匿名
未登录
中文(简体)
登录
法藏
搜索
有觉性 以安住且中立的心 照见身心的实相
导出翻译
来自法藏
命名空间
更多
更多
页面操作
语言统计
消息组统计
导出
设置
组
ABBREVIATIONS
ANUMODANĀ
Buddhadhamma-The Laws of Nature and Their Benefits to Life-by Bhikkhu P. A. Payutto
D17.26《八支圣道》-隆波帕默尊者-2017年12月24日
D24.65《要小心因禅定而引发的邪见》- 隆波帕默尊者-2024年8月4日
D24.67《吉祥的生活始于结交善友》-隆波帕默尊者-2024年8月11日
D24.73《拥有什么,都会因此而苦》-隆波帕默尊者-2024年8月31日
D24.76《隆波帕默尊者开示》-2024年9月7日
D24.79《隆波帕默尊者开示》-2024年9月15日
D24.84《隆波帕默尊者开示》-2024年10月5日
FOREWORD BY THE PRESIDENT OF THE BUDDHADHAMMA FOUNDATION
FOREWORD BY THE TRANSLATOR
FOREWORD BY VEN. AJAHN JAYASARO
INTRODUCTION
PART 1: MIDDLE TEACHING
คุณสมบัติของชาวพุทธที่ดี
ร่างกายโดนความทุกข์ขย้ำอยู่ตลอดเวลา
อยู่กับโลกให้เป็นจะภาวนาง่าย-11 สิงหาคม 2567
เราสามารถปฏิบัติธรรมได้ตลอดเวลา
语言
aa - Afar
ab - Abkhazian
abs - Ambonese Malay
ace - Achinese
ady - Adyghe
ady-cyrl - Adyghe (Cyrillic script)
aeb - Tunisian Arabic
aeb-arab - Tunisian Arabic (Arabic script)
aeb-latn - Tunisian Arabic (Latin script)
af - Afrikaans
ak - Akan
aln - Gheg Albanian
alt - Southern Altai
am - Amharic
ami - Amis
an - Aragonese
ang - Old English
anp - Angika
ar - Arabic
arc - Aramaic
arn - Mapuche
arq - Algerian Arabic
ary - Moroccan Arabic
arz - Egyptian Arabic
as - Assamese
ase - American Sign Language
ast - Asturian
atj - Atikamekw
av - Avaric
avk - Kotava
awa - Awadhi
ay - Aymara
az - Azerbaijani
azb - South Azerbaijani
ba - Bashkir
ban - Balinese
ban-bali - ᬩᬲᬩᬮᬶ
bar - Bavarian
bbc - Batak Toba
bbc-latn - Batak Toba (Latin script)
bcc - Southern Balochi
bci - Baoulé
bcl - Central Bikol
be - Belarusian
be-tarask - Belarusian (Taraškievica orthography)
bg - Bulgarian
bgn - Western Balochi
bh - Bhojpuri
bho - Bhojpuri
bi - Bislama
bjn - Banjar
blk - Pa'O
bm - Bambara
bn - Bangla
bo - Tibetan
bpy - Bishnupriya
bqi - Bakhtiari
br - Breton
brh - Brahui
bs - Bosnian
btm - Batak Mandailing
bto - Iriga Bicolano
bug - Buginese
bxr - Russia Buriat
ca - Catalan
cbk-zam - Chavacano
cdo - Min Dong Chinese
ce - Chechen
ceb - Cebuano
ch - Chamorro
cho - Choctaw
chr - Cherokee
chy - Cheyenne
ckb - Central Kurdish
co - Corsican
cps - Capiznon
cr - Cree
crh - Crimean Tatar
crh-cyrl - Crimean Tatar (Cyrillic script)
crh-latn - Crimean Tatar (Latin script)
cs - Czech
csb - Kashubian
cu - Church Slavic
cv - Chuvash
cy - Welsh
da - Danish
dag - Dagbani
de - German
de-at - Austrian German
de-ch - Swiss High German
de-formal - German (formal address)
din - Dinka
diq - Zazaki
dsb - Lower Sorbian
dtp - Central Dusun
dty - Doteli
dv - Divehi
dz - Dzongkha
ee - Ewe
egl - Emilian
el - Greek
eml - Emiliano-Romagnolo
en - English
en-ca - Canadian English
en-gb - British English
eo - Esperanto
es - Spanish
es-419 - Latin American Spanish
es-formal - Spanish (formal address)
et - Estonian
eu - Basque
ext - Extremaduran
fa - Persian
fat - Fanti
ff - Fulah
fi - Finnish
fit - Tornedalen Finnish
fj - Fijian
fo - Faroese
fon - Fon
fr - French
frc - Cajun French
frp - Arpitan
frr - Northern Frisian
fur - Friulian
fy - Western Frisian
ga - Irish
gaa - Ga
gag - Gagauz
gan - Gan Chinese
gan-hans - Gan (Simplified)
gan-hant - Gan (Traditional)
gcr - Guianan Creole
gd - Scottish Gaelic
gl - Galician
gld - Nanai
glk - Gilaki
gn - Guarani
gom - Goan Konkani
gom-deva - Goan Konkani (Devanagari script)
gom-latn - Goan Konkani (Latin script)
gor - Gorontalo
got - Gothic
gpe - Ghanaian Pidgin
grc - Ancient Greek
gsw - Swiss German
gu - Gujarati
guc - Wayuu
gur - Frafra
guw - Gun
gv - Manx
ha - Hausa
hak - Hakka Chinese
haw - Hawaiian
he - Hebrew
hi - Hindi
hif - Fiji Hindi
hif-latn - Fiji Hindi (Latin script)
hil - Hiligaynon
ho - Hiri Motu
hr - Croatian
hrx - Hunsrik
hsb - Upper Sorbian
hsn - Xiang Chinese
ht - Haitian Creole
hu - Hungarian
hu-formal - Hungarian (formal address)
hy - Armenian
hyw - Western Armenian
hz - Herero
ia - Interlingua
id - Indonesian
ie - Interlingue
ig - Igbo
ii - Sichuan Yi
ik - Inupiaq
ike-cans - Eastern Canadian (Aboriginal syllabics)
ike-latn - Eastern Canadian (Latin script)
ilo - Iloko
inh - Ingush
io - Ido
is - Icelandic
it - Italian
iu - Inuktitut
ja - Japanese
jam - Jamaican Creole English
jbo - Lojban
jut - Jutish
jv - Javanese
ka - Georgian
kaa - Kara-Kalpak
kab - Kabyle
kbd - Kabardian
kbd-cyrl - Kabardian (Cyrillic script)
kbp - Kabiye
kcg - Tyap
kea - Kabuverdianu
kg - Kongo
khw - Khowar
ki - Kikuyu
kiu - Kirmanjki
kj - Kuanyama
kjp - Eastern Pwo
kk - Kazakh
kk-arab - Kazakh (Arabic script)
kk-cn - Kazakh (China)
kk-cyrl - Kazakh (Cyrillic script)
kk-kz - Kazakh (Kazakhstan)
kk-latn - Kazakh (Latin script)
kk-tr - Kazakh (Turkey)
kl - Kalaallisut
km - Khmer
kn - Kannada
ko - Korean
ko-kp - Korean (North Korea)
koi - Komi-Permyak
kr - Kanuri
krc - Karachay-Balkar
kri - Krio
krj - Kinaray-a
krl - Karelian
ks - Kashmiri
ks-arab - Kashmiri (Arabic script)
ks-deva - Kashmiri (Devanagari script)
ksh - Colognian
ksw - S'gaw Karen
ku - Kurdish
ku-arab - Kurdish (Arabic script)
ku-latn - Kurdish (Latin script)
kum - Kumyk
kv - Komi
kw - Cornish
ky - Kyrgyz
la - Latin
lad - Ladino
lb - Luxembourgish
lbe - Lak
lez - Lezghian
lfn - Lingua Franca Nova
lg - Ganda
li - Limburgish
lij - Ligurian
liv - Livonian
lki - Laki
lld - Ladin
lmo - Lombard
ln - Lingala
lo - Lao
loz - Lozi
lrc - Northern Luri
lt - Lithuanian
ltg - Latgalian
lus - Mizo
luz - Southern Luri
lv - Latvian
lzh - Literary Chinese
lzz - Laz
mad - Madurese
mai - Maithili
map-bms - Basa Banyumasan
mdf - Moksha
mg - Malagasy
mh - Marshallese
mhr - Eastern Mari
mi - Maori
min - Minangkabau
mk - Macedonian
ml - Malayalam
mn - Mongolian
mni - Manipuri
mnw - Mon
mo - Moldovan
mos - Mossi
mr - Marathi
mrh - Mara
mrj - Western Mari
ms - Malay
ms-arab - Malay (Jawi script)
mt - Maltese
mus - Muscogee
mwl - Mirandese
my - Burmese
myv - Erzya
mzn - Mazanderani
na - Nauru
nah - Nāhuatl
nan - Min Nan Chinese
nap - Neapolitan
nb - Norwegian Bokmål
nds - Low German
nds-nl - Low Saxon
ne - Nepali
new - Newari
ng - Ndonga
nia - Nias
niu - Niuean
nl - Dutch
nl-informal - Dutch (informal address)
nmz - Nawdm
nn - Norwegian Nynorsk
no - Norwegian
nod - Northern Thai
nov - Novial
nqo - N’Ko
nrm - Norman
nso - Northern Sotho
nv - Navajo
ny - Nyanja
nyn - Nyankole
nys - Nyungar
oc - Occitan
ojb - Northwestern Ojibwe
olo - Livvi-Karelian
om - Oromo
or - Odia
os - Ossetic
pa - Punjabi
pag - Pangasinan
pam - Pampanga
pap - Papiamento
pcd - Picard
pcm - Nigerian Pidgin
pdc - Pennsylvania German
pdt - Plautdietsch
pfl - Palatine German
pi - Pali
pih - Norfuk / Pitkern
pl - Polish
pms - Piedmontese
pnb - Western Punjabi
pnt - Pontic
prg - Prussian
ps - Pashto
pt - Portuguese
pt-br - Brazilian Portuguese
pwn - Paiwan
qqq - Message documentation
qu - Quechua
qug - Chimborazo Highland Quichua
rgn - Romagnol
rif - Riffian
rm - Romansh
rmc - Carpathian Romani
rmy - Vlax Romani
rn - Rundi
ro - Romanian
roa-tara - Tarantino
rsk - Pannonian Rusyn
ru - Russian
rue - Rusyn
rup - Aromanian
ruq - Megleno-Romanian
ruq-cyrl - Megleno-Romanian (Cyrillic script)
ruq-latn - Megleno-Romanian (Latin script)
rw - Kinyarwanda
ryu - Okinawan
sa - Sanskrit
sah - Sakha
sat - Santali
sc - Sardinian
scn - Sicilian
sco - Scots
sd - Sindhi
sdc - Sassarese Sardinian
sdh - Southern Kurdish
se - Northern Sami
se-fi - davvisámegiella (Suoma bealde)
se-no - davvisámegiella (Norgga bealde)
se-se - davvisámegiella (Ruoŧa bealde)
sei - Seri
ses - Koyraboro Senni
sg - Sango
sgs - Samogitian
sh - Serbo-Croatian
shi - Tachelhit
shi-latn - Tachelhit (Latin script)
shi-tfng - Tachelhit (Tifinagh script)
shn - Shan
shy - Shawiya
shy-latn - Shawiya (Latin script)
si - Sinhala
simple - Simple English
sjd - Kildin Sami
sje - Pite Sami
sk - Slovak
skr - Saraiki
skr-arab - Saraiki (Arabic script)
sl - Slovenian
sli - Lower Silesian
sm - Samoan
sma - Southern Sami
smn - Inari Sami
sms - Skolt Sami
sn - Shona
so - Somali
sq - Albanian
sr - Serbian
sr-ec - Serbian (Cyrillic script)
sr-el - Serbian (Latin script)
srn - Sranan Tongo
sro - Campidanese Sardinian
ss - Swati
st - Southern Sotho
stq - Saterland Frisian
sty - Siberian Tatar
su - Sundanese
sv - Swedish
sw - Swahili
syl - Sylheti
szl - Silesian
szy - Sakizaya
ta - Tamil
tay - Tayal
tcy - Tulu
tdd - Tai Nuea
te - Telugu
tet - Tetum
tg - Tajik
tg-cyrl - Tajik (Cyrillic script)
tg-latn - Tajik (Latin script)
th - Thai
ti - Tigrinya
tk - Turkmen
tl - Tagalog
tly - Talysh
tly-cyrl - толыши
tn - Tswana
to - Tongan
tpi - Tok Pisin
tr - Turkish
tru - Turoyo
trv - Taroko
ts - Tsonga
tt - Tatar
tt-cyrl - Tatar (Cyrillic script)
tt-latn - Tatar (Latin script)
tum - Tumbuka
tw - Twi
ty - Tahitian
tyv - Tuvinian
tzm - Central Atlas Tamazight
udm - Udmurt
ug - Uyghur
ug-arab - Uyghur (Arabic script)
ug-latn - Uyghur (Latin script)
uk - Ukrainian
ur - Urdu
uz - Uzbek
uz-cyrl - Uzbek (Cyrillic script)
uz-latn - Uzbek (Latin script)
ve - Venda
vec - Venetian
vep - Veps
vi - Vietnamese
vls - West Flemish
vmf - Main-Franconian
vmw - Makhuwa
vo - Volapük
vot - Votic
vro - Võro
wa - Walloon
war - Waray
wls - Wallisian
wo - Wolof
wuu - Wu Chinese
xal - Kalmyk
xh - Xhosa
xmf - Mingrelian
xsy - Saisiyat
yi - Yiddish
yo - Yoruba
yrl - Nheengatu
yue - Cantonese
za - Zhuang
zea - Zeelandic
zgh - Standard Moroccan Tamazight
zh - Chinese
zh-cn - Chinese (China)
zh-hans - Simplified Chinese
zh-hant - Traditional Chinese
zh-hk - Chinese (Hong Kong)
zh-mo - Chinese (Macau)
zh-my - Chinese (Malaysia)
zh-sg - Chinese (Singapore)
zh-tw - Chinese (Taiwan)
zu - Zulu
格式
导出离线翻译文件
以原始格式导出
以 CSV 格式导出
获取
<languages/> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> คุณสมบัติของชาวพุทธที่ดี การภาวนาอย่าใจร้อน มีคนมาถามหลวงพ่อเรื่อยๆ ว่าทำไมมันไม่ก้าวหน้าสักที จะก้าวไปไหน ไม่ต้องก้าวไปไหน อยู่กับปัจจุบัน คิดแต่จะไป จะไปไหน อยู่กับปัจจุบันให้ได้ มันจะไม่มีคําว่า ช้าไป เร็วไป ช้าไปก็เพราะมันไม่ได้อย่างใจ เร็วไปก็เหมือนกัน </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> บางคนภาวนาคิดเยอะ กลัวจะได้มรรคผลเร็ว มี ประหลาดๆ บางคนกลัวว่าถ้าเกิดภาวนาแล้วเกิดเป็นพระอนาคามีอย่างนี้ จะเสพกามไม่ได้ โอ๊ย อย่าไปกลัวเลย คนเขาตั้งใจภาวนา เขายังไปไม่ค่อยจะได้ นี่กลัวก็ไปไม่ได้ พวกหนึ่งก็อยากเหลือเกิน อยากได้ธรรมะเร็วๆ อยากนิพพาน นิพพานไม่ได้มาเพราะความอยากหรอก แต่ได้มาเพราะสิ้นอยาก แล้วสิ้นอยากก็เพราะมีปัญญา มีเหตุมีผลทั้งหมด ถ้าเรามีปัญญาเห็นความจริงของรูปนามกายใจ ถึงจะสิ้นอยาก ถ้าปัญญาอื่นๆ ก็ยังไม่สิ้นอยากหรอก </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> คุณสมบัติของจิตที่จะตกกระแสธรรมได้ ฉะนั้นงานหลักของเราจริงๆ คือเรียนรู้กายรู้ใจของเรา หน้าที่ของชาวพุทธเราคือเราเป็นนักศึกษาๆ ศึกษาอะไร ศึกษาตัวเอง เรียนรู้กายเรียนรู้ใจของตัวเองไป พอมันรู้ถ่องแท้ กายนี้ใจนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีอะไร ไม่มีตัวมีตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา อันนี้จิตเขาเรียกว่ามันตกกระแสธรรมแล้ว จิตตกกระแสธรรม มันก็จะเที่ยงต่อการที่จะพ้นทุกข์ไป วันหนึ่งจะต้องได้เป็นพระอรหันต์แน่ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ฉะนั้นเรามาทำความเข้าใจ จิตที่มันจะตกกระแสธรรมได้ คุณสมบัติสําคัญของพระโสดาบัน เราก็เรียนเรียกโสตาปัตติยังคะ ไปอ่านเอาเองก็แล้วกัน เดี๋ยวนี้ตําราอยู่ในอินเทอร์เน็ตเยอะแยะ สมัยก่อนไม่ค่อยมี อยากเรียนอะไรสักเรื่อง ค้นหนังสือแทบตายเลย เดี๋ยวนี้ง่าย ถ้าเราอยากไปถึงความเป็นพระโสดาบันเร็วๆ ก็อย่าไปอยาก แต่ทำหน้าที่ศึกษาตัวเองให้ถ่องแท้ไป สํารวจใจเรา ใจเรามีความมั่นคงต่อพระรัตนตรัยไหม ใจเรามีศีลดีงามไหม ถ้ายังไม่ดีงามก็พยายามถือให้มันดี </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> คุณสมบัติของพระโสดาบัน ท่านนับถือพระรัตนตรัยแน่นแฟ้น ของเรายังคลอนแคลนไหม สํารวจเอา เอาเข้าจริงก็คลอนแคลน คนที่นับถือพระรัตนตรัยจริงๆ มีไม่มากหรอก ส่วนใหญ่ก็นับถือผลประโยชน์ อย่างไปไหว้พระ ก็หวังว่าจะเฮงจะรวยอะไรอย่างนี้ อันนั้นไม่ได้นับถือพระรัตนตรัย ถึงไปไหว้พระก็ตามก็ยังไม่ใช่นับถือพระรัตนตรัย เข้าไปหาพระสงฆ์ครูบาอาจารย์ ไปให้รดน้ำมนต์ ขอโชคขอลาภอะไร อันนั้นก็ไม่เรียกว่านับถือว่าพระรัตนตรัย นอกรีตนอกรอยไป นับถือพระรัตนตรัยก็คือเป็นที่พึ่งที่อาศัยของเราเพื่อความพ้นทุกข์จริงๆ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> เราดู พระพุทธเจ้าท่านไม่อยู่แล้ว สิ่งที่ท่านให้เป็นตัวแทนท่านก็คือธรรมวินัย พระธรรม พระวินัย เราเคารพพระธรรมพระวินัยจริงไหม อย่างพระธรรมบอกว่าไม่ให้ทำชั่ว เราขยันทำไหม ถ้าเรายังทำชั่วได้หน้าตาเฉย ก็เรียกเราไม่เคารพพระธรรมวินัย ก็เรียกเราไม่ได้เคารพพระรัตนตรัย ไม่แน่นแฟ้น </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> หาพระสงฆ์ก็นับถือเป็นพระเกจิ ไม่ใช่ว่าท่านไม่ดี พระเกจิท่านก็ดีอย่างของท่าน ท่านก็สงเคราะห์พวกที่อินทรีย์อ่อน อย่างแจกวัตถุมงคลแจกอะไร เป็นที่พึ่งทางใจของคนที่ยังอินทรีย์อ่อนอยู่ คนไหนอินทรีย์แข็งท่านก็สอนธรรมะให้ ครูบาอาจารย์กระทั่งในสายวัดป่าท่านก็ทำแบบนี้ก็มี หลวงปู่มั่นท่านก็ยังเคยจารตะกรุดเลย แต่ว่าทำไม่เยอะ เพราะวัตถุประสงค์หลักของท่าน งานหลักของท่านคืองานสืบทอดธรรมะ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ฉะนั้นเราสํารวจตัวเอง เรามั่นคงกับพระรัตนตรัยแค่ไหน หรือเราเห็นพระรัตนตรัยเป็นบ่อเงินบ่อทอง เป็นที่แสวงหาผลประโยชน์ คนจํานวนมากเอาศาสนาไปแสวงหาผลประโยชน์ ถ้ามาอยู่แถววัดหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ไม่ให้เข้าวัด ไล่ไป ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นของสูง ไม่ใช่เอาไว้หากิน </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ดูตัวเองอีกข้อหนึ่ง นอกจากเราเคารพพระรัตนตรัยจริงจังไหม เคารพพระรัตนตรัย ต้องเรียนธรรมะ ต้องศึกษา พระธรรมวินัยเป็นตัวแทนของพระศาสดา อีกข้อหนึ่งเรามีศีลดีงามไหม สํารวจตัวเอง ถ้าศีลเรายังด่างพร้อยอยู่ เราก็ยังไม่ใช่ชาวพุทธที่ดี ไม่ใช่ลูกที่ดีของพระพุทธเจ้า เราไม่เคารพพระพุทธเจ้า ท่านสอนให้เราถือศีลแล้วเราไม่ถืออะไรอย่างนี้ ถ้าเรายังทำผิดศีลหน้าตาเฉย จะบอกว่าภาวนาไม่ก้าวหน้า ก็อย่าพูดดีกว่า ไม่ใช่ชาวพุทธที่แท้จริง จะก้าวหน้าอะไร ไม่ลงนรกก็บุญแล้ว </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> อีกข้อหนึ่งก็คือเราเชื่อกฎแห่งกรรมไหม หรือเชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง หรือบางวันไม่เชื่อเลยอะไรอย่างนี้ สํารวจตัวเอง คนที่เชื่อกฎแห่งกรรมก็จะเชื่อว่า เราจะต้องพ้นทุกข์ไปด้วยความเพียรของเราเอง เราทำกรรมที่เหมาะสมเราก็ได้รับผลที่เหมาะสม เราทำทาน ถือศีล ภาวนาถูกต้อง ทำมาก เราก็ได้ผล ได้มรรคได้ผลไป ฉะนั้นมันอยู่ที่การกระทำของเราเอง อย่างถ้าเราทำชั่วเราไปขอพรพระทั้งหลายอะไรนี่ ขอพรเทวดาทั้งหลายไม่มีใครช่วยเราได้ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> มงคลตื่นข่าว ฉะนั้นชาวพุทธที่ดี อย่างพระโสดาบันท่านจะไม่เชื่อเรื่องมงคลตื่นข่าว มงคลตื่นข่าวก็คือมีข่าวว่าอันนั้นดีอันนี้ดี ก็ตื่นเต้น ดีอกดีใจ เมื่อก่อนหลวงพ่อก็เห็นบ่อยๆ กระทั่งบางเรื่องไม่น่าจะเป็นมงคลตื่นข่าวแต่เอาเข้าจริงแล้วก็เป็นมงคลตื่นข่าว อย่างมีพระบางองค์คนนับถือเยอะ ได้ยินว่าพระองค์นี้ดี นับถือ คนนับถือเยอะ มันต้องดีแน่นอนอะไรอย่างนี้ เวลาพระนี้จัดกิจกรรมไปบิณฑบาต โอ๊ย คนแห่เป็นพันเป็นหมื่นคน นี่เชื่อมงคลตื่นข่าว </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> หรือเมื่อก่อนก็เชื่อที่อินเดีย ฤๅษีชีไพรมีฤทธิ์เยอะอย่างโน้นอย่างนี้ หรือเชื่อว่าพระพุทธเจ้ากลับชาติมาเกิดที่เนปาลอะไรอย่างนี้ พวกนี้เรียกมงคลตื่นข่าวทั้งสิ้นมันไม่มีเหตุมีผลอะไร จิตใต้สํานึกที่เราวิ่งไปหาสิ่งเหล่านี้ก็เพราะความอ่อนแอของเราเอง เราไม่คิดจะพึ่งตัวเอง ไม่คิดจะสร้างคุณงามความดีด้วยตัวเอง คิดจะพึ่งคนอื่น คิดจะพึ่งสิ่งอื่น หรือต้นตะเคียนต้นนี้ขลัง ไปไหว้ไปกราบ สารพัดที่จะมีจะเป็น </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ในเมืองไทยเต็มไปด้วยนิยายสร้างกันขึ้นมา แล้วก็มีสินค้าตามนิยายขึ้นมาอีก แล้วก็เห่อเป็นรุ่นๆ ไป เป็นช่วงๆ ไป ช่วงนี้เห่อเรื่องนี้ๆ แล้วสุดท้ายชีวิตมันก็ทุกข์เหมือนเดิม ไม่เห็นมันจะมีอะไรดีขึ้นมา เพราะฉะนั้นเราต้องไม่งมงาย ความงมงายไม่ใช่เรื่องของชาวพุทธ พระโสดาบันไม่งมงาย เราอยากเป็นโสดาบัน เราก็อย่างมงาย เราต้องเชื่อเรื่องกรรม มีกรรมกับมีผลของกรรม ต้องค่อยๆ ฝึกตัวเอง อีกอันหนึ่งพอเรารู้ว่าเราต้องพึ่งตัวเอง แล้วก็ประพฤติปฏิบัติถูกต้อง </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> บางคนเป็นโรคมงคลตื่นข่าว ท่านผู้นี้ดี เราก็ไปทำบุญด้วย มีเงินมีทองทุ่มเข้าไปเป็นล้านเลย หวังว่าเราจะได้ดิบได้ดี เมื่อก่อนก็มีแบบในเครื่องแบบพระนี่ล่ะ ใครอยากภาวนาดีๆ ต้องจ่ายสตางค์แล้วก็พาขึ้นภูเขาไปภาวนา ใจก็ปิติ ได้เข้าใกล้คนดัง ปีติ ภาวนาดี อันนั้นไม่ใช่การทำบุญในขอบเขตของพระพุทธศาสนา กระทั่งเอาเงินไปให้วัดให้พระ แต่ว่าให้โดยวัตถุประสงค์ที่ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่บํารุงพระศาสนา แต่ให้เพื่อติดสินบนจะได้เป็นคนใกล้ชิดจะได้อะไรอย่างนี้ อันนั้นเรียกเป็นบุญนอกพระพุทธศาสนาแล้ว </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> เราเห็นคนศาสนาอื่นเขาลําบาก เราสงเคราะห์ช่วยเหลือ เขาอดข้าวอะไรอย่างนี้ ให้ข้าวเขากิน อันนี้เป็นบุญในพระศาสนา กระทั่งทำกับคนนอกศาสนา มันทำด้วยเหตุด้วยผล ทำไปเพื่อลดละกิเลสของตัวเอง สิ่งเหล่านี้เราควรจะต้องประพฤติปฏิบัติ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> เราต้องเคารพพระธรรมพระวินัย พยายามพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ ไม่รีบร้อน ไม่ได้ภาวนาด้วยความอยาก อยากจะดีเร็วๆ ความอยากเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ความอยากไม่ใช่เหตุแห่งความพ้นทุกข์ ฉะนั้นอย่าภาวนาด้วยความอยาก ให้ตั้งใจอย่างเดียวว่าเราจะภาวนาเป็นเครื่องบูชาพระพุทธเจ้า เราจะปฏิบัติบูชาไม่ได้เพื่อเอาอะไรเข้าตัว เราจะบูชาคุณของท่าน ท่านมีพระคุณมากมาย ท่านค้นคว้าธรรมะมาด้วยความยากลําบาก แล้วก็อุตส่าห์มาสอนด้วยความยากลําบาก </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> สอนธรรมะไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อก่อนมีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านบอกว่าสอนธรรมะเหมือนเข็นควายขึ้นภูเขา โบราณมันมีคําหนึ่ง เข็นครกขึ้นภูเขา ครกตำข้าวลูกใหญ่ๆ เข็นไม่ใช่ง่าย เข็นครกขึ้นภูเขา ครูบาอาจารย์ท่านบอกรุ่นนี้ไม่ใช่ครกแล้ว รุ่นนี้เข็นควายขึ้นภูเขา เข็นมันมากๆ มันก็แว้งขวิดเอา </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> เราต้องพยายามช่วยตัวเองให้มาก เรียนหลักของการปฏิบัติ เราลงมือปฏิบัติไม่ใช่เพื่อเอาผลประโยชน์อะไรเข้าตัว ไม่ใช่เพื่อกระทั่งมรรคผลนิพพาน ถือว่าเราปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้า ท่านตรัสรู้มาลําบาก ท่านสอนด้วยความยากลําบาก ต้องต่อสู้อะไรมากมาย อย่างเราเคยสวดไหมบทพาหุงฯ นั่นเป็นตัวอย่างการต่อสู้ของพระพุทธเจ้า กว่าจะให้ศาสนาดํารงมั่นคงอยู่ได้ต้องผ่านศึกผ่านอะไรมามากมายเหลือเกิน เพราะฉะนั้นเป็นคุณของท่าน และยิ่งเราภาวนา เรารู้เราเข้าใจตามท่านไปเรื่อยๆ เป็นลําดับ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> เราจะอัศจรรย์ในพระปัญญาตรัสรู้ของท่าน ยิ่งเราภาวนาเข้าถึงจิตถึงใจจนเราเห็นกระบวนการทำงานของจิตใจ คือปฏิจจิสมุปบาท โอ จิตมันปรุงทุกข์ขึ้นมาได้อย่างนี้ๆ ด้วยเหตุด้วยปัจจัยอย่างนี้ๆ อัศจรรย์มาก อัศจรรย์เหลือเกินพระปัญญาตรัสรู้ ยิ่งเราภาวนาเราก็ยิ่งเคารพยิ่งศรัทธาแน่นแฟ้นมากขึ้นเรื่อยๆ เรื่อยๆ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ยังเป็นปุถุชน ศรัทธาก็ยังกลับกลอกอยู่ เรียกศรัทธาที่แกว่งไปมา ถ้าเราภาวนาจนเราเป็นพระโสดาบัน เราจะมีศรัทธาที่แน่นแฟ้น เรียกอจลศรัทธา ศรัทธาที่ไม่คลอนแคลน ไม่งอนแง่น ไม่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เพราะอะไร เพราะเราเห็นความจริงแล้ว ว่าพระพุทธเจ้าสอนความจริง เราลงมือปฏิบัติเข้าถึงความจริงอันนั้น เราพ้นทุกข์ได้จริงๆ พระพุทธเจ้ามีจริง พระธรรมมีจริง พระสงฆ์มีจริง ศรัทธาอย่างนี้มันแน่นแฟ้น ศรัทธาของปุถุชนคลอนแคลน </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ อย่างพวกเราส่วนมากเราก็คงจะเป็นปุถุชน ถ้าเราเป็นปุถุชนทำอย่างไร ศรัทธาที่คลอนแคลนนี้ถึงจะเอาตัวรอดได้ ให้รู้จักคบคนที่ดีๆ คนที่มีศีลมีธรรมด้วยกัน มีเพื่อนกัลยาณมิตร ภาวนา มีเพื่อนภาวนาไปด้วยกัน บางช่วงคนนี้ท้อใจ อีกคนยังฮึกเหิมอยู่ ก็กระตุ้นเตือนกัน พากันเดินไป ประคับประคองกันเดินไป </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ยิ่งถ้าเราสามารถชวนคนในบ้านเรา อย่างสามีชวนภรรยาภาวนาไปด้วยกันอะไรอย่างนี้ ภรรยาชวนสามีภาวนาไปด้วยกัน พ่อแม่ลูกภาวนาด้วยกัน มันจะกระตุ้นเตือนกัน วันนี้คนนี้ท้อแท้ อีกคนยังเข้มแข็งก็ชวนกัน แต่ถ้าเราคบคนเหลวไหล เรามีจิตใจเข้มแข็งมั่นคงต่อพระรัตนตรัย เราไปคบคนเหลวไหล มันก็ชวนเราเหลวไหล สุดท้ายเราก็กลายเป็นคนเหลวไหล เราคบคนชนิดไหนเรามีแนวโน้มที่จะกลายเป็นคนชนิดนั้น </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> เพราะฉะนั้นการเลือกคบคนเป็นเรื่องสำคัญที่สุดเลย ที่จะดำรงตัวเองอยู่ท่ามกลางศรัทธาที่ยังกวัดแกว่งอยู่ เพราะฉะนั้นถ้าเราไปดูมงคลสูตร สิ่งที่เป็นมงคลกับชีวิตเรา ข้อที่หนึ่งคือไม่คบคนพาล คนที่ชักนําเราไปสู่ทางผิด ข้อที่สอง ให้คบบัณฑิต คือคนที่ชักนําเราไปสู่เส้นทางที่ถูกต้อง ถ้าจุดเริ่มต้นตรงนี้ผิด ไม่ต้องมาพูดเรื่องมรรคผลนิพพานแล้ว </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> พระพุทธเจ้าถึงบอกกัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ ของการประพฤติปฏิบัติธรรม คู่กับอีกสิ่งหนึ่งคือโยนิโสมนสิการ ท่านพูดไว้ 2 อย่าง บางที่ท่านก็บอกว่ากัลยาณมิตรเป็นเครื่องหมายแรกของอริยมรรค ท่านเปรียบเทียบเหมือนตอนพระอาทิตย์จะขึ้น พระอาทิตย์จะขึ้นมันจะมีแสงเงินแสงทอง แสงเงินฟ้ามันจะเริ่มขาวๆ ทางตะวันออกแล้วพอพระอาทิตย์มันขึ้นมากขึ้น ท้องฟ้าที่ขาวๆ มันจะเปลี่ยนเป็นสีแดง นี้ที่เรียกแสงเงินแสงทอง แสงเงินแสงทองนั้นเป็นเครื่องหมายแรกเรียกบุพนิมิต แสงเงินแสงทองเป็นบุพนิมิต คือเป็นเครื่องหมายแรกที่บอกเราว่าพระอาทิตย์กําลังจะขึ้น กัลยาณมิตร การที่เราได้คบคนดี ชักนํากันไปในทางดีในทางที่จะเจริญในธรรม เป็นเครื่องหมายแรกที่เราจะเข้าถึงอริยมรรคอริยผลได้ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> อีกที่หนึ่งท่านก็สอนบอกว่าโยนิโสมนสิการเป็นเครื่องหมายแรก ท่านสอนคนละคนกัน คนละคน คนนี้ควรสอนธรรมอันนี้ สอนว่าให้มีกัลยาณมิตร ท่านก็สอนคนนี้ให้มีกัลยาณมิตร คนนี้จิตใจเขาเข้มแข็งกว่า ไม่ต้องการพึ่งใครมากมาย เขาสามารถเดินได้ด้วยความเด็ดเดี่ยว ท่านก็สอนให้มีโยนิโสมนสิการ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ความเก่งของพระพุทธเจ้าท่านรู้จักจําแนกแจกธรรมที่สมควรแก่แต่ละคน แต่ละคนเหมาะกับธรรมะแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นเวลาท่านสอนธรรมะ บางทีสอนแตกต่างกัน ประโยคเดียวกันแต่ว่าสอนคนละคน ก็เนื้อในเปลี่ยนนิดหนึ่งอะไรอย่างนี้ เป็นคนละเรื่องไปเลย นี่เป็นความเก่งของท่าน ถ้าเราท่องตํารามาเจอใครเราก็บอก ให้มีกัลยาณมิตร ให้มีโยนิโสมนสิการ พูดไปอย่างนั้น เจอใครก็พูดเหมือนกันหมด ทั้งๆ ที่ธรรมะนั้นไม่ได้เหมาะกับคนๆ นั้น </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ฉะนั้นการถ่ายทอดธรรมะไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เรื่องยากเลย ไปแนะเขาผิดบาป ไปสอนให้เขาหลงทาง ทำให้การเดินทางในสังสารวัฏของเขายืดยาวออกไปอันตรายกับตัวเองด้วย อันตรายกับของคนอื่นเขาด้วย ทุกวันนี้เห็นไหม พวกเดียรถีย์ พวกอลัชชีออกมาสอนอะไรต่ออะไรกันเยอะแยะไปหมด แปลกๆ นอกพระไตรปิฎก พวกนี้เราอย่าไปเข้าใกล้ เข้าใกล้ไปคบคนพวกนี้ เราจะเสื่อม ดูคำสอน ศึกษาปริยัติไว้บ้างก็ดี เราจะได้รู้ว่าอันไหนถูกอันไหนผิด </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> หลวงพ่อก่อนที่จะภาวนา หลวงพ่ออ่านพระไตรปิฎกก่อน ที่อ่านพระไตรปิฎกเพราะว่าไม่รู้จะภาวนาอย่างไร ทำได้แต่สมถะ แล้วก็รู้ว่ากิเลสมันก็เหมือนเดิม ไม่เห็นมันจะลดลงตรงไหนเลย ความทุกข์มันก็เหมือนเดิม ไม่เห็นมันจะลดลงตรงไหนเลย ก็พยายามค้นคว้าในพระไตรปิฎก อ่านแล้วอ่านอีก อ่านหลายรอบ บางทีไม่ได้เรียนบาลีแต่ก็อุตส่าห์เอาพระไตรปิฎกบาลีมาวางทาบกับพระไตรปิฎกภาษาไทย ก็ดูคําแปลของเขาไปเรื่อยๆ พยายามค้นหาวิธีปฏิบัติ หาไม่เจอ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> จนมาได้กัลยาณมิตรคือหลวงปู่ดูลย์เป็นกัลยาณมิตร ไม่ใช่เป็นเพื่อน กัลยาณมิตรไม่ได้แปลว่าเพื่อน อย่างครูบาอาจารย์เป็นกัลยาณมิตร พระพุทธเจ้าเป็นยอดของกัลยาณมิตร เจอหลวงพ่อดูลย์ก็จับหลักได้ว่าต้องรู้เท่าทันจิตตนเองก่อน ให้จิตมันตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา เอาจิตที่ตั้งมั่นไปเรียนรู้ความจริงของรูปนามกายใจ จับหลักตัวนี้ได้เลยภาวนาได้ มีกัลยาณมิตร </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> โยนิโสมนสิการ เวลาภาวนาไปบางครั้งเกิดติดขัดขึ้นมา มีโยนิโสมนสิการ สังเกตตัวเอง อย่างภาวนาแล้วจิตมันว่างสว่างอยู่เป็นเดือนอยู่เป็นปี มีโยนิโสมนสิการ สังเกตตัวเองว่ามันต้องมีอะไรผิดแล้วล่ะ พระพุทธเจ้าบอกว่าจิตไม่เที่ยง ทำไมจิตเราเที่ยง ท่านบอกจิตเป็นทุกข์ ทำไมจิตเราเป็นสุข ท่านบอกจิตเป็นอนัตตา บังคับไม่ได้ ทำไมเราบังคับได้ มันผิดตรงไหน อย่างนี้เรียกว่าโยนิโสมนสิการ เรากําลังภาวนาไป เราพบสภาวะอย่างนี้ๆ เราพิจารณาด้วยคําสอนของพระพุทธเจ้า คําสอนของพระอรหันต์สาวกในพระไตรปิฎกอะไรอย่างนี้ มี </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> หรือคําสอนของครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์สอน หลวงพ่อยังไม่เชื่อเลย เคารพมากศรัทธามาก แต่เวลาครูบาอาจารย์สอน หลวงพ่อฟัง หลวงปู่ลย์เคยถามหลวงพ่อเลย วันหนึ่งท่านสอนบอก พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต จึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง เชื่อไหม เราก็อึกอัก แล้วบอก ผมยังไม่เห็นๆ แต่ผมจะจําไว้ บอกท่านอย่างนี้ ท่านยิ้มเลย ท่านบอกมันต้องอย่างนี้ ไม่ใช่เอะอะก็เชื่อเลย อันนั้นโง่ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> อย่างหลวงปู่ดูลย์ท่านบอกว่าให้ดูจิต “จิตที่ส่งออกนอกเป็นสมุทัย ผลที่จิตส่งออกนอกเป็นทุกข์ จิตเห็นอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค ผลที่จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ” ท่านสอนว่าให้รู้ทันจิตตัวเองนี่เป็นการเจริญมรรค หลวงพ่อก็งงแต่ว่าจําที่ท่านบอกไว้แล้วเอาไปลองทำดู ที่งงเพราะว่าพระพุทธเจ้าสอนว่าให้รู้ทุกข์ ทำไมหลวงปู่ดูลย์บอกให้รู้จิต เอ๊ะ ทำไมหลวงปู่สอนไม่เหมือนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ผิดแน่นอน หลวงปู่ก็ไม่น่าจะผิด </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> เราเองมีความเข้าใจอะไรที่ยังไม่เข้าถึงแก่นหรือเปล่า ไม่ได้คิดว่าพระไตรปิฎกผิด งมงายเชื่อแต่อาจารย์บอกพระไตรปิฎกผิด หรือเห็นว่าครูบาอาจารย์สอนอะไร ภาษาไม่เหมือนพระไตรปิฎก บอกครูบาอาจารย์ผิด นี่หยาบไป ไม่มีสติมีปัญญาพอ หลวงพ่อไม่คิดอย่างนั้น หลวงปู่ดูลย์บอกให้ดูจิต พระพุทธเจ้าบอกให้รู้ทุกข์ หลวงปู่ดูลย์ให้รู้จิต ทำไมไม่เหมือนกัน เราไม่เข้าใจตรงไหน ไม่เข้าใจทำอย่างไร แขวนไว้ก่อน ไม่คิดมาก คิดมากยากนาน </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> เราก็หัดดูจิตดูใจของตัวเองทำงานไป ก็รู้ว่านี่มันอยู่ในเรื่องของสติปัฏฐาน ที่หลวงปู่ดูลย์บอกให้อ่านจิตใจตนเองก็อยู่ในสติปัฏฐาน 4 นั่นล่ะ อย่างใจเรามีความสุขความทุกข์ขึ้นมามันอยู่ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใจเราเกิดกุศลอกุศลขึ้นมามันอยู่ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เราเห็นเวทนามันจะเกิดได้ อาศัยตา หู จมูก ลิ้น กายกระทบอารมณ์ภายนอก หรือใจกระทบความคิดนึก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็รูป </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> เราก็จะเห็นการทำงานระหว่างกายกับใจมันก็เนื่องด้วยกัน เนื่องถึงกัน ตาเห็นรูป เกิดความสุขความทุกข์ขึ้นที่ใจ หูได้ยินเสียงเกิดสุขทุกข์ที่ใจ ฉะนั้นเวลาภาวนาไม่ใช่รู้แต่จิต มันก็พลอยรู้รูปไปด้วย เพราะมันเป็นจุดตั้งต้นให้เกิดนามธรรมที่เราจะดูจิตใจตัวเอง เฝ้ารู้เฝ้าดูเรื่อยๆ แล้วก็เห็นจิตมันพอละเอียดขึ้น ก็เห็นจิตมันทำงานทางอายตนะ ตรงที่เห็นจิตมันทำงานทางอายตนะมันขึ้นไปสู่ธัมมานุปัสสนาแล้ว </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ค่อยดูไปเรื่อยๆ ก็เห็นกระบวนการทำงานที่จิตสร้างความทุกข์ขึ้นมา นั่นคือปฏิจจสมุปบาท อยู่ในธัมมานุปัสสนา ภาวนา อาศัยจุดเริ่มต้นจากการอ่านจิตตนเอง สุดท้ายมันก็รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม มันเนื่องกันไปหมด กาย เวทนา จิต ธรรมมันเหมือนโต๊ะสี่เหลี่ยมข้างหน้าหลวงพ่อนี้ล่ะ เราจับเข้ามุมหนึ่ง ที่เหลือมันก็เคลื่อนตามมา </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ฉะนั้นถ้าสติปัฏฐาน 4 เราทำได้สักอย่างหนึ่ง ที่เหลือมันก็ตามมาเองล่ะ ไม่ยากแล้ว ภาวนามาเรื่อยๆ ก็เห็น ทำอย่างไรหนอ มันจะรู้จิตรู้ใจแล้วคือการรู้ทุกข์ ไม่เห็นว่าจิตมันเป็นทุกข์เลย เห็นจิตนี้เป็นตัวบรมสุข จิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มีแต่ความสุข ดูอย่างไรก็ไม่เห็นจะทุกข์เลย การดูจิตนี่มันผิดหรือเปล่า มันไม่เห็นทุกข์ แต่ว่าทนดูไปเรื่อย แล้วก็เห็นความทุกข์ของกาย ของเวทนา ของสังขารทั้งหลาย ดูมันไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ แล้วจิตมันค่อยฉลาดขึ้น ค่อยรวมเข้ามา วางเป็นลําดับๆ ของภายนอก ของหยาบๆ ความปรุงแต่งหยาบๆ รวมเข้ามาที่จิต </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ก็คือการเห็นทุกข์ ค่อยภาวนาเรื่อยๆ วันหนึ่งเห็น จิตมันก็คือตัวทุกข์เหมือนกัน เพราะฉะนั้นที่หลวงปู่ดูลย์บอกว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ก็ใช่ ก็คือการเห็นทุกข์เหมือนกัน จิตเห็นจิต แต่ว่าตัวจิตผู้รู้มันเป็นตัวทุกข์ตัวสุดท้ายเลย ตัวสุดท้ายที่เราจะเห็น อย่างเราเห็นร่างกายเป็นทุกข์ เห็นง่าย เห็นเวทนาเป็นทุกข์ ชักจะยากนิดหน่อย อย่างเวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ถ้าเป็นความรู้สึกทุกข์ เราเห็นว่าทุกข์ง่าย แต่ความรู้สึกสุขเราเห็นว่าเป็นทุกข์ไม่ใช่ง่ายเหมือนกัน </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ถ้าเราดูความสุขเกิดขึ้น เราจะเห็นความสุขก็เป็นเครื่องเสียดแทงใจ พอรู้ว่าความสุขมันเสียดแทงจิตใจ ทำให้จิตใจหวั่นไหว โอ้ ความสุขมันก็เป็นตัวทุกข์เหมือนกัน ไม่ใช่ตัวดีตัววิเศษหรอก ตัวเฉยๆ เราไปแต่งจิตให้เฉยๆ อยู่เรานึกว่าดี ดูไปๆ มันก็ของไม่มีสาระอะไร มันว่างได้ มันนิ่งได้ มันเฉยๆ ได้ เป็นอุเบกขาได้ มันก็แปรปรวนได้อีก มีแต่ความไม่เที่ยง มีแต่การบังคับไม่ได้ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ค่อยเรียนไป ก็จะเห็นตัวเวทนาก็เป็นทุกข์ ตัวสังขาร เห็นสังขารคือความปรุงดีปรุงชั่วเป็นทุกข์ เวลาเราปรุงชั่ว สังเกตไหมจิตใจเราไม่มีความสุข พอมันปรุงดี แหม มันอิ่มเอิบ เกิดปีติเกิดความสุขอย่างเราปรุงดี เช่น เราได้ตั้งใจฟังธรรม ตั้งใจปฏิบัติธรรม จิตใจเราดีงามมากเลย มีความสุขมาก จะดูให้เห็นว่ามันเป็นทุกข์ ความดีเป็นทุกข์มันก็ดูยาก เราค่อยๆ ดูไป </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ความชั่วสำหรับนักปฏิบัติ ความชั่วเราเห็นเป็นทุกข์ง่าย เพราะฉะนั้นเวลาอย่างจิตเราเกิดราคะขึ้นมาอย่างนี้ จิตใจเราระส่ำระส่าย จิตใจเราเกิดโทสะ จิตใจระส่ำระส่าย ไม่มีความสุข จิตใจเราหลง เหมือนหมาเหมือนแมวหลงๆ ไป ดูแล้วไม่เห็นจะมีความสุขตรงไหนเลย มันเหมือนคนขาดสติเหมือนคนติดยาเสพติด ไม่รู้เรื่องอะไร มันดูแล้ว เอ๊ะ อกุศลทั้งหลายไม่เห็นมันจะสุขตรงไหน ดูง่าย แต่ตรงกุศลดูให้เห็นว่ามันเป็นทุกข์ไม่ใช่ง่าย </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ถ้ากุศลหยาบๆ อย่างที่พวกเราทำกันเป็นกุศลอย่างหยาบๆ ยังดูง่าย อย่างเวลาเราไปทำบุญ จิตใจเราเบิกบานขึ้นมา ถ้าเรามีสติรู้เราจะเห็นเลยความเบิกบานที่เกิดขึ้นมันทำให้จิตเสียสมดุล จิต แหม มันพองมันฟู มันดีอกดีใจอะไรอย่างนี้ มันปลื้ม สิ่งเหล่านี้ดีๆ ทั้งนั้นเลย ปลาบปลื้มที่ได้ทำบุญแต่พอเราภาวนาละเอียดเข้า โหย จิตเราเสียความสมดุลไปแล้ว กวัดแกว่งกระเพื่อมไปด้วยแรงของความดี ปรุงดีก็กระเพื่อม ปรุงชั่วไม่ต้องพูดถึงเลย ย่ำแย่ใหญ่ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ทีนี้ความปรุงดีขั้นละเอียดดูยากมากเลยว่ามันเป็นตัวทุกข์ ความปรุงดีขั้นละเอียดก็คือพวกฌานสมาบัติ อย่างพวกพระอนาคามี ละกามราคะได้แล้ว ความสุขอย่างโลกๆ ที่พวกเรามี เรียกว่ากามราคะ ความสุขจากการได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสอะไรอันนี้เป็นกามราคะ พระอนาคามีเห็นกามราคะมันทุกข์ แต่ท่านก็ไปยินดีพอใจในฌานสมาบัติ ในรูปฌานในอรูปฌาน มองไม่เห็นว่าเวลาจิตเข้ารูปฌานก็ไม่เห็นว่ามันจะทุกข์ มีแต่ความสุข จิตมันเป็นอุเบกขาทรงอยู่มีความสุข หรือมีปีตีมีความสุข </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ถ้าสูงขึ้นไปก็เป็นอุเบกขาหรือจิตเข้าอรูปฌาน จิตเป็นอุเบกขา มันสุขอย่างไร มันสุขเพราะว่ามีความเสียดแทงน้อย มันสุขเพราะว่าจิตในฌานมันถูกความเสียดแทงน้อย อะไรเป็นเครื่องเสียดแทง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นกามคุณอารมณ์ ทั้งหลายเป็นเครื่องเสียดแทงจิต ถ้าเราเข้าสมาธิเข้ารูปฌาน จิตก็พ้นจากการเสียดแทงทางตา หู จมูก ลิ้น กายอะไรพวกนี้ เหลือแต่ความเสียดแทงทางใจซึ่งยังมองไม่เห็น รู้สึกว่ามีความสุข หรือเข้าอรูปฌานไป หนีสิ่งที่กระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กายอย่างเด็ดขาด เพราะตา หู จมูก ลิ้น กายหายไปหมดเลย ร่างกายก็หาย โลกนี้ก็หายไป เหลือแต่ใจดวงเดียว </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> จะให้เห็นว่ามันเป็นทุกข์มันยาก เพราะมันไม่มีเครื่องเสียดแทง ต้องสติปัญญาแก่รอบจริงๆ เห็นว่าสิ่งนี้ก็ยังตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ จิตในรูปฌาน ยังดูง่ายว่าตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ จิตในอรูปฌานดูยากหนักเข้าไปอีก ค่อยภาวนาจนกระทั่งเห็นว่า จิตไม่ว่ามันจะอยู่ในภูมิใด อยู่ในกามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิก็อยู่ในอรูปฌาน มันก็ยังไม่มั่นคง ไม่เที่ยง มันไม่เที่ยง มันบังคับไม่ได้ มันยังถูกเสียดแทงอยู่ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ถ้ามันไม่ถูกเสียดแทง มันคงไม่ดับหรอก จิตในฌานสมาบัติเกิดแล้วก็ดับ เช่นเดียวกับจิตที่พวกเรามีนี่ล่ะ สติปัญญามันแก่รอบเพราะยังเห็นตรงนี้ก็ไม่มีแก่นสารสาระ เป็นราคะที่ละเอียดขึ้นไป ทำบุญทำกุศลมหาศาล กว่าจะขึ้นมาตรงนี้ได้ แต่พอขึ้นมาสู่ความดีอย่างสูงนี้ได้ อ้าว ลึกๆ ลงไปยังชอบมันอีก มีราคะอีก ฉะนั้นกิเลส กิเลสหยาบๆ ก็ดูง่าย กิเลสละเอียดหน้าตามันเป็นกุศลดูยาก แต่ก็ไม่พ้นสติพ้นปัญญา </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ค่อยๆ สังเกตไปเรื่อยๆ อย่าไปนิ่งนอนใจ คิดว่าจบแล้วพอแล้ว หลายคนภาวนาชอบคิด จบแล้ว ไม่จบเลย อันนั้นไม่ใช่จบแล้ว จบเสียแล้วไปไม่รอดแล้ว เคยมีพระมาบอกจบแล้ว มาบอกหลวงพ่อ หลวงพ่อบอกไม่ใช่หรอก ใจท่านหล่นวูบเลย หลวงพ่อบอกเห็นไหมจิตยังมีความยินดียินร้ายอยู่เลย เห็นไหม ท่านบอกเห็นแล้ว บอก เออ ยังยินดียินร้ายระดับนี้ เสียอกเสียใจ นี่โทสะ อนาคามีก็ยังไม่ได้ จากพระอรหันต์ร่วงๆๆ ลงมาเรื่อยๆ โดนกิเลสหลอก </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ภาวนาไปแล้วอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ก็มโนเอาเป็นโน่นเป็นนี่ หรือบางที่เขาก็ชอบตั้ง ภาวนาตามหลักสูตรครบหลักสูตรเท่านี้ ภาวนาเท่านี้ครั้งได้โสดาบันได้อะไร Non-sense เราวัดความก้าวหน้านี้ วัดด้วยกิเลส วัดที่กิเลสว่าเราละกิเลสตัวไหนแล้ว ยังไม่ได้ละตัวไหน กิเลสที่เราละ ตัวไหนละถาวร ตัวไหนละชั่วคราว ต้องค่อยๆ สังเกตตัวเองไป </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> กัลยาณมิตรที่สําคัญคือพระไตรปิฎก โยนิโสมนสิการ สังเกตสิ่งที่เรามีสิ่งที่เราเป็น ฉะนั้นการภาวนาที่สําคัญเลยก็คือ อย่างเราต้องมีกัลยาณมิตร ต้องมี กัลยาณมิตรของเราก็คือสุดยอดเลยคือพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่อยู่แล้ว เอาอะไรเป็นกัลยาณมิตร ธรรมวินัย ธรรมวินัยของท่านประมวลอยู่ในพระไตรปิฎก ฉะนั้นพระไตรปิฎกให้เราศึกษาได้ ศึกษาแล้วสังเกต เอามาปฏิบัติให้ได้ นี่ล่ะเป็นยอดของกัลยาณมิตร </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> แล้วก็มีโยนิโสมนสิการ สังเกตสิ่งที่เราปฏิบัตินี้มันสอดคล้องกับคําสอนในพระไตรปิฎกหรือเปล่า อย่างถ้าบอกว่าไม่ต้องทำอะไรหรอก นั่งแล้วก็พยายามกลั้นลมหายใจให้นานที่สุดเดี๋ยวก็บรรลุ อันนี้ไม่สอดคล้อง เราก็ไม่เอาอย่างนี้ เราตัดทิ้งไปเลยคําสอนชนิดนี้ หรือไปให้เซียนผู้วิเศษเชื่อมจิตเข้ากับพระพุทธเจ้าให้ อันนี้ไม่สอดคล้องกับพระไตรปิฎก เราก็ไม่เอา ปัดทิ้งไป เราก็ใช้วิธีนี้ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> อาศัยกัลยาณมิตรที่สําคัญคือพระไตรปิฎกแล้วอาศัยโยนิโสมนสิการ สังเกตสิ่งที่เรามีสิ่งที่เราเป็น สิ่งที่เราลงมือปฏิบัติอยู่ วิธีปฏิบัติที่เราทำอยู่สอดคล้องกับพระไตรปิฎกไหม อย่างถ้าเราจะทำวิปัสสนา เราได้เจริญสติปัฏฐานจริงไหม สติปัฏฐาน เบื้องต้นได้สติ เบื้องปลายจะได้ปัญญา โดยเฉพาะได้วิปัสสนาปัญญา ฉะนั้นถ้าเราหลุดออกจากเส้นทางของสติปัฏฐาน ไม่ใช่แน่นอน ไปไหว้เจ้าแล้วก็ขอให้บรรลุมรรคผลอะไรอย่างนี้ ไม่ใช่เส้นทางแน่นอน ถ้าทิ้งการเจริญสติเมื่อไรล่ะก็เราหลุดออกจากเส้นทางของมรรคผลแล้ว เรารู้อย่างนี้ รู้ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ต้องการปฏิบัติ ต้องอย่างนี้ ต้องอยู่ในหลักของการเจริญสติ ของการทำสมถกรรมฐาน ของวิปัสสนากรรมฐาน ต้องอยู่ในหลักที่ถูกต้อง แล้วการที่เราภาวนาไปแล้วมีผลอะไรเกิดขึ้น ถ้ามีครูบาอาจารย์ พูดยาก เรารู้ได้อย่างไรว่าองค์นี้ดีไม่ดี ต้องสังเกตเอา ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ที่ดี เราทำผิดปุ๊บ ท่านก็บอกเลยทำผิดแล้ว ถ้าทำถูกแล้วท่านจะบอกให้ทำไปอีกๆ ทำต่อไป ยังไม่พอ แต่ถ้าเราไม่มี เราก็ต้องอาศัยพระไตรปิฎก อาศัยคําสอนของพระพุทธเจ้าอย่างที่หลวงพ่อใช้ วัดตัวเอง สิ่งที่เราปฏิบัติมีผลอย่างนี้ๆ มันสอดคล้องกับคําสอนในพระไตรปิฎกไหม อันนี้คือตัวโยนิโสมนสิการ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ฉะนั้นเวลาเราภาวนา เราก็ดูสิ่งที่เรากําลังทำอยู่ปฏิบัติอยู่ สอดคล้องกับหลักธรรมในพระไตรปิฎกไหม ผลที่เกิดจากการปฏิบัติสอดคล้องกับคําสอนของท่านหรือเปล่า วัดกันตรงนี้ วัดด้วยใจของตัวเองที่ซื่อตรงจริงๆ มีโยนิโสมนสิการ ไม่ใช่มีแต่โลภะ ก็เข้าข้างตัวเองเรื่อยๆ ค่อยๆ สังเกตเอา วันนี้เทศน์อะไรหว่า แปลกๆ ไปทำเอาๆ ไม่มีใครช่วยใครได้ ครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อไปเรียนด้วยท่านก็ไม่มาบรรลุมรรคผลอะไรให้หลวงพ่อหรอก หลวงพ่อก็ต้องทำเอาเองทั้งนั้นล่ะ </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ทำแล้วถูกตลอดไหม ไม่ ทำแล้วก็ล้มลุกคลุกคลานเหมือนที่พวกเราเป็นนั่นล่ะ แล้วถ้าจะว่าไปหลวงพ่อล้มลุกคลุกคลานมากกว่าพวกเรา ที่พวกเรามาส่งการบ้านทำผิดตรงโน้นผิดตรงนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกสําหรับหลวงพ่อ เพราะหลวงพ่อผิดมาก่อนแล้ว ทำผิดมามากมายแต่ไม่ท้อถอย ค่อยสังเกตตัวเองมาเป็นลําดับๆ มีโอกาสเจอครูบาอาจารย์ บางทีต้องอาศัยท่านแก้ให้ หลวงพ่อเคยอาศัยครูบาอาจารย์ทั้งหมด 7 ครั้งเองในการภาวนา 7 ครั้งเอง เราทำแล้วเราจนปัญญาไม่รู้จะไปอย่างไรต่อ ท่านสะกิดให้นิดเดียวเราก็เข้าใจแล้ว </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ส่วนใหญ่ก็จะอาศัยการสังเกตเอา เวลาได้ยินได้ฟังคําสอนต่างๆ ถ้ามันขัดพระไตรปิฎก หลวงพ่อไม่เอาเลย อย่างบอกพระอนาคามีมาเกิดได้อีกอะไรอย่างนี้ บรรลุพระอรหันต์แล้วก็ยังมาเกิดได้อีกอะไรอย่างนี้ มันอรหันต์เทียมแล้วไม่ใช่อรหันต์จริงแล้ว พวกนี้ไม่รู้จัก ไม่รู้ทั้งปริยัติ ไม่รู้ทั้งปฏิบัติ มีแต่ความฟุ้งซ่าน เป็นพวกวิปัสสนูปกิเลส มันจะฟุ้งแบบนี้ ก็เลยคิดว่าตัวเองรู้ มองกิเลสไม่ออก ฉะนั้นทุกวันนี้เวลาฟังธรรมะไม่ว่าใครจะเทศน์ก็ตาม อย่าทิ้งหลักกาลามสูตร อย่าเชื่อง่าย ขนาดหลวงพ่อฟังหลวงปู่ดูลย์สอน หลวงพ่อไม่เข้าใจ หลวงพ่อแขวนไว้ หลวงพ่อไม่เชื่อแต่ว่าไม่ลบหลู่เพราะเราคิดว่าเรายังโง่ เรายังเข้าไม่ถึง แต่เราจะต้องปฏิบัติ และการปฏิบัตินั้นต้องไม่ขัดแย้งกับคําสอนของพระพุทธเจ้า </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> สุดท้ายถึงเข้าใจ โอ๊ย ที่ท่านบอกว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค ท่านพูดแบบออมๆ ไว้ ไม่กล้าพูดตรงๆ เดี๋ยวมีเรื่อง ที่จริงก็คือจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นอรหัตตมรรค เพราะว่าก่อนหน้านั้น ท่านเดินปัญญากัน ไล่ลงมาจากกาย เวทนา เข้ามาไล่ๆ ไล่ๆ เข้ามา รู้แล้ววางมาเป็นลําดับๆ การปฏิบัติในขั้นสุดท้ายมันมาแตกหักกันลงที่จิตนั่นล่ะ ฉะนั้นที่ท่านบอกจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง อันนั้นถูกเลย แจ่มแจ้งว่าอะไร แจ่มแจ้งว่าเป็นไตรลักษณ์ แล้วเราก็ปล่อยวางจิตได้ ปล่อยวางจิตได้ ก็ปล่อยวางขันธ์ได้ ปล่อยวางขันธ์ได้ ก็ปล่อยโลกทั้งโลกได้ หัวใจสําคัญอยู่ที่จิตของเรานี่เอง ยึดจิตตัวเดียวก็ยึดขันธ์ทั้งหมด มีจิตดวงเดียวก็สร้างขันธ์ 5 ขึ้นมาได้ทั้งหมด วางจิตได้ก็วางขันธ์ 5 ได้ ลงสุดท้ายมันแตกหักลงที่จิต </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ฉะนั้นที่ครูอาจารย์ท่านสอนก็ไม่ผิด ตรงกับพระพุทธเจ้า แต่ท่านเพียงแต่ไม่กล้าพูดตรงๆ เดี๋ยวคนหาเรื่องท่าน พวกฟังไม่รู้เรื่องแล้วก็จะพาลพาโลว่าท่านอวดอุตริ หลวงปู่ดูลย์เคยเกือบโดนเรื่องอวดอุตริ เพราะท่านสอนเรื่องจิตนี่ะล่ะ ก็มีพวกพระกรรมฐานพวกหนึ่งไปชุมนุมกันรวมกันมา จะมาโจทอาบัติว่าท่านปาราชิกอวดอุตริ พูดอะไรแต่เรื่องจิตแปลกๆ ทำไมไม่พุทโธพิจารณากาย ไปชวนหลวงตามหาบัว หลวงตาบอกพระองค์นี้เราไม่เล่นด้วย พวกนั้นฟังแล้วเข้าใจ ก็เลยหยุด ไม่กล้าแล้ว ไม่กล้าหือกับหลวงปู่ดูลย์อีก </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> เพราะฉะนั้นท่านเองเวลาพูดท่านก็ระวังเหมือนกัน ต้องออมๆ พวกมิจฉาทิฏฐิ พวกเซลฟ์จัดมันเยอะ แต่สิ่งที่ท่านสอนมันไม่ได้ขัดกับพระไตรปิฎก ตรงกันเป๊ะเลย ฉะนั้นเวลาพวกเราฟังใครเขาพูด เขาพูดธรรมะฉอดๆ ฉอดๆ ฟังไว้ก่อน ถ้าเขาพูดแล้วถูกหลัก เออ ก็ใช้ได้ แล้วดูผลอีก เขาพูดได้อย่างเดียวหรือเขาทำได้ด้วย ต้องแยก พูดได้กับทำได้ไม่เหมือนกัน พูดง่ายทำมันยาก </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> ฉะนั้นเรื่องมงคลตื่นข่าวเลิกเสียทีเถอะ มี 10 หลักของกาลามสูตร อย่าลืมอันนี้ ทิ้งกาลามสูตรเมื่อไรก็โง่งมงายเมื่อนั้นล่ะ ไปอ่านเอาเองกาลามสูตร วันนี้เทศน์ให้ฟังเท่านี้ ไปทำเอา ไม่ต้องเชื่อ ถ้าเชื่อก็โง่ ถ้าไม่เชื่อแล้วไม่ทำยิ่งโง่หนักเข้าไปอีก ไปพิสูจน์ด้วยตัวเอง ธรรมะของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ธรรมะที่ชวนให้เชื่อ แต่เป็นธรรมะที่ท้าให้พิสูจน์ เอหิปัสสิโก พึงกล่าวกับผู้อื่นว่ามาลองดูเถิด พระพุทธเจ้ายังบอกไม่ต้องเชื่อท่าน แต่มาลองดูว่าที่ท่านบอกนี้ ทำแล้วพ้นทุกข์ได้จริงไหม </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> อย่างพวกเราภาวนาอย่างที่หลวงพ่อบอก ทุกข์เราสั้นลงไหม ทุกข์เราน้อยลงไหมเบาลงไหม เราวัดด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องมาเชื่อหลวงพ่อโง่งมงายไป วัดด้วยตัวเองล่ะ ผลที่เกิดขึ้นกับชีวิตจิตใจเราเปลี่ยนแปลงไหม วัดเอา </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> สังเกตอีกอย่างหลวงพ่อไม่เคยขอเงิน ถ้าเจอเทศน์ไพเราะเพราะพริ้งลงท้ายขอเงิน ไม่ใช่ ถอยไว้เลย เออ บอกนิดหนึ่งยุคนี้เอไอมันเก่ง ถ้าวันหนึ่งมีโทรศัพท์เข้าไป มีเสียงหลวงพ่อมีหน้าหลวงพ่อพูด แล้วขอเงิน ด่ามันไปเลย หรือบอกพระวัดนี้ไปขอเงิน โกหกๆ ทั้งนั้นล่ะ พระที่นี่หลวงพ่อไม่ปล่อยให้ไปพูดขอใคร เคยมีหลงๆ ขอโน่นขอนี่ สุดท้ายให้ออกไป อยู่ไม่ได้ ที่นี่ลูกศิษย์พระพุทธเจ้า ไม่ใช่ลูกศิษย์ชูชก ต้องฉลาด </div> <div lang="zh-Hans" dir="ltr" class="mw-content-ltr"> หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 7 กรกฎาคม 2567 </div>
导航
导航
首页
随机页面
Wiki工具
Wiki工具
特殊页面
获取缩短的URL
页面工具
页面工具
用户页面工具
更多
翻译
可打印版本