匿名
未登录
中文(简体)
登录
法藏
搜索
有觉性 以安住且中立的心 照见身心的实相
导出翻译
来自法藏
命名空间
更多
更多
页面操作
语言统计
消息组统计
导出
设置
组
ABBREVIATIONS
ANUMODANĀ
Buddhadhamma-The Laws of Nature and Their Benefits to Life-by Bhikkhu P. A. Payutto
D17.26《八支圣道》-隆波帕默尊者-2017年12月24日
D24.65《要小心因禅定而引发的邪见》- 隆波帕默尊者-2024年8月4日
D24.67《吉祥的生活始于结交善友》-隆波帕默尊者-2024年8月11日
D24.73《拥有什么,都会因此而苦》-隆波帕默尊者-2024年8月31日
D24.76《隆波帕默尊者开示》-2024年9月7日
D24.79《隆波帕默尊者开示》-2024年9月15日
D24.84《隆波帕默尊者开示》-2024年10月5日
FOREWORD BY THE PRESIDENT OF THE BUDDHADHAMMA FOUNDATION
FOREWORD BY THE TRANSLATOR
FOREWORD BY VEN. AJAHN JAYASARO
INTRODUCTION
PART 1: MIDDLE TEACHING
คุณสมบัติของชาวพุทธที่ดี
ร่างกายโดนความทุกข์ขย้ำอยู่ตลอดเวลา
อยู่กับโลกให้เป็นจะภาวนาง่าย-11 สิงหาคม 2567
เราสามารถปฏิบัติธรรมได้ตลอดเวลา
语言
aa - Afar
ab - Abkhazian
abs - Ambonese Malay
ace - Achinese
ady - Adyghe
ady-cyrl - Adyghe (Cyrillic script)
aeb - Tunisian Arabic
aeb-arab - Tunisian Arabic (Arabic script)
aeb-latn - Tunisian Arabic (Latin script)
af - Afrikaans
ak - Akan
aln - Gheg Albanian
alt - Southern Altai
am - Amharic
ami - Amis
an - Aragonese
ang - Old English
anp - Angika
ar - Arabic
arc - Aramaic
arn - Mapuche
arq - Algerian Arabic
ary - Moroccan Arabic
arz - Egyptian Arabic
as - Assamese
ase - American Sign Language
ast - Asturian
atj - Atikamekw
av - Avaric
avk - Kotava
awa - Awadhi
ay - Aymara
az - Azerbaijani
azb - South Azerbaijani
ba - Bashkir
ban - Balinese
ban-bali - ᬩᬲᬩᬮᬶ
bar - Bavarian
bbc - Batak Toba
bbc-latn - Batak Toba (Latin script)
bcc - Southern Balochi
bci - Baoulé
bcl - Central Bikol
be - Belarusian
be-tarask - Belarusian (Taraškievica orthography)
bg - Bulgarian
bgn - Western Balochi
bh - Bhojpuri
bho - Bhojpuri
bi - Bislama
bjn - Banjar
blk - Pa'O
bm - Bambara
bn - Bangla
bo - Tibetan
bpy - Bishnupriya
bqi - Bakhtiari
br - Breton
brh - Brahui
bs - Bosnian
btm - Batak Mandailing
bto - Iriga Bicolano
bug - Buginese
bxr - Russia Buriat
ca - Catalan
cbk-zam - Chavacano
cdo - Min Dong Chinese
ce - Chechen
ceb - Cebuano
ch - Chamorro
cho - Choctaw
chr - Cherokee
chy - Cheyenne
ckb - Central Kurdish
co - Corsican
cps - Capiznon
cr - Cree
crh - Crimean Tatar
crh-cyrl - Crimean Tatar (Cyrillic script)
crh-latn - Crimean Tatar (Latin script)
cs - Czech
csb - Kashubian
cu - Church Slavic
cv - Chuvash
cy - Welsh
da - Danish
dag - Dagbani
de - German
de-at - Austrian German
de-ch - Swiss High German
de-formal - German (formal address)
din - Dinka
diq - Zazaki
dsb - Lower Sorbian
dtp - Central Dusun
dty - Doteli
dv - Divehi
dz - Dzongkha
ee - Ewe
egl - Emilian
el - Greek
eml - Emiliano-Romagnolo
en - English
en-ca - Canadian English
en-gb - British English
eo - Esperanto
es - Spanish
es-419 - Latin American Spanish
es-formal - Spanish (formal address)
et - Estonian
eu - Basque
ext - Extremaduran
fa - Persian
fat - Fanti
ff - Fulah
fi - Finnish
fit - Tornedalen Finnish
fj - Fijian
fo - Faroese
fon - Fon
fr - French
frc - Cajun French
frp - Arpitan
frr - Northern Frisian
fur - Friulian
fy - Western Frisian
ga - Irish
gaa - Ga
gag - Gagauz
gan - Gan Chinese
gan-hans - Gan (Simplified)
gan-hant - Gan (Traditional)
gcr - Guianan Creole
gd - Scottish Gaelic
gl - Galician
gld - Nanai
glk - Gilaki
gn - Guarani
gom - Goan Konkani
gom-deva - Goan Konkani (Devanagari script)
gom-latn - Goan Konkani (Latin script)
gor - Gorontalo
got - Gothic
gpe - Ghanaian Pidgin
grc - Ancient Greek
gsw - Swiss German
gu - Gujarati
guc - Wayuu
gur - Frafra
guw - Gun
gv - Manx
ha - Hausa
hak - Hakka Chinese
haw - Hawaiian
he - Hebrew
hi - Hindi
hif - Fiji Hindi
hif-latn - Fiji Hindi (Latin script)
hil - Hiligaynon
ho - Hiri Motu
hr - Croatian
hrx - Hunsrik
hsb - Upper Sorbian
hsn - Xiang Chinese
ht - Haitian Creole
hu - Hungarian
hu-formal - Hungarian (formal address)
hy - Armenian
hyw - Western Armenian
hz - Herero
ia - Interlingua
id - Indonesian
ie - Interlingue
ig - Igbo
ii - Sichuan Yi
ik - Inupiaq
ike-cans - Eastern Canadian (Aboriginal syllabics)
ike-latn - Eastern Canadian (Latin script)
ilo - Iloko
inh - Ingush
io - Ido
is - Icelandic
it - Italian
iu - Inuktitut
ja - Japanese
jam - Jamaican Creole English
jbo - Lojban
jut - Jutish
jv - Javanese
ka - Georgian
kaa - Kara-Kalpak
kab - Kabyle
kbd - Kabardian
kbd-cyrl - Kabardian (Cyrillic script)
kbp - Kabiye
kcg - Tyap
kea - Kabuverdianu
kg - Kongo
khw - Khowar
ki - Kikuyu
kiu - Kirmanjki
kj - Kuanyama
kjp - Eastern Pwo
kk - Kazakh
kk-arab - Kazakh (Arabic script)
kk-cn - Kazakh (China)
kk-cyrl - Kazakh (Cyrillic script)
kk-kz - Kazakh (Kazakhstan)
kk-latn - Kazakh (Latin script)
kk-tr - Kazakh (Turkey)
kl - Kalaallisut
km - Khmer
kn - Kannada
ko - Korean
ko-kp - Korean (North Korea)
koi - Komi-Permyak
kr - Kanuri
krc - Karachay-Balkar
kri - Krio
krj - Kinaray-a
krl - Karelian
ks - Kashmiri
ks-arab - Kashmiri (Arabic script)
ks-deva - Kashmiri (Devanagari script)
ksh - Colognian
ksw - S'gaw Karen
ku - Kurdish
ku-arab - Kurdish (Arabic script)
ku-latn - Kurdish (Latin script)
kum - Kumyk
kv - Komi
kw - Cornish
ky - Kyrgyz
la - Latin
lad - Ladino
lb - Luxembourgish
lbe - Lak
lez - Lezghian
lfn - Lingua Franca Nova
lg - Ganda
li - Limburgish
lij - Ligurian
liv - Livonian
lki - Laki
lld - Ladin
lmo - Lombard
ln - Lingala
lo - Lao
loz - Lozi
lrc - Northern Luri
lt - Lithuanian
ltg - Latgalian
lus - Mizo
luz - Southern Luri
lv - Latvian
lzh - Literary Chinese
lzz - Laz
mad - Madurese
mai - Maithili
map-bms - Basa Banyumasan
mdf - Moksha
mg - Malagasy
mh - Marshallese
mhr - Eastern Mari
mi - Maori
min - Minangkabau
mk - Macedonian
ml - Malayalam
mn - Mongolian
mni - Manipuri
mnw - Mon
mo - Moldovan
mos - Mossi
mr - Marathi
mrh - Mara
mrj - Western Mari
ms - Malay
ms-arab - Malay (Jawi script)
mt - Maltese
mus - Muscogee
mwl - Mirandese
my - Burmese
myv - Erzya
mzn - Mazanderani
na - Nauru
nah - Nāhuatl
nan - Min Nan Chinese
nap - Neapolitan
nb - Norwegian Bokmål
nds - Low German
nds-nl - Low Saxon
ne - Nepali
new - Newari
ng - Ndonga
nia - Nias
niu - Niuean
nl - Dutch
nl-informal - Dutch (informal address)
nmz - Nawdm
nn - Norwegian Nynorsk
no - Norwegian
nod - Northern Thai
nov - Novial
nqo - N’Ko
nrm - Norman
nso - Northern Sotho
nv - Navajo
ny - Nyanja
nyn - Nyankole
nys - Nyungar
oc - Occitan
ojb - Northwestern Ojibwe
olo - Livvi-Karelian
om - Oromo
or - Odia
os - Ossetic
pa - Punjabi
pag - Pangasinan
pam - Pampanga
pap - Papiamento
pcd - Picard
pcm - Nigerian Pidgin
pdc - Pennsylvania German
pdt - Plautdietsch
pfl - Palatine German
pi - Pali
pih - Norfuk / Pitkern
pl - Polish
pms - Piedmontese
pnb - Western Punjabi
pnt - Pontic
prg - Prussian
ps - Pashto
pt - Portuguese
pt-br - Brazilian Portuguese
pwn - Paiwan
qqq - Message documentation
qu - Quechua
qug - Chimborazo Highland Quichua
rgn - Romagnol
rif - Riffian
rm - Romansh
rmc - Carpathian Romani
rmy - Vlax Romani
rn - Rundi
ro - Romanian
roa-tara - Tarantino
rsk - Pannonian Rusyn
ru - Russian
rue - Rusyn
rup - Aromanian
ruq - Megleno-Romanian
ruq-cyrl - Megleno-Romanian (Cyrillic script)
ruq-latn - Megleno-Romanian (Latin script)
rw - Kinyarwanda
ryu - Okinawan
sa - Sanskrit
sah - Sakha
sat - Santali
sc - Sardinian
scn - Sicilian
sco - Scots
sd - Sindhi
sdc - Sassarese Sardinian
sdh - Southern Kurdish
se - Northern Sami
se-fi - davvisámegiella (Suoma bealde)
se-no - davvisámegiella (Norgga bealde)
se-se - davvisámegiella (Ruoŧa bealde)
sei - Seri
ses - Koyraboro Senni
sg - Sango
sgs - Samogitian
sh - Serbo-Croatian
shi - Tachelhit
shi-latn - Tachelhit (Latin script)
shi-tfng - Tachelhit (Tifinagh script)
shn - Shan
shy - Shawiya
shy-latn - Shawiya (Latin script)
si - Sinhala
simple - Simple English
sjd - Kildin Sami
sje - Pite Sami
sk - Slovak
skr - Saraiki
skr-arab - Saraiki (Arabic script)
sl - Slovenian
sli - Lower Silesian
sm - Samoan
sma - Southern Sami
smn - Inari Sami
sms - Skolt Sami
sn - Shona
so - Somali
sq - Albanian
sr - Serbian
sr-ec - Serbian (Cyrillic script)
sr-el - Serbian (Latin script)
srn - Sranan Tongo
sro - Campidanese Sardinian
ss - Swati
st - Southern Sotho
stq - Saterland Frisian
sty - Siberian Tatar
su - Sundanese
sv - Swedish
sw - Swahili
syl - Sylheti
szl - Silesian
szy - Sakizaya
ta - Tamil
tay - Tayal
tcy - Tulu
tdd - Tai Nuea
te - Telugu
tet - Tetum
tg - Tajik
tg-cyrl - Tajik (Cyrillic script)
tg-latn - Tajik (Latin script)
th - Thai
ti - Tigrinya
tk - Turkmen
tl - Tagalog
tly - Talysh
tly-cyrl - толыши
tn - Tswana
to - Tongan
tpi - Tok Pisin
tr - Turkish
tru - Turoyo
trv - Taroko
ts - Tsonga
tt - Tatar
tt-cyrl - Tatar (Cyrillic script)
tt-latn - Tatar (Latin script)
tum - Tumbuka
tw - Twi
ty - Tahitian
tyv - Tuvinian
tzm - Central Atlas Tamazight
udm - Udmurt
ug - Uyghur
ug-arab - Uyghur (Arabic script)
ug-latn - Uyghur (Latin script)
uk - Ukrainian
ur - Urdu
uz - Uzbek
uz-cyrl - Uzbek (Cyrillic script)
uz-latn - Uzbek (Latin script)
ve - Venda
vec - Venetian
vep - Veps
vi - Vietnamese
vls - West Flemish
vmf - Main-Franconian
vmw - Makhuwa
vo - Volapük
vot - Votic
vro - Võro
wa - Walloon
war - Waray
wls - Wallisian
wo - Wolof
wuu - Wu Chinese
xal - Kalmyk
xh - Xhosa
xmf - Mingrelian
xsy - Saisiyat
yi - Yiddish
yo - Yoruba
yrl - Nheengatu
yue - Cantonese
za - Zhuang
zea - Zeelandic
zgh - Standard Moroccan Tamazight
zh - Chinese
zh-cn - Chinese (China)
zh-hans - Simplified Chinese
zh-hant - Traditional Chinese
zh-hk - Chinese (Hong Kong)
zh-mo - Chinese (Macau)
zh-my - Chinese (Malaysia)
zh-sg - Chinese (Singapore)
zh-tw - Chinese (Taiwan)
zu - Zulu
格式
导出离线翻译文件
以原始格式导出
以 CSV 格式导出
获取
<languages/> {{页面横幅}} <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> [[文件:D24.71《隆波帕默尊者开示》-2024年8月31日.mp3|center]] </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> [[文件:D24.71《隆波帕默尊者开示》-2024年8月31日.mp4|center]] </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ความสุขที่เกิดจากปัญญา ในโลกเต็มไปด้วยความวุ่นวาย ไม่มีวันสงบสุข อย่างเราใช้ชีวิต บางทีเราก็นึกว่า แก้ปัญหาเรื่องนี้จบไปแล้ว หรือทำงานชิ้นนี้เสร็จแล้ว เราจะว่าง มันก็ไม่ว่างสักที แล้วชีวิตมันมีปัญหา มีภาระอะไรเกิดขึ้นตลอดเวลา ตอนเด็กๆ ก็ต้องเรียนหนังสือ โตขึ้นก็มาต้องมาๆ ทำงาน มีครอบครัว ต้องดูแลครอบครัว อายุเยอะขึ้น ร่างกายก็ทรุดโทรมลง มีภาระ งานหลักของคนรุ่นที่อายุยังไม่มาก ทำงานเสร็จแล้ว ยังมีกำลังจะไปเที่ยว เที่ยวดูโน่นดูนี่ พอแก่แล้วที่ๆ ไปเที่ยวบ่อยที่สุดคือโรงพยาบาล ไป ไม่ได้มีความสุข </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ฉะนั้นชีวิตตั้งแต่วัยเด็กก็มีปัญหาแบบเด็ก วัยรุ่นมันก็มีปัญหาแบบวัยรุ่น อย่างวัยรุ่นเป็นช่วงที่แสวงหาอัตลักษณ์ของตัวเอง หาสิ่งที่เป็นตัวตนของตัวเอง หาไปผิดๆ ถูกๆ แล้วแต่เวรแต่กรรม บางคนก็ไปเป็นหัวหน้าก๊วน หัวหน้าแกงค์ เป็นนักเลงให้เพื่อนยอมรับ ถึงวัยทำงานก็ต้องต่อสู้ ไปเป็นเจ้าของธุรกิจ ก็ต้องดูทำอย่างไรจะเติบโตได้ ไม่ล้มละลายไป หรือเป็นลูกจ้างเขา ทำงานไม่รู้วันไหนเขาจะเลิกจ้าง </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> เป็นข้าราชการก็ทุกข์แบบข้าราชการ แล้วทำงานก็ไม่ค่อยสะดวกหรอก ยิ่งยุคมีการเลือกตั้ง นักการเมือง รัฐมนตรี ส.ส. อะไร เวลามีเรื่องฉุกเฉินอะไรขึ้นมา เราจะทำงานแก้ปัญหา ต้องมาคอยต้อนรับพวกนี้ เสียเวลามากเลย ไม่ทำก็ไม่ได้ ไม่ทำก็อยู่ไม่ได้ ถ้าทำมันก็เพิ่มภาระ ไปก็ไม่มีประโยชน์อะไรหรอก พอพ้นวัยนี้มาก็เป็นภาระของตัวเองแล้ว </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ฝึกเจริญกรรมฐาน แล้วชีวิตจะมีความสุข ฉะนั้นชีวิต ตลอดชีวิต เราอยากได้ความสุข แต่ความสุขมันไม่เคยมีสมบูรณ์แบบสักทีหนึ่ง ชีวิตมีแต่ข้อบกพร่อง มีแต่ความบกพร่องอยู่ตลอดเวลา ทุกช่วงทุกวัย เมื่อวานก็คุยกับพวกคนจีน บอกตอนเด็กๆ เรายังมีเวลาวิ่งเล่นอะไรต่ออะไร มีเวลา ร่างกายก็ยังแข็งแรง แต่เราไม่มีเงิน แล้วก็ไม่มีความรู้ ก็ต้องไปเรียน ไม่มีเงินก็ต้องอาศัยผู้ปกครอง อยากได้อันนี้เขาไม่ให้ก็ทุกข์ ทุกข์ของเด็กๆ โตขึ้นมาก็ทุกข์ไปอีกแบบหนึ่ง ทุกข์ในการทำมาหากิน ทุกข์ในการเลี้ยงครอบครัว มีร่างกาย สุดท้ายทุกข์เพราะร่างกาย มันแก่ มันเจ็บ มันตาย </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> พระพุทธเจ้าท่านถึงบอกว่า เรามีอะไร เราก็ทุกข์เพราะสิ่งนั้น แล้วคนในโลกมันไม่มีทางออก มันก็ทุกข์ไปเรื่อยๆ ทุกข์ตามๆ กันไป พอเห็นคนโน้นก็ทุกข์ คนนี้ก็ทุกข์ บางทีก็ปลง แต่ปลงแบบโลกๆ ปลง เราก็ต้องแก่ เราต้องเจ็บ เราก็ตาย เพื่อนเราก็ตายไปเยอะแล้ว อย่างหลวงพ่อ เพื่อนมหาวิทยาลัยรุ่นเดียวกัน ตายไปเกือบ 40 คนแล้วมัง รุ่นครูบาอาจารย์สูงขึ้นไป ก็ล้มหายตายจากไป บางคนมันเห็นตรงนี้บ่อยๆ มันก็ปลง ปลงตก มันเป็นธรรมดา แล้วก็ยอมจำนน ก็มันเป็นธรรมดาแล้ว เราก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ต้องอยู่กับมันไป ยอมรับสภาพไป เรียกว่ายอมจำนน ยอมจำนน </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ชาวพุทธเราไม่ได้ยอมจำนน ชาวพุทธเราเป็นนักต่อสู้ ถ้าจิตใจเราไม่มีความสุข ไม่มีความสงบ หรือชีวิตเราวุ่นวาย เราก็ต้องมาวิเคราะห์ ทำไมมันวุ่นวาย ต้องดูเหตุผล บางครั้งความวุ่นวายในชีวิตเกิดขึ้น เพราะสิ่งที่ไม่จำเป็นเยอะมากเลย อย่างบางคนบอกไม่มีเวลาภาวนา แต่ตกเย็นมีเวลาไปร้องคาราโอเกะ มันเป็นข้ออ้าง </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ฉะนั้นเราลองสำรวจชีวิตเรา อะไรจำเป็น อะไรไม่จำเป็น อะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งมันไปบ้าง เราจะได้เบา โปร่งเบามากขึ้น เหมือนของในบ้าน ลองสำรวจดู ของเต็มบ้านเลย อึดอัด มาสำรวจดูอันไหนจริงๆ แล้วต้องใช้ ต้องไม่ได้ใช้ 10 ปี 20 ปี ยังไม่เคยใช้เลย เอาออกไปจากบ้าน บ้านเราก็โล่งขึ้น หรือขับรถ บางคนในรถ ยังกับอยู่ในบ้าน มีข้าวของเครื่องใช้เต็มรถเลย เผื่อ เผื่อต้องใช้ พอสำรวจดูแล้ว ของที่ต้องใช้จริงๆ มีไม่มาก เอาของส่วนเกินออกไป รถมันก็โล่งขึ้น </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ในชีวิตเราก็เหมือนกัน ลองสำรวจดู อะไรที่มันไม่จำเป็น ก็ทิ้งมันไปเสียบ้าง เราก็จะเบาขึ้น โล่งขึ้น อันนี้สำหรับชาวโลกทั่วๆ ไป แต่ชาวพุทธเรามีวิธีที่สูงกว่านั้น คือการเจริญสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน มันจะลดภาระทางใจของเราลง อย่างหลักของสมถกรรมฐาน น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ที่มีความสุขอย่างต่อเนื่อง ไม่บังคับจิตด้วย สงบก็ได้ ไม่สงบก็ได้ ถ้าเราพยายามบังคับจิตให้สงบ เราก็เพิ่มงาน เพิ่มงานให้ตัวเอง จิตไม่สงบ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> คนทั่วไปก็ไม่รู้จัก ความสุขจากความสงบของสมาธิ เพราะเรามาฝึกเอา หลักของสมาธิ ก็น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข ถนัดอารมณ์กรรมฐานอะไร เอาอันนั้นล่ะ อยู่กับกรรมฐานของเราไปเรื่อยๆ ถนัดรู้ร่างกายที่เคลื่อนไหว ร่างกายที่หยุดนิ่ง ก็รู้ไป ชีวิตมันก็จะมีความสุข อย่างหลวงพ่อภาวนา หลวงพ่อตอนเป็นฆราวาส งานเยอะแยะเลย ภาระมากมายเหมือนที่พวกเรามี แต่หลวงพ่อแบ่งเวลาไว้ เลิกงานเราก็กลับบ้าน อาบน้ำ กินข้าว พักผ่อนนิดหน่อย แล้วก็ภาวนา </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> วิธีภาวนาของหลวงพ่อ ถ้าใจฟุ้งซ่าน หลวงพ่อก็ทำให้สงบ วิธีทำใจให้สงบ หาอารมณ์ที่ผ่อนคลาย อย่างถ้ามันเครียดจัดๆ เหนื่อยจัดๆ ฟุ้งจัดๆ อ่านหนังสือการ์ตูนบ้างอะไรบ้าง บางวันไม่มีหนังสือการ์ตูนอ่าน ก็ไปเอากล่องพระมา ของพ่อ เอามาดู ส่องไปส่องมา มีอยู่ไม่กี่องค์ ส่องอยู่นั่นล่ะ ดูไปเรื่อยๆ จิตใจมันไม่คิดเรื่องอื่น ดูแต่พระ ใจมันก็สงบ พอใจสงบแล้ว เราก็ทำในรูปแบบ หายใจเข้าพุท หายใจออกโธอะไรก็ทำไป </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> แต่หลวงพ่อไม่ค่อยเดินจงกรม ที่บ้านเป็นบ้านไม้แบบโบราณ เวลาเดินแล้วมันร้องเอี๊ยดๆๆ ไปเรื่อย ส่วนใหญ่ก็เลยนั่ง ไม่อย่างนั้นรำคาญคนอื่นเขา ก็นั่งหายใจเข้าพุท หายใจออกโธไป ใจก็สงบ ทีแรกมันก็ไม่ค่อยสงบ หัดทีแรก นานๆ จะสงบสักที ส่วนใหญ่ก็หายใจไปก็เหนื่อยเลย หายใจบังคับลมหายใจ ต่อมาจับเคล็ดลับได้ จะทำสมถะ อย่าไปบังคับจิต ยิ่งพยายามบังคับจิต จิตก็ยิ่งทำงานมากขึ้น เราอยู่กับอารมณ์ที่สบายๆ รู้สึกไป </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> การแก้อารมณ์ในสมถกรรมฐาน แต่ถ้าช่วงไหนกิเลสมันแรงมาก เราก็แก้ สมถกรรมฐานมีการแก้อารมณ์ แก้จิตของเรา อย่างวันนี้โมโหมากเลย หงุดหงิดมาก ไปดูต้นไม้ ดูแมว ก็ยังไม่หายหงุดหงิด ก็มาทำสิ่งที่ตรงข้ามกับโทสะ นั่งเจริญเมตตาไป เป็นการแก้ แก้อาการของจิต จิตโกรธ เราก็มาทำสิ่งที่ตรงข้ามกับความโกรธ คือความเป็นมิตร อย่างสมมติเราโกรธใครสักคน สมมติว่าโกรธพระอาจารย์ ไม่เคยโกรธ ยกตัวอย่าง เพราะพระอาจารย์เป็นคนดัง คนเขานึกออก </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> อย่างถ้าเราโกรธพระอาจารย์ ถ้าโกรธนิดหน่อย เราก็หายใจเข้าพุทออกโธก็หาย คราวนี้โกรธแรง พระอาจารย์ดังกว่าเรา โกรธมากเลย อิจฉา ก็ต้องมาพิจารณา ถ้าโกรธ เราก็ต้องแผ่เมตตา แผ่เมตตา การแผ่เมตตามีหลายแบบ อันหนึ่งแผ่เมตตาพรหมวิหาร อย่างโกรธพระอาจารย์ เราก็แผ่เมตตาให้พระอาจารย์ พระอาจารย์เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่รู้จะโกรธกันทำไม เป็นเพื่อนร่วมทุกข์กัน ต่างคนต่างก็ทุกข์ แผ่เมตตา </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> มีเมตตาอีกอย่าง เรียกเมตตาอัปปมัญญา อันนั้นทำแล้วถึงฌานเลย แผ่เมตตาอัปปมัญญา ไม่ได้กำหนดขอบเขตว่าจะเมตตาใคร แผ่ครอบทุกทิศทาง ทั้งเบื้องซ้าย เบื้องขวา เบื้องหน้า เบื้องหลัง เบื้องบน เบื้องล่าง แผ่กว้างออกไป จิตจะกว้างขวางไม่มีขอบ ไม่มีเขต มีความสุข ก็จะมีความสุข พอใจเรามีเมตตา ใจก็มีความสุข พอใจเรามีโทสะ ใจเราก็มีความทุกข์ เพราะฉะนั้นใจเรามีความทุกข์เพราะโทสะ เราก็มาแผ่เมตตา อันนี้เป็นการแก้อาการของจิต </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ถ้าเราเกิดราคะ กำลังของสมาธิเรายังดี หายใจเข้าพุทออกโธ ราคะก็ดับ ถ้าราคะมันรุนแรงมาก เราก็แก้อาการของราคะ เราชอบผู้หญิงคนนี้มาก เราก็พิจารณาไป ทำไมชอบเขา เพราะผมเขาสวย ลองกำหนดจิตสิว่า ถ้าคนนี้ไม่มีผม หน้าตาจะเป็นอย่างไร เออ ก็คล้ายๆ หุ่นกระบอก หัวก็เลี่ยนๆ ดูแปลกๆ เขาสวยที่ไหนอีก มีขน ขนคิ้วเขาสวย ขนตางอน กำหนดจิตลงไป ถ้าเขาไม่มีขนคิ้ว ขนตา หน้าตาจะเป็นอย่างไร อย่างนั้นเหมือนหุ่นมากขึ้น โล้นๆ เกลี้ยงๆ ไม่มีขน ไม่มีเล็บ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ผู้หญิงชอบเล็บสวย เล็บสวย เล็บดี เล็บงาม เล็บดีเขาเรียกสุนัข สุนัขแปลว่าเล็บสวย สุนข นข (นะขะ) แปลว่าเล็บ ฉะนั้นผู้หญิงคนไหน เน้นความสวยของเล็บมาก นี่สุนัข สุนัข เล็บสวย บางคนก็ทำให้สวย แต้มสีโน้นสีนี้ หลวงพ่อเคยเจอบางคน 10 นิ้ว มี 10 สี โอ้ ทำไมต้องเยอะอย่างนั้น เพราะถ้าสีเดียว ใครๆ เขาสีเดียว ไม่สนุก ต้องมีหลายๆ สี นี่ก็ความสุขของเขา ไม่ได้ผิดหรอก เป็นชาวโลกทำได้ แต่พระทาเล็บ มี เห็นแล้ว ในวัดนี้ไม่มี บางที่เห็นเขาถ่ายรูปมา พระเล็บสวย น่าเกลียด ถ้าเรากำหนดจิตลงไป ถ้าเขาไม่มีเล็บ เหมือนคนเป็นโรคเรื้อน เล็บไม่มีเลย นิ้วก็จะหลุดไม่หลุดแหล่ สวยไหม ไม่สวย </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> สมมติว่าเรารักผู้หญิงสักคน เขาสวยมาก ลองสร้างภาพ มโนดู จินตนาการดู จนกระทั่งเขาเป็นโรคเรื้อน ผิวหนังก็ไม่สวย เอาไหม ไม่เอาแล้ว กลัวแล้ว สยอง เพราะฉะนั้นความสวยของคนมันอยู่ที่ไหน อยู่ที่เปลือก อะไรเป็นเปลือกของคน ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นี้เป็นเปลือก ภายใต้เปลือกก็มีเนื้อ มีเอ็น มีกระดูก มีลำไส้น้อย ลำไส้ใหญ่ มีปอด มีหัวใจ มีตับ มีม้าม มีกระเพาะปัสสาวะ มีอาหารใหม่อยู่ในกระเพาะ มีอาหารเก่าอยู่ในลำไส้ มันไม่มีอะไรน่ารัก แต่มันมองไม่เห็น สิ่งที่หลอกลวงเรา ก็คือสิ่งที่มองเห็นข้างนอกนี้ ก็ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ พระท่านจะสอนกันเวลาบวช ใครไปบวช อุปัชฌาย์สอนให้พิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง จะได้ข่มราคะ อย่างนี้เป็นการแก้อาการ จิตมีราคะก็พิจารณาอสุภะลงไป ราคะก็ดับ ถ้าจิตมันฟุ้งซ่าน มันชอบคิด ห้ามมันไม่ให้คิด ก็ห้ามมันไม่ได้ เราก็แก้อาการ ด้วยการพามันคิด มีแบบนี้ด้วย มันฟุ้งซ่านมาก มันอยากคิด ให้มันคิดไปเลย แล้วมีสติกำกับลงไปเรื่อยๆ ดูสิเธอจะคิดได้นานสักแค่ไหน บางคนพอดูๆๆ ไป มันขี้เกียจคิด มันเลิกคิดไปเลย ไม่ฟุ้งซ่าน </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> หรือบางคนต้องใช้วิธีกำหนดหัวข้อให้มันคิด คิดพิจารณาธรรมะ บางครั้งใจมีโมหะ เซื่องซึม จะหลับอยู่เรื่อยๆ ก็พิจารณาธรรมะ หัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง อย่างเราพิจารณาคุณของพระพุทธเจ้า คุณของพระธรรม คุณของพระสงฆ์ คิดพิจารณาไป หรือคิดพิจารณาความตาย สารพัด หาเรื่องให้มันคิด หรือลองคิดหัวข้อธรรมอันใดอันหนึ่ง เช่น อิทธิบาท 4 นี่ตัวอย่าง จริงๆ อันไหนก็ได้ เวลาเราคิดพิจารณาหัวข้อธรรม คิดเป็นลำดับๆ ไป ใจจดจ่ออยู่กับการคิดเรื่องเดียว ใจก็ไม่ฟุ้งซ่าน แล้วก็เป็นอุบายแก้ง่วง </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ตอนพระมหาโมคคัลลานะ ท่านมาบวช แล้วท่านก็หลับตลอดเลย นั่งภาวนาก็เคลิ้ม ลืมเนื้อลืมตัวอยู่เรื่อย ท่านพวกสมาธิเยอะ พวกสมาธิเยอะจะหลับง่าย ถ้าไม่ได้เติมสติลงไป ท่านยังไม่ใช่พระอรหันต์ สติท่านยังไม่สมบูรณ์ ท่านนั่งแล้วก็เคลิ้ม ทำอย่างไรก็ไม่หาย พระพุทธเจ้าก็เลยสอน วิธีแก้ง่วงเวลาภาวนาให้ 8 ข้อ คิดถึงสัญญา เช่น มรณสัญญา พิจารณาความรู้ สาธยายมนต์ สวดมนต์ สวดดังๆ สวดเร็วๆ หานิ้วมือมาแหย่หู แหย่หู ลูบหน้า ลูบตัว ท่านสอนหมดแล้ว ละเอียด แก้ง่วง กำหนดอโลกกสิณ กำหนดแสงสว่าง มันสว่างจ้าเหมือนกลางวัน ก็หายง่วง </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> มันจะหายก็หายชั่วคราว มาตรการสุดท้ายของท่านก็คือให้นอน แต่นอนด้วยความมีสติ นอนด้วยความรู้เนื้อรู้ตัว ไม่ได้ทิ้งเนื้อทิ้งตัว นอนเป็นหมู เป็นหมา ไม่รู้เรื่อง นอนไป ไม่ฝืน ให้จิตมันได้พัก พอจิตมันได้พักพอ จิตก็จะถอนขึ้นมา ถอนขึ้นมาแล้วก็มาเดินปัญญาได้ นี่เป็นเรื่องของสมถะ สมถกรรมฐาน ปัญหาเวลาจิตฟุ้งซ่านเล็กน้อย เราก็น้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ไม่ต้องแก้อะไรหรอก แต่ถ้ามันฟุ้งซ่านแรง เราก็ใช้ธรรมะที่เป็นคู่ปรับ เอามาแก้กัน คล้ายๆ มันเป็นกรดมาก เราก็เติมด่างลงไป ให้มันสมดุล กรดนั้นก็หมดฤทธิ์ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> สุขจากปัญญา ถ้าเรารู้จักทำความสงบ ทำสมถะทุกวันๆ จิตเราได้ลิ้มรสของความสงบ มันจะมีความสุข ความสุขตรงนี้บางคนติดเลย ชาตินี้ไม่ไปไหนแล้ว ขอสงบอยู่ตรงนี้ไม่ไปที่อื่นแล้ว เพราะติดอยู่แค่นั้นเอง ก็ใช้ไม่ได้ เสียดายโอกาสที่ได้เจอศาสนาพุทธ ถ้าเราทำความสงบ เรา ง่ายๆ เลย อย่างบางคนใช้รู้สึกร่างกาย ร่างกายหายใจ รู้สึก ร่างกายยืน เดิน นั่ง นอน รู้สึก ร่างกายเคลื่อนไหว ร่างกายหยุดนิ่ง รู้สึก คอยรู้สึกไปเรื่อยๆ จิตมันก็สงบ เพราะว่ารู้อยู่ในอารมณ์อันเดียว คือรู้กาย </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> พอจิตสงบแล้ว จิตมันตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดูได้ คราวนี้ปัญญามันก็เริ่มเกิด มองออกไปที่ไหน ก็เห็นแต่ที่นั่นมีแต่ทุกข์ มองไปที่ไหน ก็เห็นแต่ความว่างเปล่า เห็นแต่ความไร้สาระ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาสู่ความรับรู้ ล้วนแต่ว่างเปล่า ล้วนแต่ไร้สาระ เกิดขึ้นแล้วก็หมดไปๆ รักษาเอาไว้ก็ไม่ได้ อย่างบางคนพยายามรักษาครอบครัว มีลูกก็พยายามเลี้ยงไว้อย่างดีเลย มีบ้าน มีที่ ก็ปลูกบ้านเป็นหลังๆ หวังว่าอีกหน่อยลูกก็มาอยู่ตรงนี้ ก็ไม่มีใครอยู่ มันแยกย้ายกันไปทำมาหากิน มองบ้าน บ้านออกใหญ่โต บางคนก็มีบ้าน ทำห้องไว้หลายห้อง จะให้ลูกอยู่คนละห้อง พอถึงวันหนึ่งทุกห้องปิดประตูเงียบเลย เพราะว่าไม่อยู่แล้ว </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> พอเห็นความจริงอย่างนี้เข้า ใจมันก็เริ่มรู้สึก สิ่งที่เราว่ามี เราว่าเป็น ถึงจุดหนึ่งมันก็ไม่มี มันก็ไม่เป็นอะไรของเราอีกแล้ว คนที่เคยรู้จัก รุ่นโตกว่าเรา ส่วนใหญ่ก็ตายไปเรื่อยๆ รุ่นเดียวกันก็มีตาย รุ่นเด็กมันก็ตาย เริ่มเห็นความจริงของชีวิตมากขึ้น แต่มันไม่ได้เห็นด้วยใจธรรมดา มันเห็นด้วยจิตที่ตั้งมั่น พอเห็นด้วยจิตที่ตั้งมั่น ปัญญาที่แท้จริงมันเกิด เป็นวิปัสสนาปัญญามันเกิด ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น ก็เป็นปัญญาทั่วไป เป็นจินตามยปัญญา คิดเอา ถ้าเราทำความสงบ จนจิตเราตั้งมั่นขึ้นมาเป็นหนึ่งแล้ว เวลาสติระลึกรู้อะไรลงไป มันก็จะเห็นมีแต่ทุกข์ มีแต่โทษ มีแต่ของไม่เที่ยง มีแต่ของเป็นอนัตตา </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> เมื่อเช้าก็มีหมอคนหนึ่งมาส่งการบ้าน ไม่ได้เจตนาส่งอะไรหรอก มานั่งๆ อยู่ มาคอยดูว่าหลวงพ่อจะป่วย จะอาพาธอะไรหรือไม่ มาคอยจับผิดพระนั่นล่ะ ไม่มีอะไรหรอก มาดู หลวงพ่อก็ถามว่า โอ้ รู้ไหมจิตดีมากๆ เลย จิตมันโล่ง มันโปร่ง มันเบา มันสบาย ทำไมเป็นอย่างนี้ได้ เพราะจิตมันมีความตั้งมั่น แล้วมีสติระลึกรู้ร่างกายไปเรื่อยๆ แล้วก็เห็นความจริงของร่างกาย สติระลึกรู้อะไร ก็เห็นความจริงของสิ่งนั้น เพราะจิตมันตั้งมั่น ปัญญามันจะเกิด </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> จิตที่ตั้งมั่น เรียกว่าจิตมีสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา พอจิตมันเห็นความจริงของชีวิต มันก็วาง เพราะเห็นตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายความยึดถือ ใจก็คลายความยึดถือ ใจมันก็เบา ใจมันก็สบาย เพราะฉะนั้นเวลาเจริญปัญญา ทำไปเรื่อยๆ มันก็เกิดความสุข เกิดความสงบ ฉะนั้นความสงบ ไม่ได้มีเฉพาะขณะที่ทำสมถะหรอก ขณะที่เจริญปัญญาไป ถึงจุดหนึ่งจิตก็สงบเหมือนกัน มันสงบ แต่ความสงบที่เกิดจากปัญญา ไม่เหมือนความสงบที่เกิดจากสมถะ ไม่เหมือนความสงบที่เกิดจากการทำสมาธิ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ความสงบจากการทำสมาธิ มันเหมือนความสงบของเด็ก เด็กมันเล่นอะไรแล้วมันเพลิน มีความสุข สมมติว่ามันมี เดี๋ยวนี้เด็กมันเล่นอะไร ไม่รู้ สมัยหลวงพ่อเล่นตุ๊กตุ่นตุ๊กตา ไม่ได้สนใจอะไร ก็มีความสุขแล้ว บางทีก็ไปวิ่งเล่นว่าว เล่นอะไร ก็มีความสุข สมาธิมันให้ความสุข เหมือนเด็กได้ของเล่นที่ถูกใจ มันเพลินๆ ส่วนวิปัสสนามีความสุข คล้ายๆ ผู้ใหญ่ที่ทำงานที่ยากๆ สำเร็จแล้ว ทำงานที่ยากๆ สำเร็จแล้ว </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> อย่างเราเรียนรู้ชีวิต ไม่ใช่เรื่องง่าย เรียนรู้ความจริงของชีวิต เมื่อก่อนนี้เราเคยหวังว่า เราจะมีครอบครัวที่พรั่งพร้อมพ่อแม่ลูก จะมีหลานมีอะไร ปรากฎว่าทุกอย่างว่างเปล่าหมดเลย นี่เห็นความจริงของชีวิต ก็รู้สึกไม่เห็นจะน่ายึดถือเลย ใจมันคลายความยึดถือออกไป เพราะเห็นตามความเป็นจริงจึงเบื่อหน่าย เพราะเบื่อหน่ายจึงคลายความยึดถือ พอจิตมันคลายความยึดถือ จิตมันก็มีความสุข เป็นสุขจากปัญญา นี่เป็นเรื่องดี ค่อยๆ ฝึก </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> แล้วยังเหลือความสุขอีก 3 อย่าง ความสุขจากอริยมรรค จากอริยผล จากนิพพาน เป็นความสุขที่เป็นลำดับๆ ไป เพราะว่าเราดับทุกข์ ดับกิเลส เป็นลำดับๆ ไป การดับทุกข์ ดับกิเลส มี 5 อย่าง มีนิโรธ นิโรธคือความดับ ความดับมี 5 อย่าง หนึ่ง ดับด้วยสมถะ เราดับนิวรณ์ทั้งหลายด้วยสมถะ เราดับด้วยวิปัสสนา เราดับความหลงผิดด้วยวิปัสสนา แล้วเราก็ดับกิเลสสังโยชน์ด้วยอริยมรรค ได้อริยมรรคแล้วมันก็ต่ออริยผล อริยผลก็มีความสุข อริยมรรคยังทำงานอยู่ เป็นโลกุตตรเหตุ อริยผลเป็นโลกุตตรผล ก็ดับไปอีกแบบ ดับแบบว่างงาน สบาย </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ส่วนพระนิพพานนั้น ไม่ต้องเข้าฌาน อยู่ข้างนอกอย่างนี้ล่ะ ถ้าต้องกำหนดจิตเข้าๆ ออกๆ นิพพานอันนี้ ไม่ใช่นิพพานหรอก นิพพานเก๊ หลวงพ่อเคยทำผิดมาแล้ว ที่มาพูดให้พวกเราฟังได้ ด้วยความมั่นอกมั่นใจ เพราะว่าทำผิดมาเยอะ ไม่ได้เก่ง เพราะโง่ แต่โง่แล้วเรียนรู้ ไม่ใช่โง่แล้วดักดาน โง่แล้วบางทีสังเกตตัวเอง เข้าใจขึ้นมา บางทีก็อาศัยกัลยาณมิตร คือครูบาอาจารย์ชี้แนะให้ ก็ค่อยๆ หายโง่มาเรื่อยๆ ยิ่งภาวนา ยิ่งมีความสุขมากขึ้นเรื่อยๆ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> สุขหลอกๆ มันสุขเพื่อให้เราทุกข์ต่อไป ฉะนั้นเราปรารถนาความสุขในชีวิต เราต้องรู้ว่าความสุขอย่างโลกๆ มันสุขหลอกๆ มันสุขเพื่อให้เราทุกข์ต่อไป สุขหลอกๆ ให้เรามีแรงที่จะวิ่งพล่านๆ ตามกิเลสตัณหาต่อไป แล้วความสุขที่ประณีตกว่านั้น คือความสุขของสมถกรรมฐาน ความสุขของการทำวิปัสสนากรรมฐาน ความสุขเมื่อเกิดอริยมรรค เกิดอริยผล ความสุขเมื่อจิตทรงพระนิพพาน ไม่มีคำว่าเกิดนิพพาน เห็นไหม เกิดอริยมรรค เกิดอริยผล แล้วก็มีความสุขจากการที่จิตทรงพระนิพพานอยู่ เข้าถึงพระนิพพาน นิพพานไม่มีเกิด ไม่มีดับ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ถ้าเราภาวนา เรายังเป็นปุถุชน เรายังไม่รู้จักความสุขในอริยมรรค อริยผล ในพระนิพพาน ยังไม่รู้จัก เราก็มีความสุข 2 อัน ความสุขของสมถะกับวิปัสสนา แค่นี้เราก็จะเห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนาแล้ว อย่างจิตเราวิ่งพล่านหาความสุขทั้งชีวิต เลิกงานแล้วก็ไปร้องคาราโอเกะ กินเหล้าเมายา ส่งเสียงดัง หนวกหูชาวบ้าน อย่างกับร้องเพราะนักนี่ แต่ละคน มาร้องอ้อแอ้ๆ อย่างที่นี่ เมื่อก่อนกลางคืนนี้เงียบสงัดเลย แล้วพอเขาทำถนนทะลุไปบ้านบึงได้ รถวิ่งทั้งคืนเลย เสียงดังแล้ว กิจการบันเทิงทั้งหลาย มันก็รุกคืบเข้ามาเรื่อยๆ เดี๋ยวนี้กลางคืนจะได้ยินเสียงคาราโอเกะ เสียงอะไรต่ออะไร ร้องรำทำเพลงกัน ฟังแล้วก็น่าสลดสังเวช </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ภาวนาเป็น เราจะรู้เลยว่า เสียงคนร้องรำทำเพลง มันไม่ได้ต่างกับเสียงสัตว์นรกเลย ที่มันร้องคร่ำครวญอยู่ พวกที่ร้องคาราโอเกะ ได้ยินแล้วก็นึกถึง โอ้ สัตว์นรกมันดื่มน้ำทองแดงเข้าไป แล้วมันก็ร้องโอดครวญ น่าสลดสังเวช นี่หรือความสุข เกิดมาทั้งที รู้จักความสุขอยู่แค่นี้หรือ น่าสงสารเหลือเกิน นี้พวกเราเป็นชาวพุทธ เราก็หาความสุขที่สูงขึ้นไป ถ้ายังทำสมถะไม่เป็น ก็ทำบุญ ทำทานอะไรไป แล้วก็มีความสุข แต่ทำบุญทำทาน ก็ขอให้ทำแบบชาวพุทธ ทำแล้วลดละกิเลส ถ้าทำแล้วหวังผลตอบแทน ไม่ได้บุญเท่าไรหรอก ได้บุญนิดเดียว ทำ 100 บาท ได้บุญสลึงเดียว ทำด้วยความโลภ บุญที่เจือด้วยกิเลส ยังเจือกิเลส เป็นบุญชั้นต่ำ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ฉะนั้นอย่างเรา สมมติเราเอาเงินไปให้องค์กรอะไรสักอย่าง อย่างตามวัดตามอะไรอย่างนี้ แล้วก็ทำบุญ ไปไหว้เทวรูป แล้วก็ทำบุญถวายสังฆทาน สังฆทานก็มีอยู่ไม่กี่ชุดหรอก พระก็นั่งรับตั้งแต่เช้ายันเย็น ก็ชุดเดิมนั่นล่ะ แล้วเราก็ได้บุญ ก็ได้เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่คนที่ไปทำแบบนั้น ทำด้วยความหวังผล หวังว่ามีเรื่องไม่สบาย ร่างกายไม่สบาย ไปทำบุญสะเดาะเคราะห์ ถ้าเรายังทำบุญสะเดาะเคราะห์ เราไม่ใช่ชาวพุทธ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ชาวพุทธไม่มีเคราะห์ ไม่มีฤกษ์ เคราะห์เป็นชื่อของดาวชนิดหนึ่ง ฤกษ์ก็เป็นชื่อของดาวอีกชนิดหนึ่ง เป็นชื่อของดาว ทั้งเคราะห์ ทั้งฤกษ์ ถ้าทำบุญสะเดาะเคราะห์ ยังไม่ใช่ชาวพุทธหรอก ถ้าทำบุญเพื่อสงเคราะห์ เพื่ออำนวยประโยชน์ให้ผู้อื่น ให้สัตว์อื่น ให้พระสงฆ์ ให้พระศาสนา อันนี้บุญนี้ใหญ่กว่า ใหญ่กว่ากันเยอะ ทำบุญสะเดาะเคราะห์ ทำบุญแก้โรค ทำบุญหาโชคหาลาภ อันนั้นก็ทำด้วยความหลงผิด เป็นความหลงผิด คนเราจะมีโชคมีลาภ ก็ต้องมีบุญ ไม่เคยมีบุญ ไปขอโชคขอลาภ มันก็ไม่มีหรอก ไม่เคยสร้างไว้ จะไปขอ ขอเปล่าๆ ไม่ได้เรื่อง </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> เพราะฉะนั้นถ้าเราทำสมถะไม่เป็น เราก็ทำบุญให้เป็นเสียก่อน ทำไปเพื่อลดละความเห็นแก่ตัว ตั้งหลักตรงนี้ง่ายๆ เลย เราทำบุญทำทาน เราทำเพราะเห็นแก่ตัว หรือทำเพื่อลดละความเห็นแก่ตัว อย่างเราเห็นหมาอดโซ ผอม มีแต่กระดูก เราให้อาหารมัน อันนี้เป็นบุญ ให้อาหารมันก็คือให้ชีวิตมัน เป็นบุญ ถ้าเราไปโรงฆ่าสัตว์ ไปซื้อลูกควาย ราคาเดียวกับควายตัวใหญ่ ใครกินหัวคิวก็ไม่รู้หรอก ซื้อควายตัวเล็กๆ ราคาเท่าควายตัวโตๆ แล้วก็บอกว่าปล่อยควายปล่อยวัว เราจะได้มีสุขภาพดี นี่ไม่ใช่ชาวพุทธ ไม่ได้ทำด้วยเมตตา แต่ทำด้วยกิเลส ก็ได้บุญเหมือนกัน บุญเล็กน้อย </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> เพราะฉะนั้นทำบุญให้เป็น ทำไปเพื่อลดละกิเลส เพื่อลดละความเห็นแก่ตัว ถ้าใจเราเริ่มไม่เห็นแก่ตัว การทำสมาธิจะง่ายขึ้น ใจที่ไม่เห็นแก่ตัว มันจะโล่ง มันจะเบา มันจะสบาย มันจะมีความสุข ความสุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ อย่างเราไปทำบุญ ทำทาน สงเคราะห์สัตว์ อย่าปลื้มนาน ปลื้มนิดหน่อยพอแล้ว หรือจัดดอกไม้มาตั้งข้างหลังหลวงพ่อ ลงทุนมาจัดบ่อยๆ ถ้าทำไปเป็นพุทธบูชา อันนี้ดี ได้บุญเยอะ ถ้าทำเพราะว่าดอกไม้เราจะได้อยู่ในยูทูป แล้วเราเห็นแล้วเราก็ปลื้ม ก็ยังดี เห็นแล้วยังปลื้มอยู่ แต่ถ้าคนอื่นจะมาจัด ชักโมโห </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> เมื่อก่อนเคยเจอ มีคุณป้าคนหนึ่ง เขามีหน้าที่จัดดอกไม้ถวายครูบาอาจารย์ ทุกเช้าเขาต้องจัด ใครอยากถวายดอกไม้ครูบาอาจารย์ ต้องเอาดอกไม้ไปฝากแก แล้วแกจัดให้ อย่างนี้แกจะปลื้ม ชอบ ถ้าคนไหนทะเล่อทะล่า จัดดอกไม้ขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง เอาเข้าไปถวายครูบาอาจารย์ อย่างนี้ ขุ่นแล้ว ใจขุ่นมัว ไม่พอใจ ฉะนั้นการจัดดอกไม้อันนี้ เพราะว่าครูบาอาจารย์เป็นของกูๆ อันนี้ไม่ได้บุญเท่าไรหรอก มันเจือกิเลส ถ้าเราจัด ถือว่าเป็นเครื่องบูชาพระรัตนตรัย อันนี้เราได้บุญเยอะ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ฉะนั้นบุญทำให้เป็น สมมติเราจัดดอกไม้เพื่อบูชาพระ แล้วเราเห็นดอกไม้ จิตใจเรามีความสุข ว่าเราได้บูชาพระ ใจมันเคล้าเคลีย นึกถึงพระ นึกถึงดอกไม้ที่ถวาย ตายไปสุคติได้สบายๆ เลย ไปเกิดในสวรรค์ เต็มไปด้วยดอกไม้ที่ไม่มีตัวหนอนด้วย ไม่ได้ฉีดยาฆ่าแมลงด้วย มีความสุข อันนี้มันเป็นสมาธิเหมือนกัน นึกถึงอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข จิตเคล้าเคลียอยู่กับอารมณ์อันนั้นแล้วมีความสุข เห็นไหมแค่จัดดอกไม้บูชาพระ เป็นการทำทานธรรมดาก็ได้ อัปเกรดขึ้นมาไว้ใช้ทำสมาธิ ก็ยังทำได้เลย </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ใช้ดอกไม้เป็นกรรมฐาน เพราะฉะนั้นสมาธิ ถ้าเรารู้หลักแล้ว อะไรๆ ก็ทำสมาธิง่ายไปหมด เราจัดดอกไม้บูชาพระ แล้วเราก็มีความสุข เราได้ไหว้พระได้อะไร คิดว่าเราได้ทำสิ่งที่ดีงาม ถูกต้อง ใจมันปลื้ม ใจที่ปลาบปลื้ม เวลาจะทำสมาธิ เราทรงใจที่ปลาบปลื้มนี้ไว้ แล้วเราก็เอาใจที่ปลาบปลื้มนี้ เป็นอารมณ์กรรมฐาน อยู่กับความปลาบปลื้ม มีความสุขนี้ ไม่นานก็สงบแล้ว เห็นไหม ถ้าจับหลักการภาวนาได้ โอ๊ย ง่ายไปหมด จับหลักไม่ได้อะไรก็ยากไปหมด พอใจเราปลื้ม มีความสุข สงบลงไปแล้ว จิตที่สงบตรงนี้ จิตทรงสมาธิ อย่างเรานึกถึงดอกไม้นี้ จิตเราทรงสมาธิเข้าไปได้ถึงรูปฌาน เข้าไปได้ถึงรูปฌาน </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> เรานึกภาพ นึกภาพอยู่แล้วก็ใจจดจ่อ ไม่วอกแวกไปที่อื่น แล้วสุดท้ายดอกไม้ของเรา สีเขียว สีแดง สีเหลือง สีม่วงอะไรนี้ สีมันจะเปลี่ยน มันจะกลายเป็นแก้วใสๆ เป็นดวงใสสว่างขึ้นมา ได้ปฏิภาคขึ้นมา จากดอกไม้ดอกเดียว หรือบางคนเก่งกว่านั้นอีก ดูดอกไม้ดอกเดียวนี่ล่ะ แล้วเห็นไตรลักษณ์ บรรลุพระอรหันต์ อย่างนี้ก็มี คือสามารถดูดอกไม้นี่ล่ะ คนหนึ่งดูแล้วก็เป็นดอกไม้ของกู อันนี้ก็เวียนว่ายตายเกิดไป คนหนึ่งดูไปแล้วก็จิตใจมีความสุข มีความสงบ จิตใจจดจ่ออยู่กับพระ สงบ ก็ไปสุคติ ไปสวรรค์ได้ ไปพรหมโลกตื้นๆ ได้ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> บางคนลึกกว่านั้น เห็นดอกไม้นี้ เห็นความสวยความงาม แล้วก็ต่อไปเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของมัน ก็บรรลุพระอรหันต์ไปเลยก็มี ในครั้งพุทธกาลก็เคยมีพระองค์หนึ่ง พระพุทธเจ้าให้ดอกบัวแดง ดอกบัวแดง บัวสายใช่ไหม บัวสาย บัวสายอินเดียไม่เหมือนบัวสายไทย บัวสายไทย พอสายขึ้นมานี้เหี่ยวหมดเลย แต่บัวสายที่อินเดียดอกมันโตกว่า สีเดียวกัน รูปร่างเหมือนกัน แต่มันอยู่ได้นาน กลางวันมันก็ยังบาน ใหญ่อย่างนี้ ของเราเล็กลงมาหน่อย ก็เหี่ยว ของเขาบาน </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> พระพุทธเจ้าท่านได้ดอกบัวมา ท่านก็ให้พระองค์นี้ บอกเอาไปปักที่ดิน ข้างกุฏิ ปักกับทราย นั่งดูไปให้สบายใจเลย ท่านก็ดูไป เห็นดอกบัวมันสีแดง มันสวยถูกอกถูกใจ แล้วก็ปลื้มด้วยว่า ดอกบัวนี้พระพุทธเจ้าให้ ใจมันมีความสุข ใจได้สมาธิแล้ว นั่งดูไปๆ ดอกบัวนี้มันถูกแดด มันเหี่ยว แล้วท่านก็น้อมจิตลงไปเห็นไตรลักษณ์ จิตมันน้อมลงไปเห็นไตรลักษณ์ ไม่ใช่ท่านน้อม จิตท่านน้อมลงไปเห็นไตรลักษณ์ ไม่ใช่ท่านน้อมจิต จิตท่านน้อม ถ้าน้อมจิตเองก็เป็นสมถะ เพราะเวลาทำวิปัสสนา สติระลึกลงไปที่ดอกบัว สัญญาเข้าไปหมายรู้โดยไม่ได้เจตนา หมายรู้ความเป็นไตรลักษณ์ มันไม่เที่ยง จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> จิตที่ตั้งมั่นจะมี 2 ลักษณะ ตั้งมั่นแล้วมีความสุข กับตั้งมั่นแล้วมีอุเบกขา แล้วตั้งมั่นแล้วเห็นสภาวะ เห็นดอกบัวร่วงโรยไป จิตก็สะดุ้งขึ้นมา ตื่น แจ้งขึ้นมา ทุกสิ่งที่เกิดล้วนแต่ดับทั้งสิ้น หาสาระแก่นสารอะไรไม่ได้ ก็บรรลุธรรมะ องค์นี้บรรลุพระอรหันต์เลย แค่ดูดอกบัว เห็นไหม ฉะนั้นถ้าเราจัดดอกไม้มาแล้ว โอ้ ปลื้มดอกไม้ของเราสวย ก็ดีเหมือนกัน แต่ดีแบบเวียนว่ายตายเกิด </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ถ้าดูดอกไม้แล้วจิตสงบ หรือดูดอกไม้ เป็นสื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า จิตจดจ่ออย่างนี้ จิตจะได้สมาธิ ใจได้สมาธิ ก็เริ่มตั้งแต่อุปจาระเป็นต้นไป ถ้าจิตมีปัญญาแก่กล้า เห็นดอกไม้ก็ไม่ใช่เรา ดอกไม้ก็ไม่เที่ยง เราต่อไปก็ไม่เที่ยงเหมือนดอกไม้ ไม่ได้คิด รู้สึกเอา ก็ได้ปัญญา จิตพอมีปัญญามันจะเบา มันจะคลายออก ไม่ใช่เอาเข้า อย่างคนเมื่อเช้าที่มาส่งการบ้าน จิตมันคลายออก แต่เวลาเกิดความจงใจ แม้แต่จงใจปฏิบัติ จงใจจะดูสภาวะ ความจงใจแม้แต่เล็กน้อยเกิดขึ้น การสร้างภพของจิตก็เกิดขึ้น ทันทีที่จิตสร้างภพขึ้นมา ความทุกข์ก็เกิดขึ้นทันที มันจะแน่น แล้วจะอึดอัด </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> เพราะฉะนั้นเวลา ถ้าเราภาวนาละเอียดขึ้นมา เราก็จะเห็นมากกว่า ที่ว่าทั่วๆ ไปเห็นว่า วันนี้ใจมันแน่น แต่จะเห็นต้นตอ เวลาใจมีความอยาก เวลาใจมีความยึดถือ ใจก็จะเกิดความปรุงแต่ง เกิดความจงใจ คือเกิดการกระทำกรรม หรือการสร้างภพ การทำกรรมของจิต ก็คือการสร้างภพนั่นเอง พอจิตสร้างภพ ไม่ว่าจะเป็นภพที่ดี ภพที่วิเศษขนาดไหน มันก็ทุกข์ มันจะทุกข์ทันทีเลย จากจิตที่ว่างเปล่า ไม่มีอะไร มีแต่ความรู้ตื่นเบิกบาน ทันทีที่เกิดความจงใจจะไปดูมัน ความทุกข์ก็เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าบอก “ภพแม้แต่จะเล็กน้อย หรือดีวิเศษแค่ไหนก็ตาม ก็เหมือนอุจจาระ” จะเป็นก้อนเล็ก ก้อนใหญ่ อึเปียก อึแห้งอะไร ก็ไม่น่าสนใจทั้งนั้น ไม่น่ารับประทานทั้งสิ้น ฉะนั้นถ้าเราภาวนาจนจิตเราละเอียด เราเห็นว่าจิตอยาก จิตยึด จิตก็ทุกข์ ก็ตามรู้ตามดูไป เราก็จะเห็น ทั้งวันไม่มีอะไรหรอก มีแต่ความปรุงแต่งเกิดขึ้น แล้วทุกข์ก็เกิดขึ้น ค่อยดู ไม่ต้องหาทางแก้ไข ถ้าหาทางแก้ไข ก็คือการสร้างภพอีกอย่างหนึ่งขึ้นมา </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ไม่ต้องทำอะไร มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลางเรื่อยๆ ไป แล้วสติปัญญาจะค่อยพัฒนาแก่กล้าขึ้น ใจจะปล่อยวางจางคลายจากโลกมากขึ้นๆ พอใจมันคลายตรงนี้ มันจะรู้เลยว่า ในโลกนี้ไม่มีสาระ ตลอดชีวิตที่ผ่านมา เราถูกหลอกให้วิ่งพล่านๆ แสวงหาสิ่งนั้นสิ่งนี้ เพื่อวันหนึ่งจะสูญเสียมันทั้งหมดไป ใจฉลาดขึ้นมา ใจมีปัญญาขึ้นมา ใจก็ค่อยสงบ ใจมีความสุข </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ความสุขจากการที่เราเกิดปัญญา มันมีความสุขบอกไม่ถูก แล้วความสุขนี้ จะทรงอยู่ได้ไม่เกิน 7 วันก็เสื่อม เราก็ไม่ต้องโหยหามัน ถ้าเราพยายามจะให้ได้คืนมา อันนั้นเรากำลังทำกรรมอีกรอบหนึ่งแล้ว เรากำลังสร้างภพอีกแล้ว ให้รู้อย่างที่มันกำลังเป็น รู้ไปเรื่อยๆ จิตจะค่อยแก่กล้า มีปัญญาแก่กล้ามากขึ้นๆ ใจมันก็ค่อยวางความปรุงแต่งไปเรื่อย ไม่ไปหลงปรุงแต่งมันเสียเอง แต่จิตมันก็ยังปรุงแต่งเล็กๆ น้อยๆ ของมันอย่างนี้ ดูไปเรื่อยๆ ถึงวันหนึ่งจิตมันก็ปล่อยวางได้ แล้วมันจะรู้เลย สังขารคือความปรุงแต่งทั้งหลาย สงบเสียได้เป็นสุข ถ้าเรายังหลงในความปรุงแต่ง กระทั่งปรุงดีก็ทุกข์ เพราะจิตสร้างภพ สร้างชาติ สร้างทุกข์ขึ้นมา </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 31 สิงหาคม 2567 </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> {{法谈泰文全篇}} </div> {{课程导航}} <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> [[Category:隆波帕默尊者|D]] </div>
导航
导航
首页
随机页面
Wiki工具
Wiki工具
特殊页面
获取缩短的URL
页面工具
页面工具
用户页面工具
更多
翻译
可打印版本