有觉性 以安住且中立的心 照见身心的实相

เราสามารถปฏิบัติธรรมได้ตลอดเวลา:修订间差异

来自法藏
无编辑摘要
(标记此版本进行翻译)
 
(未显示同一用户的3个中间版本)
第1行: 第1行:
==== เราสามารถปฏิบัติธรรมได้ตลอดเวลา ====
<languages/>
<translate>
<!--T:1-->
คุณสมบัติของชาวพุทธที่ดี
การภาวนาอย่าใจร้อน มีคนมาถามหลวงพ่อเรื่อยๆ ว่าทำไมมันไม่ก้าวหน้าสักที จะก้าวไปไหน ไม่ต้องก้าวไปไหน อยู่กับปัจจุบัน คิดแต่จะไป จะไปไหน อยู่กับปัจจุบันให้ได้ มันจะไม่มีคําว่า ช้าไป เร็วไป ช้าไปก็เพราะมันไม่ได้อย่างใจ เร็วไปก็เหมือนกัน


ดี เวลานั่งรอก็ภาวนาไปด้วย ใช้ได้ นั่งรอฟังเทศน์ บางคนก็ฟุ้งไปเรื่อยๆ จะได้อะไรขึ้นมา
<!--T:2-->
บางคนภาวนาคิดเยอะ กลัวจะได้มรรคผลเร็ว มี ประหลาดๆ บางคนกลัวว่าถ้าเกิดภาวนาแล้วเกิดเป็นพระอนาคามีอย่างนี้ จะเสพกามไม่ได้ โอ๊ย อย่าไปกลัวเลย คนเขาตั้งใจภาวนา เขายังไปไม่ค่อยจะได้ นี่กลัวก็ไปไม่ได้ พวกหนึ่งก็อยากเหลือเกิน อยากได้ธรรมะเร็วๆ อยากนิพพาน นิพพานไม่ได้มาเพราะความอยากหรอก แต่ได้มาเพราะสิ้นอยาก แล้วสิ้นอยากก็เพราะมีปัญญา มีเหตุมีผลทั้งหมด ถ้าเรามีปัญญาเห็นความจริงของรูปนามกายใจ ถึงจะสิ้นอยาก ถ้าปัญญาอื่นๆ ก็ยังไม่สิ้นอยากหรอก


การปฏิบัติจริงๆ มันไม่ได้ยากนักหรอก จับหลักให้แม่นๆ ทำให้ต่อเนื่อง แล้วจะค่อยพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ หลวงพ่อภาวนาตั้งแต่เป็นโยม รู้ดีเลย ชีวิตฆราวาสต้องต่อสู้อะไรมากมาย ตอนเช้าต่อสู้กัน แย่งกันไปทำงาน แย่งถนนกัน แล้วชีวิตทั้งวันวุ่นวาย ยุ่งกับคนมากมาย มีเรื่องจุกจิกกวนใจตลอดเวลา พอเราต้องยุ่งเกี่ยวกับคน สิ่งที่ตามมามันไม่ใช่เรื่องงานอย่างเดียว มันเป็นเรื่องคนด้วย ยุ่ง จุกจิกๆ เราจะปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ก็เป็นไปไม่ได้ อยู่กับโลก อยู่กับคน มันก็ยุ่งนั่นล่ะ จะคาดหวังว่าทุกวันไม่มีใครยุ่งกับเรา มีเวลาภาวนาเยอะๆ มันเป็นไปไม่ได้


เรามีหน้าที่ พยายามทำหน้าที่ของเราให้ดี ท่านสอนเรื่องสัมมาอาชีวะไว้ การเลี้ยงชีพ ถ้าเราทำงานที่มันจัดอยู่ในกลุ่มของสัมมาอาชีวะ เราตั้งอกตั้งใจทำไป อย่างเราเป็นหมอ เป็นพยาบาลอะไรอย่างนี้ ทำหน้าที่ของตัวเอง เหนื่อยไหม เหนื่อย ยุ่งไหม ยุ่ง อย่างพยาบาลทำงานหนัก คนไข้ก็มักจะด่าด้วย คนไข้ไม่ชอบ ไม่ได้อย่างใจ ถ้ารู้จักวางใจไม่เป็น ก็เหมือนตกนรกอยู่ทั้งวัน
<!--T:3-->
คุณสมบัติของจิตที่จะตกกระแสธรรมได้
ฉะนั้นงานหลักของเราจริงๆ คือเรียนรู้กายรู้ใจของเรา หน้าที่ของชาวพุทธเราคือเราเป็นนักศึกษาๆ ศึกษาอะไร ศึกษาตัวเอง เรียนรู้กายเรียนรู้ใจของตัวเองไป พอมันรู้ถ่องแท้ กายนี้ใจนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีอะไร ไม่มีตัวมีตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา อันนี้จิตเขาเรียกว่ามันตกกระแสธรรมแล้ว จิตตกกระแสธรรม มันก็จะเที่ยงต่อการที่จะพ้นทุกข์ไป วันหนึ่งจะต้องได้เป็นพระอรหันต์แน่


<!--T:4-->
ฉะนั้นเรามาทำความเข้าใจ จิตที่มันจะตกกระแสธรรมได้ คุณสมบัติสําคัญของพระโสดาบัน เราก็เรียนเรียกโสตาปัตติยังคะ ไปอ่านเอาเองก็แล้วกัน เดี๋ยวนี้ตําราอยู่ในอินเทอร์เน็ตเยอะแยะ สมัยก่อนไม่ค่อยมี อยากเรียนอะไรสักเรื่อง ค้นหนังสือแทบตายเลย เดี๋ยวนี้ง่าย ถ้าเราอยากไปถึงความเป็นพระโสดาบันเร็วๆ ก็อย่าไปอยาก แต่ทำหน้าที่ศึกษาตัวเองให้ถ่องแท้ไป สํารวจใจเรา ใจเรามีความมั่นคงต่อพระรัตนตรัยไหม ใจเรามีศีลดีงามไหม ถ้ายังไม่ดีงามก็พยายามถือให้มันดี


==== ทำหน้าที่ของเราให้ดี คอยดูจิตใจของตัวเอง
<!--T:5-->
แล้วสิ่งที่เราทำมันจะสะอาดหมดจด ====
คุณสมบัติของพระโสดาบัน ท่านนับถือพระรัตนตรัยแน่นแฟ้น ของเรายังคลอนแคลนไหม สํารวจเอา เอาเข้าจริงก็คลอนแคลน คนที่นับถือพระรัตนตรัยจริงๆ มีไม่มากหรอก ส่วนใหญ่ก็นับถือผลประโยชน์ อย่างไปไหว้พระ ก็หวังว่าจะเฮงจะรวยอะไรอย่างนี้ อันนั้นไม่ได้นับถือพระรัตนตรัย ถึงไปไหว้พระก็ตามก็ยังไม่ใช่นับถือพระรัตนตรัย เข้าไปหาพระสงฆ์ครูบาอาจารย์ ไปให้รดน้ำมนต์ ขอโชคขอลาภอะไร อันนั้นก็ไม่เรียกว่านับถือว่าพระรัตนตรัย นอกรีตนอกรอยไป นับถือพระรัตนตรัยก็คือเป็นที่พึ่งที่อาศัยของเราเพื่อความพ้นทุกข์จริงๆ


<!--T:6-->
เราดู พระพุทธเจ้าท่านไม่อยู่แล้ว สิ่งที่ท่านให้เป็นตัวแทนท่านก็คือธรรมวินัย พระธรรม พระวินัย เราเคารพพระธรรมพระวินัยจริงไหม อย่างพระธรรมบอกว่าไม่ให้ทำชั่ว เราขยันทำไหม ถ้าเรายังทำชั่วได้หน้าตาเฉย ก็เรียกเราไม่เคารพพระธรรมวินัย ก็เรียกเราไม่ได้เคารพพระรัตนตรัย ไม่แน่นแฟ้น


อย่างเราทำงาน เราต้องอยู่กับคนที่เราไม่ชอบอย่างนี้ มันเหมือนเราตกนรกทั้งวันอยู่แล้ว หรืองานมันจุกจิกกวนใจมาก เหมือนตกนรก ไม่มีความสุข แต่ถ้างานของเรา มันเป็นสัมมาอาชีวะ งานซึ่งมันไม่เบียดเบียนตัวเอง ไม่เบียดเบียนคนอื่น ทำมาหากินสุจริต ตั้งอกตั้งใจทำไป ถือว่าเป็นหน้าที่ แล้วมองให้ออกว่าสิ่งที่เราทำนั้นมันมีประโยชน์อะไร ประโยชน์ต่อตัวเราเอง ได้เงินได้ทองมา ประโยชน์ต่อสังคมมีไหม
<!--T:7-->
หาพระสงฆ์ก็นับถือเป็นพระเกจิ ไม่ใช่ว่าท่านไม่ดี พระเกจิท่านก็ดีอย่างของท่าน ท่านก็สงเคราะห์พวกที่อินทรีย์อ่อน อย่างแจกวัตถุมงคลแจกอะไร เป็นที่พึ่งทางใจของคนที่ยังอินทรีย์อ่อนอยู่ คนไหนอินทรีย์แข็งท่านก็สอนธรรมะให้ ครูบาอาจารย์กระทั่งในสายวัดป่าท่านก็ทำแบบนี้ก็มี หลวงปู่มั่นท่านก็ยังเคยจารตะกรุดเลย แต่ว่าทำไม่เยอะ เพราะวัตถุประสงค์หลักของท่าน งานหลักของท่านคืองานสืบทอดธรรมะ


ยกตัวอย่าง อย่างหมอทำประโยชน์ ถ้าคิดให้ดี เรากำลังทำบุญอยู่ตลอดเวลา ช่วยรักษาคน หรือเป็นทนาย เป็นอัยการ ผู้พิพากษาอะไรอย่างนี้ ทำไปอย่างสุจริต ก็คิดว่าไปช่วยสร้างความสงบสุขในสังคม คือคิดให้มันเป็นบุญไว้ แต่สิ่งที่ทำนั้นไม่ใช่อกุศลแล้วคิดว่าเป็นบุญ อย่างเราเลี้ยงหมู เลี้ยงปลา เลี้ยงอะไรอย่างนี้ ถึงเวลาขาย ดีใจได้เงิน แล้วบอกว่าเราทำความดี ทำให้คนมีอาหารกินอะไรอย่างนี้ เจตนาลึกๆ ไม่ได้คิดเรื่องว่าจะให้คนอื่นมีอาหารกิน เจตนาเพราะอยากได้เงิน ถ้าวางจิตให้ถูก มันก็เป็นบุญ วางจิตใจไม่ถูก มันก็เป็นบาป ไม่สบาย มีความทุกข์
<!--T:8-->
ฉะนั้นเราสํารวจตัวเอง เรามั่นคงกับพระรัตนตรัยแค่ไหน หรือเราเห็นพระรัตนตรัยเป็นบ่อเงินบ่อทอง เป็นที่แสวงหาผลประโยชน์ คนจํานวนมากเอาศาสนาไปแสวงหาผลประโยชน์ ถ้ามาอยู่แถววัดหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ไม่ให้เข้าวัด ไล่ไป ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นของสูง ไม่ใช่เอาไว้หากิน


อย่างพวกเราจำนวนมากหลายสิบคนมาช่วยหลวงพ่อทำงาน งานเยอะ จุกจิก บางทีญาติโยมบางคนก็อารมณ์ร้อน เรียกร้องอย่างโน้น เรียกร้องอย่างนี้ พอไม่ได้อย่างใจก็ด่าก็มี อย่างทีมงานก็ต้องปะทะกับผู้คนมากมาย ทำอย่างไรจะรักษาจิตใจของตัวเองไว้ได้ ทำอย่างไรจะไม่สร้างอกุศลให้เกิดขึ้นกับคนอื่น คนที่มาด่าเรา ถ้าเราด่าตอบ อกุศลเขาก็ยิ่งแรงขึ้น ถ้าเราวางใจให้ดี มันเป็นบุญอยู่ในตัวเองแล้ว งานที่เป็นประโยชน์ในสาขาอาชีพต่างๆ มันสามารถพัฒนาให้มันเป็นบุญได้ทั้งหมดล่ะ
<!--T:9-->
ดูตัวเองอีกข้อหนึ่ง นอกจากเราเคารพพระรัตนตรัยจริงจังไหม เคารพพระรัตนตรัย ต้องเรียนธรรมะ ต้องศึกษา พระธรรมวินัยเป็นตัวแทนของพระศาสดา อีกข้อหนึ่งเรามีศีลดีงามไหม สํารวจตัวเอง ถ้าศีลเรายังด่างพร้อยอยู่ เราก็ยังไม่ใช่ชาวพุทธที่ดี ไม่ใช่ลูกที่ดีของพระพุทธเจ้า เราไม่เคารพพระพุทธเจ้า ท่านสอนให้เราถือศีลแล้วเราไม่ถืออะไรอย่างนี้ ถ้าเรายังทำผิดศีลหน้าตาเฉย จะบอกว่าภาวนาไม่ก้าวหน้า ก็อย่าพูดดีกว่า ไม่ใช่ชาวพุทธที่แท้จริง จะก้าวหน้าอะไร ไม่ลงนรกก็บุญแล้ว


เวลาบางคนบอกว่าเราไม่มีเวลา วันหนึ่งยุ่งวุ่นวาย ทำงานหนักอะไรอย่างนี้ ถ้าเราวางใจได้ว่า งานที่เราทำนั้นเป็นประโยชน์ แล้วเวลาเรานึกถึง นึกถึงว่าเราได้ทำประโยชน์ จิตเราเป็นบุญ แล้วเราจะมีความสุข สมาธิจะเกิดง่ายๆ เลย อย่างเราช่วยกันไลฟ์สด ช่วยกันทำยูทูป ทำเฟซบุ๊คอะไรอย่างนี้ ถ้าเราวางใจผิด บอกเราทำเพื่อความดัง อันนี้เป็นอกุศล แต่ทำเพื่อสงเคราะห์คนที่เขาอยู่ไกลๆ ให้เขามีโอกาสได้รับธรรมะ วางใจอย่างนี้เป็นกุศล เป็นกุศลใหญ่ด้วย อยากให้เขาได้ธรรมะ เป็นธรรมทาน
<!--T:10-->
อีกข้อหนึ่งก็คือเราเชื่อกฎแห่งกรรมไหม หรือเชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง หรือบางวันไม่เชื่อเลยอะไรอย่างนี้ สํารวจตัวเอง คนที่เชื่อกฎแห่งกรรมก็จะเชื่อว่า เราจะต้องพ้นทุกข์ไปด้วยความเพียรของเราเอง เราทำกรรมที่เหมาะสมเราก็ได้รับผลที่เหมาะสม เราทำทาน ถือศีล ภาวนาถูกต้อง ทำมาก เราก็ได้ผล ได้มรรคได้ผลไป ฉะนั้นมันอยู่ที่การกระทำของเราเอง อย่างถ้าเราทำชั่วเราไปขอพรพระทั้งหลายอะไรนี่ ขอพรเทวดาทั้งหลายไม่มีใครช่วยเราได้


อย่างทีมทำครัวในวัดอย่างนี้ หลายที่คนทำครัวตกนรก ทำแล้วก็เบียดบังของสงฆ์บ้าง ทำแล้วก็กีดกันหวงแหน จะให้เฉพาะคนรู้จักกิน คนไม่รู้จักก็ไม่อยากให้ อย่างนั้นใจเป็นอกุศล ไม่แปลกหรอก เป็นผีเป็นเปรตอะไรอย่างนั้นขึ้นมา แต่ที่นี่หลวงพ่อฝึกแม่ครัว พ่อครัวแม่ครัว เราเหนื่อยไหม เหนื่อย ให้นึกถึงสิ่งที่เราทำ ไม่ใช่ทำเพื่อตัวเอง แต่ทำเพื่อลดละกิเลสของเราเอง ลดละความขี้เกียจ ลดละความเห็นแก่ตัว มองประโยชน์ของส่วนรวม ทำอาหาร ไม่เฉพาะพระได้ฉัน ออกจากพระไป ญาติโยมก็ได้กินข้าว ไม่หิว ไม่กระหายอะไรอย่างนี้


พอเรานึกถึงว่าทำให้เขาได้อิ่ม ทำให้เขาไม่ทุกข์ทรมานจากความหิวอะไรอย่างนี้ จิตเป็นบุญขึ้นมา มันมีความสุข มีความสุขที่ได้ทำ สิ่งที่ทำเหนื่อยยาก แต่พอเรานึกถึงคุณประโยชน์ จิตใจเราก็มีความสุข มีความสงบ
<!--T:11-->
มงคลตื่นข่าว
ฉะนั้นชาวพุทธที่ดี อย่างพระโสดาบันท่านจะไม่เชื่อเรื่องมงคลตื่นข่าว มงคลตื่นข่าวก็คือมีข่าวว่าอันนั้นดีอันนี้ดี ก็ตื่นเต้น ดีอกดีใจ เมื่อก่อนหลวงพ่อก็เห็นบ่อยๆ กระทั่งบางเรื่องไม่น่าจะเป็นมงคลตื่นข่าวแต่เอาเข้าจริงแล้วก็เป็นมงคลตื่นข่าว อย่างมีพระบางองค์คนนับถือเยอะ ได้ยินว่าพระองค์นี้ดี นับถือ คนนับถือเยอะ มันต้องดีแน่นอนอะไรอย่างนี้ เวลาพระนี้จัดกิจกรรมไปบิณฑบาต โอ๊ย คนแห่เป็นพันเป็นหมื่นคน นี่เชื่อมงคลตื่นข่าว


หลวงพ่อตั้งแต่เป็นโยมเมื่อก่อนนี้ คนมาเรียนธรรมะด้วยไม่ใช่น้อย ตั้งแต่เป็นฆราวาส เหนื่อยไหม เหนื่อย ทำงานก็เหนื่อยอยู่แล้วล่ะ อย่างบางทีเสาร์อาทิตย์อะไร ไม่ว่าง ก็มีคนมาเรียนกรรมฐานด้วยทุกวัน อยู่ในที่ทำงาน ไม่เคยกินข้าวได้สบายสักทีเลย กลางวันมีคนมาเรียนด้วย เราก็ต้องซื้อข้าวให้กินด้วย สอนด้วย เลี้ยงข้าวด้วย แหม บริการเต็มร้อยเลย
<!--T:12-->
หรือเมื่อก่อนก็เชื่อที่อินเดีย ฤๅษีชีไพรมีฤทธิ์เยอะอย่างโน้นอย่างนี้ หรือเชื่อว่าพระพุทธเจ้ากลับชาติมาเกิดที่เนปาลอะไรอย่างนี้ พวกนี้เรียกมงคลตื่นข่าวทั้งสิ้นมันไม่มีเหตุมีผลอะไร จิตใต้สํานึกที่เราวิ่งไปหาสิ่งเหล่านี้ก็เพราะความอ่อนแอของเราเอง เราไม่คิดจะพึ่งตัวเอง ไม่คิดจะสร้างคุณงามความดีด้วยตัวเอง คิดจะพึ่งคนอื่น คิดจะพึ่งสิ่งอื่น หรือต้นตะเคียนต้นนี้ขลัง ไปไหว้ไปกราบ สารพัดที่จะมีจะเป็น


วางใจว่าอย่างไร วางใจว่าเรากำลังแทนคุณของพระพุทธเจ้าอยู่ พระพุทธเจ้าค้นคว้าธรรมะนี้มาด้วยความยากเย็น ครูบาอาจารย์รักษาสืบทอดมาด้วยความลำบาก เราจะลำบากนิดหน่อย จะเป็นอะไรไป เพื่อให้ศาสนานี้ยั่งยืนต่อไปสู่คนรุ่นต่อๆ ไป ไม่ให้ธรรมะมาจบลงในมือของเรา เราส่งทอดต่อไปให้ได้ ใจมันคิดอย่างนี้ ฉะนั้นกินข้าว ไม่เคยเอร็ดอร่อยอะไรหรอก กินข้าวก็ต้องนั่งสอนกรรมฐานไปด้วย เสร็จแล้วก็พาไปกินกาแฟอีก เลี้ยงข้าวแล้วเลี้ยงกาแฟด้วย ทำอย่างนี้ไม่ได้มีความสุขของตัวเอง วันหยุดก็ไม่มีวันหยุด
<!--T:13-->
ในเมืองไทยเต็มไปด้วยนิยายสร้างกันขึ้นมา แล้วก็มีสินค้าตามนิยายขึ้นมาอีก แล้วก็เห่อเป็นรุ่นๆ ไป เป็นช่วงๆ ไป ช่วงนี้เห่อเรื่องนี้ๆ แล้วสุดท้ายชีวิตมันก็ทุกข์เหมือนเดิม ไม่เห็นมันจะมีอะไรดีขึ้นมา เพราะฉะนั้นเราต้องไม่งมงาย ความงมงายไม่ใช่เรื่องของชาวพุทธ พระโสดาบันไม่งมงาย เราอยากเป็นโสดาบัน เราก็อย่างมงาย เราต้องเชื่อเรื่องกรรม มีกรรมกับมีผลของกรรม ต้องค่อยๆ ฝึกตัวเอง อีกอันหนึ่งพอเรารู้ว่าเราต้องพึ่งตัวเอง แล้วก็ประพฤติปฏิบัติถูกต้อง


เวลานึกถึงว่าเราได้แทนคุณของพระพุทธเจ้า จิตใจมันอิ่มเอิบ มันเบิกบาน บางวันจิตใจเราวุ่นวาย ทำงานหนัก หัวหมุนติ้วๆ เรานึกถึงสิ่งที่เราทำมาดีแล้ว อย่างเราให้ความรู้ ให้ธรรมะเขา มันเป็นธรรมทาน ให้อาหารกับคนที่หิวโหย ให้เสื้อผ้า ให้ข้าวของ ช่วยให้เขามีความสุข เราก็ลดละความเห็นแก่ตัวของเราไปด้วย เขาก็ได้ประโยชน์ ได้รับความสุขด้วย เรานึกถึงแล้วเราอิ่ม มันอิ่มอกอิ่มใจ
<!--T:14-->
บางคนเป็นโรคมงคลตื่นข่าว ท่านผู้นี้ดี เราก็ไปทำบุญด้วย มีเงินมีทองทุ่มเข้าไปเป็นล้านเลย หวังว่าเราจะได้ดิบได้ดี เมื่อก่อนก็มีแบบในเครื่องแบบพระนี่ล่ะ ใครอยากภาวนาดีๆ ต้องจ่ายสตางค์แล้วก็พาขึ้นภูเขาไปภาวนา ใจก็ปิติ ได้เข้าใกล้คนดัง ปีติ ภาวนาดี อันนั้นไม่ใช่การทำบุญในขอบเขตของพระพุทธศาสนา กระทั่งเอาเงินไปให้วัดให้พระ แต่ว่าให้โดยวัตถุประสงค์ที่ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่บํารุงพระศาสนา แต่ให้เพื่อติดสินบนจะได้เป็นคนใกล้ชิดจะได้อะไรอย่างนี้ อันนั้นเรียกเป็นบุญนอกพระพุทธศาสนาแล้ว


อย่างพวกเทพเขาจะอิ่มบุญอย่างนี้ เขาเรียกว่าอิ่มทิพย์ ไม่ต้องกินข้าว แต่อิ่มทิพย์ เวลาเราสร้างความดีไปเรื่อยๆ ทำด้วยใจที่บริสุทธิ์จริงๆ ดูได้อย่างไรว่าทำไปด้วยใจที่บริสุทธิ์ไหม คือทำเพื่อจะเอา หรือทำเพื่อจะลดละ ถ้าเราทำเพื่อจะเอา ใจเราไม่สะอาดจริง ถ้าเราทำความดีเพื่อลดละความเห็นแก่ตัว ลดละความขี้เกียจ ลดละความอยากอย่างโน้น อยากอย่างนี้ อยากเด่น อยากดัง อยากใหญ่ ลดละ อย่างนั้นใจเราสูงขึ้น
<!--T:15-->
เราเห็นคนศาสนาอื่นเขาลําบาก เราสงเคราะห์ช่วยเหลือ เขาอดข้าวอะไรอย่างนี้ ให้ข้าวเขากิน อันนี้เป็นบุญในพระศาสนา กระทั่งทำกับคนนอกศาสนา มันทำด้วยเหตุด้วยผล ทำไปเพื่อลดละกิเลสของตัวเอง สิ่งเหล่านี้เราควรจะต้องประพฤติปฏิบัติ


เพราะฉะนั้นเวลาเราดำรงชีวิต เราคอยวัดใจของเราไป สิ่งที่เราทำนี้ เป็นไปเพื่อความมักมาก เช่น อยากใหญ่ อยากเด่น อยากดัง อยากได้เงินได้ทองอะไรอย่างนี้ หรือเราทำความดีเพื่อลดละกิเลสของเรา คอยดูจิตใจของตัวเอง แล้วสิ่งที่เราทำมันจะสะอาดหมดจด เราไม่ได้ทำอะไรส่งเดชไปหรอก
<!--T:16-->
เราต้องเคารพพระธรรมพระวินัย พยายามพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ ไม่รีบร้อน ไม่ได้ภาวนาด้วยความอยาก อยากจะดีเร็วๆ ความอยากเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ความอยากไม่ใช่เหตุแห่งความพ้นทุกข์ ฉะนั้นอย่าภาวนาด้วยความอยาก ให้ตั้งใจอย่างเดียวว่าเราจะภาวนาเป็นเครื่องบูชาพระพุทธเจ้า เราจะปฏิบัติบูชาไม่ได้เพื่อเอาอะไรเข้าตัว เราจะบูชาคุณของท่าน ท่านมีพระคุณมากมาย ท่านค้นคว้าธรรมะมาด้วยความยากลําบาก แล้วก็อุตส่าห์มาสอนด้วยความยากลําบาก


==== บอกว่าไม่มีเวลาปฏิบัติเพราะยังไม่เข้าใจคำว่าปฏิบัติ ====
<!--T:17-->
สอนธรรมะไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อก่อนมีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านบอกว่าสอนธรรมะเหมือนเข็นควายขึ้นภูเขา โบราณมันมีคําหนึ่ง เข็นครกขึ้นภูเขา ครกตำข้าวลูกใหญ่ๆ เข็นไม่ใช่ง่าย เข็นครกขึ้นภูเขา ครูบาอาจารย์ท่านบอกรุ่นนี้ไม่ใช่ครกแล้ว รุ่นนี้เข็นควายขึ้นภูเขา เข็นมันมากๆ มันก็แว้งขวิดเอา


อย่างมาเป็นทีมอาสาสมัครกับหลวงพ่ออย่างนี้ เราทำเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม เพื่อพระศาสนา เราไม่ได้ทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ เพราะทีมงานหลวงพ่อไม่มีเงิน ไม่มีผลประโยชน์ตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้นเลย มาทำมันก็เป็นบุญของตัวเอง ฉะนั้นเวลาบางทีเราก็นึก โอ๊ย งานเราก็เยอะ วุ่นวายอยู่กับโลก แล้วยังต้องทำงานพิเศษอย่างโน้นอย่างนี้อีก เราจะเอาเวลาที่ไหนปฏิบัติ ก็ในขณะที่เราทำความดีนั่นล่ะคือเวลาปฏิบัติ
<!--T:18-->
เราต้องพยายามช่วยตัวเองให้มาก เรียนหลักของการปฏิบัติ เราลงมือปฏิบัติไม่ใช่เพื่อเอาผลประโยชน์อะไรเข้าตัว ไม่ใช่เพื่อกระทั่งมรรคผลนิพพาน ถือว่าเราปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้า ท่านตรัสรู้มาลําบาก ท่านสอนด้วยความยากลําบาก ต้องต่อสู้อะไรมากมาย อย่างเราเคยสวดไหมบทพาหุงฯ นั่นเป็นตัวอย่างการต่อสู้ของพระพุทธเจ้า กว่าจะให้ศาสนาดํารงมั่นคงอยู่ได้ต้องผ่านศึกผ่านอะไรมามากมายเหลือเกิน เพราะฉะนั้นเป็นคุณของท่าน และยิ่งเราภาวนา เรารู้เราเข้าใจตามท่านไปเรื่อยๆ เป็นลําดับ


อย่างคนมาด่าเรา ใจเราโกรธ เราไม่ตอบโต้ เรามีศีล เป็นความดีไหม เป็นความดี เห็นไหม เราสามารถสร้างความดีขึ้นในจิตใจเราได้ในทุกๆ สถานการณ์ ฉะนั้นที่บอกว่าเราไม่มีเวลาจะสร้างความดี ไม่มีเวลาปฏิบัติอะไร เพราะยังไม่เข้าใจคำว่าปฏิบัติ ไปคิดว่าการปฏิบัติคือการนั่งสมาธิ เดินจงกรม หลวงพ่อบอกเลย หลวงพ่อภาวนามา นั่งสมาธิ เดินจงกรมพอประมาณเท่านั้น ทำทุกวันล่ะแต่ว่าไม่ได้ทำเยอะ ทำพอให้จิตใจมีเครื่องอยู่ มีที่อยู่ที่อาศัย มีกำลังขึ้นมา แล้วก็เจริญปัญญา
<!--T:19-->
เราจะอัศจรรย์ในพระปัญญาตรัสรู้ของท่าน ยิ่งเราภาวนาเข้าถึงจิตถึงใจจนเราเห็นกระบวนการทำงานของจิตใจ คือปฏิจจิสมุปบาท โอ จิตมันปรุงทุกข์ขึ้นมาได้อย่างนี้ๆ ด้วยเหตุด้วยปัจจัยอย่างนี้ๆ อัศจรรย์มาก อัศจรรย์เหลือเกินพระปัญญาตรัสรู้ ยิ่งเราภาวนาเราก็ยิ่งเคารพยิ่งศรัทธาแน่นแฟ้นมากขึ้นเรื่อยๆ เรื่อยๆ


ตรงที่เราทำงานอยู่นั้น เราสามารถปฏิบัติธรรมได้ อย่างเวลาจะจัดประชุม เราต้องเตรียมข้อมูล เตรียมอะไรมากมาย หัวหมุนติ้วๆ เลย เราก็ดูใจไป ใจมันเบื่อ ใจมันร้อนรน กลัวจะทำไม่ทันอย่างนี้ ดูลงไปเลย เราได้ปฏิบัติอยู่แล้ว พองานเราเสร็จ เราก็รอเวลาประชุม เมมเบอร์มาไม่ครบเสียที ยืดเยื้อ เย็นนี้เราก็จะต้องมีธุระไปโน่นไปนี่ การประชุมก็ล่าช้า เลท เพราะว่าบางคนมันไม่มาง่ายๆ เถลไถล ไม่เคารพเวลาของคนอื่นอะไรอย่างนี้ ใจเรากลุ้มใจ รู้ ใจเราโมโห รู้ หลวงพ่อปฏิบัติธรรม ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติอยู่ในชีวิตจริงๆ นี้ล่ะ
<!--T:20-->
ยังเป็นปุถุชน ศรัทธาก็ยังกลับกลอกอยู่ เรียกศรัทธาที่แกว่งไปมา ถ้าเราภาวนาจนเราเป็นพระโสดาบัน เราจะมีศรัทธาที่แน่นแฟ้น เรียกอจลศรัทธา ศรัทธาที่ไม่คลอนแคลน ไม่งอนแง่น ไม่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เพราะอะไร เพราะเราเห็นความจริงแล้ว ว่าพระพุทธเจ้าสอนความจริง เราลงมือปฏิบัติเข้าถึงความจริงอันนั้น เราพ้นทุกข์ได้จริงๆ พระพุทธเจ้ามีจริง พระธรรมมีจริง พระสงฆ์มีจริง ศรัทธาอย่างนี้มันแน่นแฟ้น ศรัทธาของปุถุชนคลอนแคลน


ตื่นเช้ามาไป รอรถเมล์ รถเมล์แน่นมาก ห้อยกันต่องแต่ง ขึ้นไม่ได้ จิตใจกังวล กลัวจะไปทำงานสาย ก็เห็นความกังวล ขึ้นรถได้ ดีใจ รู้ว่าดีใจ เห็นจิตเห็นใจของตัวเองไปเรื่อยๆ คำว่า ไม่มีเวลาปฏิบัติ ไม่มีหรอก ถ้าเรารู้จักการปฏิบัติแล้ว การที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจาไม่ทำผิดศีล 5 มันก็เป็นบุญของเราแล้ว เป็นการปฏิบัติธรรม การที่เราเสียสละก็เป็นการปฏิบัติธรรม อย่างแต่ก่อนขึ้นรถเมล์ไปอย่างนี้ คนก็แน่น เมื่อยก็เมื่อย พอได้นั่ง นั่งได้ป้ายเดียว พระขึ้นมาแล้ว จิตเป็นกุศลหรืออกุศล อกุศล หลวงพ่อดูเลย ทุกวันนี้เลยไม่กล้านั่งรถเมล์เลย กลัวคนเป็นอกุศล


เราสามารถปฏิบัติธรรมได้ตลอดเวลา คำว่า ไม่มีเวลาปฏิบัติ เพราะไม่รู้ว่าการปฏิบัติธรรมมันไม่ใช่แค่เรื่องนั่งสมาธิ เดินจงกรม มันเป็นเรื่องการรักษาจิตใจของเรา รักษาจิตใจมีสติคุ้มครองใจไป แล้วไม่ทำผิดศีล จิตใจฟุ้งซ่าน เราอยู่กับเครื่องอยู่ของเราไป จิตใจก็สงบ ได้สมาธิขึ้นมา เราอยู่กับเครื่องอยู่ไป พอจิตใจเราเคลื่อน เรารู้ จิตใจเราไหล เรารู้ เราจะได้ความตั้งมั่นขึ้นมา แล้วพอจิตมันตั้งมั่นมากพอ มันจะแยกขันธ์ได้
<!--T:21-->
กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์
อย่างพวกเราส่วนมากเราก็คงจะเป็นปุถุชน ถ้าเราเป็นปุถุชนทำอย่างไร ศรัทธาที่คลอนแคลนนี้ถึงจะเอาตัวรอดได้ ให้รู้จักคบคนที่ดีๆ คนที่มีศีลมีธรรมด้วยกัน มีเพื่อนกัลยาณมิตร ภาวนา มีเพื่อนภาวนาไปด้วยกัน บางช่วงคนนี้ท้อใจ อีกคนยังฮึกเหิมอยู่ ก็กระตุ้นเตือนกัน พากันเดินไป ประคับประคองกันเดินไป


ฉะนั้นพวกเราไม่ต้องตกใจ บางคน โอ๊ย แยกขันธ์ๆ จะทำอย่างไร ไม่ยากอะไรหรอก ฝึกจิตใจ พอมันตั้งมั่นไปเรื่อยๆ ทำกรรมฐานไป จิตเคลื่อนแล้วรู้ๆ ไป เดี๋ยวมันก็ตั้งมั่นขึ้นมาเอง พอมันตั้งมั่นมากพอ มันจะเห็นเลย ร่างกายกับจิตคนละอันกัน สุข ทุกข์ ดี ชั่วกับจิตก็คนละอันกัน เห็นจิตเกิดดับ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จิตแต่ละดวงๆ เกิดแล้วก็ดับ มันไม่ยากหรอก แต่ขอให้ได้สมาธิที่ดีมาก่อน
<!--T:22-->
ยิ่งถ้าเราสามารถชวนคนในบ้านเรา อย่างสามีชวนภรรยาภาวนาไปด้วยกันอะไรอย่างนี้ ภรรยาชวนสามีภาวนาไปด้วยกัน พ่อแม่ลูกภาวนาด้วยกัน มันจะกระตุ้นเตือนกัน วันนี้คนนี้ท้อแท้ อีกคนยังเข้มแข็งก็ชวนกัน แต่ถ้าเราคบคนเหลวไหล เรามีจิตใจเข้มแข็งมั่นคงต่อพระรัตนตรัย เราไปคบคนเหลวไหล มันก็ชวนเราเหลวไหล สุดท้ายเราก็กลายเป็นคนเหลวไหล เราคบคนชนิดไหนเรามีแนวโน้มที่จะกลายเป็นคนชนิดนั้น


การได้สมาธิไม่ใช่แค่นั่งสมาธิเดินจงกรมหรอก เรารู้จักวางจิตใจให้ถูกในทุกๆ สถานการณ์ นั้นล่ะ เราสามารถทำกุศลให้เกิดได้ อย่างบางคน ทางบ้านมีอาชีพเลี้ยงปลา ไม่ได้เลี้ยงไว้สวยงาม เลี้ยงเอาไว้ขาย ถึงเวลาครบเท่านี้วัน เท่านี้เดือน เอาไปขาย ถ้าเราตั้งใจทุกวัน คิดทุกวันเลย เลี้ยงแล้วโตเร็วๆ จะได้เอาไปขาย ได้เงินเยอะๆ อันนี้คิดไปในทางอกุศล
<!--T:23-->
เพราะฉะนั้นการเลือกคบคนเป็นเรื่องสำคัญที่สุดเลย ที่จะดำรงตัวเองอยู่ท่ามกลางศรัทธาที่ยังกวัดแกว่งอยู่ เพราะฉะนั้นถ้าเราไปดูมงคลสูตร สิ่งที่เป็นมงคลกับชีวิตเรา ข้อที่หนึ่งคือไม่คบคนพาล คนที่ชักนําเราไปสู่ทางผิด ข้อที่สอง ให้คบบัณฑิต คือคนที่ชักนําเราไปสู่เส้นทางที่ถูกต้อง ถ้าจุดเริ่มต้นตรงนี้ผิด ไม่ต้องมาพูดเรื่องมรรคผลนิพพานแล้ว


ถ้าเรายังต้องช่วยพ่อช่วยแม่เลี้ยงปลาเลี้ยงสัตว์อะไรอย่างนี้ เราวางใจว่าเรากำลังทำงานเพื่อรับใช้พ่อแม่เรา หรือเวลาเราให้อาหารสัตว์ ไม่ใช่คิดว่าให้มันโตเร็วๆ แล้วจะได้เอาไปขาย วางใจให้เป็นกุศล ให้มันไม่หิว ให้มันอิ่ม ให้มันมีความสุข ในขณะนี้ ในวันนี้ ในวันนี้เรายังไม่ได้ไปทำร้ายมัน สมมติว่าต้องเลี้ยง 2 เดือน 3 เดือนอะไรอย่างนี้ เราก็วางใจให้เป็นกุศลได้ 2 – 3 เดือน วันสุดท้ายเอาไปฆ่า ส่งไป อกุศลไหม อกุศลแน่นอน แต่วางใจเอาไว้ว่าทำหน้าที่ไปๆ อย่าไปยินดีพอใจที่เขาจะเอาสัตว์ไปฆ่า
<!--T:24-->
พระพุทธเจ้าถึงบอกกัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ ของการประพฤติปฏิบัติธรรม คู่กับอีกสิ่งหนึ่งคือโยนิโสมนสิการ ท่านพูดไว้ 2 อย่าง บางที่ท่านก็บอกว่ากัลยาณมิตรเป็นเครื่องหมายแรกของอริยมรรค ท่านเปรียบเทียบเหมือนตอนพระอาทิตย์จะขึ้น พระอาทิตย์จะขึ้นมันจะมีแสงเงินแสงทอง แสงเงินฟ้ามันจะเริ่มขาวๆ ทางตะวันออกแล้วพอพระอาทิตย์มันขึ้นมากขึ้น ท้องฟ้าที่ขาวๆ มันจะเปลี่ยนเป็นสีแดง นี้ที่เรียกแสงเงินแสงทอง แสงเงินแสงทองนั้นเป็นเครื่องหมายแรกเรียกบุพนิมิต แสงเงินแสงทองเป็นบุพนิมิต คือเป็นเครื่องหมายแรกที่บอกเราว่าพระอาทิตย์กําลังจะขึ้น กัลยาณมิตร การที่เราได้คบคนดี ชักนํากันไปในทางดีในทางที่จะเจริญในธรรม เป็นเครื่องหมายแรกที่เราจะเข้าถึงอริยมรรคอริยผลได้


มันมีอยู่ในอรรถกถาธรรมบท มีผู้หญิงคนหนึ่งเป็นเมียนายพราน ผู้หญิงคนนี้เป็นพระโสดาบัน แล้วเป็นเมียนายพราน ทุกเช้าหุงข้าวห่อเอาไว้ให้สามี ตอนสามีจะออกจากบ้าน ก็ไปหยิบธนู หยิบหอกให้สามี สามีก็ไปล่าสัตว์ คนก็ติเตียนๆ ว่าเป็นชาวพุทธอย่างไร สนับสนุนสามีให้ไปล่าสัตว์ มีการไปฟ้องพระพุทธเจ้า นี่หรืออริยสาวก
<!--T:25-->
อีกที่หนึ่งท่านก็สอนบอกว่าโยนิโสมนสิการเป็นเครื่องหมายแรก ท่านสอนคนละคนกัน คนละคน คนนี้ควรสอนธรรมอันนี้ สอนว่าให้มีกัลยาณมิตร ท่านก็สอนคนนี้ให้มีกัลยาณมิตร คนนี้จิตใจเขาเข้มแข็งกว่า ไม่ต้องการพึ่งใครมากมาย เขาสามารถเดินได้ด้วยความเด็ดเดี่ยว ท่านก็สอนให้มีโยนิโสมนสิการ


ปรากฏว่าพระพุทธเจ้าถามว่าเวลาส่งหอกส่งธนูให้สามีวางจิตว่าอย่างไร บอกว่าวางจิตว่ากำลังรับใช้สามีอยู่ ไม่ได้วางจิตว่าไปฆ่าสัตว์มาให้ได้เยอะๆ คิดแต่ว่าทำหน้าที่ คิดว่าตัวเองทำหน้าที่ของตัวเองอยู่ ไม่ได้ยินดีพอใจในการทำผิดศีลธรรมทั้งหลาย นี่เป็นตัวอย่างให้ฟัง เราต้องรู้จักวางจิตใจของเราให้มันเป็นกุศลไว้ ถ้าเราไม่ฉลาดในจิตของเรา คิดเศร้าหมองไปเรื่อยๆ อย่างเราต้องทำ บางทีเราต้องทำสิ่งที่ผิด ถ้าจิตเราเศร้าหมองไป สมาธิเราเสื่อม
<!--T:26-->
ความเก่งของพระพุทธเจ้าท่านรู้จักจําแนกแจกธรรมที่สมควรแก่แต่ละคน แต่ละคนเหมาะกับธรรมะแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นเวลาท่านสอนธรรมะ บางทีสอนแตกต่างกัน ประโยคเดียวกันแต่ว่าสอนคนละคน ก็เนื้อในเปลี่ยนนิดหนึ่งอะไรอย่างนี้ เป็นคนละเรื่องไปเลย นี่เป็นความเก่งของท่าน ถ้าเราท่องตํารามาเจอใครเราก็บอก ให้มีกัลยาณมิตร ให้มีโยนิโสมนสิการ พูดไปอย่างนั้น เจอใครก็พูดเหมือนกันหมด ทั้งๆ ที่ธรรมะนั้นไม่ได้เหมาะกับคนๆ นั้น


<!--T:27-->
ฉะนั้นการถ่ายทอดธรรมะไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เรื่องยากเลย ไปแนะเขาผิดบาป ไปสอนให้เขาหลงทาง ทำให้การเดินทางในสังสารวัฏของเขายืดยาวออกไปอันตรายกับตัวเองด้วย อันตรายกับของคนอื่นเขาด้วย ทุกวันนี้เห็นไหม พวกเดียรถีย์ พวกอลัชชีออกมาสอนอะไรต่ออะไรกันเยอะแยะไปหมด แปลกๆ นอกพระไตรปิฎก พวกนี้เราอย่าไปเข้าใกล้ เข้าใกล้ไปคบคนพวกนี้ เราจะเสื่อม ดูคำสอน ศึกษาปริยัติไว้บ้างก็ดี เราจะได้รู้ว่าอันไหนถูกอันไหนผิด


<p <big>align="right">“ถ้าเรารู้หลักของการปฏิบัติ บุญมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง
<!--T:28-->
ทำอะไรก็ได้ คำว่าไม่มีเวลาปฏิบัติมันจะไม่เกิดขึ้น”</big></p>
หลวงพ่อก่อนที่จะภาวนา หลวงพ่ออ่านพระไตรปิฎกก่อน ที่อ่านพระไตรปิฎกเพราะว่าไม่รู้จะภาวนาอย่างไร ทำได้แต่สมถะ แล้วก็รู้ว่ากิเลสมันก็เหมือนเดิม ไม่เห็นมันจะลดลงตรงไหนเลย ความทุกข์มันก็เหมือนเดิม ไม่เห็นมันจะลดลงตรงไหนเลย ก็พยายามค้นคว้าในพระไตรปิฎก อ่านแล้วอ่านอีก อ่านหลายรอบ บางทีไม่ได้เรียนบาลีแต่ก็อุตส่าห์เอาพระไตรปิฎกบาลีมาวางทาบกับพระไตรปิฎกภาษาไทย ก็ดูคําแปลของเขาไปเรื่อยๆ พยายามค้นหาวิธีปฏิบัติ หาไม่เจอ


เมื่อก่อนหลวงพ่อทำงานอยู่ นั่งติดกับหัวหน้ากอง ผู้อำนวยการกองนั่งอยู่โต๊ะติดกัน ตรงกลางมีโทรศัพท์อยู่ หัวหน้ากองแกจะรีบทำงาน แกก็สั่ง ปราโมทย์ ถ้าใครโทรมาถึงพี่ บอกว่าพี่ไม่อยู่ โห เราฟังทีแรกสะเทือนเลย มันให้เราโกหกนี่ ทำอย่างไรดี พอโทรศัพท์มา นึกในใจ อย่าให้ขอคุยกับหัวหน้ากองเลย มันก็ขอคุยกับหัวหน้ากอง เราก็วางใจว่าเราทำหน้าที่เรา เราพูดเบาๆ ถือหูโทรศัพท์ไว้ห่างหน่อย หัวหน้าสั่งว่า ไม่อยู่ครับ จิตเศร้าหมองไหม เศร้านิดหน่อย แต่ว่าอยู่กับโลกจะถือศีลให้สะอาดหมดจดร้อยเปอร์เซ็นต์ยากมาก แต่ต้องมีวิธีผ่อนหนักให้เป็นเบา ไม่ได้โกหกๆ
<!--T:29-->
จนมาได้กัลยาณมิตรคือหลวงปู่ดูลย์เป็นกัลยาณมิตร ไม่ใช่เป็นเพื่อน กัลยาณมิตรไม่ได้แปลว่าเพื่อน อย่างครูบาอาจารย์เป็นกัลยาณมิตร พระพุทธเจ้าเป็นยอดของกัลยาณมิตร เจอหลวงพ่อดูลย์ก็จับหลักได้ว่าต้องรู้เท่าทันจิตตนเองก่อน ให้จิตมันตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา เอาจิตที่ตั้งมั่นไปเรียนรู้ความจริงของรูปนามกายใจ จับหลักตัวนี้ได้เลยภาวนาได้ มีกัลยาณมิตร


พอเราพยายามรักษาใจของเราเรื่อยๆ นึกถึงความดีที่เราสร้างไว้ สมาธิมันจะเกิด หรือบางทีมันต้องทำบาป มันจะเป็นบาปเล็กๆ เพราะเราทำไปด้วยความรู้ รู้เหตุรู้ผลอะไรอย่างนี้ ไม่ได้ทำแล้วยินดี อย่างยินดีไปโกหกเขา อันนี้เต็มๆ เลย แต่ว่าหน้าที่สั่งว่าต้องทำอย่างนี้ มีหน้าที่อันนี้ เราก็เลี่ยงเสียหน่อยหนึ่ง แทนที่จะผิดเต็มร้อยก็เหลือผิด 10 เปอร์เซ็นต์ ค่อยๆ ทำ ใช้ชีวิตอย่างมีเหตุมีผล เพราะฉะนั้นไม่ว่าในชีวิตเราจะเหน็ดเหนื่อยสักแค่ไหนในแต่ละวัน จะยุ่งยากสักแค่ไหน ถ้าวางจิตให้ดี สมาธิมันเกิดง่าย
<!--T:30-->
โยนิโสมนสิการ
เวลาภาวนาไปบางครั้งเกิดติดขัดขึ้นมา มีโยนิโสมนสิการ สังเกตตัวเอง อย่างภาวนาแล้วจิตมันว่างสว่างอยู่เป็นเดือนอยู่เป็นปี มีโยนิโสมนสิการ สังเกตตัวเองว่ามันต้องมีอะไรผิดแล้วล่ะ พระพุทธเจ้าบอกว่าจิตไม่เที่ยง ทำไมจิตเราเที่ยง ท่านบอกจิตเป็นทุกข์ ทำไมจิตเราเป็นสุข ท่านบอกจิตเป็นอนัตตา บังคับไม่ได้ ทำไมเราบังคับได้ มันผิดตรงไหน อย่างนี้เรียกว่าโยนิโสมนสิการ เรากําลังภาวนาไป เราพบสภาวะอย่างนี้ๆ เราพิจารณาด้วยคําสอนของพระพุทธเจ้า คําสอนของพระอรหันต์สาวกในพระไตรปิฎกอะไรอย่างนี้ มี


อย่างบางคนเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ พ่อแม่แก่มากแล้ว ไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร หลงๆ ลืมๆ ทำสกปรกทั้งวันเลย บอกอย่างไรก็ไม่ฟัง ทำไมไม่ฟัง เพราะฟังไม่รู้เรื่อง ก็ทำเลอะเทอะสกปรก ถ้าใจเราโมโห นอกจากไม่ได้บุญแล้วยังบาปด้วย ถ้าเราวางใจว่าเราทำให้พ่อให้แม่เรา เมื่อก่อนตอนเราเป็นเด็กเล็กๆ เราก็ทำความสกปรกมากมาย วันหนึ่งอึบ้างฉี่บ้างตั้งหลายรอบ พ่อแม่ไม่เห็นบ่นเลย พอพ่อแม่แก่ทำสกปรก เราโมโหอย่างนี้ เราก็นึกถึงว่าพ่อแม่เคยทำมาให้เรา เราก็ตอบแทนให้ ใจมันก็เป็นกุศล หรือจะให้สูงขึ้นไปอีก ใจเราหงุดหงิด รำคาญพ่อ รำคาญแม่ เราเห็นความหงุดหงิดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อันนี้ยิ่งเป็นกุศลที่สูงขึ้นไปอีก มันเป็นการถึงขั้นเจริญวิปัสสนาได้
<!--T:31-->
หรือคําสอนของครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์สอน หลวงพ่อยังไม่เชื่อเลย เคารพมากศรัทธามาก แต่เวลาครูบาอาจารย์สอน หลวงพ่อฟัง หลวงปู่ลย์เคยถามหลวงพ่อเลย วันหนึ่งท่านสอนบอก พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต จึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง เชื่อไหม เราก็อึกอัก แล้วบอก ผมยังไม่เห็นๆ แต่ผมจะจําไว้ บอกท่านอย่างนี้ ท่านยิ้มเลย ท่านบอกมันต้องอย่างนี้ ไม่ใช่เอะอะก็เชื่อเลย อันนั้นโง่


จะเลี้ยงลูกก็เหมือนกัน เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ก็เหมือนกัน เลี้ยงลูก ชีวิตยังมีความหวัง เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ไม่มีความหวัง เพราะว่านับวันจะยิ่งแย่ลงเรื่อยๆ เลี้ยงเด็ก วันหนึ่งมันก็หมดภาระไป มันโตขึ้นมา ฉะนั้นเลี้ยงเด็กง่ายกว่าเลี้ยงผู้ใหญ่ วางใจง่ายกว่า เวลาเลี้ยงลูกบางทีก็มีความสุขมากมาย ดูแลพ่อดูแลแม่บางทีไม่ค่อยมีความสุข มันรู้สึกลำบาก แล้วก็ไม่เห็นอนาคตที่ดีขึ้นเลย มีแต่แย่ลงๆ
<!--T:32-->
อย่างหลวงปู่ดูลย์ท่านบอกว่าให้ดูจิต “จิตที่ส่งออกนอกเป็นสมุทัย ผลที่จิตส่งออกนอกเป็นทุกข์ จิตเห็นอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค ผลที่จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ” ท่านสอนว่าให้รู้ทันจิตตัวเองนี่เป็นการเจริญมรรค หลวงพ่อก็งงแต่ว่าจําที่ท่านบอกไว้แล้วเอาไปลองทำดู ที่งงเพราะว่าพระพุทธเจ้าสอนว่าให้รู้ทุกข์ ทำไมหลวงปู่ดูลย์บอกให้รู้จิต เอ๊ะ ทำไมหลวงปู่สอนไม่เหมือนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ผิดแน่นอน หลวงปู่ก็ไม่น่าจะผิด


ถ้าวางใจ วางใจว่าทำด้วยความกตัญญู เราก็เป็นบุญแล้ว เป็นสิ่งที่สมควรทำ เป็นการตอบแทน หรือสูงขึ้นไปอีกคือทำวิปัสสนาไปเลย ก็ดูจิตดูใจของเราไป หรือเราเช็ดอึเช็ดฉี่ให้พ่อให้แม่อย่างนี้ เราเห็นร่างกายมันทำงาน ใจเราเป็นคนรู้คนดู ฝึกอย่างนี้ก็ได้ ฉะนั้นถ้าเรารู้หลักของการปฏิบัติ บุญมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทำอะไรก็ได้ คำว่าไม่มีเวลาปฏิบัติมันจะไม่เกิดขึ้น
<!--T:33-->
เราเองมีความเข้าใจอะไรที่ยังไม่เข้าถึงแก่นหรือเปล่า ไม่ได้คิดว่าพระไตรปิฎกผิด งมงายเชื่อแต่อาจารย์บอกพระไตรปิฎกผิด หรือเห็นว่าครูบาอาจารย์สอนอะไร ภาษาไม่เหมือนพระไตรปิฎก บอกครูบาอาจารย์ผิด นี่หยาบไป ไม่มีสติมีปัญญาพอ หลวงพ่อไม่คิดอย่างนั้น หลวงปู่ดูลย์บอกให้ดูจิต พระพุทธเจ้าบอกให้รู้ทุกข์ หลวงปู่ดูลย์ให้รู้จิต ทำไมไม่เหมือนกัน เราไม่เข้าใจตรงไหน ไม่เข้าใจทำอย่างไร แขวนไว้ก่อน ไม่คิดมาก คิดมากยากนาน


<big>หัดวางจิตวางใจให้ดี วางจิตวางใจให้ถูก มีบุญมีกุศลได้ทั้งนั้น</big>
<!--T:34-->
เราก็หัดดูจิตดูใจของตัวเองทำงานไป ก็รู้ว่านี่มันอยู่ในเรื่องของสติปัฏฐาน ที่หลวงปู่ดูลย์บอกให้อ่านจิตใจตนเองก็อยู่ในสติปัฏฐาน 4 นั่นล่ะ อย่างใจเรามีความสุขความทุกข์ขึ้นมามันอยู่ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใจเราเกิดกุศลอกุศลขึ้นมามันอยู่ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เราเห็นเวทนามันจะเกิดได้ อาศัยตา หู จมูก ลิ้น กายกระทบอารมณ์ภายนอก หรือใจกระทบความคิดนึก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็รูป


อย่างที่บอก แค่คนเขาด่าเรา เราไม่ด่ากลับ ก็มีศีลแล้ว ก็เป็นบุญของเราแล้ว ถูกเขาทำร้าย เราไม่ทำร้ายเขา ถูกเขามาขโมยไป เราไม่ไปขโมยใคร เขามาแย่งคนรักของเรา เราไม่แย่งคนรักของใคร เขาโกหกเรา เราไม่โกหกใคร ฟังแล้วโง่ แต่ว่าผ่านไปช่วงหนึ่ง เราจะรู้เลยว่าคุณค่ามันมหาศาลจริงๆ ทุกครั้งที่เรานึกถึงความดีที่เราสร้าง สมาธิก็เกิด รู้จักต่อยอดเข้าสู่การเจริญปัญญา มันไม่ใช่เรื่องยากเกินไปหรอก
<!--T:35-->
เราก็จะเห็นการทำงานระหว่างกายกับใจมันก็เนื่องด้วยกัน เนื่องถึงกัน ตาเห็นรูป เกิดความสุขความทุกข์ขึ้นที่ใจ หูได้ยินเสียงเกิดสุขทุกข์ที่ใจ ฉะนั้นเวลาภาวนาไม่ใช่รู้แต่จิต มันก็พลอยรู้รูปไปด้วย เพราะมันเป็นจุดตั้งต้นให้เกิดนามธรรมที่เราจะดูจิตใจตัวเอง เฝ้ารู้เฝ้าดูเรื่อยๆ แล้วก็เห็นจิตมันพอละเอียดขึ้น ก็เห็นจิตมันทำงานทางอายตนะ ตรงที่เห็นจิตมันทำงานทางอายตนะมันขึ้นไปสู่ธัมมานุปัสสนาแล้ว


จุดใหญ่ ปัญหาใหญ่ของฆราวาส หลวงพ่อพูดเรื่อยๆ ขาดอยู่ 2 ตัว ขาดความต่อเนื่องกับขาดสมาธิ ถ้าทำกรรมฐานต่อเนื่องไป มันก็ได้สมาธิขึ้นมา แต่ต้องทำกรรมฐานที่ถูก ถูกวิธี มีสติกำกับ มันจะได้สมาธิที่ประกอบด้วยสติ คือจะเป็นสัมมาสมาธิ ถ้าสมาธิไม่ประกอบด้วยสติ มันเป็นมิจฉาสมาธิไป
<!--T:36-->
ค่อยดูไปเรื่อยๆ ก็เห็นกระบวนการทำงานที่จิตสร้างความทุกข์ขึ้นมา นั่นคือปฏิจจสมุปบาท อยู่ในธัมมานุปัสสนา ภาวนา อาศัยจุดเริ่มต้นจากการอ่านจิตตนเอง สุดท้ายมันก็รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม มันเนื่องกันไปหมด กาย เวทนา จิต ธรรมมันเหมือนโต๊ะสี่เหลี่ยมข้างหน้าหลวงพ่อนี้ล่ะ เราจับเข้ามุมหนึ่ง ที่เหลือมันก็เคลื่อนตามมา


ฉะนั้นเราค่อยๆ ฝึก ทำไปเรื่อยๆ ไม่เห็นจะยากตรงไหนเลย ทำความดีไปเรื่อยๆ อย่าทำความชั่ว แล้วเวลาเรานึกถึงสิ่งที่เราทำที่ผ่านมา สมาธิจะเกิดอัตโนมัติ เพราะจิตใจเรามีความสุขทันทีเลย มันอิ่ม มันอิ่มอกอิ่มใจ ได้สร้างความดี พอสมาธิเกิด เดินปัญญาต่อ ทำให้ได้อย่างนี้แล้วเราจะเจริญในธรรมะ
<!--T:37-->
ฉะนั้นถ้าสติปัฏฐาน 4 เราทำได้สักอย่างหนึ่ง ที่เหลือมันก็ตามมาเองล่ะ ไม่ยากแล้ว ภาวนามาเรื่อยๆ ก็เห็น ทำอย่างไรหนอ มันจะรู้จิตรู้ใจแล้วคือการรู้ทุกข์ ไม่เห็นว่าจิตมันเป็นทุกข์เลย เห็นจิตนี้เป็นตัวบรมสุข จิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มีแต่ความสุข ดูอย่างไรก็ไม่เห็นจะทุกข์เลย การดูจิตนี่มันผิดหรือเปล่า มันไม่เห็นทุกข์ แต่ว่าทนดูไปเรื่อย แล้วก็เห็นความทุกข์ของกาย ของเวทนา ของสังขารทั้งหลาย ดูมันไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ แล้วจิตมันค่อยฉลาดขึ้น ค่อยรวมเข้ามา วางเป็นลําดับๆ ของภายนอก ของหยาบๆ ความปรุงแต่งหยาบๆ รวมเข้ามาที่จิต


ตอนที่หลวงพ่อภาวนา ก็เป็นฆราวาสเหมือนพวกเราล่ะ งานเยอะไหม เยอะ เครียดไหม เครียด ต้องเจอคนซึ่งไม่ชอบใจไหม เจอ วันๆ ถ้าภาวนาไม่เป็น อาจจะบ้าตายไปแล้ว โทสะขึ้นทั้งวัน เพราะพื้นจิตของหลวงพ่อเป็นพวกโทสจริต เรากระทบอะไรต่ออะไร หลวงพ่อไม่ชอบยุ่งกับคนแต่ไหนแต่ไร แต่ตอนทำงานต้องยุ่งกับคนมากมาย มาภาวนาแล้ว ครูบาอาจารย์ท่านสั่ง หลวงพ่อพุธ ท่านเป็นองค์ที่สั่งให้หลวงพ่อไปทำงานเผยแพร่ ไม่ใช่เสร่อออกมาทำเอง ครูบาอาจารย์สั่ง ถึงต้องออกมาทำ


ทำงานเผยแพร่ก็ต้องยุ่งกับคน เป็นของที่ชอบไหม ไม่ชอบ ไม่ชอบยุ่งกับคน แต่มันมีหน้าที่ต้องทำ ก็ต้องทำ ทำไปแล้วเห็นเขาได้รับประโยชน์ ได้รับความสุข เราก็มีความสุขด้วย พลอยยินดี อย่างเห็นคนเขาภาวนาได้ หลวงพ่อก็มีมุทิตาจิตพลอยยินดี อย่างพวกเราชอบพูดกัน เห็นใครเขาทำอะไรดีก็อนุโมทนาๆ ใจอาจจะไม่ยินดีก็ได้ ใจอาจจะอิจฉาก็ได้ หรือใจอาจจะหมั่นไส้ก็ได้
<!--T:38-->
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
ก็คือการเห็นทุกข์
ค่อยภาวนาเรื่อยๆ วันหนึ่งเห็น จิตมันก็คือตัวทุกข์เหมือนกัน เพราะฉะนั้นที่หลวงปู่ดูลย์บอกว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ก็ใช่ ก็คือการเห็นทุกข์เหมือนกัน จิตเห็นจิต แต่ว่าตัวจิตผู้รู้มันเป็นตัวทุกข์ตัวสุดท้ายเลย ตัวสุดท้ายที่เราจะเห็น อย่างเราเห็นร่างกายเป็นทุกข์ เห็นง่าย เห็นเวทนาเป็นทุกข์ ชักจะยากนิดหน่อย อย่างเวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ถ้าเป็นความรู้สึกทุกข์ เราเห็นว่าทุกข์ง่าย แต่ความรู้สึกสุขเราเห็นว่าเป็นทุกข์ไม่ใช่ง่ายเหมือนกัน


แต่ถ้าเราทำด้วยใจที่สะอาดจริงๆ อย่างเราช่วยกันทำงานเผยแพร่ ทีมงานจำนวนมาก รวมทั้งงานแม่ครัวด้วย ถ้าแม่ครัวไม่หาข้าวให้พระกิน ไม่หาข้าวให้ทีมงานกินอะไรอย่างนี้ ก็ไม่มีแรงทำงาน ฉะนั้นทุกอย่างมันสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันหมดล่ะ ทุกหน้าที่ คล้ายๆ อวัยวะหลายๆ ชิ้นในร่างกาย แต่ละชิ้นสำคัญทั้งนั้น ทำงานเกี่ยวเนื่องกันไป ฉะนั้นอย่างทำครัวก็มีผลต่องานเผยแพร่ด้วย แล้วเวลาเราเห็นคนเขาภาวนาได้ เราดีใจ พอเราดีใจ จิตใจเราเป็นบุญเป็นกุศล มีสมาธิขึ้นมาเลย
<!--T:39-->
ถ้าเราดูความสุขเกิดขึ้น เราจะเห็นความสุขก็เป็นเครื่องเสียดแทงใจ พอรู้ว่าความสุขมันเสียดแทงจิตใจ ทำให้จิตใจหวั่นไหว โอ้ ความสุขมันก็เป็นตัวทุกข์เหมือนกัน ไม่ใช่ตัวดีตัววิเศษหรอก ตัวเฉยๆ เราไปแต่งจิตให้เฉยๆ อยู่เรานึกว่าดี ดูไปๆ มันก็ของไม่มีสาระอะไร มันว่างได้ มันนิ่งได้ มันเฉยๆ ได้ เป็นอุเบกขาได้ มันก็แปรปรวนได้อีก มีแต่ความไม่เที่ยง มีแต่การบังคับไม่ได้


“บุญเป็นที่พึ่งอาศัยในการเดินทางไกลในสังสารวัฏ
<!--T:40-->
ส่วนกุศลเป็นเครื่องพาเราออกจากสังสารวัฏ มันคนละระดับกัน
ค่อยเรียนไป ก็จะเห็นตัวเวทนาก็เป็นทุกข์ ตัวสังขาร เห็นสังขารคือความปรุงดีปรุงชั่วเป็นทุกข์ เวลาเราปรุงชั่ว สังเกตไหมจิตใจเราไม่มีความสุข พอมันปรุงดี แหม มันอิ่มเอิบ เกิดปีติเกิดความสุขอย่างเราปรุงดี เช่น เราได้ตั้งใจฟังธรรม ตั้งใจปฏิบัติธรรม จิตใจเราดีงามมากเลย มีความสุขมาก จะดูให้เห็นว่ามันเป็นทุกข์ ความดีเป็นทุกข์มันก็ดูยาก เราค่อยๆ ดูไป
บุญคือการสร้างคุณงามความดีทั้งหลาย ผลเป็นความสุข
เราจะเดินทางในสังสารวัฏอันยาวไกลด้วยความสุข
ส่วนกุศลคือความฉลาด”


หลวงพ่อยกตัวอย่างให้ฟัง คือคุณแม่ ตั้งแต่อยู่สวนโพธิ์ยังไม่ได้บวช 2 คนกับพระอาจารย์อ๊า พอญาติโยมมา ตอนเช้าหลวงพ่อเทศน์รอบแรกก่อน เทศน์รอบที่หนึ่งเสร็จประมาณครึ่งชั่วโมง 7 โมงครึ่งถึง 8 โมงก็เบรกกินข้าว หลวงพ่อก็ฉันข้าว ส่งถาดออกไปข้างล่าง ที่นี่ก็เหมือนกัน พระฉันข้างบนแล้วก็ส่งอาหารลงไปข้างล่างแล้วโยมก็ไปกินข้าว
<!--T:41-->
ความชั่วสำหรับนักปฏิบัติ ความชั่วเราเห็นเป็นทุกข์ง่าย เพราะฉะนั้นเวลาอย่างจิตเราเกิดราคะขึ้นมาอย่างนี้ จิตใจเราระส่ำระส่าย จิตใจเราเกิดโทสะ จิตใจระส่ำระส่าย ไม่มีความสุข จิตใจเราหลง เหมือนหมาเหมือนแมวหลงๆ ไป ดูแล้วไม่เห็นจะมีความสุขตรงไหนเลย มันเหมือนคนขาดสติเหมือนคนติดยาเสพติด ไม่รู้เรื่องอะไร มันดูแล้ว เอ๊ะ อกุศลทั้งหลายไม่เห็นมันจะสุขตรงไหน ดูง่าย แต่ตรงกุศลดูให้เห็นว่ามันเป็นทุกข์ไม่ใช่ง่าย


พอโยมกินข้าวเสร็จแล้ว โยมก็จะมาช่วยกันล้างจาน แต่ตอนนั้นโยมมันยังไม่เยอะนัก คุณแม่กับพระอาจารย์อ๊าก็จะบอกโยม บอกให้ขึ้นไปฟังธรรมรอบสาย รอบ 9 โมง ให้ขึ้นไปฟัง เดี๋ยวงานพวกนี้ 2 คนจัดการเอง คุณแม่กับอาจารย์อ๊าก็ล้างถ้วยล้างชามอะไร ไม่ได้ฟังหลวงพ่อเทศน์ แล้วตอนนั้นก็ไม่มีการอัดเทปอะไรทั้งสิ้น ไม่ได้ฟังธรรม ทำงานช่วยเหลือให้พวกเราที่ไปยุคโน้นได้ฟังธรรมให้เต็มที่ ไม่ต้องมาเสียเวลา
<!--T:42-->
ถ้ากุศลหยาบๆ อย่างที่พวกเราทำกันเป็นกุศลอย่างหยาบๆ ยังดูง่าย อย่างเวลาเราไปทำบุญ จิตใจเราเบิกบานขึ้นมา ถ้าเรามีสติรู้เราจะเห็นเลยความเบิกบานที่เกิดขึ้นมันทำให้จิตเสียสมดุล จิต แหม มันพองมันฟู มันดีอกดีใจอะไรอย่างนี้ มันปลื้ม สิ่งเหล่านี้ดีๆ ทั้งนั้นเลย ปลาบปลื้มที่ได้ทำบุญแต่พอเราภาวนาละเอียดเข้า โหย จิตเราเสียความสมดุลไปแล้ว กวัดแกว่งกระเพื่อมไปด้วยแรงของความดี ปรุงดีก็กระเพื่อม ปรุงชั่วไม่ต้องพูดถึงเลย ย่ำแย่ใหญ่


บางวันล้างจานกันถึงเที่ยงเลย แล้วไม่ได้ล้างในร่มด้วย ตอนนั้นไม่มีหลังคาตรงนั้น แดดเปรี้ยงๆ ตัวดำปี๋เลย คุณแม่ก็เล่าว่าเวลาเห็นคนเขาภาวนา ดูเขาเบิกบานสดชื่น เขามีความสุขแล้ว เห็นแค่นี้ก็มีความสุขแล้ว อิ่มเอิบใจ ได้สงเคราะห์เขา ได้ช่วยเขา ให้โอกาสเขาได้ฟังธรรมอะไรอย่างนี้ ใจที่คิดจะให้ๆ กับใจที่คิดจะเอา ผลมันไม่ได้เท่ากัน เพราะใจที่คิดจะให้มันลดละความเห็นแก่ตัว พอมาลงมือทำจริงจัง มาปฏิบัติจริงจัง มันไปลิ่วเลย มันไปได้ง่ายๆ เลย ไม่ได้ลำบากยากเย็นอะไรเลย เพราะใจมันพร้อมที่จะสละออกอยู่แล้ว
<!--T:43-->
ทีนี้ความปรุงดีขั้นละเอียดดูยากมากเลยว่ามันเป็นตัวทุกข์ ความปรุงดีขั้นละเอียดก็คือพวกฌานสมาบัติ อย่างพวกพระอนาคามี ละกามราคะได้แล้ว ความสุขอย่างโลกๆ ที่พวกเรามี เรียกว่ากามราคะ ความสุขจากการได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสอะไรอันนี้เป็นกามราคะ พระอนาคามีเห็นกามราคะมันทุกข์ แต่ท่านก็ไปยินดีพอใจในฌานสมาบัติ ในรูปฌานในอรูปฌาน มองไม่เห็นว่าเวลาจิตเข้ารูปฌานก็ไม่เห็นว่ามันจะทุกข์ มีแต่ความสุข จิตมันเป็นอุเบกขาทรงอยู่มีความสุข หรือมีปีตีมีความสุข


ที่เล่าให้พวกเราฟังเพื่อว่าพวกเราอยู่กับโลก เป็นฆราวาสจะได้หัดวางใจให้มันถูก ในสถานการณ์อันเดียวกัน คนหนึ่งได้บุญแต่อีกคนหนึ่งได้บาป ทำในสิ่งเดียวกัน คนหนึ่งได้บุญ คนหนึ่งได้บาป ทีนี้เรารู้หลัก มีสติมีปัญญา เราทำอะไรก็ให้มันเกิดบุญไปเรื่อยๆ บุญเป็นที่พึ่งอาศัยในการเดินทางไกลในสังสารวัฏ ส่วนกุศลเป็นเครื่องพาเราออกจากสังสารวัฏ มันคนละระดับกัน บุญคือการสร้างคุณงามความดีทั้งหลาย ผลเป็นความสุข เราจะเดินทางในสังสารวัฏอันยาวไกลด้วยความสุข ส่วนกุศลคือความฉลาด
<!--T:44-->
ถ้าสูงขึ้นไปก็เป็นอุเบกขาหรือจิตเข้าอรูปฌาน จิตเป็นอุเบกขา มันสุขอย่างไร มันสุขเพราะว่ามีความเสียดแทงน้อย มันสุขเพราะว่าจิตในฌานมันถูกความเสียดแทงน้อย อะไรเป็นเครื่องเสียดแทง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นกามคุณอารมณ์ ทั้งหลายเป็นเครื่องเสียดแทงจิต ถ้าเราเข้าสมาธิเข้ารูปฌาน จิตก็พ้นจากการเสียดแทงทางตา หู จมูก ลิ้น กายอะไรพวกนี้ เหลือแต่ความเสียดแทงทางใจซึ่งยังมองไม่เห็น รู้สึกว่ามีความสุข หรือเข้าอรูปฌานไป หนีสิ่งที่กระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กายอย่างเด็ดขาด เพราะตา หู จมูก ลิ้น กายหายไปหมดเลย ร่างกายก็หาย โลกนี้ก็หายไป เหลือแต่ใจดวงเดียว


<big>ความฉลาดคืออะไร คือการเห็นความจริง โลกนี้เป็นอย่างนี้ล่ะ กายนี้ใจนี้เป็นอย่างนี้ล่ะ เป็นอะไร เป็นไตรลักษณ์ ถ้าอย่างนี้ เป็นกุศลชั้นสูงเลย เป็นปัญญา กุศลก็คือเรื่องของศีลนั่นล่ะ ส่วนใหญ่ เรื่องของศีล เรื่องของสมาธิ เรื่องปัญญานั่นล่ะ ในสถานการณ์อันหนึ่ง คนหนึ่งเกิดบาปอกุศล คนหนึ่งได้บุญ คนหนึ่งได้ทั้งบุญได้ทั้งกุศล อยู่ที่ความรู้ความเข้าใจของเรา เพราะฉะนั้นหัดวางจิตวางใจให้ดี วางจิตวางใจให้ถูก หันซ้ายหันขวา มีบุญมีกุศลได้ทั้งนั้น</big>
<!--T:45-->
จะให้เห็นว่ามันเป็นทุกข์มันยาก เพราะมันไม่มีเครื่องเสียดแทง ต้องสติปัญญาแก่รอบจริงๆ เห็นว่าสิ่งนี้ก็ยังตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ จิตในรูปฌาน ยังดูง่ายว่าตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ จิตในอรูปฌานดูยากหนักเข้าไปอีก ค่อยภาวนาจนกระทั่งเห็นว่า จิตไม่ว่ามันจะอยู่ในภูมิใด อยู่ในกามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิก็อยู่ในอรูปฌาน มันก็ยังไม่มั่นคง ไม่เที่ยง มันไม่เที่ยง มันบังคับไม่ได้ มันยังถูกเสียดแทงอยู่


<!--T:46-->
ถ้ามันไม่ถูกเสียดแทง มันคงไม่ดับหรอก จิตในฌานสมาบัติเกิดแล้วก็ดับ เช่นเดียวกับจิตที่พวกเรามีนี่ล่ะ สติปัญญามันแก่รอบเพราะยังเห็นตรงนี้ก็ไม่มีแก่นสารสาระ เป็นราคะที่ละเอียดขึ้นไป ทำบุญทำกุศลมหาศาล กว่าจะขึ้นมาตรงนี้ได้ แต่พอขึ้นมาสู่ความดีอย่างสูงนี้ได้ อ้าว ลึกๆ ลงไปยังชอบมันอีก มีราคะอีก ฉะนั้นกิเลส กิเลสหยาบๆ ก็ดูง่าย กิเลสละเอียดหน้าตามันเป็นกุศลดูยาก แต่ก็ไม่พ้นสติพ้นปัญญา


<!--T:47-->
ค่อยๆ สังเกตไปเรื่อยๆ อย่าไปนิ่งนอนใจ คิดว่าจบแล้วพอแล้ว หลายคนภาวนาชอบคิด จบแล้ว ไม่จบเลย อันนั้นไม่ใช่จบแล้ว จบเสียแล้วไปไม่รอดแล้ว เคยมีพระมาบอกจบแล้ว มาบอกหลวงพ่อ หลวงพ่อบอกไม่ใช่หรอก ใจท่านหล่นวูบเลย หลวงพ่อบอกเห็นไหมจิตยังมีความยินดียินร้ายอยู่เลย เห็นไหม ท่านบอกเห็นแล้ว บอก เออ ยังยินดียินร้ายระดับนี้ เสียอกเสียใจ นี่โทสะ อนาคามีก็ยังไม่ได้ จากพระอรหันต์ร่วงๆๆ ลงมาเรื่อยๆ โดนกิเลสหลอก


อย่างหลวงพ่อเดิน ยกตัวอย่าง ทำไมยกตัวอย่างหลวงพ่อเรื่อยๆ ก็ไม่รู้จะไปยกใคร หลวงพ่อเดิน ทั้งๆ ที่เป็นฆราวาสหลวงพ่อเดินดูพื้น เวลาเดินจะเดินดูพื้น ไม่เดินดูยอดไม้อะไร ไม่ได้เดินอย่างนั้นหรอก ทำไมเราสำรวมตาเรา เราหันซ้ายหันขวาไป ใจก็ฟุ้งซ่านวอกแวกไป เดี๋ยวก็ไปเหยียบมดตาย เดี๋ยวไปเหยียบแมลงโน้นแมลงนี้ เหยียบไส้เดือน เหยียบหอยทาก ทุกก้าวที่เดินไป รู้สึกตัวไป สายตาเราก็ทอดลงต่ำ สำรวมระวัง
<!--T:48-->
ภาวนาไปแล้วอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ก็มโนเอาเป็นโน่นเป็นนี่ หรือบางที่เขาก็ชอบตั้ง ภาวนาตามหลักสูตรครบหลักสูตรเท่านี้ ภาวนาเท่านี้ครั้งได้โสดาบันได้อะไร Non-sense เราวัดความก้าวหน้านี้ วัดด้วยกิเลส วัดที่กิเลสว่าเราละกิเลสตัวไหนแล้ว ยังไม่ได้ละตัวไหน กิเลสที่เราละ ตัวไหนละถาวร ตัวไหนละชั่วคราว ต้องค่อยๆ สังเกตตัวเองไป


ฉะนั้นทุกก้าวที่เดินเป็นบุญเป็นกุศลไปหมดเลย แค่เดินเฉยๆ ยังเกิดบุญได้เลย เกิดกุศลได้ด้วย เรามีสติรู้สึกกายรู้สึกใจตามที่มันเป็น เป็นกุศลใหญ่เลย แล้วการที่เราเดินด้วยความระมัดระวัง เรากลัวจะไปเหยียบสัตว์ ไม่ใช่เพราะกลัวบาป แต่กลัวสัตว์มันเจ็บ กลัวสัตว์มันพิการ อันนี้เป็นความเมตตา เป็นความกรุณา แค่เดินบนถนนก็ทำให้เป็นบุญได้แล้ว ฉะนั้นถ้าเรารู้หลักของการปฏิบัติจริงๆ จะหันซ้ายหันขวา มันก็เป็นบุญได้หมด เป็นกุศลได้หมด


อย่างเรานั่งอยู่เฉยๆ มันมีบุญอะไร นั่งอยู่เฉยๆ ทำผิดศีลไหม ไม่ได้ทำผิดศีล ไม่ได้ยุ่งอะไรกับใครด้วยซ้ำไป มีศีลอัตโนมัติอยู่ในตัวเองแล้ว นั่งอยู่ จิตใจไม่วอกแวกไป มีสมาธิไหม มี ได้บุญไหม ได้ แล้วเขยิบขึ้นไป นั่งแล้วเห็นรูปมันนั่ง จิตมันเป็นคนรู้ รูปไม่ใช่ตัวเราอะไรอย่างนี้ เป็นกุศลอย่างใหญ่เลย คือเป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาอย่างยิ่งเลย เป็นวิปัสสนาปัญญา แค่นั่งเฉยๆ ก็ได้บุญใหญ่ ได้กุศลใหญ่ได้ นี่ยกตัวอย่างให้ฟังพอจะเข้าใจไหม
<!--T:49-->
กัลยาณมิตรที่สําคัญคือพระไตรปิฎก
โยนิโสมนสิการ สังเกตสิ่งที่เรามีสิ่งที่เราเป็น
ฉะนั้นการภาวนาที่สําคัญเลยก็คือ อย่างเราต้องมีกัลยาณมิตร ต้องมี กัลยาณมิตรของเราก็คือสุดยอดเลยคือพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่อยู่แล้ว เอาอะไรเป็นกัลยาณมิตร ธรรมวินัย ธรรมวินัยของท่านประมวลอยู่ในพระไตรปิฎก ฉะนั้นพระไตรปิฎกให้เราศึกษาได้ ศึกษาแล้วสังเกต เอามาปฏิบัติให้ได้ นี่ล่ะเป็นยอดของกัลยาณมิตร


<!--T:50-->
แล้วก็มีโยนิโสมนสิการ สังเกตสิ่งที่เราปฏิบัตินี้มันสอดคล้องกับคําสอนในพระไตรปิฎกหรือเปล่า อย่างถ้าบอกว่าไม่ต้องทำอะไรหรอก นั่งแล้วก็พยายามกลั้นลมหายใจให้นานที่สุดเดี๋ยวก็บรรลุ อันนี้ไม่สอดคล้อง เราก็ไม่เอาอย่างนี้ เราตัดทิ้งไปเลยคําสอนชนิดนี้ หรือไปให้เซียนผู้วิเศษเชื่อมจิตเข้ากับพระพุทธเจ้าให้ อันนี้ไม่สอดคล้องกับพระไตรปิฎก เราก็ไม่เอา ปัดทิ้งไป เราก็ใช้วิธีนี้


<gallery>
<!--T:51-->
[[文件:Minifloral9.pnp|缩略图]]
อาศัยกัลยาณมิตรที่สําคัญคือพระไตรปิฎกแล้วอาศัยโยนิโสมนสิการ สังเกตสิ่งที่เรามีสิ่งที่เราเป็น สิ่งที่เราลงมือปฏิบัติอยู่ วิธีปฏิบัติที่เราทำอยู่สอดคล้องกับพระไตรปิฎกไหม อย่างถ้าเราจะทำวิปัสสนา เราได้เจริญสติปัฏฐานจริงไหม สติปัฏฐาน เบื้องต้นได้สติ เบื้องปลายจะได้ปัญญา โดยเฉพาะได้วิปัสสนาปัญญา ฉะนั้นถ้าเราหลุดออกจากเส้นทางของสติปัฏฐาน ไม่ใช่แน่นอน ไปไหว้เจ้าแล้วก็ขอให้บรรลุมรรคผลอะไรอย่างนี้ ไม่ใช่เส้นทางแน่นอน ถ้าทิ้งการเจริญสติเมื่อไรล่ะก็เราหลุดออกจากเส้นทางของมรรคผลแล้ว เรารู้อย่างนี้ รู้
</gallery>


ฉะนั้นคำว่าไม่มีเวลาปฏิบัติไม่มีในสารบบของเราหรอก หลวงพ่อถึงเคยบอกไว้ตั้งแต่นานแล้วว่านักปฏิบัติไม่เป็นปฏิปักษ์กับสิ่งแวดล้อมหรอก สภาพแวดล้อมจะเป็นอย่างไร เราปฏิบัติได้ทั้งนั้น ในสภาวะที่แย่ๆ ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ เราก็ปฏิบัติได้
<!--T:52-->
ต้องการปฏิบัติ ต้องอย่างนี้ ต้องอยู่ในหลักของการเจริญสติ ของการทำสมถกรรมฐาน ของวิปัสสนากรรมฐาน ต้องอยู่ในหลักที่ถูกต้อง แล้วการที่เราภาวนาไปแล้วมีผลอะไรเกิดขึ้น ถ้ามีครูบาอาจารย์ พูดยาก เรารู้ได้อย่างไรว่าองค์นี้ดีไม่ดี ต้องสังเกตเอา ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ที่ดี เราทำผิดปุ๊บ ท่านก็บอกเลยทำผิดแล้ว ถ้าทำถูกแล้วท่านจะบอกให้ทำไปอีกๆ ทำต่อไป ยังไม่พอ แต่ถ้าเราไม่มี เราก็ต้องอาศัยพระไตรปิฎก อาศัยคําสอนของพระพุทธเจ้าอย่างที่หลวงพ่อใช้ วัดตัวเอง สิ่งที่เราปฏิบัติมีผลอย่างนี้ๆ มันสอดคล้องกับคําสอนในพระไตรปิฎกไหม อันนี้คือตัวโยนิโสมนสิการ


หลวงพ่อเคยเป็นมะเร็ง ไปอยู่โรงพยาบาลตั้งหลายเดือน ให้คีโมตั้งหลายรอบ แล้วรอบสุดท้ายเขาจะปลูกถ่ายไขกระดูก มันเป็นการให้ยาเคมีที่รุนแรง ทำลายไขกระดูกเลย เซลล์ต่างๆ ถูกทำลาย ถามว่าทุกข์ทรมานไหม โห ทรมานมาก แต่เราก็มีปัญญา เห็นร่างกายมันป่วย ใจเราไม่ได้ป่วยด้วย เฝ้ารู้เฝ้าดูไป บุญกุศลมันหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา
<!--T:53-->
ฉะนั้นเวลาเราภาวนา เราก็ดูสิ่งที่เรากําลังทำอยู่ปฏิบัติอยู่ สอดคล้องกับหลักธรรมในพระไตรปิฎกไหม ผลที่เกิดจากการปฏิบัติสอดคล้องกับคําสอนของท่านหรือเปล่า วัดกันตรงนี้ วัดด้วยใจของตัวเองที่ซื่อตรงจริงๆ มีโยนิโสมนสิการ ไม่ใช่มีแต่โลภะ ก็เข้าข้างตัวเองเรื่อยๆ ค่อยๆ สังเกตเอา วันนี้เทศน์อะไรหว่า แปลกๆ ไปทำเอาๆ ไม่มีใครช่วยใครได้ ครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อไปเรียนด้วยท่านก็ไม่มาบรรลุมรรคผลอะไรให้หลวงพ่อหรอก หลวงพ่อก็ต้องทำเอาเองทั้งนั้นล่ะ


ทีนี้ก็ตั้งใจ ปกติอยู่ในห้องปลอดเชื้อ ห้องความดัน ความดันสูง มันอัดลมเข้ามาตลอดอุณหภูมิก็ต่ำ อยู่ระหว่าง 19 ถึง 22 องศา แล้วลมแรงทั้งวันทั้งคืน โหย ทรมานมากเลย เขาทำอย่างนั้นเพื่อว่าไม่ให้เชื้อโรคมันโต เพราะร่างกายเราไม่มีภูมิต้านทานเหลืออยู่แล้ว ปกติเขาจะอยู่กันเดือนครึ่ง 2 เดือน 3 เดือน บางคนอยู่หลายเดือนเลย ออกมาไม่ได้ หลวงพ่อตั้งใจว่าจะต้องออกวันนี้ล่ะ 28 วัน ออกมาแล้ว ออกมาได้ เพราะจิตของเรามันมีสมาธิ มันไม่ท้อแท้ มันไม่หดหู่ ไม่ปล่อยให้ความเศร้าหมองครอบงำ จิตใจมันมีความสุข มีความเบิกบานอยู่
<!--T:54-->
ทำแล้วถูกตลอดไหม ไม่ ทำแล้วก็ล้มลุกคลุกคลานเหมือนที่พวกเราเป็นนั่นล่ะ แล้วถ้าจะว่าไปหลวงพ่อล้มลุกคลุกคลานมากกว่าพวกเรา ที่พวกเรามาส่งการบ้านทำผิดตรงโน้นผิดตรงนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกสําหรับหลวงพ่อ เพราะหลวงพ่อผิดมาก่อนแล้ว ทำผิดมามากมายแต่ไม่ท้อถอย ค่อยสังเกตตัวเองมาเป็นลําดับๆ มีโอกาสเจอครูบาอาจารย์ บางทีต้องอาศัยท่านแก้ให้ หลวงพ่อเคยอาศัยครูบาอาจารย์ทั้งหมด 7 ครั้งเองในการภาวนา 7 ครั้งเอง เราทำแล้วเราจนปัญญาไม่รู้จะไปอย่างไรต่อ ท่านสะกิดให้นิดเดียวเราก็เข้าใจแล้ว


เราก็นึกถึงบุญของเรา นึกถึง มีฉันทะว่าเรายังอยากทำงานรับใช้พระพุทธเจ้าต่อไปอีก มีฉันทะ แล้วมีวิริยะทำอานาปนสติ ใช้ลมฟอกธาตุฟอกขันธ์ไป มีจิตตาคือมีจิตที่เด็ดเดี่ยวมั่นคง ทรงสมาธิอยู่ มีวิมังสา พิจารณาค้นคว้าใคร่ครวญลงไปในร่างกายด้วยจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง แล้วอธิษฐานจิตเอาว่าจะออกแล้ว ถึงเวลามันก็ออกมาได้ เพราะฉะนั้นในที่ทุกที่แม้กระทั่งที่ที่แย่ที่สุด ที่ที่ลำบากที่สุด ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เราไม่ทิ้งธรรมะ ธรรมะก็ไม่ทิ้งเราหรอก
<!--T:55-->
ส่วนใหญ่ก็จะอาศัยการสังเกตเอา เวลาได้ยินได้ฟังคําสอนต่างๆ ถ้ามันขัดพระไตรปิฎก หลวงพ่อไม่เอาเลย อย่างบอกพระอนาคามีมาเกิดได้อีกอะไรอย่างนี้ บรรลุพระอรหันต์แล้วก็ยังมาเกิดได้อีกอะไรอย่างนี้ มันอรหันต์เทียมแล้วไม่ใช่อรหันต์จริงแล้ว พวกนี้ไม่รู้จัก ไม่รู้ทั้งปริยัติ ไม่รู้ทั้งปฏิบัติ มีแต่ความฟุ้งซ่าน เป็นพวกวิปัสสนูปกิเลส มันจะฟุ้งแบบนี้ ก็เลยคิดว่าตัวเองรู้ มองกิเลสไม่ออก ฉะนั้นทุกวันนี้เวลาฟังธรรมะไม่ว่าใครจะเทศน์ก็ตาม อย่าทิ้งหลักกาลามสูตร อย่าเชื่อง่าย ขนาดหลวงพ่อฟังหลวงปู่ดูลย์สอน หลวงพ่อไม่เข้าใจ หลวงพ่อแขวนไว้ หลวงพ่อไม่เชื่อแต่ว่าไม่ลบหลู่เพราะเราคิดว่าเรายังโง่ เรายังเข้าไม่ถึง แต่เราจะต้องปฏิบัติ และการปฏิบัตินั้นต้องไม่ขัดแย้งกับคําสอนของพระพุทธเจ้า


ฉะนั้น<big>พัฒนาจิตใจตัวเองให้เข้มแข็ง คำว่า ท้อแท้ หดหู่ เบื่อหน่าย โยนมันทิ้งไปเลย อย่าให้อยู่ในสารบบของนักปฏิบัติ ท้อใจ ท้อๆๆ ท้อมันทำไม ความท้อแท้ ความเบื่อหน่าย มันก็เป็นสิ่งที่ถูกรู้อันหนึ่งเท่านั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป พัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ เราก็จะใกล้ฝั่งเข้าไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ไม้ใกล้ฝั่งที่แปลว่าใกล้ตาย ใกล้ฝั่งคือใกล้ความพ้นทุกข์เข้าไปทุกที</big>
<!--T:56-->
สุดท้ายถึงเข้าใจ โอ๊ย ที่ท่านบอกว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค ท่านพูดแบบออมๆ ไว้ ไม่กล้าพูดตรงๆ เดี๋ยวมีเรื่อง ที่จริงก็คือจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นอรหัตตมรรค เพราะว่าก่อนหน้านั้น ท่านเดินปัญญากัน ไล่ลงมาจากกาย เวทนา เข้ามาไล่ๆ ไล่ๆ เข้ามา รู้แล้ววางมาเป็นลําดับๆ การปฏิบัติในขั้นสุดท้ายมันมาแตกหักกันลงที่จิตนั่นล่ะ ฉะนั้นที่ท่านบอกจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง อันนั้นถูกเลย แจ่มแจ้งว่าอะไร แจ่มแจ้งว่าเป็นไตรลักษณ์ แล้วเราก็ปล่อยวางจิตได้ ปล่อยวางจิตได้ ก็ปล่อยวางขันธ์ได้ ปล่อยวางขันธ์ได้ ก็ปล่อยโลกทั้งโลกได้ หัวใจสําคัญอยู่ที่จิตของเรานี่เอง ยึดจิตตัวเดียวก็ยึดขันธ์ทั้งหมด มีจิตดวงเดียวก็สร้างขันธ์ 5 ขึ้นมาได้ทั้งหมด วางจิตได้ก็วางขันธ์ 5 ได้ ลงสุดท้ายมันแตกหักลงที่จิต


วันนี้เทศน์ให้ฟังเท่านี้ คงไม่ยากเกินไป บางคนบ่นว่าหลวงพ่อเทศน์อะไรยากๆ วันนี้เทศน์เอาใจตลาด แต่ดูแล้วมันก็ยากเหมือนกัน การจะวางใจให้ถูกในทุกๆ สถานการณ์ ถ้าไม่มีสติ ไม่มีปัญญา มันก็วางไม่ได้หรอก การฟังนี้ก็จะได้รู้แนวทางไป แล้วก็มีสติคุ้มครองจิตตัวเองไป รู้แนวทางมันก็ได้ปัญญา ไปทำเอา ชีวิตจะได้ร่มเย็น ไม่ท้อแท้ ไม่หดหู่ ไม่เบื่อหน่าย อย่างอยู่กับโลก เบื่อ เบื่อก็ต้องทำ มันจำเป็นต้องทำก็ต้องทำไป ระหว่างทำไปเบื่อไปกับทำไปแล้วจิตเป็นกุศลไป เป็นบุญไป ก็เลือกเอา ก็แล้วแต่ความสามารถของเราแล้วล่ะ
<!--T:57-->
ฉะนั้นที่ครูอาจารย์ท่านสอนก็ไม่ผิด ตรงกับพระพุทธเจ้า แต่ท่านเพียงแต่ไม่กล้าพูดตรงๆ เดี๋ยวคนหาเรื่องท่าน พวกฟังไม่รู้เรื่องแล้วก็จะพาลพาโลว่าท่านอวดอุตริ หลวงปู่ดูลย์เคยเกือบโดนเรื่องอวดอุตริ เพราะท่านสอนเรื่องจิตนี่ะล่ะ ก็มีพวกพระกรรมฐานพวกหนึ่งไปชุมนุมกันรวมกันมา จะมาโจทอาบัติว่าท่านปาราชิกอวดอุตริ พูดอะไรแต่เรื่องจิตแปลกๆ ทำไมไม่พุทโธพิจารณากาย ไปชวนหลวงตามหาบัว หลวงตาบอกพระองค์นี้เราไม่เล่นด้วย พวกนั้นฟังแล้วเข้าใจ ก็เลยหยุด ไม่กล้าแล้ว ไม่กล้าหือกับหลวงปู่ดูลย์อีก


<big>หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
<!--T:58-->
เพราะฉะนั้นท่านเองเวลาพูดท่านก็ระวังเหมือนกัน ต้องออมๆ พวกมิจฉาทิฏฐิ พวกเซลฟ์จัดมันเยอะ แต่สิ่งที่ท่านสอนมันไม่ได้ขัดกับพระไตรปิฎก ตรงกันเป๊ะเลย ฉะนั้นเวลาพวกเราฟังใครเขาพูด เขาพูดธรรมะฉอดๆ ฉอดๆ ฟังไว้ก่อน ถ้าเขาพูดแล้วถูกหลัก เออ ก็ใช้ได้ แล้วดูผลอีก เขาพูดได้อย่างเดียวหรือเขาทำได้ด้วย ต้องแยก พูดได้กับทำได้ไม่เหมือนกัน พูดง่ายทำมันยาก
 
 
<!--T:59-->
ฉะนั้นเรื่องมงคลตื่นข่าวเลิกเสียทีเถอะ มี 10 หลักของกาลามสูตร อย่าลืมอันนี้ ทิ้งกาลามสูตรเมื่อไรก็โง่งมงายเมื่อนั้นล่ะ ไปอ่านเอาเองกาลามสูตร วันนี้เทศน์ให้ฟังเท่านี้ ไปทำเอา ไม่ต้องเชื่อ ถ้าเชื่อก็โง่ ถ้าไม่เชื่อแล้วไม่ทำยิ่งโง่หนักเข้าไปอีก ไปพิสูจน์ด้วยตัวเอง ธรรมะของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ธรรมะที่ชวนให้เชื่อ แต่เป็นธรรมะที่ท้าให้พิสูจน์ เอหิปัสสิโก พึงกล่าวกับผู้อื่นว่ามาลองดูเถิด พระพุทธเจ้ายังบอกไม่ต้องเชื่อท่าน แต่มาลองดูว่าที่ท่านบอกนี้ ทำแล้วพ้นทุกข์ได้จริงไหม
 
<!--T:60-->
อย่างพวกเราภาวนาอย่างที่หลวงพ่อบอก ทุกข์เราสั้นลงไหม ทุกข์เราน้อยลงไหมเบาลงไหม เราวัดด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องมาเชื่อหลวงพ่อโง่งมงายไป วัดด้วยตัวเองล่ะ ผลที่เกิดขึ้นกับชีวิตจิตใจเราเปลี่ยนแปลงไหม วัดเอา
 
<!--T:61-->
สังเกตอีกอย่างหลวงพ่อไม่เคยขอเงิน ถ้าเจอเทศน์ไพเราะเพราะพริ้งลงท้ายขอเงิน ไม่ใช่ ถอยไว้เลย เออ บอกนิดหนึ่งยุคนี้เอไอมันเก่ง ถ้าวันหนึ่งมีโทรศัพท์เข้าไป มีเสียงหลวงพ่อมีหน้าหลวงพ่อพูด แล้วขอเงิน ด่ามันไปเลย หรือบอกพระวัดนี้ไปขอเงิน โกหกๆ ทั้งนั้นล่ะ พระที่นี่หลวงพ่อไม่ปล่อยให้ไปพูดขอใคร เคยมีหลงๆ ขอโน่นขอนี่ สุดท้ายให้ออกไป อยู่ไม่ได้ ที่นี่ลูกศิษย์พระพุทธเจ้า ไม่ใช่ลูกศิษย์ชูชก ต้องฉลาด
 
 
<!--T:62-->
หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วัดสวนสันติธรรม
วัดสวนสันติธรรม
29 มกราคม 2566</big>
7 กรกฎาคม 2567
 
</translate>

2024年7月24日 (三) 20:12的最新版本

其他语言:

คุณสมบัติของชาวพุทธที่ดี การภาวนาอย่าใจร้อน มีคนมาถามหลวงพ่อเรื่อยๆ ว่าทำไมมันไม่ก้าวหน้าสักที จะก้าวไปไหน ไม่ต้องก้าวไปไหน อยู่กับปัจจุบัน คิดแต่จะไป จะไปไหน อยู่กับปัจจุบันให้ได้ มันจะไม่มีคําว่า ช้าไป เร็วไป ช้าไปก็เพราะมันไม่ได้อย่างใจ เร็วไปก็เหมือนกัน

บางคนภาวนาคิดเยอะ กลัวจะได้มรรคผลเร็ว มี ประหลาดๆ บางคนกลัวว่าถ้าเกิดภาวนาแล้วเกิดเป็นพระอนาคามีอย่างนี้ จะเสพกามไม่ได้ โอ๊ย อย่าไปกลัวเลย คนเขาตั้งใจภาวนา เขายังไปไม่ค่อยจะได้ นี่กลัวก็ไปไม่ได้ พวกหนึ่งก็อยากเหลือเกิน อยากได้ธรรมะเร็วๆ อยากนิพพาน นิพพานไม่ได้มาเพราะความอยากหรอก แต่ได้มาเพราะสิ้นอยาก แล้วสิ้นอยากก็เพราะมีปัญญา มีเหตุมีผลทั้งหมด ถ้าเรามีปัญญาเห็นความจริงของรูปนามกายใจ ถึงจะสิ้นอยาก ถ้าปัญญาอื่นๆ ก็ยังไม่สิ้นอยากหรอก


คุณสมบัติของจิตที่จะตกกระแสธรรมได้ ฉะนั้นงานหลักของเราจริงๆ คือเรียนรู้กายรู้ใจของเรา หน้าที่ของชาวพุทธเราคือเราเป็นนักศึกษาๆ ศึกษาอะไร ศึกษาตัวเอง เรียนรู้กายเรียนรู้ใจของตัวเองไป พอมันรู้ถ่องแท้ กายนี้ใจนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มีอะไร ไม่มีตัวมีตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา อันนี้จิตเขาเรียกว่ามันตกกระแสธรรมแล้ว จิตตกกระแสธรรม มันก็จะเที่ยงต่อการที่จะพ้นทุกข์ไป วันหนึ่งจะต้องได้เป็นพระอรหันต์แน่

ฉะนั้นเรามาทำความเข้าใจ จิตที่มันจะตกกระแสธรรมได้ คุณสมบัติสําคัญของพระโสดาบัน เราก็เรียนเรียกโสตาปัตติยังคะ ไปอ่านเอาเองก็แล้วกัน เดี๋ยวนี้ตําราอยู่ในอินเทอร์เน็ตเยอะแยะ สมัยก่อนไม่ค่อยมี อยากเรียนอะไรสักเรื่อง ค้นหนังสือแทบตายเลย เดี๋ยวนี้ง่าย ถ้าเราอยากไปถึงความเป็นพระโสดาบันเร็วๆ ก็อย่าไปอยาก แต่ทำหน้าที่ศึกษาตัวเองให้ถ่องแท้ไป สํารวจใจเรา ใจเรามีความมั่นคงต่อพระรัตนตรัยไหม ใจเรามีศีลดีงามไหม ถ้ายังไม่ดีงามก็พยายามถือให้มันดี

คุณสมบัติของพระโสดาบัน ท่านนับถือพระรัตนตรัยแน่นแฟ้น ของเรายังคลอนแคลนไหม สํารวจเอา เอาเข้าจริงก็คลอนแคลน คนที่นับถือพระรัตนตรัยจริงๆ มีไม่มากหรอก ส่วนใหญ่ก็นับถือผลประโยชน์ อย่างไปไหว้พระ ก็หวังว่าจะเฮงจะรวยอะไรอย่างนี้ อันนั้นไม่ได้นับถือพระรัตนตรัย ถึงไปไหว้พระก็ตามก็ยังไม่ใช่นับถือพระรัตนตรัย เข้าไปหาพระสงฆ์ครูบาอาจารย์ ไปให้รดน้ำมนต์ ขอโชคขอลาภอะไร อันนั้นก็ไม่เรียกว่านับถือว่าพระรัตนตรัย นอกรีตนอกรอยไป นับถือพระรัตนตรัยก็คือเป็นที่พึ่งที่อาศัยของเราเพื่อความพ้นทุกข์จริงๆ

เราดู พระพุทธเจ้าท่านไม่อยู่แล้ว สิ่งที่ท่านให้เป็นตัวแทนท่านก็คือธรรมวินัย พระธรรม พระวินัย เราเคารพพระธรรมพระวินัยจริงไหม อย่างพระธรรมบอกว่าไม่ให้ทำชั่ว เราขยันทำไหม ถ้าเรายังทำชั่วได้หน้าตาเฉย ก็เรียกเราไม่เคารพพระธรรมวินัย ก็เรียกเราไม่ได้เคารพพระรัตนตรัย ไม่แน่นแฟ้น

หาพระสงฆ์ก็นับถือเป็นพระเกจิ ไม่ใช่ว่าท่านไม่ดี พระเกจิท่านก็ดีอย่างของท่าน ท่านก็สงเคราะห์พวกที่อินทรีย์อ่อน อย่างแจกวัตถุมงคลแจกอะไร เป็นที่พึ่งทางใจของคนที่ยังอินทรีย์อ่อนอยู่ คนไหนอินทรีย์แข็งท่านก็สอนธรรมะให้ ครูบาอาจารย์กระทั่งในสายวัดป่าท่านก็ทำแบบนี้ก็มี หลวงปู่มั่นท่านก็ยังเคยจารตะกรุดเลย แต่ว่าทำไม่เยอะ เพราะวัตถุประสงค์หลักของท่าน งานหลักของท่านคืองานสืบทอดธรรมะ

ฉะนั้นเราสํารวจตัวเอง เรามั่นคงกับพระรัตนตรัยแค่ไหน หรือเราเห็นพระรัตนตรัยเป็นบ่อเงินบ่อทอง เป็นที่แสวงหาผลประโยชน์ คนจํานวนมากเอาศาสนาไปแสวงหาผลประโยชน์ ถ้ามาอยู่แถววัดหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ไม่ให้เข้าวัด ไล่ไป ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นของสูง ไม่ใช่เอาไว้หากิน

ดูตัวเองอีกข้อหนึ่ง นอกจากเราเคารพพระรัตนตรัยจริงจังไหม เคารพพระรัตนตรัย ต้องเรียนธรรมะ ต้องศึกษา พระธรรมวินัยเป็นตัวแทนของพระศาสดา อีกข้อหนึ่งเรามีศีลดีงามไหม สํารวจตัวเอง ถ้าศีลเรายังด่างพร้อยอยู่ เราก็ยังไม่ใช่ชาวพุทธที่ดี ไม่ใช่ลูกที่ดีของพระพุทธเจ้า เราไม่เคารพพระพุทธเจ้า ท่านสอนให้เราถือศีลแล้วเราไม่ถืออะไรอย่างนี้ ถ้าเรายังทำผิดศีลหน้าตาเฉย จะบอกว่าภาวนาไม่ก้าวหน้า ก็อย่าพูดดีกว่า ไม่ใช่ชาวพุทธที่แท้จริง จะก้าวหน้าอะไร ไม่ลงนรกก็บุญแล้ว

อีกข้อหนึ่งก็คือเราเชื่อกฎแห่งกรรมไหม หรือเชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง หรือบางวันไม่เชื่อเลยอะไรอย่างนี้ สํารวจตัวเอง คนที่เชื่อกฎแห่งกรรมก็จะเชื่อว่า เราจะต้องพ้นทุกข์ไปด้วยความเพียรของเราเอง เราทำกรรมที่เหมาะสมเราก็ได้รับผลที่เหมาะสม เราทำทาน ถือศีล ภาวนาถูกต้อง ทำมาก เราก็ได้ผล ได้มรรคได้ผลไป ฉะนั้นมันอยู่ที่การกระทำของเราเอง อย่างถ้าเราทำชั่วเราไปขอพรพระทั้งหลายอะไรนี่ ขอพรเทวดาทั้งหลายไม่มีใครช่วยเราได้


มงคลตื่นข่าว ฉะนั้นชาวพุทธที่ดี อย่างพระโสดาบันท่านจะไม่เชื่อเรื่องมงคลตื่นข่าว มงคลตื่นข่าวก็คือมีข่าวว่าอันนั้นดีอันนี้ดี ก็ตื่นเต้น ดีอกดีใจ เมื่อก่อนหลวงพ่อก็เห็นบ่อยๆ กระทั่งบางเรื่องไม่น่าจะเป็นมงคลตื่นข่าวแต่เอาเข้าจริงแล้วก็เป็นมงคลตื่นข่าว อย่างมีพระบางองค์คนนับถือเยอะ ได้ยินว่าพระองค์นี้ดี นับถือ คนนับถือเยอะ มันต้องดีแน่นอนอะไรอย่างนี้ เวลาพระนี้จัดกิจกรรมไปบิณฑบาต โอ๊ย คนแห่เป็นพันเป็นหมื่นคน นี่เชื่อมงคลตื่นข่าว

หรือเมื่อก่อนก็เชื่อที่อินเดีย ฤๅษีชีไพรมีฤทธิ์เยอะอย่างโน้นอย่างนี้ หรือเชื่อว่าพระพุทธเจ้ากลับชาติมาเกิดที่เนปาลอะไรอย่างนี้ พวกนี้เรียกมงคลตื่นข่าวทั้งสิ้นมันไม่มีเหตุมีผลอะไร จิตใต้สํานึกที่เราวิ่งไปหาสิ่งเหล่านี้ก็เพราะความอ่อนแอของเราเอง เราไม่คิดจะพึ่งตัวเอง ไม่คิดจะสร้างคุณงามความดีด้วยตัวเอง คิดจะพึ่งคนอื่น คิดจะพึ่งสิ่งอื่น หรือต้นตะเคียนต้นนี้ขลัง ไปไหว้ไปกราบ สารพัดที่จะมีจะเป็น

ในเมืองไทยเต็มไปด้วยนิยายสร้างกันขึ้นมา แล้วก็มีสินค้าตามนิยายขึ้นมาอีก แล้วก็เห่อเป็นรุ่นๆ ไป เป็นช่วงๆ ไป ช่วงนี้เห่อเรื่องนี้ๆ แล้วสุดท้ายชีวิตมันก็ทุกข์เหมือนเดิม ไม่เห็นมันจะมีอะไรดีขึ้นมา เพราะฉะนั้นเราต้องไม่งมงาย ความงมงายไม่ใช่เรื่องของชาวพุทธ พระโสดาบันไม่งมงาย เราอยากเป็นโสดาบัน เราก็อย่างมงาย เราต้องเชื่อเรื่องกรรม มีกรรมกับมีผลของกรรม ต้องค่อยๆ ฝึกตัวเอง อีกอันหนึ่งพอเรารู้ว่าเราต้องพึ่งตัวเอง แล้วก็ประพฤติปฏิบัติถูกต้อง

บางคนเป็นโรคมงคลตื่นข่าว ท่านผู้นี้ดี เราก็ไปทำบุญด้วย มีเงินมีทองทุ่มเข้าไปเป็นล้านเลย หวังว่าเราจะได้ดิบได้ดี เมื่อก่อนก็มีแบบในเครื่องแบบพระนี่ล่ะ ใครอยากภาวนาดีๆ ต้องจ่ายสตางค์แล้วก็พาขึ้นภูเขาไปภาวนา ใจก็ปิติ ได้เข้าใกล้คนดัง ปีติ ภาวนาดี อันนั้นไม่ใช่การทำบุญในขอบเขตของพระพุทธศาสนา กระทั่งเอาเงินไปให้วัดให้พระ แต่ว่าให้โดยวัตถุประสงค์ที่ไม่ถูกต้อง ไม่ใช่บํารุงพระศาสนา แต่ให้เพื่อติดสินบนจะได้เป็นคนใกล้ชิดจะได้อะไรอย่างนี้ อันนั้นเรียกเป็นบุญนอกพระพุทธศาสนาแล้ว

เราเห็นคนศาสนาอื่นเขาลําบาก เราสงเคราะห์ช่วยเหลือ เขาอดข้าวอะไรอย่างนี้ ให้ข้าวเขากิน อันนี้เป็นบุญในพระศาสนา กระทั่งทำกับคนนอกศาสนา มันทำด้วยเหตุด้วยผล ทำไปเพื่อลดละกิเลสของตัวเอง สิ่งเหล่านี้เราควรจะต้องประพฤติปฏิบัติ

เราต้องเคารพพระธรรมพระวินัย พยายามพัฒนาตัวเองไปเรื่อยๆ ไม่รีบร้อน ไม่ได้ภาวนาด้วยความอยาก อยากจะดีเร็วๆ ความอยากเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ความอยากไม่ใช่เหตุแห่งความพ้นทุกข์ ฉะนั้นอย่าภาวนาด้วยความอยาก ให้ตั้งใจอย่างเดียวว่าเราจะภาวนาเป็นเครื่องบูชาพระพุทธเจ้า เราจะปฏิบัติบูชาไม่ได้เพื่อเอาอะไรเข้าตัว เราจะบูชาคุณของท่าน ท่านมีพระคุณมากมาย ท่านค้นคว้าธรรมะมาด้วยความยากลําบาก แล้วก็อุตส่าห์มาสอนด้วยความยากลําบาก

สอนธรรมะไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อก่อนมีครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านบอกว่าสอนธรรมะเหมือนเข็นควายขึ้นภูเขา โบราณมันมีคําหนึ่ง เข็นครกขึ้นภูเขา ครกตำข้าวลูกใหญ่ๆ เข็นไม่ใช่ง่าย เข็นครกขึ้นภูเขา ครูบาอาจารย์ท่านบอกรุ่นนี้ไม่ใช่ครกแล้ว รุ่นนี้เข็นควายขึ้นภูเขา เข็นมันมากๆ มันก็แว้งขวิดเอา

เราต้องพยายามช่วยตัวเองให้มาก เรียนหลักของการปฏิบัติ เราลงมือปฏิบัติไม่ใช่เพื่อเอาผลประโยชน์อะไรเข้าตัว ไม่ใช่เพื่อกระทั่งมรรคผลนิพพาน ถือว่าเราปฏิบัติบูชาพระพุทธเจ้า ท่านตรัสรู้มาลําบาก ท่านสอนด้วยความยากลําบาก ต้องต่อสู้อะไรมากมาย อย่างเราเคยสวดไหมบทพาหุงฯ นั่นเป็นตัวอย่างการต่อสู้ของพระพุทธเจ้า กว่าจะให้ศาสนาดํารงมั่นคงอยู่ได้ต้องผ่านศึกผ่านอะไรมามากมายเหลือเกิน เพราะฉะนั้นเป็นคุณของท่าน และยิ่งเราภาวนา เรารู้เราเข้าใจตามท่านไปเรื่อยๆ เป็นลําดับ

เราจะอัศจรรย์ในพระปัญญาตรัสรู้ของท่าน ยิ่งเราภาวนาเข้าถึงจิตถึงใจจนเราเห็นกระบวนการทำงานของจิตใจ คือปฏิจจิสมุปบาท โอ จิตมันปรุงทุกข์ขึ้นมาได้อย่างนี้ๆ ด้วยเหตุด้วยปัจจัยอย่างนี้ๆ อัศจรรย์มาก อัศจรรย์เหลือเกินพระปัญญาตรัสรู้ ยิ่งเราภาวนาเราก็ยิ่งเคารพยิ่งศรัทธาแน่นแฟ้นมากขึ้นเรื่อยๆ เรื่อยๆ

ยังเป็นปุถุชน ศรัทธาก็ยังกลับกลอกอยู่ เรียกศรัทธาที่แกว่งไปมา ถ้าเราภาวนาจนเราเป็นพระโสดาบัน เราจะมีศรัทธาที่แน่นแฟ้น เรียกอจลศรัทธา ศรัทธาที่ไม่คลอนแคลน ไม่งอนแง่น ไม่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เพราะอะไร เพราะเราเห็นความจริงแล้ว ว่าพระพุทธเจ้าสอนความจริง เราลงมือปฏิบัติเข้าถึงความจริงอันนั้น เราพ้นทุกข์ได้จริงๆ พระพุทธเจ้ามีจริง พระธรรมมีจริง พระสงฆ์มีจริง ศรัทธาอย่างนี้มันแน่นแฟ้น ศรัทธาของปุถุชนคลอนแคลน


กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ อย่างพวกเราส่วนมากเราก็คงจะเป็นปุถุชน ถ้าเราเป็นปุถุชนทำอย่างไร ศรัทธาที่คลอนแคลนนี้ถึงจะเอาตัวรอดได้ ให้รู้จักคบคนที่ดีๆ คนที่มีศีลมีธรรมด้วยกัน มีเพื่อนกัลยาณมิตร ภาวนา มีเพื่อนภาวนาไปด้วยกัน บางช่วงคนนี้ท้อใจ อีกคนยังฮึกเหิมอยู่ ก็กระตุ้นเตือนกัน พากันเดินไป ประคับประคองกันเดินไป

ยิ่งถ้าเราสามารถชวนคนในบ้านเรา อย่างสามีชวนภรรยาภาวนาไปด้วยกันอะไรอย่างนี้ ภรรยาชวนสามีภาวนาไปด้วยกัน พ่อแม่ลูกภาวนาด้วยกัน มันจะกระตุ้นเตือนกัน วันนี้คนนี้ท้อแท้ อีกคนยังเข้มแข็งก็ชวนกัน แต่ถ้าเราคบคนเหลวไหล เรามีจิตใจเข้มแข็งมั่นคงต่อพระรัตนตรัย เราไปคบคนเหลวไหล มันก็ชวนเราเหลวไหล สุดท้ายเราก็กลายเป็นคนเหลวไหล เราคบคนชนิดไหนเรามีแนวโน้มที่จะกลายเป็นคนชนิดนั้น

เพราะฉะนั้นการเลือกคบคนเป็นเรื่องสำคัญที่สุดเลย ที่จะดำรงตัวเองอยู่ท่ามกลางศรัทธาที่ยังกวัดแกว่งอยู่ เพราะฉะนั้นถ้าเราไปดูมงคลสูตร สิ่งที่เป็นมงคลกับชีวิตเรา ข้อที่หนึ่งคือไม่คบคนพาล คนที่ชักนําเราไปสู่ทางผิด ข้อที่สอง ให้คบบัณฑิต คือคนที่ชักนําเราไปสู่เส้นทางที่ถูกต้อง ถ้าจุดเริ่มต้นตรงนี้ผิด ไม่ต้องมาพูดเรื่องมรรคผลนิพพานแล้ว

พระพุทธเจ้าถึงบอกกัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ ของการประพฤติปฏิบัติธรรม คู่กับอีกสิ่งหนึ่งคือโยนิโสมนสิการ ท่านพูดไว้ 2 อย่าง บางที่ท่านก็บอกว่ากัลยาณมิตรเป็นเครื่องหมายแรกของอริยมรรค ท่านเปรียบเทียบเหมือนตอนพระอาทิตย์จะขึ้น พระอาทิตย์จะขึ้นมันจะมีแสงเงินแสงทอง แสงเงินฟ้ามันจะเริ่มขาวๆ ทางตะวันออกแล้วพอพระอาทิตย์มันขึ้นมากขึ้น ท้องฟ้าที่ขาวๆ มันจะเปลี่ยนเป็นสีแดง นี้ที่เรียกแสงเงินแสงทอง แสงเงินแสงทองนั้นเป็นเครื่องหมายแรกเรียกบุพนิมิต แสงเงินแสงทองเป็นบุพนิมิต คือเป็นเครื่องหมายแรกที่บอกเราว่าพระอาทิตย์กําลังจะขึ้น กัลยาณมิตร การที่เราได้คบคนดี ชักนํากันไปในทางดีในทางที่จะเจริญในธรรม เป็นเครื่องหมายแรกที่เราจะเข้าถึงอริยมรรคอริยผลได้

อีกที่หนึ่งท่านก็สอนบอกว่าโยนิโสมนสิการเป็นเครื่องหมายแรก ท่านสอนคนละคนกัน คนละคน คนนี้ควรสอนธรรมอันนี้ สอนว่าให้มีกัลยาณมิตร ท่านก็สอนคนนี้ให้มีกัลยาณมิตร คนนี้จิตใจเขาเข้มแข็งกว่า ไม่ต้องการพึ่งใครมากมาย เขาสามารถเดินได้ด้วยความเด็ดเดี่ยว ท่านก็สอนให้มีโยนิโสมนสิการ

ความเก่งของพระพุทธเจ้าท่านรู้จักจําแนกแจกธรรมที่สมควรแก่แต่ละคน แต่ละคนเหมาะกับธรรมะแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นเวลาท่านสอนธรรมะ บางทีสอนแตกต่างกัน ประโยคเดียวกันแต่ว่าสอนคนละคน ก็เนื้อในเปลี่ยนนิดหนึ่งอะไรอย่างนี้ เป็นคนละเรื่องไปเลย นี่เป็นความเก่งของท่าน ถ้าเราท่องตํารามาเจอใครเราก็บอก ให้มีกัลยาณมิตร ให้มีโยนิโสมนสิการ พูดไปอย่างนั้น เจอใครก็พูดเหมือนกันหมด ทั้งๆ ที่ธรรมะนั้นไม่ได้เหมาะกับคนๆ นั้น

ฉะนั้นการถ่ายทอดธรรมะไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เรื่องยากเลย ไปแนะเขาผิดบาป ไปสอนให้เขาหลงทาง ทำให้การเดินทางในสังสารวัฏของเขายืดยาวออกไปอันตรายกับตัวเองด้วย อันตรายกับของคนอื่นเขาด้วย ทุกวันนี้เห็นไหม พวกเดียรถีย์ พวกอลัชชีออกมาสอนอะไรต่ออะไรกันเยอะแยะไปหมด แปลกๆ นอกพระไตรปิฎก พวกนี้เราอย่าไปเข้าใกล้ เข้าใกล้ไปคบคนพวกนี้ เราจะเสื่อม ดูคำสอน ศึกษาปริยัติไว้บ้างก็ดี เราจะได้รู้ว่าอันไหนถูกอันไหนผิด

หลวงพ่อก่อนที่จะภาวนา หลวงพ่ออ่านพระไตรปิฎกก่อน ที่อ่านพระไตรปิฎกเพราะว่าไม่รู้จะภาวนาอย่างไร ทำได้แต่สมถะ แล้วก็รู้ว่ากิเลสมันก็เหมือนเดิม ไม่เห็นมันจะลดลงตรงไหนเลย ความทุกข์มันก็เหมือนเดิม ไม่เห็นมันจะลดลงตรงไหนเลย ก็พยายามค้นคว้าในพระไตรปิฎก อ่านแล้วอ่านอีก อ่านหลายรอบ บางทีไม่ได้เรียนบาลีแต่ก็อุตส่าห์เอาพระไตรปิฎกบาลีมาวางทาบกับพระไตรปิฎกภาษาไทย ก็ดูคําแปลของเขาไปเรื่อยๆ พยายามค้นหาวิธีปฏิบัติ หาไม่เจอ

จนมาได้กัลยาณมิตรคือหลวงปู่ดูลย์เป็นกัลยาณมิตร ไม่ใช่เป็นเพื่อน กัลยาณมิตรไม่ได้แปลว่าเพื่อน อย่างครูบาอาจารย์เป็นกัลยาณมิตร พระพุทธเจ้าเป็นยอดของกัลยาณมิตร เจอหลวงพ่อดูลย์ก็จับหลักได้ว่าต้องรู้เท่าทันจิตตนเองก่อน ให้จิตมันตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา เอาจิตที่ตั้งมั่นไปเรียนรู้ความจริงของรูปนามกายใจ จับหลักตัวนี้ได้เลยภาวนาได้ มีกัลยาณมิตร


โยนิโสมนสิการ เวลาภาวนาไปบางครั้งเกิดติดขัดขึ้นมา มีโยนิโสมนสิการ สังเกตตัวเอง อย่างภาวนาแล้วจิตมันว่างสว่างอยู่เป็นเดือนอยู่เป็นปี มีโยนิโสมนสิการ สังเกตตัวเองว่ามันต้องมีอะไรผิดแล้วล่ะ พระพุทธเจ้าบอกว่าจิตไม่เที่ยง ทำไมจิตเราเที่ยง ท่านบอกจิตเป็นทุกข์ ทำไมจิตเราเป็นสุข ท่านบอกจิตเป็นอนัตตา บังคับไม่ได้ ทำไมเราบังคับได้ มันผิดตรงไหน อย่างนี้เรียกว่าโยนิโสมนสิการ เรากําลังภาวนาไป เราพบสภาวะอย่างนี้ๆ เราพิจารณาด้วยคําสอนของพระพุทธเจ้า คําสอนของพระอรหันต์สาวกในพระไตรปิฎกอะไรอย่างนี้ มี

หรือคําสอนของครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์สอน หลวงพ่อยังไม่เชื่อเลย เคารพมากศรัทธามาก แต่เวลาครูบาอาจารย์สอน หลวงพ่อฟัง หลวงปู่ลย์เคยถามหลวงพ่อเลย วันหนึ่งท่านสอนบอก พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต จึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง เชื่อไหม เราก็อึกอัก แล้วบอก ผมยังไม่เห็นๆ แต่ผมจะจําไว้ บอกท่านอย่างนี้ ท่านยิ้มเลย ท่านบอกมันต้องอย่างนี้ ไม่ใช่เอะอะก็เชื่อเลย อันนั้นโง่

อย่างหลวงปู่ดูลย์ท่านบอกว่าให้ดูจิต “จิตที่ส่งออกนอกเป็นสมุทัย ผลที่จิตส่งออกนอกเป็นทุกข์ จิตเห็นอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค ผลที่จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ” ท่านสอนว่าให้รู้ทันจิตตัวเองนี่เป็นการเจริญมรรค หลวงพ่อก็งงแต่ว่าจําที่ท่านบอกไว้แล้วเอาไปลองทำดู ที่งงเพราะว่าพระพุทธเจ้าสอนว่าให้รู้ทุกข์ ทำไมหลวงปู่ดูลย์บอกให้รู้จิต เอ๊ะ ทำไมหลวงปู่สอนไม่เหมือนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ผิดแน่นอน หลวงปู่ก็ไม่น่าจะผิด

เราเองมีความเข้าใจอะไรที่ยังไม่เข้าถึงแก่นหรือเปล่า ไม่ได้คิดว่าพระไตรปิฎกผิด งมงายเชื่อแต่อาจารย์บอกพระไตรปิฎกผิด หรือเห็นว่าครูบาอาจารย์สอนอะไร ภาษาไม่เหมือนพระไตรปิฎก บอกครูบาอาจารย์ผิด นี่หยาบไป ไม่มีสติมีปัญญาพอ หลวงพ่อไม่คิดอย่างนั้น หลวงปู่ดูลย์บอกให้ดูจิต พระพุทธเจ้าบอกให้รู้ทุกข์ หลวงปู่ดูลย์ให้รู้จิต ทำไมไม่เหมือนกัน เราไม่เข้าใจตรงไหน ไม่เข้าใจทำอย่างไร แขวนไว้ก่อน ไม่คิดมาก คิดมากยากนาน

เราก็หัดดูจิตดูใจของตัวเองทำงานไป ก็รู้ว่านี่มันอยู่ในเรื่องของสติปัฏฐาน ที่หลวงปู่ดูลย์บอกให้อ่านจิตใจตนเองก็อยู่ในสติปัฏฐาน 4 นั่นล่ะ อย่างใจเรามีความสุขความทุกข์ขึ้นมามันอยู่ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใจเราเกิดกุศลอกุศลขึ้นมามันอยู่ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เราเห็นเวทนามันจะเกิดได้ อาศัยตา หู จมูก ลิ้น กายกระทบอารมณ์ภายนอก หรือใจกระทบความคิดนึก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็รูป

เราก็จะเห็นการทำงานระหว่างกายกับใจมันก็เนื่องด้วยกัน เนื่องถึงกัน ตาเห็นรูป เกิดความสุขความทุกข์ขึ้นที่ใจ หูได้ยินเสียงเกิดสุขทุกข์ที่ใจ ฉะนั้นเวลาภาวนาไม่ใช่รู้แต่จิต มันก็พลอยรู้รูปไปด้วย เพราะมันเป็นจุดตั้งต้นให้เกิดนามธรรมที่เราจะดูจิตใจตัวเอง เฝ้ารู้เฝ้าดูเรื่อยๆ แล้วก็เห็นจิตมันพอละเอียดขึ้น ก็เห็นจิตมันทำงานทางอายตนะ ตรงที่เห็นจิตมันทำงานทางอายตนะมันขึ้นไปสู่ธัมมานุปัสสนาแล้ว

ค่อยดูไปเรื่อยๆ ก็เห็นกระบวนการทำงานที่จิตสร้างความทุกข์ขึ้นมา นั่นคือปฏิจจสมุปบาท อยู่ในธัมมานุปัสสนา ภาวนา อาศัยจุดเริ่มต้นจากการอ่านจิตตนเอง สุดท้ายมันก็รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม มันเนื่องกันไปหมด กาย เวทนา จิต ธรรมมันเหมือนโต๊ะสี่เหลี่ยมข้างหน้าหลวงพ่อนี้ล่ะ เราจับเข้ามุมหนึ่ง ที่เหลือมันก็เคลื่อนตามมา

ฉะนั้นถ้าสติปัฏฐาน 4 เราทำได้สักอย่างหนึ่ง ที่เหลือมันก็ตามมาเองล่ะ ไม่ยากแล้ว ภาวนามาเรื่อยๆ ก็เห็น ทำอย่างไรหนอ มันจะรู้จิตรู้ใจแล้วคือการรู้ทุกข์ ไม่เห็นว่าจิตมันเป็นทุกข์เลย เห็นจิตนี้เป็นตัวบรมสุข จิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มีแต่ความสุข ดูอย่างไรก็ไม่เห็นจะทุกข์เลย การดูจิตนี่มันผิดหรือเปล่า มันไม่เห็นทุกข์ แต่ว่าทนดูไปเรื่อย แล้วก็เห็นความทุกข์ของกาย ของเวทนา ของสังขารทั้งหลาย ดูมันไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ แล้วจิตมันค่อยฉลาดขึ้น ค่อยรวมเข้ามา วางเป็นลําดับๆ ของภายนอก ของหยาบๆ ความปรุงแต่งหยาบๆ รวมเข้ามาที่จิต


จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ก็คือการเห็นทุกข์ ค่อยภาวนาเรื่อยๆ วันหนึ่งเห็น จิตมันก็คือตัวทุกข์เหมือนกัน เพราะฉะนั้นที่หลวงปู่ดูลย์บอกว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค ก็ใช่ ก็คือการเห็นทุกข์เหมือนกัน จิตเห็นจิต แต่ว่าตัวจิตผู้รู้มันเป็นตัวทุกข์ตัวสุดท้ายเลย ตัวสุดท้ายที่เราจะเห็น อย่างเราเห็นร่างกายเป็นทุกข์ เห็นง่าย เห็นเวทนาเป็นทุกข์ ชักจะยากนิดหน่อย อย่างเวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ ถ้าเป็นความรู้สึกทุกข์ เราเห็นว่าทุกข์ง่าย แต่ความรู้สึกสุขเราเห็นว่าเป็นทุกข์ไม่ใช่ง่ายเหมือนกัน

ถ้าเราดูความสุขเกิดขึ้น เราจะเห็นความสุขก็เป็นเครื่องเสียดแทงใจ พอรู้ว่าความสุขมันเสียดแทงจิตใจ ทำให้จิตใจหวั่นไหว โอ้ ความสุขมันก็เป็นตัวทุกข์เหมือนกัน ไม่ใช่ตัวดีตัววิเศษหรอก ตัวเฉยๆ เราไปแต่งจิตให้เฉยๆ อยู่เรานึกว่าดี ดูไปๆ มันก็ของไม่มีสาระอะไร มันว่างได้ มันนิ่งได้ มันเฉยๆ ได้ เป็นอุเบกขาได้ มันก็แปรปรวนได้อีก มีแต่ความไม่เที่ยง มีแต่การบังคับไม่ได้

ค่อยเรียนไป ก็จะเห็นตัวเวทนาก็เป็นทุกข์ ตัวสังขาร เห็นสังขารคือความปรุงดีปรุงชั่วเป็นทุกข์ เวลาเราปรุงชั่ว สังเกตไหมจิตใจเราไม่มีความสุข พอมันปรุงดี แหม มันอิ่มเอิบ เกิดปีติเกิดความสุขอย่างเราปรุงดี เช่น เราได้ตั้งใจฟังธรรม ตั้งใจปฏิบัติธรรม จิตใจเราดีงามมากเลย มีความสุขมาก จะดูให้เห็นว่ามันเป็นทุกข์ ความดีเป็นทุกข์มันก็ดูยาก เราค่อยๆ ดูไป

ความชั่วสำหรับนักปฏิบัติ ความชั่วเราเห็นเป็นทุกข์ง่าย เพราะฉะนั้นเวลาอย่างจิตเราเกิดราคะขึ้นมาอย่างนี้ จิตใจเราระส่ำระส่าย จิตใจเราเกิดโทสะ จิตใจระส่ำระส่าย ไม่มีความสุข จิตใจเราหลง เหมือนหมาเหมือนแมวหลงๆ ไป ดูแล้วไม่เห็นจะมีความสุขตรงไหนเลย มันเหมือนคนขาดสติเหมือนคนติดยาเสพติด ไม่รู้เรื่องอะไร มันดูแล้ว เอ๊ะ อกุศลทั้งหลายไม่เห็นมันจะสุขตรงไหน ดูง่าย แต่ตรงกุศลดูให้เห็นว่ามันเป็นทุกข์ไม่ใช่ง่าย

ถ้ากุศลหยาบๆ อย่างที่พวกเราทำกันเป็นกุศลอย่างหยาบๆ ยังดูง่าย อย่างเวลาเราไปทำบุญ จิตใจเราเบิกบานขึ้นมา ถ้าเรามีสติรู้เราจะเห็นเลยความเบิกบานที่เกิดขึ้นมันทำให้จิตเสียสมดุล จิต แหม มันพองมันฟู มันดีอกดีใจอะไรอย่างนี้ มันปลื้ม สิ่งเหล่านี้ดีๆ ทั้งนั้นเลย ปลาบปลื้มที่ได้ทำบุญแต่พอเราภาวนาละเอียดเข้า โหย จิตเราเสียความสมดุลไปแล้ว กวัดแกว่งกระเพื่อมไปด้วยแรงของความดี ปรุงดีก็กระเพื่อม ปรุงชั่วไม่ต้องพูดถึงเลย ย่ำแย่ใหญ่

ทีนี้ความปรุงดีขั้นละเอียดดูยากมากเลยว่ามันเป็นตัวทุกข์ ความปรุงดีขั้นละเอียดก็คือพวกฌานสมาบัติ อย่างพวกพระอนาคามี ละกามราคะได้แล้ว ความสุขอย่างโลกๆ ที่พวกเรามี เรียกว่ากามราคะ ความสุขจากการได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง ได้ลิ้มรส ได้สัมผัสอะไรอันนี้เป็นกามราคะ พระอนาคามีเห็นกามราคะมันทุกข์ แต่ท่านก็ไปยินดีพอใจในฌานสมาบัติ ในรูปฌานในอรูปฌาน มองไม่เห็นว่าเวลาจิตเข้ารูปฌานก็ไม่เห็นว่ามันจะทุกข์ มีแต่ความสุข จิตมันเป็นอุเบกขาทรงอยู่มีความสุข หรือมีปีตีมีความสุข

ถ้าสูงขึ้นไปก็เป็นอุเบกขาหรือจิตเข้าอรูปฌาน จิตเป็นอุเบกขา มันสุขอย่างไร มันสุขเพราะว่ามีความเสียดแทงน้อย มันสุขเพราะว่าจิตในฌานมันถูกความเสียดแทงน้อย อะไรเป็นเครื่องเสียดแทง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นกามคุณอารมณ์ ทั้งหลายเป็นเครื่องเสียดแทงจิต ถ้าเราเข้าสมาธิเข้ารูปฌาน จิตก็พ้นจากการเสียดแทงทางตา หู จมูก ลิ้น กายอะไรพวกนี้ เหลือแต่ความเสียดแทงทางใจซึ่งยังมองไม่เห็น รู้สึกว่ามีความสุข หรือเข้าอรูปฌานไป หนีสิ่งที่กระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กายอย่างเด็ดขาด เพราะตา หู จมูก ลิ้น กายหายไปหมดเลย ร่างกายก็หาย โลกนี้ก็หายไป เหลือแต่ใจดวงเดียว

จะให้เห็นว่ามันเป็นทุกข์มันยาก เพราะมันไม่มีเครื่องเสียดแทง ต้องสติปัญญาแก่รอบจริงๆ เห็นว่าสิ่งนี้ก็ยังตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ จิตในรูปฌาน ยังดูง่ายว่าตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์ จิตในอรูปฌานดูยากหนักเข้าไปอีก ค่อยภาวนาจนกระทั่งเห็นว่า จิตไม่ว่ามันจะอยู่ในภูมิใด อยู่ในกามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิก็อยู่ในอรูปฌาน มันก็ยังไม่มั่นคง ไม่เที่ยง มันไม่เที่ยง มันบังคับไม่ได้ มันยังถูกเสียดแทงอยู่

ถ้ามันไม่ถูกเสียดแทง มันคงไม่ดับหรอก จิตในฌานสมาบัติเกิดแล้วก็ดับ เช่นเดียวกับจิตที่พวกเรามีนี่ล่ะ สติปัญญามันแก่รอบเพราะยังเห็นตรงนี้ก็ไม่มีแก่นสารสาระ เป็นราคะที่ละเอียดขึ้นไป ทำบุญทำกุศลมหาศาล กว่าจะขึ้นมาตรงนี้ได้ แต่พอขึ้นมาสู่ความดีอย่างสูงนี้ได้ อ้าว ลึกๆ ลงไปยังชอบมันอีก มีราคะอีก ฉะนั้นกิเลส กิเลสหยาบๆ ก็ดูง่าย กิเลสละเอียดหน้าตามันเป็นกุศลดูยาก แต่ก็ไม่พ้นสติพ้นปัญญา

ค่อยๆ สังเกตไปเรื่อยๆ อย่าไปนิ่งนอนใจ คิดว่าจบแล้วพอแล้ว หลายคนภาวนาชอบคิด จบแล้ว ไม่จบเลย อันนั้นไม่ใช่จบแล้ว จบเสียแล้วไปไม่รอดแล้ว เคยมีพระมาบอกจบแล้ว มาบอกหลวงพ่อ หลวงพ่อบอกไม่ใช่หรอก ใจท่านหล่นวูบเลย หลวงพ่อบอกเห็นไหมจิตยังมีความยินดียินร้ายอยู่เลย เห็นไหม ท่านบอกเห็นแล้ว บอก เออ ยังยินดียินร้ายระดับนี้ เสียอกเสียใจ นี่โทสะ อนาคามีก็ยังไม่ได้ จากพระอรหันต์ร่วงๆๆ ลงมาเรื่อยๆ โดนกิเลสหลอก

ภาวนาไปแล้วอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ก็มโนเอาเป็นโน่นเป็นนี่ หรือบางที่เขาก็ชอบตั้ง ภาวนาตามหลักสูตรครบหลักสูตรเท่านี้ ภาวนาเท่านี้ครั้งได้โสดาบันได้อะไร Non-sense เราวัดความก้าวหน้านี้ วัดด้วยกิเลส วัดที่กิเลสว่าเราละกิเลสตัวไหนแล้ว ยังไม่ได้ละตัวไหน กิเลสที่เราละ ตัวไหนละถาวร ตัวไหนละชั่วคราว ต้องค่อยๆ สังเกตตัวเองไป


กัลยาณมิตรที่สําคัญคือพระไตรปิฎก โยนิโสมนสิการ สังเกตสิ่งที่เรามีสิ่งที่เราเป็น ฉะนั้นการภาวนาที่สําคัญเลยก็คือ อย่างเราต้องมีกัลยาณมิตร ต้องมี กัลยาณมิตรของเราก็คือสุดยอดเลยคือพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่อยู่แล้ว เอาอะไรเป็นกัลยาณมิตร ธรรมวินัย ธรรมวินัยของท่านประมวลอยู่ในพระไตรปิฎก ฉะนั้นพระไตรปิฎกให้เราศึกษาได้ ศึกษาแล้วสังเกต เอามาปฏิบัติให้ได้ นี่ล่ะเป็นยอดของกัลยาณมิตร

แล้วก็มีโยนิโสมนสิการ สังเกตสิ่งที่เราปฏิบัตินี้มันสอดคล้องกับคําสอนในพระไตรปิฎกหรือเปล่า อย่างถ้าบอกว่าไม่ต้องทำอะไรหรอก นั่งแล้วก็พยายามกลั้นลมหายใจให้นานที่สุดเดี๋ยวก็บรรลุ อันนี้ไม่สอดคล้อง เราก็ไม่เอาอย่างนี้ เราตัดทิ้งไปเลยคําสอนชนิดนี้ หรือไปให้เซียนผู้วิเศษเชื่อมจิตเข้ากับพระพุทธเจ้าให้ อันนี้ไม่สอดคล้องกับพระไตรปิฎก เราก็ไม่เอา ปัดทิ้งไป เราก็ใช้วิธีนี้

อาศัยกัลยาณมิตรที่สําคัญคือพระไตรปิฎกแล้วอาศัยโยนิโสมนสิการ สังเกตสิ่งที่เรามีสิ่งที่เราเป็น สิ่งที่เราลงมือปฏิบัติอยู่ วิธีปฏิบัติที่เราทำอยู่สอดคล้องกับพระไตรปิฎกไหม อย่างถ้าเราจะทำวิปัสสนา เราได้เจริญสติปัฏฐานจริงไหม สติปัฏฐาน เบื้องต้นได้สติ เบื้องปลายจะได้ปัญญา โดยเฉพาะได้วิปัสสนาปัญญา ฉะนั้นถ้าเราหลุดออกจากเส้นทางของสติปัฏฐาน ไม่ใช่แน่นอน ไปไหว้เจ้าแล้วก็ขอให้บรรลุมรรคผลอะไรอย่างนี้ ไม่ใช่เส้นทางแน่นอน ถ้าทิ้งการเจริญสติเมื่อไรล่ะก็เราหลุดออกจากเส้นทางของมรรคผลแล้ว เรารู้อย่างนี้ รู้

ต้องการปฏิบัติ ต้องอย่างนี้ ต้องอยู่ในหลักของการเจริญสติ ของการทำสมถกรรมฐาน ของวิปัสสนากรรมฐาน ต้องอยู่ในหลักที่ถูกต้อง แล้วการที่เราภาวนาไปแล้วมีผลอะไรเกิดขึ้น ถ้ามีครูบาอาจารย์ พูดยาก เรารู้ได้อย่างไรว่าองค์นี้ดีไม่ดี ต้องสังเกตเอา ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ที่ดี เราทำผิดปุ๊บ ท่านก็บอกเลยทำผิดแล้ว ถ้าทำถูกแล้วท่านจะบอกให้ทำไปอีกๆ ทำต่อไป ยังไม่พอ แต่ถ้าเราไม่มี เราก็ต้องอาศัยพระไตรปิฎก อาศัยคําสอนของพระพุทธเจ้าอย่างที่หลวงพ่อใช้ วัดตัวเอง สิ่งที่เราปฏิบัติมีผลอย่างนี้ๆ มันสอดคล้องกับคําสอนในพระไตรปิฎกไหม อันนี้คือตัวโยนิโสมนสิการ

ฉะนั้นเวลาเราภาวนา เราก็ดูสิ่งที่เรากําลังทำอยู่ปฏิบัติอยู่ สอดคล้องกับหลักธรรมในพระไตรปิฎกไหม ผลที่เกิดจากการปฏิบัติสอดคล้องกับคําสอนของท่านหรือเปล่า วัดกันตรงนี้ วัดด้วยใจของตัวเองที่ซื่อตรงจริงๆ มีโยนิโสมนสิการ ไม่ใช่มีแต่โลภะ ก็เข้าข้างตัวเองเรื่อยๆ ค่อยๆ สังเกตเอา วันนี้เทศน์อะไรหว่า แปลกๆ ไปทำเอาๆ ไม่มีใครช่วยใครได้ ครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อไปเรียนด้วยท่านก็ไม่มาบรรลุมรรคผลอะไรให้หลวงพ่อหรอก หลวงพ่อก็ต้องทำเอาเองทั้งนั้นล่ะ

ทำแล้วถูกตลอดไหม ไม่ ทำแล้วก็ล้มลุกคลุกคลานเหมือนที่พวกเราเป็นนั่นล่ะ แล้วถ้าจะว่าไปหลวงพ่อล้มลุกคลุกคลานมากกว่าพวกเรา ที่พวกเรามาส่งการบ้านทำผิดตรงโน้นผิดตรงนี้ ไม่ใช่เรื่องแปลกสําหรับหลวงพ่อ เพราะหลวงพ่อผิดมาก่อนแล้ว ทำผิดมามากมายแต่ไม่ท้อถอย ค่อยสังเกตตัวเองมาเป็นลําดับๆ มีโอกาสเจอครูบาอาจารย์ บางทีต้องอาศัยท่านแก้ให้ หลวงพ่อเคยอาศัยครูบาอาจารย์ทั้งหมด 7 ครั้งเองในการภาวนา 7 ครั้งเอง เราทำแล้วเราจนปัญญาไม่รู้จะไปอย่างไรต่อ ท่านสะกิดให้นิดเดียวเราก็เข้าใจแล้ว

ส่วนใหญ่ก็จะอาศัยการสังเกตเอา เวลาได้ยินได้ฟังคําสอนต่างๆ ถ้ามันขัดพระไตรปิฎก หลวงพ่อไม่เอาเลย อย่างบอกพระอนาคามีมาเกิดได้อีกอะไรอย่างนี้ บรรลุพระอรหันต์แล้วก็ยังมาเกิดได้อีกอะไรอย่างนี้ มันอรหันต์เทียมแล้วไม่ใช่อรหันต์จริงแล้ว พวกนี้ไม่รู้จัก ไม่รู้ทั้งปริยัติ ไม่รู้ทั้งปฏิบัติ มีแต่ความฟุ้งซ่าน เป็นพวกวิปัสสนูปกิเลส มันจะฟุ้งแบบนี้ ก็เลยคิดว่าตัวเองรู้ มองกิเลสไม่ออก ฉะนั้นทุกวันนี้เวลาฟังธรรมะไม่ว่าใครจะเทศน์ก็ตาม อย่าทิ้งหลักกาลามสูตร อย่าเชื่อง่าย ขนาดหลวงพ่อฟังหลวงปู่ดูลย์สอน หลวงพ่อไม่เข้าใจ หลวงพ่อแขวนไว้ หลวงพ่อไม่เชื่อแต่ว่าไม่ลบหลู่เพราะเราคิดว่าเรายังโง่ เรายังเข้าไม่ถึง แต่เราจะต้องปฏิบัติ และการปฏิบัตินั้นต้องไม่ขัดแย้งกับคําสอนของพระพุทธเจ้า

สุดท้ายถึงเข้าใจ โอ๊ย ที่ท่านบอกว่าจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค ท่านพูดแบบออมๆ ไว้ ไม่กล้าพูดตรงๆ เดี๋ยวมีเรื่อง ที่จริงก็คือจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นอรหัตตมรรค เพราะว่าก่อนหน้านั้น ท่านเดินปัญญากัน ไล่ลงมาจากกาย เวทนา เข้ามาไล่ๆ ไล่ๆ เข้ามา รู้แล้ววางมาเป็นลําดับๆ การปฏิบัติในขั้นสุดท้ายมันมาแตกหักกันลงที่จิตนั่นล่ะ ฉะนั้นที่ท่านบอกจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง อันนั้นถูกเลย แจ่มแจ้งว่าอะไร แจ่มแจ้งว่าเป็นไตรลักษณ์ แล้วเราก็ปล่อยวางจิตได้ ปล่อยวางจิตได้ ก็ปล่อยวางขันธ์ได้ ปล่อยวางขันธ์ได้ ก็ปล่อยโลกทั้งโลกได้ หัวใจสําคัญอยู่ที่จิตของเรานี่เอง ยึดจิตตัวเดียวก็ยึดขันธ์ทั้งหมด มีจิตดวงเดียวก็สร้างขันธ์ 5 ขึ้นมาได้ทั้งหมด วางจิตได้ก็วางขันธ์ 5 ได้ ลงสุดท้ายมันแตกหักลงที่จิต

ฉะนั้นที่ครูอาจารย์ท่านสอนก็ไม่ผิด ตรงกับพระพุทธเจ้า แต่ท่านเพียงแต่ไม่กล้าพูดตรงๆ เดี๋ยวคนหาเรื่องท่าน พวกฟังไม่รู้เรื่องแล้วก็จะพาลพาโลว่าท่านอวดอุตริ หลวงปู่ดูลย์เคยเกือบโดนเรื่องอวดอุตริ เพราะท่านสอนเรื่องจิตนี่ะล่ะ ก็มีพวกพระกรรมฐานพวกหนึ่งไปชุมนุมกันรวมกันมา จะมาโจทอาบัติว่าท่านปาราชิกอวดอุตริ พูดอะไรแต่เรื่องจิตแปลกๆ ทำไมไม่พุทโธพิจารณากาย ไปชวนหลวงตามหาบัว หลวงตาบอกพระองค์นี้เราไม่เล่นด้วย พวกนั้นฟังแล้วเข้าใจ ก็เลยหยุด ไม่กล้าแล้ว ไม่กล้าหือกับหลวงปู่ดูลย์อีก

เพราะฉะนั้นท่านเองเวลาพูดท่านก็ระวังเหมือนกัน ต้องออมๆ พวกมิจฉาทิฏฐิ พวกเซลฟ์จัดมันเยอะ แต่สิ่งที่ท่านสอนมันไม่ได้ขัดกับพระไตรปิฎก ตรงกันเป๊ะเลย ฉะนั้นเวลาพวกเราฟังใครเขาพูด เขาพูดธรรมะฉอดๆ ฉอดๆ ฟังไว้ก่อน ถ้าเขาพูดแล้วถูกหลัก เออ ก็ใช้ได้ แล้วดูผลอีก เขาพูดได้อย่างเดียวหรือเขาทำได้ด้วย ต้องแยก พูดได้กับทำได้ไม่เหมือนกัน พูดง่ายทำมันยาก


ฉะนั้นเรื่องมงคลตื่นข่าวเลิกเสียทีเถอะ มี 10 หลักของกาลามสูตร อย่าลืมอันนี้ ทิ้งกาลามสูตรเมื่อไรก็โง่งมงายเมื่อนั้นล่ะ ไปอ่านเอาเองกาลามสูตร วันนี้เทศน์ให้ฟังเท่านี้ ไปทำเอา ไม่ต้องเชื่อ ถ้าเชื่อก็โง่ ถ้าไม่เชื่อแล้วไม่ทำยิ่งโง่หนักเข้าไปอีก ไปพิสูจน์ด้วยตัวเอง ธรรมะของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ธรรมะที่ชวนให้เชื่อ แต่เป็นธรรมะที่ท้าให้พิสูจน์ เอหิปัสสิโก พึงกล่าวกับผู้อื่นว่ามาลองดูเถิด พระพุทธเจ้ายังบอกไม่ต้องเชื่อท่าน แต่มาลองดูว่าที่ท่านบอกนี้ ทำแล้วพ้นทุกข์ได้จริงไหม

อย่างพวกเราภาวนาอย่างที่หลวงพ่อบอก ทุกข์เราสั้นลงไหม ทุกข์เราน้อยลงไหมเบาลงไหม เราวัดด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องมาเชื่อหลวงพ่อโง่งมงายไป วัดด้วยตัวเองล่ะ ผลที่เกิดขึ้นกับชีวิตจิตใจเราเปลี่ยนแปลงไหม วัดเอา

สังเกตอีกอย่างหลวงพ่อไม่เคยขอเงิน ถ้าเจอเทศน์ไพเราะเพราะพริ้งลงท้ายขอเงิน ไม่ใช่ ถอยไว้เลย เออ บอกนิดหนึ่งยุคนี้เอไอมันเก่ง ถ้าวันหนึ่งมีโทรศัพท์เข้าไป มีเสียงหลวงพ่อมีหน้าหลวงพ่อพูด แล้วขอเงิน ด่ามันไปเลย หรือบอกพระวัดนี้ไปขอเงิน โกหกๆ ทั้งนั้นล่ะ พระที่นี่หลวงพ่อไม่ปล่อยให้ไปพูดขอใคร เคยมีหลงๆ ขอโน่นขอนี่ สุดท้ายให้ออกไป อยู่ไม่ได้ ที่นี่ลูกศิษย์พระพุทธเจ้า ไม่ใช่ลูกศิษย์ชูชก ต้องฉลาด


หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม 7 กรกฎาคม 2567