推到山上并不容易。以前的高僧大德还有一个词,说教法啊,像把大石头滚上山,那现在这个时代已经不是大石头了,现在是牛了,如果你拼命去推的话,他反而会用角来顶你了。

因此,大家先要努力地去学修行的原则,然后去动手实修,而不是为了要获得什么个人利益,也包括不是为了要获得道果涅槃,我们修行是来供佛的,他悟道成佛是很困难的,他教法也是很困难的,必须要跟很多的东西去战斗。比如说我们曾经念过早晚课吗?帕宏那一篇,就是佛陀战斗的一个例子。要想佛教能够很稳固,要经过非常多的困难。

因此,这是他的美德,尤其是我们越是修行,我们有次第地越来越了解、越来越领悟,

我们就越会觉得佛陀悟道成佛的智慧太令人赞叹了!尤其当我们的修行真的抵达了心,直至我们看到心工作的流程,也就是缘起法:心能够造作苦,这么造作苦、那么造作苦,因为这样的因、这样的缘。

这个太神奇了,真的太神奇、太神奇了!佛陀悟道成佛的智慧太神奇了!我们越修行,我们就越恭敬、越供奉、越信仰。

作为凡夫的信仰,依然是颠三倒四的,称之为很脆弱的信仰。一旦我们修行直到证悟初果的须陀洹,我们的信仰就会稳固了,再也不会颠三倒四,再也不会变化了。为什么?因为我们看到事实了——佛陀教导的事实。我们修行之后抵达实相,真的可以离苦。佛陀真的存在,佛法真的存在,圣僧真的存在,这样的信仰是非常稳固的。

凡夫的信仰是颠三倒四的,


像我们多数人应该都是凡夫。如果我们是凡夫,就依然还颠三倒四变化信仰怎么办呢?就一定要懂得去结交好的人,结交有戒、有法的人。这样,有善知识,有一起修行的同参道友,修行一段时间,一个人比较气馁,另外一个人依然很有信心地往前走,这样大家就会相互护持。

尤其是如果我们能够邀请我们家里面的人,比如先生邀请老婆一起来修行,老婆邀请丈夫一起来修行,父母、孩子一起来修行,就会相互之间提醒,今天这个人气馁了,另外一个人依然很坚强,那就可以相互鼓励。

我们的心对三宝很稳固,但是如果我们结交那些不上进的人,结交那些不好的人,他们也会邀请我们下堕,最后我们也会变成不思上进的人。我们结交哪一类人,我们就有可能变成那样的人。

因此结交人是最重要的,可以让自己在信仰还有变化的情况下,有了修行最重要的一个护持条件。

《吉祥经》里面第一条就是不能结交坏人,第二条是结交善知识,这样可以带领我们去到好的方向。如果一开始就错了,就不用提道果涅槃了,

所以佛陀才开示说:善知识是修行的全部。

还有另外一个可以相提并论的就是如理作意,他说过这两种。在有些地方,他有一个比喻:善知识是圣道的第一缕朝霞。就好像太阳要升起来,日出就会有朝霞。太阳越升越高,最开始的白光就会变成红色,他称之为金色光芒。一缕金色光芒是个征兆,告诉我们太阳正在升起来了。

善知识、好的人、好的善友,他们邀请我们到好的方向,那个是让我们抵达道果的第一个象征。

别的地方他也会教导:如理作意是第一个象征。

因为他教的对象不一样。这个人应该教这样的法——要有善知识,他就教导他要有善知识;另一个人的心更加坚强,不需要靠很多的人,完全可以独自上路,就教他要如理作意。

这就是佛陀棒的地方,他懂得教适合每个人的法。每个人适合的法是不一样的,因此他教法呢,有时候教得有区别,甚至同一句话,教不同的人,里面的本质也会有点变化,完全是两回事了,这个就是他能力强的地方。

如果我们读三藏经典了,见到谁都说:要有善知识,要如理作意,那就只是说说而已。见到谁说的都一样,事实上法并不适合那个情况。

因此,讲法并不是谁都可以做得到,那是很难的。如果教别人迷路了,导致别人在六道轮回的过程中迂回,那对于别人和自己都是很危险的。

看到了吗?现在各种各样的、乱七八糟的教法特别多,教的都是三藏之外的内容,这些人我们别去亲近他们。亲近、结交他们,我们就会退失、就会下堕、就会下降的。因此,去学一部分三藏经典也很好,这样我们才知道哪些是对的、哪些是错的。

隆波在修行之前,先读了三藏经典,读三藏经典是因为不知道该怎么修行。只是一味地修习奢摩他,烦恼习气跟原来一模一样,苦跟原来一样多,根本没有任何地减少,所以就会努力地在三藏经典里面找,读了又读、读了又读,读了好几遍。那时候没有学巴利文,但也努力地把巴利文的三藏经典跟泰文的三藏经典去对照,努力地去找修行的方法,真的找不到!

จนมาได้กัลยาณมิตรคือหลวงปู่ดูลย์เป็นกัลยาณมิตร ไม่ใช่เป็นเพื่อน กัลยาณมิตรไม่ได้แปลว่าเพื่อน อย่างครูบาอาจารย์เป็นกัลยาณมิตร พระพุทธเจ้าเป็นยอดของกัลยาณมิตร เจอหลวงพ่อดูลย์ก็จับหลักได้ว่าต้องรู้เท่าทันจิตตนเองก่อน ให้จิตมันตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา เอาจิตที่ตั้งมั่นไปเรียนรู้ความจริงของรูปนามกายใจ จับหลักตัวนี้ได้เลยภาวนาได้ มีกัลยาณมิตร


โยนิโสมนสิการ เวลาภาวนาไปบางครั้งเกิดติดขัดขึ้นมา มีโยนิโสมนสิการ สังเกตตัวเอง อย่างภาวนาแล้วจิตมันว่างสว่างอยู่เป็นเดือนอยู่เป็นปี มีโยนิโสมนสิการ สังเกตตัวเองว่ามันต้องมีอะไรผิดแล้วล่ะ พระพุทธเจ้าบอกว่าจิตไม่เที่ยง ทำไมจิตเราเที่ยง ท่านบอกจิตเป็นทุกข์ ทำไมจิตเราเป็นสุข ท่านบอกจิตเป็นอนัตตา บังคับไม่ได้ ทำไมเราบังคับได้ มันผิดตรงไหน อย่างนี้เรียกว่าโยนิโสมนสิการ เรากําลังภาวนาไป เราพบสภาวะอย่างนี้ๆ เราพิจารณาด้วยคําสอนของพระพุทธเจ้า คําสอนของพระอรหันต์สาวกในพระไตรปิฎกอะไรอย่างนี้ มี

หรือคําสอนของครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์สอน หลวงพ่อยังไม่เชื่อเลย เคารพมากศรัทธามาก แต่เวลาครูบาอาจารย์สอน หลวงพ่อฟัง หลวงปู่ลย์เคยถามหลวงพ่อเลย วันหนึ่งท่านสอนบอก พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต จึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง เชื่อไหม เราก็อึกอัก แล้วบอก ผมยังไม่เห็นๆ แต่ผมจะจําไว้ บอกท่านอย่างนี้ ท่านยิ้มเลย ท่านบอกมันต้องอย่างนี้ ไม่ใช่เอะอะก็เชื่อเลย อันนั้นโง่

อย่างหลวงปู่ดูลย์ท่านบอกว่าให้ดูจิต “จิตที่ส่งออกนอกเป็นสมุทัย ผลที่จิตส่งออกนอกเป็นทุกข์ จิตเห็นอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค ผลที่จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ” ท่านสอนว่าให้รู้ทันจิตตัวเองนี่เป็นการเจริญมรรค หลวงพ่อก็งงแต่ว่าจําที่ท่านบอกไว้แล้วเอาไปลองทำดู ที่งงเพราะว่าพระพุทธเจ้าสอนว่าให้รู้ทุกข์ ทำไมหลวงปู่ดูลย์บอกให้รู้จิต เอ๊ะ ทำไมหลวงปู่สอนไม่เหมือนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ผิดแน่นอน หลวงปู่ก็ไม่น่าจะผิด

เราเองมีความเข้าใจอะไรที่ยังไม่เข้าถึงแก่นหรือเปล่า ไม่ได้คิดว่าพระไตรปิฎกผิด งมงายเชื่อแต่อาจารย์บอกพระไตรปิฎกผิด หรือเห็นว่าครูบาอาจารย์สอนอะไร ภาษาไม่เหมือนพระไตรปิฎก บอกครูบาอาจารย์ผิด นี่หยาบไป ไม่มีสติมีปัญญาพอ หลวงพ่อไม่คิดอย่างนั้น หลวงปู่ดูลย์บอกให้ดูจิต พระพุทธเจ้าบอกให้รู้ทุกข์ หลวงปู่ดูลย์ให้รู้จิต ทำไมไม่เหมือนกัน เราไม่เข้าใจตรงไหน ไม่เข้าใจทำอย่างไร แขวนไว้ก่อน ไม่คิดมาก คิดมากยากนาน

เราก็หัดดูจิตดูใจของตัวเองทำงานไป ก็รู้ว่านี่มันอยู่ในเรื่องของสติปัฏฐาน ที่หลวงปู่ดูลย์บอกให้อ่านจิตใจตนเองก็อยู่ในสติปัฏฐาน 4 นั่นล่ะ อย่างใจเรามีความสุขความทุกข์ขึ้นมามันอยู่ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใจเราเกิดกุศลอกุศลขึ้นมามันอยู่ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เราเห็นเวทนามันจะเกิดได้ อาศัยตา หู จมูก ลิ้น กายกระทบอารมณ์ภายนอก หรือใจกระทบความคิดนึก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็รูป

เราก็จะเห็นการทำงานระหว่างกายกับใจมันก็เนื่องด้วยกัน เนื่องถึงกัน ตาเห็นรูป เกิดความสุขความทุกข์ขึ้นที่ใจ หูได้ยินเสียงเกิดสุขทุกข์ที่ใจ ฉะนั้นเวลาภาวนาไม่ใช่รู้แต่จิต มันก็พลอยรู้รูปไปด้วย เพราะมันเป็นจุดตั้งต้นให้เกิดนามธรรมที่เราจะดูจิตใจตัวเอง เฝ้ารู้เฝ้าดูเรื่อยๆ แล้วก็เห็นจิตมันพอละเอียดขึ้น ก็เห็นจิตมันทำงานทางอายตนะ ตรงที่เห็นจิตมันทำงานทางอายตนะมันขึ้นไปสู่ธัมมานุปัสสนาแล้ว

ค่อยดูไปเรื่อยๆ ก็เห็นกระบวนการทำงานที่จิตสร้างความทุกข์ขึ้นมา นั่นคือปฏิจจสมุปบาท อยู่ในธัมมานุปัสสนา ภาวนา อาศัยจุดเริ่มต้นจากการอ่านจิตตนเอง สุดท้ายมันก็รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม มันเนื่องกันไปหมด กาย เวทนา จิต ธรรมมันเหมือนโต๊ะสี่เหลี่ยมข้างหน้าหลวงพ่อนี้ล่ะ เราจับเข้ามุมหนึ่ง ที่เหลือมันก็เคลื่อนตามมา

ฉะนั้นถ้าสติปัฏฐาน 4 เราทำได้สักอย่างหนึ่ง ที่เหลือมันก็ตามมาเองล่ะ ไม่ยากแล้ว ภาวนามาเรื่อยๆ ก็เห็น ทำอย่างไรหนอ มันจะรู้จิตรู้ใจแล้วคือการรู้ทุกข์ ไม่เห็นว่าจิตมันเป็นทุกข์เลย เห็นจิตนี้เป็นตัวบรมสุข จิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มีแต่ความสุข ดูอย่างไรก็ไม่เห็นจะทุกข์เลย การดูจิตนี่มันผิดหรือเปล่า มันไม่เห็นทุกข์ แต่ว่าทนดูไปเรื่อย แล้วก็เห็นความทุกข์ของกาย ของเวทนา ของสังขารทั้งหลาย ดูมันไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ แล้วจิตมันค่อยฉลาดขึ้น ค่อยรวมเข้ามา วางเป็นลําดับๆ ของภายนอก ของหยาบๆ ความปรุงแต่งหยาบๆ รวมเข้ามาที่จิต


จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ก็คือการเห็นทุกข์ ค่อยภาวนาเรื่อยๆ วันหนึ่งเห็น จิตมันก็คือตัวทุกข์เหมือนกัน เพราะฉะนั้นที่หลวงปู่ดูลย์บอกว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ก็ใช่ ก็คือการเห็นทุกข์เหมือนกัน จิตเห็นจิต แต่ว่าตัวจิตผู้รู้มันเป็นตัวทุกข์ตัวสุดท้ายเลย ตัวสุดท้ายที่เราจะเห็น อย่างเราเห็นร่างกายเป็นทุกข์ เห็นง่าย เห็นเวทนาเป็นทุกข์ ชักจะยากนิดหน่อย อย่างเวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ถ้าเป็นความรู้สึกทุกข์ เราเห็นว่าทุกข์ง่าย แต่ความรู้สึกสุขเราเห็นว่าเป็นทุกข์ไม่ใช่ง่ายเหมือนกัน

ถ้าเราดูความสุขเกิดขึ้น เราจะเห็นความสุขก็เป็นเครื่องเสียดแทงใจ พอรู้ว่าความสุขมันเสียดแทงจิตใจ ทำให้จิตใจหวั่นไหว โอ้ ความสุขมันก็เป็นตัวทุกข์เหมือนกัน ไม่ใช่ตัวดีตัววิเศษหรอก ตัวเฉยๆ เราไปแต่งจิตให้เฉยๆ อยู่เรานึกว่าดี ดูไปๆ มันก็ของไม่มีสาระอะไร มันว่างได้ มันนิ่งได้ มันเฉยๆ ได้ เป็นอุเบกขาได้ มันก็แปรปรวนได้อีก มีแต่ความไม่เที่ยง มีแต่การบังคับไม่ได้

ค่อยเรียนไป ก็จะเห็นตัวเวทนาก็เป็นทุกข์ ตัวสังขาร เห็นสังขารคือความปรุงดีปรุงชั่วเป็นทุกข์ เวลาเราปรุงชั่ว สังเกตไหมจิตใจเราไม่มีความสุข พอมันปรุงดี แหม มันอิ่มเอิบ เกิดปีติเกิดความสุขอย่างเราปรุงดี เช่น เราได้ตั้งใจฟังธรรม ตั้งใจปฏิบัติธรรม จิตใจเราดีงามมากเลย มีความสุขมาก จะดูให้เห็นว่ามันเป็นทุกข์ ความดีเป็นทุกข์มันก็ดูยาก เราค่อยๆ ดูไป

ความชั่วสำหรับนักปฏิบัติ ความชั่วเราเห็นเป็นทุกข์ง่าย เพราะฉะนั้นเวลาอย่างจิตเราเกิดราคะขึ้นมาอย่างนี้ จิตใจเราระส่ำระส่าย จิตใจเราเกิดโทสะ จิตใจระส่ำระส่าย ไม่มีความสุข จิตใจเราหลง เหมือนหมาเหมือนแมวหลงๆ ไป ดูแล้วไม่เห็นจะมีความสุขตรงไหนเลย มันเหมือนคนขาดสติเหมือนคนติดยาเสพติด ไม่รู้เรื่องอะไร มันดูแล้ว เอ๊ะ อกุศลทั้งหลายไม่เห็นมันจะสุขตรงไหน ดูง่าย แต่ตรงกุศลดูให้เห็นว่ามันเป็นทุกข์ไม่ใช่ง่าย

ถ้ากุศลหยาบๆ อย่างที่พวกเราทำกันเป็นกุศลอย่างหยาบๆ ยังดูง่าย อย่างเวลาเราไปทำบุญ จิตใจเราเบิกบานขึ้นมา ถ้าเรามีสติรู้เราจะเห็นเลยความเบิกบานที่เกิดขึ้นมันทำให้จิตเสียสมดุล จิต แหม มันพองมันฟู มันดีอกดีใจอะไรอย่างนี้ มันปลื้ม สิ่งเหล่านี้ดีๆ ทั้งนั้นเลย ปลาบปลื้มที่ได้ทำบุญแต่พอเราภาวนาละเอียดเข้า โหย จิตเราเสียความสมดุลไปแล้ว กวัดแกว่งกระเพื่อมไปด้วยแรงของความดี ปรุงดีก็กระเพื่อม ปรุงชั่วไม่ต้องพูดถึงเลย ย่ำแย่ใหญ่

ทีนี้ความปรุงดีขั้นละเอียดดูยากมากเลยว่ามันเป็นตัวทุกข์ ความปรุงดีขั้นละเอียดก็คือพวกฌานสมาบัติ อย่างพวกพระอนาคามี ละกามราคะได้แล้ว ความสุขอย่างโลกๆ ที่พวกเรามี เรียกว่ากามราคะ ความสุขจากการได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสอะไรอันนี้เป็นกามราคะ พระอนาคามีเห็นกามราคะมันทุกข์ แต่ท่านก็ไปยินดีพอใจในฌานสมาบัติ ในรูปฌานในอรูปฌาน มองไม่เห็นว่าเวลาจิตเข้ารูปฌานก็ไม่เห็นว่ามันจะทุกข์ มีแต่ความสุข จิตมันเป็นอุเบกขาทรงอยู่มีความสุข หรือมีปีตีมีความสุข

ถ้าสูงขึ้นไปก็เป็นอุเบกขาหรือจิตเข้าอรูปฌาน จิตเป็นอุเบกขา มันสุขอย่างไร มันสุขเพราะว่ามีความเสียดแทงน้อย มันสุขเพราะว่าจิตในฌานมันถูกความเสียดแทงน้อย อะไรเป็นเครื่องเสียดแทง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นกามคุณอารมณ์ ทั้งหลายเป็นเครื่องเสียดแทงจิต ถ้าเราเข้าสมาธิเข้ารูปฌาน จิตก็พ้นจากการเสียดแทงทางตา หู จมูก ลิ้น กายอะไรพวกนี้ เหลือแต่ความเสียดแทงทางใจซึ่งยังมองไม่เห็น รู้สึกว่ามีความสุข หรือเข้าอรูปฌานไป หนีสิ่งที่กระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กายอย่างเด็ดขาด เพราะตา หู จมูก ลิ้น กายหายไปหมดเลย ร่างกายก็หาย โลกนี้ก็หายไป เหลือแต่ใจดวงเดียว

จะให้เห็นว่ามันเป็นทุกข์มันยาก เพราะมันไม่มีเครื่องเสียดแทง ต้องสติปัญญาแก่รอบจริงๆ เห็นว่าสิ่งนี้ก็ยังตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ จิตในรูปฌาน ยังดูง่ายว่าตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ จิตในอรูปฌานดูยากหนักเข้าไปอีก ค่อยภาวนาจนกระทั่งเห็นว่า จิตไม่ว่ามันจะอยู่ในภูมิใด อยู่ในกามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิก็อยู่ในอรูปฌาน มันก็ยังไม่มั่นคง ไม่เที่ยง มันไม่เที่ยง มันบังคับไม่ได้ มันยังถูกเสียดแทงอยู่

ถ้ามันไม่ถูกเสียดแทง มันคงไม่ดับหรอก จิตในฌานสมาบัติเกิดแล้วก็ดับ เช่นเดียวกับจิตที่พวกเรามีนี่ล่ะ สติปัญญามันแก่รอบเพราะยังเห็นตรงนี้ก็ไม่มีแก่นสารสาระ เป็นราคะที่ละเอียดขึ้นไป ทำบุญทำกุศลมหาศาล กว่าจะขึ้นมาตรงนี้ได้ แต่พอขึ้นมาสู่ความดีอย่างสูงนี้ได้ อ้าว ลึกๆ ลงไปยังชอบมันอีก มีราคะอีก ฉะนั้นกิเลส กิเลสหยาบๆ ก็ดูง่าย กิเลสละเอียดหน้าตามันเป็นกุศลดูยาก แต่ก็ไม่พ้นสติพ้นปัญญา

ค่อยๆ สังเกตไปเรื่อยๆ อย่าไปนิ่งนอนใจ คิดว่าจบแล้วพอแล้ว หลายคนภาวนาชอบคิด จบแล้ว ไม่จบเลย อันนั้นไม่ใช่จบแล้ว จบเสียแล้วไปไม่รอดแล้ว เคยมีพระมาบอกจบแล้ว มาบอกหลวงพ่อ หลวงพ่อบอกไม่ใช่หรอก ใจท่านหล่นวูบเลย หลวงพ่อบอกเห็นไหมจิตยังมีความยินดียินร้ายอยู่เลย เห็นไหม ท่านบอกเห็นแล้ว บอก เออ ยังยินดียินร้ายระดับนี้ เสียอกเสียใจ นี่โทสะ อนาคามีก็ยังไม่ได้ จากพระอรหันต์ร่วงๆๆ ลงมาเรื่อยๆ โดนกิเลสหลอก

ภาวนาไปแล้วอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ก็มโนเอาเป็นโน่นเป็นนี่ หรือบางที่เขาก็ชอบตั้ง ภาวนาตามหลักสูตรครบหลักสูตรเท่านี้ ภาวนาเท่านี้ครั้งได้โสดาบันได้อะไร Non-sense เราวัดความก้าวหน้านี้ วัดด้วยกิเลส วัดที่กิเลสว่าเราละกิเลสตัวไหนแล้ว ยังไม่ได้ละตัวไหน กิเลสที่เราละ ตัวไหนละถาวร ตัวไหนละชั่วคราว ต้องค่อยๆ สังเกตตัวเองไป


กัลยาณมิตรที่สําคัญคือพระไตรปิฎก โยนิโสมนสิการ สังเกตสิ่งที่เรามีสิ่งที่เราเป็น ฉะนั้นการภาวนาที่สําคัญเลยก็คือ อย่างเราต้องมีกัลยาณมิตร ต้องมี กัลยาณมิตรของเราก็คือสุดยอดเลยคือพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่อยู่แล้ว เอาอะไรเป็นกัลยาณมิตร ธรรมวินัย ธรรมวินัยของท่านประมวลอยู่ในพระไตรปิฎก ฉะนั้นพระไตรปิฎกให้เราศึกษาได้ ศึกษาแล้วสังเกต เอามาปฏิบัติให้ได้ นี่ล่ะเป็นยอดของกัลยาณมิตร

แล้วก็มีโยนิโสมนสิการ สังเกตสิ่งที่เราปฏิบัตินี้มันสอดคล้องกับคําสอนในพระไตรปิฎกหรือเปล่า อย่างถ้าบอกว่าไม่ต้องทำอะไรหรอก นั่งแล้วก็พยายามกลั้นลมหายใจให้นานที่สุดเดี๋ยวก็บรรลุ อันนี้ไม่สอดคล้อง เราก็ไม่เอาอย่างนี้ เราตัดทิ้งไปเลยคําสอนชนิดนี้ หรือไปให้เซียนผู้วิเศษเชื่อมจิตเข้ากับพระพุทธเจ้าให้ อันนี้ไม่สอดคล้องกับพระไตรปิฎก เราก็ไม่เอา ปัดทิ้งไป เราก็ใช้วิธีนี้

อาศัยกัลยาณมิตรที่สําคัญคือพระไตรปิฎกแล้วอาศัยโยนิโสมนสิการ สังเกตสิ่งที่เรามีสิ่งที่เราเป็น สิ่งที่เราลงมือปฏิบัติอยู่ วิธีปฏิบัติที่เราทำอยู่สอดคล้องกับพระไตรปิฎกไหม อย่างถ้าเราจะทำวิปัสสนา เราได้เจริญสติปัฏฐานจริงไหม สติปัฏฐาน เบื้องต้นได้สติ เบื้องปลายจะได้ปัญญา โดยเฉพาะได้วิปัสสนาปัญญา ฉะนั้นถ้าเราหลุดออกจากเส้นทางของสติปัฏฐาน ไม่ใช่แน่นอน ไปไหว้เจ้าแล้วก็ขอให้บรรลุมรรคผลอะไรอย่างนี้ ไม่ใช่เส้นทางแน่นอน ถ้าทิ้งการเจริญสติเมื่อไรล่ะก็เราหลุดออกจากเส้นทางของมรรคผลแล้ว เรารู้อย่างนี้ รู้

ต้องการปฏิบัติ ต้องอย่างนี้ ต้องอยู่ในหลักของการเจริญสติ ของการทำสมถกรรมฐาน ของวิปัสสนากรรมฐาน ต้องอยู่ในหลักที่ถูกต้อง แล้วการที่เราภาวนาไปแล้วมีผลอะไรเกิดขึ้น ถ้ามีครูบาอาจารย์ พูดยาก เรารู้ได้อย่างไรว่าองค์นี้ดีไม่ดี ต้องสังเกตเอา ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ที่ดี เราทำผิดปุ๊บ ท่านก็บอกเลยทำผิดแล้ว ถ้าทำถูกแล้วท่านจะบอกให้ทำไปอีกๆ ทำต่อไป ยังไม่พอ แต่ถ้าเราไม่มี เราก็ต้องอาศัยพระไตรปิฎก อาศัยคําสอนของพระพุทธเจ้าอย่างที่หลวงพ่อใช้ วัดตัวเอง สิ่งที่เราปฏิบัติมีผลอย่างนี้ๆ มันสอดคล้องกับคําสอนในพระไตรปิฎกไหม อันนี้คือตัวโยนิโสมนสิการ

ฉะนั้นเวลาเราภาวนา เราก็ดูสิ่งที่เรากําลังทำอยู่ปฏิบัติอยู่ สอดคล้องกับหลักธรรมในพระไตรปิฎกไหม ผลที่เกิดจากการปฏิบัติสอดคล้องกับคําสอนของท่านหรือเปล่า วัดกันตรงนี้ วัดด้วยใจของตัวเองที่ซื่อตรงจริงๆ มีโยนิโสมนสิการ ไม่ใช่มีแต่โลภะ ก็เข้าข้างตัวเองเรื่อยๆ ค่อยๆ สังเกตเอา วันนี้เทศน์อะไรหว่า แปลกๆ ไปทำเอาๆ ไม่มีใครช่วยใครได้ ครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อไปเรียนด้วยท่านก็ไม่มาบรรลุมรรคผลอะไรให้หลวงพ่อหรอก หลวงพ่อก็ต้องทำเอาเองทั้งนั้นล่ะ

ทำแล้วถูกตลอดไหม ไม่ ทำแล้วก็ล้มลุกคลุกคลานเหมือนที่พวกเราเป็นนั่นล่ะ แล้วถ้าจะว่าไปหลวงพ่อล้มลุกคลุกคลานมากกว่าพวกเรา ที่พวกเรามาส่งการบ้านทำผิดตรงโน้นผิดตรงนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกสําหรับหลวงพ่อ เพราะหลวงพ่อผิดมาก่อนแล้ว ทำผิดมามากมายแต่ไม่ท้อถอย ค่อยสังเกตตัวเองมาเป็นลําดับๆ มีโอกาสเจอครูบาอาจารย์ บางทีต้องอาศัยท่านแก้ให้ หลวงพ่อเคยอาศัยครูบาอาจารย์ทั้งหมด 7 ครั้งเองในการภาวนา 7 ครั้งเอง เราทำแล้วเราจนปัญญาไม่รู้จะไปอย่างไรต่อ ท่านสะกิดให้นิดเดียวเราก็เข้าใจแล้ว

ส่วนใหญ่ก็จะอาศัยการสังเกตเอา เวลาได้ยินได้ฟังคําสอนต่างๆ ถ้ามันขัดพระไตรปิฎก หลวงพ่อไม่เอาเลย อย่างบอกพระอนาคามีมาเกิดได้อีกอะไรอย่างนี้ บรรลุพระอรหันต์แล้วก็ยังมาเกิดได้อีกอะไรอย่างนี้ มันอรหันต์เทียมแล้วไม่ใช่อรหันต์จริงแล้ว พวกนี้ไม่รู้จัก ไม่รู้ทั้งปริยัติ ไม่รู้ทั้งปฏิบัติ มีแต่ความฟุ้งซ่าน เป็นพวกวิปัสสนูปกิเลส มันจะฟุ้งแบบนี้ ก็เลยคิดว่าตัวเองรู้ มองกิเลสไม่ออก ฉะนั้นทุกวันนี้เวลาฟังธรรมะไม่ว่าใครจะเทศน์ก็ตาม อย่าทิ้งหลักกาลามสูตร อย่าเชื่อง่าย ขนาดหลวงพ่อฟังหลวงปู่ดูลย์สอน หลวงพ่อไม่เข้าใจ หลวงพ่อแขวนไว้ หลวงพ่อไม่เชื่อแต่ว่าไม่ลบหลู่เพราะเราคิดว่าเรายังโง่ เรายังเข้าไม่ถึง แต่เราจะต้องปฏิบัติ และการปฏิบัตินั้นต้องไม่ขัดแย้งกับคําสอนของพระพุทธเจ้า

สุดท้ายถึงเข้าใจ โอ๊ย ที่ท่านบอกว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค ท่านพูดแบบออมๆ ไว้ ไม่กล้าพูดตรงๆ เดี๋ยวมีเรื่อง ที่จริงก็คือจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นอรหัตตมรรค เพราะว่าก่อนหน้านั้น ท่านเดินปัญญากัน ไล่ลงมาจากกาย เวทนา เข้ามาไล่ๆ ไล่ๆ เข้ามา รู้แล้ววางมาเป็นลําดับๆ การปฏิบัติในขั้นสุดท้ายมันมาแตกหักกันลงที่จิตนั่นล่ะ ฉะนั้นที่ท่านบอกจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง อันนั้นถูกเลย แจ่มแจ้งว่าอะไร แจ่มแจ้งว่าเป็นไตรลักษณ์ แล้วเราก็ปล่อยวางจิตได้ ปล่อยวางจิตได้ ก็ปล่อยวางขันธ์ได้ ปล่อยวางขันธ์ได้ ก็ปล่อยโลกทั้งโลกได้ หัวใจสําคัญอยู่ที่จิตของเรานี่เอง ยึดจิตตัวเดียวก็ยึดขันธ์ทั้งหมด มีจิตดวงเดียวก็สร้างขันธ์ 5 ขึ้นมาได้ทั้งหมด วางจิตได้ก็วางขันธ์ 5 ได้ ลงสุดท้ายมันแตกหักลงที่จิต

ฉะนั้นที่ครูอาจารย์ท่านสอนก็ไม่ผิด ตรงกับพระพุทธเจ้า แต่ท่านเพียงแต่ไม่กล้าพูดตรงๆ เดี๋ยวคนหาเรื่องท่าน พวกฟังไม่รู้เรื่องแล้วก็จะพาลพาโลว่าท่านอวดอุตริ หลวงปู่ดูลย์เคยเกือบโดนเรื่องอวดอุตริ เพราะท่านสอนเรื่องจิตนี่ะล่ะ ก็มีพวกพระกรรมฐานพวกหนึ่งไปชุมนุมกันรวมกันมา จะมาโจทอาบัติว่าท่านปาราชิกอวดอุตริ พูดอะไรแต่เรื่องจิตแปลกๆ ทำไมไม่พุทโธพิจารณากาย ไปชวนหลวงตามหาบัว หลวงตาบอกพระองค์นี้เราไม่เล่นด้วย พวกนั้นฟังแล้วเข้าใจ ก็เลยหยุด ไม่กล้าแล้ว ไม่กล้าหือกับหลวงปู่ดูลย์อีก

เพราะฉะนั้นท่านเองเวลาพูดท่านก็ระวังเหมือนกัน ต้องออมๆ พวกมิจฉาทิฏฐิ พวกเซลฟ์จัดมันเยอะ แต่สิ่งที่ท่านสอนมันไม่ได้ขัดกับพระไตรปิฎก ตรงกันเป๊ะเลย ฉะนั้นเวลาพวกเราฟังใครเขาพูด เขาพูดธรรมะฉอดๆ ฉอดๆ ฟังไว้ก่อน ถ้าเขาพูดแล้วถูกหลัก เออ ก็ใช้ได้ แล้วดูผลอีก เขาพูดได้อย่างเดียวหรือเขาทำได้ด้วย ต้องแยก พูดได้กับทำได้ไม่เหมือนกัน พูดง่ายทำมันยาก


ฉะนั้นเรื่องมงคลตื่นข่าวเลิกเสียทีเถอะ มี 10 หลักของกาลามสูตร อย่าลืมอันนี้ ทิ้งกาลามสูตรเมื่อไรก็โง่งมงายเมื่อนั้นล่ะ ไปอ่านเอาเองกาลามสูตร วันนี้เทศน์ให้ฟังเท่านี้ ไปทำเอา ไม่ต้องเชื่อ ถ้าเชื่อก็โง่ ถ้าไม่เชื่อแล้วไม่ทำยิ่งโง่หนักเข้าไปอีก ไปพิสูจน์ด้วยตัวเอง ธรรมะของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ธรรมะที่ชวนให้เชื่อ แต่เป็นธรรมะที่ท้าให้พิสูจน์ เอหิปัสสิโก พึงกล่าวกับผู้อื่นว่ามาลองดูเถิด พระพุทธเจ้ายังบอกไม่ต้องเชื่อท่าน แต่มาลองดูว่าที่ท่านบอกนี้ ทำแล้วพ้นทุกข์ได้จริงไหม

อย่างพวกเราภาวนาอย่างที่หลวงพ่อบอก ทุกข์เราสั้นลงไหม ทุกข์เราน้อยลงไหมเบาลงไหม เราวัดด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องมาเชื่อหลวงพ่อโง่งมงายไป วัดด้วยตัวเองล่ะ ผลที่เกิดขึ้นกับชีวิตจิตใจเราเปลี่ยนแปลงไหม วัดเอา

สังเกตอีกอย่างหลวงพ่อไม่เคยขอเงิน ถ้าเจอเทศน์ไพเราะเพราะพริ้งลงท้ายขอเงิน ไม่ใช่ ถอยไว้เลย เออ บอกนิดหนึ่งยุคนี้เอไอมันเก่ง ถ้าวันหนึ่งมีโทรศัพท์เข้าไป มีเสียงหลวงพ่อมีหน้าหลวงพ่อพูด แล้วขอเงิน ด่ามันไปเลย หรือบอกพระวัดนี้ไปขอเงิน โกหกๆ ทั้งนั้นล่ะ พระที่นี่หลวงพ่อไม่ปล่อยให้ไปพูดขอใคร เคยมีหลงๆ ขอโน่นขอนี่ สุดท้ายให้ออกไป อยู่ไม่ได้ ที่นี่ลูกศิษย์พระพุทธเจ้า ไม่ใช่ลูกศิษย์ชูชก ต้องฉลาด


หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 7 กรกฎาคม 2567